ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 6788
ตอบกลับ: 10
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-3 22:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่มา : ทีมงาน toptenthailand
โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศสและประเทศส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่เกาะบริเตน แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
10.ฝ่ายสัมพันธมิตรรุกคืบ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:pracob.blogspot
6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกได้ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด และหลังจากการมอบหมายหน้าที่ให้กับกองทัพสัมพันธมิตรหลายกองพลในอิตาลีแล้ว จึงเริ่มการรุกเข้าสู่ฝรั่งเศสตอนใต้ในเดือนสิงหาคม จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสได้ในวันที่ 25 สิงหาคม และในช่วงเวลาต่อมากระทั่งสิ้นปี กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันกำลังเยอรมันในยุโรปตะวันตกกลับไปถึงแม่น้ำไรน์ แต่ความพยายามที่จะรุกเข้าสู่เยอรมนีตอนเหนือ ซึ่งนำโดยปฏิบัติการพลร่มครั้งใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ จบลงด้วยความล้มเหลว จากนั้น สัมพันธมิตรตะวันตกผลักเข้าสู่เยอรมนีอย่างช้า ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการข้ามแม่น้ำรูร์อีกครั้งในการรุกครั้งใหญ่ ในอิตาลี การรุกของสัมพันธมิตรก็ช้าลงเช่นกัน เมื่อถึงแนวป้องกันหลักสุดท้ายของเยอรมนี
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9.ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งหลักได้
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thailandsusu
ภายหลังจากการทัพเกาะกัวดัลคะแนล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารมากมายต่อกองทัพญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 กองทัพอเมริกันถูกส่งออกไปโจมตีกองทัพญี่ปุ่นจากหมู่เกาะอะลูเชียน และเริ่มต้นปฏิบัติการหลักในการโดดเดี่ยวเมืองราบูล โดยการยึดครองเกาะรอบ เพื่อตัดขาดกำลังสนับสนุน และการฝ่าช่องโหว่ในแนวป้องกันในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็สามารถประสบความสำเร็จทั้งในสองปฏิบัตการ และยังสามารถทำลายฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ในบริเวณหมู่เกาะแคโรไลน์ เมื่อถึงเดือนเมษายน กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้เริ่มปฏิบัติการที่จะยึดครองเกาะนิวกินีตะวันตก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8.จุดเปลี่ยนของสงคราม
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:wikipedia
ต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้เริ่มวางแผนยึดพอร์ตมอร์สบีในปฏิบัติการโม โดยการโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อเป็นการตัดเส้นทางเสบียงระหว่างสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้าขัดขวางและทำให้ทัพเรือญี่ปุ่นต้องล่าถอยไปได้ในยุทธนาวีทะเลคอรัล และสามารถขัดขวางการบุกครองปาปัวนิวกินีได้สำเร็จ ส่วนแผนการขั้นต่อไปของญี่ปุ่น อันเกิดจากการกระตุ้นหลังกรุงโตเกียวถูกทิ้งระเบิด คือ การยึดครองหมู่เกาะมิดเวย์ รวมไปถึงการล่อเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกมาทำลายในการรบด้วยและในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้ส่งอีกกองทัพหนึ่งไปยึดหมู่เกาะอะลูเชียนในอะแลสกา ในต้นเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นก็ได้งัดเอาแผนของตัวเองออกมาปฏิบัติ แต่ก็ถูกสกัดกั้น เนื่องจากกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจึงได้เตรียมตัวรับมือกับการบุกของญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงใช้ข่าวกรองดังกล่าวกระทั่งได้รับชัยชนะเด็ดขาดในยุทธนาวีมิดเวย์เหนือกองทัพเรือญี่ปุ่น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7.สงครามลุกลามทั่วโลก
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:worldwarpicture
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีรวมไปถึงกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรปและฟินแลนด์ ได้บุกครองสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ซึ่งเป็นการโจมตีที่เหนือความคาดหมาย โดยมีเป้าหมายคือการยึดครองรัฐบอลติก มอสโก และยูเครน และกำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้ใกล้กับแนวเอ-เอ เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นแนวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับทะเลขาว ส่วนวัตถุประสงค์ของฮิตเลอร์ คือ การทำลายอำนาจทางการทหารของสหภาพโซเวียต การกวาดล้างระบอบคอมมิวนิสต์ และสร้าง "พื้นที่อยู่อาศัย" โดยการใช้กำลังแย่งชิงดินแดนมาจากชนพื้นเมืองเดิม และเป็นการรับประกันการสร้างหนทางซึ่งนำไปสู่การยึดครองทรัพยากรที่จำเป็นต่อทำลายคู่แข่งของเยอรมนีที่ยังเหลืออยู่
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6.ฝ่ายอักษะเคลื่อนทัพ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:wikipedia
ในวันเดียวกัน เยอรมนีบุกครองฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมพ่ายแพ้จากผลของยุทธวิธีบลิทซครีกติดต่อกันในเวลาเพียงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ตามลำดับ ฝ่ายเยอรมนีใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งมีป่าปกคลุมหนาแน่น เพื่อโอบล้อมแนวป้องกันแมกิโนต์ของฝรั่งเศส ความผิดพลาดดังกล่าวเป็นเพราะนักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์ผิดว่าเทือกเขานี้เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติที่เชื่อกันว่า ยานยนต์หุ้มเกราะไม่อาจโจมตีผ่านได้ เมื่อถึงปลายเดือนพฤษภาคม ทหารอังกฤษถูกบีบให้ล่าถอยจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปในยุทธการดันเคิร์ก และทิ้งยุทโธปกรณ์หนักไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน อิตาลีเริ่มการบุกครองฝรั่งเศส และประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส สิบสองวันหลังจากนั้น ฝรั่งเศสยอมจำนน และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองของเยอรมนีและอิตาลีในเวลาไม่นานนัก และรัฐซึ่งไม่อยู่ภายใต้การยึดครองภายใต้ระบอบวีชี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพเรืออังกฤษก็ทำลายกองทัพเรือฝรั่งเศสในแอลจีเรีย เพื่อป้องกันมิให้กองทัพเยอรมนีนำไปใช้ในกรณีที่เป็นไปได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5.สงครามปะทุ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:worldwarpicture
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีและรัฐบริวารสโลวาเกียบุกครองโปแลนด์ วันที่ 3 กันยายน ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับเยอรมนี ตามมาด้วยบรรดาประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ แต่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่โปแลนด์เพียงเล็กน้อยเฉพาะการโจมตีขนาดเล็กของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันด์เท่านั้นแม้ว่าอีกทางหนึ่ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจะเริ่มต้นการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำลายเศรษฐกิจและความพยายามสงครามของเยอรมนี วันที่ 17 กันยายน หลังจากสงบศึกชั่วคราวกับญี่ปุ่นแล้ว สหภาพโซเวียตก็ได้เริ่มการบุกครองโปแลนด์ของตน ท้ายสุด โปแลนด์ได้ถูกแบ่งออกระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต ส่วนลิทัวเนียกับสโลวาเกียได้รับส่วนแบ่งบ้าง ชาวโปแลนด์มิได้ยอมจำนนและสถาปนารัฐใต้ดินโปแลนด์ กองทัพป้องกันประเทศ (Home Army) ใต้ดิน และยังสู้อิงฝ่ายสัมพันธมิตรในทุกแนวรบนอกประเทศ และในเวลาเดียวกับการรบในโปแลนด์ กองทัพญี่ปุ่นก็เปิดฉากโจมตีเมืองฉางซาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ของจีน แต่ก็ถูกขับไล่กลับมาเมื่อปลายเดือนกันยายน
ภายหลังการบุกครองโปแลนด์และการลงนามในสนธิสัญญากำหนดสิทธิปกครองลิทัวเนีย สหภาพโซเวียตได้บีบบังคับรัฐบอลติกเพื่อยินยอมให้สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้าไปประจำการภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างกันฟินแลนด์ปฏิเสธการเรียกร้องดินแดนและถูกสหภาพโซเวียตบุกครอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 และจบลงด้วยการยินยอมยกดินแดนบางส่วนให้กับสหภาพโซเวียต ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรมองว่าสหภาพโซเวียตพยายามจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้างเยอรมนี และได้ตอบสนองต่อการบุกครองโดยการขับสหภาพโซเวียตออกจากสันนิบาตชาติ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตบุกครองและยึดครองรัฐบอลติก
ในยุโรปตะวันตก อังกฤษได้วางกำลังบนยุโรปภาคพื้นทวีป แต่ในช่วงที่เรียกว่า สงครามลวง ไม่มีปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ระหว่างทั้งสองฝ่ายอีกกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 ทางด้านสหภาพโซเวียตและเยอรมนีได้บรรลุสนธิสัญญาการค้าระหว่างกัน ซึ่งสหภาพโซเวียตได้รับเครื่องประกอบทางทหารและทางอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยแลกกับการส่งวัตถุดิบให้กับเยอรมนี ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบจากการถูกปิดล้อมเมืองท่าโดยราชนาวีสหราชอาณาจักร
เดือนเมษายน ค.ศ. 1940 เยอรมนีบุกครองเดนมาร์กและนอร์เวย์ เพื่อควบคุมการขนส่งแร่เหล็กจากสวีเดน ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังจะขัดขวาง เดนมาร์กได้ยอมจำนนอย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่านอร์เวย์จะได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรแล้วก็ตาม แต่เยอรมนีก็ยังสามารถพิชิตนอร์เวย์ได้ในเวลาเพียงสองเดือน ความไม่พอใจต่อผลของการทัพนอร์เวย์ของชาวอังกฤษได้นำไปสู่การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรจากเนวิลล์ เชมเบอร์แลน เป็นวินสตัน เชอร์ชิลล์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4.การนับเวลา
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:worldwarpicture
สงครามโลกครั้งที่สองไม่สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นอย่างชี้ชัดแน่นอนได้ เพราะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง นักประวัติศาสตร์จึงเลือกหลายช่วงเวลาว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งนี้แตกต่างกันไปตามแนวคิดของตน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931 อิตาลีบุกครองเอธิโอเปีย ในปี ค.ศ. 1935 ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาติชาติสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937 เยอรมนีบุกครองโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามญี่ปุ่นโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมนีบุกครองสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1941 และยังมีนักเขียนบางคนให้ความเห็นว่า สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามครั้งเดียวกันกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป(ใช้คำว่า "สงครามกลางเมืองยุโรป" หรือ "สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง") อย่างไรก็ตาม ในตำราส่วนใหญ่มักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 และยุติเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945
นอกเหนือจากนั้น สงครามโลกครั้งที่สองยังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดแตกต่างกันเช่นกัน บ้างก็นับที่การประกาศสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มากกว่าการยอมจำนนอย่างเป็นทางการเมือ่วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945; บางประเทศในทวีปยุโรปยึดเอาวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นสำคัญ แต่ว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้มีการลงนามจนกระทั่งปี ค.ศ. 1951และสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศเยอรมนีมีการลงนามใน ค.ศ. 1990
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3.ทัศนะโดยทั่วไป
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:worldwarpicture
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดสงครามในระดับโลกขึ้นถึงสองครั้ง โดยสงครามโลกครั้งแรกเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเฉพาะในทวีปยุโรปเป็นสำคัญเท่านั้น แต่ในสงครามโลกครั้งที่สองนับได้ว่าเป็นสงครามที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างแท้จริง และพบว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการทีเดียว
สงครามโลกครั้งที่สองก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหลายประเทศ เพราะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นการระดมคนจำนวนมากเข้ามาประหัตประหารกัน ที่เรียกว่า "สงครามของคนหมู่มาก" (War of the Masses)แต่ในสงครามโลกครั้งที่สอง ประชาชนทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกับสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็น "สงครามของประชาชนทุกคน
สงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นการรบซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ (ฝ่ายอักษะ) และอีกฝ่ายที่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลกเอาไว้ (ฝ่ายสัมพันธมิตร) หรืออาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มตามอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติในครอบครองของตน ได้แก่ "กลุ่มประเทศมี" (Have Countries) กับ "กลุ่มประเทศไม่มี" (Have not Countries)อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายก็มิได้ให้ความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากนัก เพราะทั้งสองฝ่ายเพียงร่วมมือกันระหว่างประทศคู่สงครามเพื่อทำลายอีกคู่สงครามฝ่ายลงอย่างราบคาบเท่านั้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2.ภูมิหลัง
ขอขอบคุณรูปภาพจาก:worldwarpicture
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างใหญ่หลวงในยุโรป ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง รวมทั้งการล่มสลายของรัฐจักรวรรดิที่สำคัญ ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ตลอดจนจักรวรรดิรัสเซีย ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เซอร์เบียและโรมาเนีย รวมไปถึงการก่อตั้งรัฐใหม่หลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมันล่มสลาย หลังสงคราม ชาตินิยมอุดมการณ์เรียกร้องดินแดน (irredentism) และลัทธิแก้แค้น (revanchism) กลายมามีความสำคัญในหลายประเทศยุโรป อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนและลัทธิแก้แค้นแรงกล้ามากในเยอรมนี เพราะเยอรมนีบังคับตามสนธิสัญญาแวร์ซายเป็นผลให้เยอรมนีเสียดินแดนของประเทศไปร้อยละ 13 รวมทั้งอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด การรวมเยอรมนีเข้ากับประเทศอื่นถูกห้าม ซ้ำต้องแบกภาระชำระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล และถูกจำกัดขนาดและขีดความสามารถของกองทัพอย่างมากขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองรัสเซียได้นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำโดยพรรคบอลเชวิค ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...