ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1911
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา

[คัดลอกลิงก์]
พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา

พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม (หลวงพ่อประสูติ) วัดในเตา

ประวัติพระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม (หลวงพ่อประสูติ) วัดในเตา
พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา(วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์) นับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านหนึ่งในช่วง4-5ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ จะต้องมีพระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา ร่วมพิธีด้วยเสมอ พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีเยอะมากพอสมควร แต่จำนวนการสร้างแต่ละอย่างจะไม่มากนักแต่หลากหลาย โดยเฉพาะ เครื่องรางของขลัง ที่ท่านสร้างออกมาจะเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์โดยตลอดมา เช่น หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ที่เป็นตะกรุดจะหายากมากไม่ค่อยมีหมุนเวียนในสนามพระ ซึ่งพระอาจารย์ประสูติ มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาการผูก"หุ่นพยนต์" ซึ่งหุ่นพยนต์ ของอาจารย์ประสูติ จะเป็นได้ทั้งหญิงและชาย หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ท่านทำจากตะกรุดจารอักขระด้ายที่ร้อยจะเป็นสีเหลืองทอง ยุคต่อมาจะเป็นไหมสีขาว และต่อมาก็เป็น หุ่นพยนต์มงคลเก้า หรือ หุ่นพยนต์มหามงคล 9, หม่อมกวัก,หน้ากากมโนราห์ หน้ากากพรานบุญ,เสือนอนกิน,เจ็ดนารีพันหลัก,ตะกรุด,ผ้ายันต์,ศาสตร์ดวงตราพลังจักรวาล,และอีกมากมาย

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 16:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติพระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา หรือ (หลวงพ่อประสูติ วัดในเตา)
พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ หรือวัดในเตา หมู่ที่ 1 ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากวัดหนึ่ง เป็นสายสำนักเขาอ้อ ซึ่งพระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาส วัดในเตา หลวงพ่อประสูติ ถือได้ว่าเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและหลวงพ่อประสูติ ก็ยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้เป็นที่นับถือศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป ทั้งใน จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และใกล้เคียง
พระอาจารย์ประสูติ มีนามเดิมว่า สูตร คงฤทธิ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2508 ณ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหลุด ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายประดิษฐ์ และนางสนิท คงฤทธิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางพารา หาเงินส่งเสียให้ลูกๆ ได้เล่าเรียนหนังสือ
เมื่อวัยเยาว์
ท่านได้เรียนหนังสือระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ได้ไปพักอยู่ประจำที่วัดในเตา กับ หลวงปู่แสง ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองตรัง สายสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง เลยทำให้ พระอาจารย์ประสูติ มีโอกาสได้ศึกษา เล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆจากหลวงปู่แสง จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง

อุปสมบท
และเมื่อท่านอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ.2529 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดห้วยยอด จ.ตรัง โดยมีพระครูนิมิตสังฆคุณ เจ้าคณะอำเภอห้วยยอด เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระอาจารย์ประสูติ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ก่อนกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์วัตร เสาะแสวงหาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังตามภาคต่างๆ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาความรู้ เริ่มต้นเรียนจากหลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งขณะนั้นในบริเวณรอบวัด ถือเป็นพื้นที่สีแดง แต่หลวงปู่แสงและพระอาจารย์ประสูติ สามารถอยู่จำพรรษาได้อย่างปกติสุข เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน
กราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ เพื่อไปศึกษาวิชาความรู้
หลังร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่แสง ท่านได้กราบลา เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ครูบาเหมย วัดศรีดงเย็น จ.เชียงใหม่ เดินทางลงมายังภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแผด จ.กาญจนบุรี
ส่วนภาคใต้ ท่านเดินทางไปยังหลายวัด เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อาทิ หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร, พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา, หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง เป็นต้น
การออกธุดงค์เสาะแสวงหาพระอาจารย์ ของ"พระอาจารย์ประสูติ"เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ทำให้เป็นพระนักปฏิบัติดี ปฏิบัติมั่นในพระธรรมวินัย ศีลาจารวัตรงดงาม แข็งแกร่งในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิแก่กล้า จนเป็นที่เลื่องลือ ในด้านการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเด่นในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 16:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



"พระอาจารย์ประสูติ"เดินทางกลับ จังหวัดตรัง
และใน ปี พ.ศ.2540 พระอาจารย์ประสูติ ท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง อีกครั้ง และต่อมา พ.ศ.2535 หลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา มรณภาพลง ทำให้วัดแห่งนี้แทบจะกลายเป็นวัดร้างไป เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาสและพระลูกวัดอาศัยอยู่อย่างถาวร แม้จะมีพระสงฆ์หลายรูปหมุนเวียนกันมาเพื่ออยู่จำพรรษาที่วัดในเตา แต่ท้ายสุดไม่สามารถอยู่ได้และต้องย้ายออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวบ้านรับทราบว่า พระอาจารย์ประสูติ เดินทางกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดห้วยยอด ในฐานะที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่แสง มากที่สุด และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเช่นเดียวกับหลวงปู่แสง บรรดาชาวบ้านจึงได้ไปกราบนิมนต์ขอให้พระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาสวัดในเตา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน แม้ชื่อจริงของท่านคือ สูติ แต่ลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนผู้ที่เคารพนับถือ ถนัดที่จะเรียกท่านว่า พระอาจารย์ประสูติ จนติดปาก จะมีบ้างที่ศิษย์ต่างจังหวัดจะเรียกว่า "หลวงพ่อประสูติ" ทั้งนี้ พระอาจารย์ประสูติ มีวิชาความรู้เกี่ยวกับพิธีการปลุกเสกจตุคามรามเทพ มาแต่สมัยยังเป็นสามเณร ที่วัดห้วยยอด ด้วยเคยติดตามหลวงปู่แสง ไปร่วมพิธีปลุกเสก ณ วิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530
ด้วยชื่อเสียงของท่านที่ขจรขยายไปทั่ว ทำให้วัดในเตา เป็นสถานที่หนึ่ง ในพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพไปโดยปริยาย ดังนั้น หากในประเทศไทยหรือในภาคใต้ มีวัดแห่งใดประสงค์ที่จัดสร้างจตุคามรามเทพ นอกเหนือไปจากวิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช และวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง เพื่อประกอบพิธีแล้ว วัดในเตา จ.ตรัง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นิยมใช้ในการทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องรุ่นต่างๆ

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 16:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สำหรับวัดในเตา ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2203 มีพระพุทธรูปที่สวยงามและศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่คู่กับวัด 3 องค์ คือ พระพุทธโกษีย์ พระธรรมรูจี และพระศรีไกรสร โดยได้นำเอาชื่อของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ในถ้ำ มาตั้งเป็นชื่อวัด และภายในถ้ำแห่งนี้ เป็นที่ร่ำลือกันว่า มีเหล็กไหล ฝังอยู่มานานหลายร้อยปีแล้ว เป็นผลทำให้มีชาวบ้านจำนวนมาก แอบลักลอบเข้าไปขุดเหล็กไหล สร้างความเสียหายอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ประสูติ จึงได้นำเหล็กไหล ที่ได้กระทำพิธีขอพลีขึ้นมาจากใต้ถ้ำ รวมน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ไปฝังเอาไว้ใต้พระประธานภายในอุโบสถวัด เพื่อต้องการแก้ปัญหาการทุบทำลายถ้ำ ขโมยเหล็กไหล และพระอาจารย์ประสูติ ท่านได้นำเหล็กไหล บางส่วนมาสร้างเป็นพระเครื่องต่างๆ หลากหลายรูปแบบ แต่จำนวนการสร้างแต่ละแบบน้อยมากเลยไม่ค่อยมีใครพบเห็น และหลายๆคนที่มีก็ไม่ยอมปล่อยให้เช่าบูชากัน พระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ยุคแรกๆของท่านส่วนใหญ่จะสร้างน้อยเพราะทำกันเองที่วัด และพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มักจะเจอคู่กันบ่อยๆในพิธีต่างๆ คือ พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งของ พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้