ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5286
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

การปิดทองพระพุทธรูป พระเจดีย์

[คัดลอกลิงก์]

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ
ประดิษฐาน ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


พระศรีรัตนเจดีย์ (The Golden Stupa)
ประดิษฐาน ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
สนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การปิดทองพระพุทธรูป พระเจดีย์

   

เครื่องทอง เป็นสินแร่ที่มีราคาและมนุษย์นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุในการแลกเปลี่ยน
ความสำคัญของทองเกิดจากการที่มีค่าสูงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ มากนัก
มีความสวยงาม มีสีเหลืองสว่างสดใสปละมีประกายสุกปลั่งเสมอ ไม่เป็นสนิม
มีความอ่อนเหนียวจนสามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางมาก ๆ ขนาด ๐.๐๐๐๐๐๕ นิ้วได้
และเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใด
แต่จะละลายได้อย่างช้า ๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวกับกรดเกลือ     

กระบวนการในการทำเครื่องทองในอดีต มีหลายวิธีแตกต่างกันออกไป
ตามแต่เทคนิค หรือวัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ ดังนี้  
คือ การหุ้ม  การปิด (การลงรักปิดทอง) การบุ  การดุน  
การหล่อ  การสลัก  การาไหล่หรือกะไหล่ การคร่ำ เป็นต้น

เครื่องทองที่นิยมทำกันมัก เป็นวัตถุเกี่ยวกับของสำคัญและมีค่า
เช่น เครื่องราชูปโภค เครื่องยศ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ  
เครื่องพุทธบูชา เครื่องประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา
พระพุทธรูป พระพิมพ์ แผ่นทองจารึก (สุพรรณบัฏ) ฯลฯ
จาก http://www.hosting.cmru.ac.th/ruth/lesson/unit5.htm


ด้วยเหตุที่ทองคำเป็นสิ่งอันมีค่า ราคาสูง มีลักษณะที่บริสุทธิ์ ทนทานในตัวเองดังนี้
ทองจึงเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาอันสูงค่าเท่าที่มนุษย์จะหาได้
สำหรับผู้ปรารถนาจะถวายทานอันละเอียดปราณีตที่สุดเท่าที่ตนจะหาได้ในแต่ละสมัย
จึงได้นิยมนำทองคำมาเป็นเครื่องแสดงความศรัทธาอย่างยิ่งของตน


งานลงรักปิดทอง ในประเทศไทยเริ่มมีในสมัยทวาราวดี
ยุคทวาราวดีอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖
จะปรากฏชิ้นงานอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดนครปฐม
สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย
เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และใต้

หลักฐานงานลงรักปิดทองดในสมัยดังกล่าว
ได้มีการพบว่า  เอาทองมาทำเครื่องทรง เครื่องประดับ
ซึ่งพบหลักฐานที่ถ้ำเขางู จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี
จะเห็นรอยปิดทองที่พระองค์และที่ฐานชุกชี
ส่วนสมัยสุโขทัยนั้นมีหลักฐานมีการปิดทองบนลวดลายสลักไม้
ซึ่งมีอยู่ที่เจดีย์ พระพุทธรูป ซุ้มพระปรางค์

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตัวอย่างงานลงรักปิดทองสมัยทวาราวดี ได้แก่



พระพุทธเทวราชปฏิมากร
องค์พระประธานภายในพระอุโบสถ “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร”

ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะแบบทราวดี
ซึ่งค้นพบในสมัยรัชการที่ ๓ และท่านทรงให้ต่อแพและล่องแม่น้ำเจ้าพระยาลงมากรุงเทพฯ
พอมาถึงวัดสมอแครงแพเกิดลากไม่ไปมาหยุดที่ปากคลองเทเวศน์
ตรงที่เป็นวัดสมอแครงหรือที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และนำมาประดิษฐานไว้ที่นี่จนถึงปัจจุบัน

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในการปิดทองพอกพระพุทธรูปนั้น
พบว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่พบเห็นทั่วไปในหมู่ชนชาติไทย

ทั้งในอาณาจักรล้านนา และกลุ่มคนไทยอื่นๆ เช่น  ในอาณาจักรสุโขทัย
พบข้อความที่เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างพระพุทธรูป
ใน จารึกนายศรีโยธาออกบวช พ.ศ. ๒๐๗๑ พบที่วัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ในจารึก จารึกพอกคำพระเจ้าตนหลวง พ.ศ. ๒๐๓๙ (ชร.๒)
วัดศรีสุทธาวาส อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
กล่าวถึงพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) พร้อมด้วยพระราชมารดา
ทรงถวายทองคำปิดพระพุทธรูปเป็นทาน
และในการสร้างพระปฏิมาทองคำองค์ใหญ่ด้วยเนื้อทองบริสุทธิ์
ประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานในวิหารวัดสวนดอกเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๔ ในรัชสมัยพญาแก้ว
เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ มีส่วนสูงเท่าความสูงของพระมหากษัตริย์ขณะทรงยืน
ทรงโปรดให้ตีทองคำเป็นแผ่นแล้วจึงนำไปบุ ไม่ใช่หล่อเป็นแท่งทั้งองค์

ต่อมาในสมัยที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่า (พ.ศ. ๒๑๐๑-๒๓๑๗)
ธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปถวายก็ยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองเจ้าเมืองของพม่า
พบว่ายังมีการสร้างพระพุทธรูป ลงรักปิดทองกันอยู่ตามวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก
และต่อเนื่องมาถึงสมัยที่อาณาจักรล้านนา
ตกเป็นเป็นเมืองประเทศราชแห่งอาณาจักรสยาม (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๔๒)
ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของตระกูลเจ้าเจ็ดตน
ในสมัยนี้ได้มีการทำนุบำรุงพระศาสนา ปฏิสังขรณ์วัดสำคัญๆ
ตั้งสมณศักดิ์พระภิกษุตามขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม

พบว่ายังมีธรรมเนียมการลงชาดหรคุณปิดทองพระพุทธรูปที่ทำด้วยวัสดุจำพวกไม้
ตามวัดต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา ดังเช่น พระพุทธรูปไม้ ลงรักปิดทอง
วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง สกุลช่างลำปาง
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ มีข้อความที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป
แล้วลงรัก ชาดหรคุณ ปิดทอง ในคำจารึกฐานพระพุทธรูป

ความตอนหนึ่งว่า

“...จุลศักราชได้ ๑๒๑๗ ตัว เถาะฉนำ กัมโพชพิสัย
เสด็จเข้ามาในเหมันตฤดู กัตติกามาส ศุกลปักษ์ ปุณณมี โสรวาร
ไทยภาษาว่าปีดับเหม้า เดือนยี่เพ็ง เม็งวัน ๗ ไทยดับไส้
อุบาสกอุบาสิกา มูลสัทธาเจ้าธรรมเสนาเป็นเค้าเป็นประธาน
แลภริยาลูกเต้า แลแม่ภริยาชื่อนางคำสุก
ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้  ใส่รักหางแดงแสงเรืองเรื่อ
เพื่อไว้หื้อเป็น (ที่) ไหว้แก่หมู่คนแลเทวดาตราบเสี้ยง ๕,๐๐๐ วัสสา
นิพพานปจจโย โหตุ เม นิจจํ ธุวํ  แดเทอะ...”

                                                                                       

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-3 22:31

ความรู้ทั่วไปเรื่องทองคำสมัยโบราณ

ผู้อ่่านอาจเคยได้ยินคำว่า “ทองเนื้อเก้า” หรือ “ทองเก้าน้ำ”
หรือคำอื่นๆที่เกี่ยวกับทอง เช่น “ทองเจ็ดน้ำสองขา”  ฯลฯ
และแน่นอนว่า แทบทุกคนคงคุ้นกับคำว่า “สุวรรณภูมิ”
อันเป็นชื่อเรียกดินแดนประเทศไทยในอดีต

คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการทองคำก็อาจเกิดความสงสัยว่า
คำเหล่านี้มีที่มาหรือบอกอะไรบ้าง


ภาพเครื่องประดับทำจากทองคำ
สำหรับกษัตริย์ พระมเหสี เชื้อพระวงศ์สมัยอยุธยา



ภาพจากสารานุกรมสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๓๔
เรื่องที่ ๔ เครื่องประดับ สำหรับเด็กระดับกลาง

ทองคำก้อน


ภาพจาก http://www.manager.co.th
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความสำคัญของทองคำ

ในอดีต ทองคำมักถูกนำมาเพื่อเป็นเครื่องประดับ
ซึ่งเครื่องประดับนี้ก็เป็นไปได้ทั้งการตกแต่งร่างกาย
และการตกแต่งข้าวของเครื่องใช้
ทองนับเป็นสิ่งที่มีราคาสูง  มีคุณค่้าในตัวเอง
อีกทั้งประกอบด้วยฝีมืออันประณีตของช่าง
ทำให้ทองคำถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและเป็นทรัพย์สินอีกด้วย

ดังจะเห็นความนิยมของคนสมัยก่อน
ที่นิยมให้ของขวัญกันด้วยทองคำ  เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ
เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากทองหรือประดับด้วยทองคำ เป็นต้น  

นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสถานภาพของผู้สวมใส่
เช่น เป็นกษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางชั้นสูง หรือสามัญชน
ซึ่งเครื่องประดับบางอย่าง ในกฎมณเฑียรบาลจะระบุไว้ว่า สามัญชนไม่สามารถสวมใส่ได้
เครื่องประดับยังสามารถใช้สวมใส่ เพื่อแสดงออกถึงความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา
และความเชื่อ เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลังต่างๆ

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เนื้อทอง

เนื่องจากว่าทองคำนั้นมีหลายคุณภาพ หลายความบริสุทธิ์
และเพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภททองคำประเภทต่าง ๆ
ก็ใช้การตีราคาเข้ามาช่วยแบ่งนั่นเอง

ดังนั้นทองคำของไทยก็สามารถแบ่งได้หลักๆ เป็น
ทองเนื้อสี่ ทองเนื้อห้า ทองเนื้อหก
ทองเนื้อเจ็ด ทองเนื้อแปด และทองเนื้อเก้า

โดยทองเนื้อสี่จะเป็นทองที่คุณภาพด้อยที่สุด
ซึ่งหมายถึงทองคำน้ำหนักหนึ่งบาททองคำ
แต่มีมูลค่าการซื้อขายเพียงสี่บาทเท่านั้น
ขณะที่ทองเนื้อเก้ามีมูลค่าถึงเก้าบาทเลยทีเดียว     

ทองเนื้อเก้าได้รับการกล่าวขานว่าเป็นทองคำที่มีเนื้อความบริสุทธิ์
ใกล้เคียงกับทองคำบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
โดยความบริสุทธิ์ของเนื้อทองนั้นก็วัดจากการที่ตัวเนื้อทอง
ได้มีการผสมของโลหะชนิดอื่นมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งสามารถสะท้อนได้จากสีของเนื้อทอง
ถ้ามีความบริสุทธิ์มากก็ย่อมจะมีสีเหลืองอร่าม
ครั้นแล้วทองเนื้อเก้าของเราก็มีสีเหลืองอร่ามเช่นกัน
โดยแหล่งทองเนื้อเก้าที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยนั้น
มีแหล่งที่มาจากเมืองหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ซึ่งก็คือบางสะพาน จึงเรียกทองเนื้อเก้านี้ว่า ทองบางสะพาน
ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมัยก่อนถือว่า ทองคำเก้าน้ำหรือทองเนื้อเก้า  
ก็คือ ทองคุณภาพที่หนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท
ทอง ๗ น้ำคือ ทองที่หนัก ๑ บาท ราคา  ๗ บาท

๑.) เนื้อ น้ำ คือ ทองคำที่มีสารเจือปนมากน้อยกันไป
อย่างทองเก้าน้ำบริสุทธิ์สารเจือปนน้อย นอกนั้นก็ลดหลั่นกันไป

๒.) ขา
คือ  น้ำหนักของ  ๑ บาทที่คิดเป็น  ๔ ขา
เท่ากับ  ๑ ขา คือ  ๑ สลึง
ทอง  ๗ น้ำ ๒ ขา คือ ทองคำหนัก ๑ บาท ราคา ๗ บาท ๒ สลึง

๓. )ทองเนื้อกษัตริย์  เป็นคำที่ใช้เฉพาะทองเนื้อแปดเท่านั้น
และถือกันว่าเป็น ๑๐๐ % แต่สีไม่สวยงามเท่ากับทองเนื้อเก้า
ซึ่งเป็นทอง ๑๐๐ % เหมือนกัน แต่สีออกเป็นสีแสดดูงดงามกว่า

๔.) หนัก หมายถึง ราคาทองคิดเป็นเงิน
เช่น ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๗ บาท ๗ หนัก เป็นต้น
ถ้าทองหนัก ๑ บาท (ทองชั้นเลวที่สุด)
คิดป็นเงิน ๑ บาท อย่างนี้เรียกว่า “หนักต่อหนัก”
ข้อมูลจาก yahoo answer


ทำไมทองที่ดีที่สุดจึงมีแค่ "เนื้อเก้า"

การเรียกทองว่า เนื้อสี่ เนื้อห้า เนื้อเก้า นี้  
เป็นการคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนใน ตลาดเมืองเชียงแสนโบราณ เท่านั้นเอง
หาได้หมายถึงตลาดอื่นเมืองอื่นไม่ เพราะตลาดอื่นเมืองอื่นย่อมมีราคาแพงกว่านั้น
แต่จะแพงแค่ไหนตามธรรมเนียมโบราณก็ไม่มีวันจะเรียก “ทองเนื้อสิบ” หรือมากกว่านี้เลย
คงยืนตามราคาตลาดเชียงแสนโบราณ “เนื้อเก้า” เป็นราคาสูงสุด

เรื่องการเรียกทองตามแบบของเมืองเชียงแสนโบราณนั้น
รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า


“เมืองเชียงแสนแต่ก่อนมีเงินใช้น้อย มีทองคำใช้มาก ทองคำจึงราคาถูก
เนื้อต่ำที่ซื้อขายกันหนักบาทหนึ่ง เป็นเงิน ๔ บาท จึงเรียกว่า “เนื้อสี่”
ที่เนื้อสูงขึ้นไปกว่านั้น ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน ๖ บาท เรียกว่า “เนื้อหก”
ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน ๗ บาท เรียกว่า “เนื้อเจ็ด”
ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า “เนื้อแปด”
ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒  สลึง เรียกว่า “เนื้อแปดเศษสอง”
ตามรายการที่ราษฎรซื้อขายในเวลานั้น

ทองคำเนื้อสุกสูงอย่างเอก เช่น ทองบางตะพาน (* อ.บางสะพาน ในปัจจุบัน)
ขายกันหนักบาทหนึ่งเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า “นพคุณเก้นน้ำ”
ก็ที่ว่า “สองสามขา” ก็ดี หรือที่ว่า “เศษสองสาม” โดยละเอียดนั้นขึ้นไป

ทองผสมสีเหลือง ๆ ให้ดินไม่ขึ้นทุกวันนี้เรียกกันว่า “ทองเนื้อริน”
แต่ก่อนลาวเรียก “ทองเนื้อสอง” เพราะขายกัน ๒ หนัก
ทองเนื้อรินอย่างเลว หรือ “ทองสีดอกบวบ”
ซึ่งในเวลานั้นขายกันในราคาหนักต่อหนัก ลาวเรียก “ทองเนื้อหนึ่ง”
แต่โบราณได้ยินว่าบ้างก็อยู่ประมาณชื่อเนื้อทองเหล่านี้ทั้งปวง
เดิมเป็นธรรมเนียมของลาวเชียงแสนแลเป็นโวหาร

ในการเทียบน้ำทอง ครั้นสืบมาถึงบ้านเมืองใกล้ทะเล
เงินมีเข้ามามาก ราคาทองก็แพงขึ้นเป็น ๒ เท่าพิกัดขึ้น
คือบางทีทองคำเนื้อนพคุณบางตะพานราคาถึง ๒๐ หนักถึง ๑๙ หนัก
ทองคำเนื้อแปด สามัญเรียก “เนื้อแปดตลาด” ราคาถึง ๑๘ หนัก ๑๗ หนักกึ่ง

เมื่อพิจารณาตามพระบรมราชาธิบายนี้ทำให้ได้ความเข้าใจที่แน่นอนอย่างหนึ่ง
คือที่เรียกกันว่า “ทองสีดอกบวบ” นั้นก็คือทองชั้นต่ำที่มีสีเหลืองอ่อน ๆ ปนสีเขียวอ่อนเ
ป็นทองที่ต่ำที่สุด ขนาดเกือบที่จะหมดสภาพความเป็นทองแล้ว
และมีแร่ธาตุอื่น ๆ เจือปนอยู่มาก
จะใช้ทำเครื่องประดับอะไรก็ไม่ได้ราคาเท่ากับเงินธรรมดา

ข้อมูลจาก http://pantip.com/cafe/library/topic/K8 ... 80630.html
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กว่าจะเป็นทองคำเปลว



ภาพจาก google.com


ทองคำเปลวมี ๒ แบบ

๑.)  ทองคำเปลวที่ตีจากทองคำแท้ ๆ
๒.)  ทองคำเปลวที่เป็น film พลาสติก

ทองจริงใช้ในงานช่างฝีมือ พวกลงรักปิดทอง
ทองเทียมใช้กับการปิดทองพระเพื่อสักการบูชาทั่วไป

ในอดีต ศิลปะลายรดน้ำนี้ ใช้เฉพาะในชนระดับสูง
เช่น พระมหากษัตริย์ และในงานทางพุทธศาสนา
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น จึงมีการใช้ลายรดน้ำได้ทั่วไป
และมีช่างทองหลวงกลุ่มหนึ่ง นำความรู้เรื่องการตีทอง
เพื่อทำทองคำเปลวจากในวัง มาทำเป็นอาชีพ

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทองคำเปลวแท้

กรรมวิธีการการผลิตทองคำเปลวกว่าจะได้มาเป็นทองคำเปลว
ที่เรา ๆ ท่านใช้ในการทำบุญปิดทองพระ ไม่ได้ผลิตออกมาได้ง่าย
ต้องใช้ทองคำ ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะสามารถตีแผ่ขยายออกไปได้
มีขั้นตอนการผลิตคร่าว ๆ ดังนี้

๑.๑) นำทองคำบริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ % มาทำการรีด

๑.๒) นำแผ่นทองคำที่รีดแล้วมาทำการตัด
เป็นแผ่นเล็กขนาดประมาณ ๐.๖ x ๑.๐ ซม.

๑.๓) นำแผ่นทองที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆใส่กระดาษแก้ว มาวางซ้อนกัน
โดยมีวิธีการซ้อนคือแผ่นทองหนึ่งแผ่นประกอบด้วยดาม ๒ แผ่นหัวท้าย
ซึ่งเรียกกว่า “กุบ” ทำการใส่กุบ นำแผ่นทองที่ซ้อนด้วยดามหลาย ๆ แผ่น
มาสวมปลอกด้วยกุบ (กุบทำจากแผ่นหนังวัว)
การรองด้วยกุบ  หรือหนังวัวนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ทองช้ำจากแรงตี
เพื่อที่จะเตรียมนำไปตีต่อไป

๑.๔) การตีกุบ นำแผ่นทองที่สวมกุบนำไปตี
วิธีการตีทองจะต้องตีด้วยค้อนทองเหลือง
เพราะทองเหลืองมีคุณสมบัติของความแข็งที่น้อยกว่าค้อนเหล็ก
ถ้าใช้ค้อนเหล็กจะทำให้แผ่นทองที่นำมาตีเกิดการฉีกขาดได้

ทองคำเปลวที่ตีจนได้ที่ จะบางที่สุด เรียบเสมอกัน ไม่มีรูพรุน ไม่มีรอยฉีกขาด


ภาพจาก แอนบ้านทองดอทคอม

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้