ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

การปิดทองพระพุทธรูป พระเจดีย์

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๑.๕) เมื่อได้กุบออกมาแล้ว ๒ ขอน (สรรพนามเรียก “กุบ” ว่า “ขอน”)
พอได้มา ๒ ขอน นำกุบที่ได้   
มาย้ายแผ่นทองมาใส่กระดาษแก้วแผ่นใหญ่ แล้วนำไปตี ต่อไป

๑.๖) การตัดทอง ตัดด้วยไม้ไผ่เพื่อให้ได้ตามขนาดที่ต้องการใช้


ภาพจาก แอนบ้านทองดอทคอม


โดยแบ่งคร่าว ๆ ดังนี้

๑.๖.๑) ทองเต็ม  
เป็นทองคำเปลวที่มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้

๑.) ขนาด ๔ x ๔ ซม.
๒.) ขนาด ๓.๔ x ๓.๕ ซม.

๑.๖.๒) ทองจิ้ม
เป็นทองที่มีขนาดเล็กใส่ในแผ่นกระดาษที่ตัดไม่เต็มแผ่น

๑.) ขนาด ๒.๕ x ๒.๕ ซม.
๒.) ขนาด ๑.๕ X ๑.๕ ซม.



12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ภาพจาก แอนบ้านทองดอทคอม


ชนิดของแผ่นทองเปลว  แบ่งออกเป็น ๒ แบบ  คือ

๑.) ทองคัด
หมายถึง  แผ่นทองเปลวที่ตัดออกมาตามขนาดที่กำหนด
โดยไม่มีรอยต่อของแผ่นทองซึ่งมีราคาแพง

๒.) ทองต่อ หมายถึง แผ่นทองเปลวที่มีการตัดต่อแผ่นทอง

โดยอาจมีการนำแผ่นทองเปลวมาต่อกันมากกว่า ๑ แผ่นซึ่งมีราคาถูกกว่าทองคัด

13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 22:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ชนิดของทองที่นำมาใช้ทำแผ่นทองคำเปลว

วัสดุที่ใช้ทำทองทองคำเปลวเมื่อนำมาทำเป็นทองคำเปลวแล้ว
มีการคัดเกรดได้อีก ๒ ชนิด คือ

๑.) ทองแดง หมายถึง ทองซัว เป็นศัพท์เฉพาะของช่างตีทอง
หมายถึง ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์มากกว่าทองเขียว
เมื่อตีออกมาแล้วจะได้แผ่นทองที่มีสีทองเหลืองอร่ามออกแดง
(ทองแดงมีความบริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ %)

๒.) ทองเขียว ทองเขียวเป็นศัพท์เฉพาะของช่างตีทอง   
หมายถึง  ทองเปลวที่ทำมาจากแผ่นทองคำที่บริสุทธิ์น้อยกว่าทองแดง
เมื่อตีออกมาแล้วจะได้แผ่นทองที่มีสีทองเหลืองอร่ามออกเขียว
(ทองเขียวมีความบริสุทธิ์ ๙๗.๐๐ %)

เพราะฉะนั้น ทองคำเปลวที่เป็นทองแดง
จึงมีราคาแพงกว่า ทองคำเปลวที่เป็นทองเขียว

ข้อมูลจากแอนบ้านทองดอดคอม


บางแหล่งข้อมูล  ให้เกร็ดความรู้ว่า
การนำทองไปพอกหรือหุ้มศาสนวัตถุ เช่น พระเจดีย์หรือพระพุทธรูปนี้
ในประเทศพม่าทำเป็นเหมือนการบริจาคอย่างหนึ่ง
คือ ทองคำเปลวในพม่านั้นทำจากทองคำแท้ ๆ
เมื่อมีผู้ศรัทธานำทองไปติดองค์พระมาก ๆ จนหนา
เขาจะทำการลอกทองคำเปลวเหล่านั้นมาหลอมกันแล้วขาย
เพื่อนำเงินมาบำรุงศาสนสถานนั้น ๆ ด้วย
ซึ่งก็เป็นเสมือนการระดมบริจาคจากพุทธศาสนิกชนคนละเล็กคนละน้อยนั่นเอง
ทุกคนก็มีโอกาสจะได้ร่วมปิดทองคำแท้ ๆ ถวายพระศาสนา
และเป็นการบำรุงศาสนสถานทางอ้อมอีกด้วย
                                                                                       

......................................................................................

ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46386

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้