ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระองค์ที่ ๔ : สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 09:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๖๒
ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ นี้
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ

เดิมทรงพระราชดำริที่จะตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ
เป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เมื่อ ณ เดือน ๔ พุทธศักราช ๒๓๖๒ ปีเถาะ เอกศก นั้นแล้ว
แต่เมื่อปีมะโรง โทศก ข้างต้นปี เกิดอหิวาตกโรคมาก
ยังไม่ทันจะได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
ถึงเดือน ๑๑ มีโจทก์ฟ้องกล่าวอธิกรณ์สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)
ว่าชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาที่ไม่สมควรแก่สมณะ
ชำระได้ความเป็นสัตย์ อธิกรณ์ไม่ถึงเป็นปาราชิก
จึงเป็นแต่ให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระราชาคณะและเนรเทศไปจากพระอารามหลวง

ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่
และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก พุทธศักราช ๒๓๖๒

ครั้นเมื่อถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ
ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พุทธศักราช ๒๓๖๓
จึงทรงตั้ง สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช
ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้

“ศริศยุภอดีตกาล พระพุทธสักราช
ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ
ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ

สมเด็จบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า
ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลยปรีชาอันมหาประเสริฐ
มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา
ให้สมเด็จพระญาณสังวรเปนสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี
ศรีสมณุตมาปรินายกติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร
วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร
จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง”

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 09:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๘ พรรษาแล้ว
ดังนั้น จึงทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
เหตุที่ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน  
สันนิษฐานว่าเพราะทรงเป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะ
แต่ประเพณีการเลือกสมเด็จพระสังฆราช คงถือเอาคันถธุระเป็นสำคัญ

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ
จึงไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน
มาในครั้งนี้เห็นจะทรงพระราชดำริว่า พรรษาอายุท่านมากอยู่แล้ว
มีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้ถึงเกียรติยศที่สูงสุดให้สมกับที่ทรงเคารพนับถือ
เข้าใจว่าเห็นจะถึงทรงวิงวอน ท่านจึงรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช

อนึ่ง ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นได้มีขึ้นในรัชกาลที่ ๒
โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้แห่ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบุรณะ
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เป็นพระองค์แรก พระองค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แห่งจากวัดราชสิทธาราม มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ

พระองค์ที่ ๓ คือ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แห่จากวัดสระเกศมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ

พระองค์สุดท้ายคือ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓)
ในประกาศสถาปนาว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
ตามประกาศ เพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุกำลังปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม
สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ อันเป็นพระอารามเดิมจนสิ้นพระชนม์
แต่นั้นมาธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไป
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 09:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)  

24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-3 09:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช อยู่เพียง ๑ ปี กับ ๑๐ เดือนเท่านั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓  ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๖๕
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย ในรัชกาลที่ ๒
มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง
พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูง
บางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว  
นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถืออย่างยิ่งนั้นเอง

ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง
พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น  

ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิ
ประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขนาดย่อมขึ้นอีก
ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก
พร้อมกันกับรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม
ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗
ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง

พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ
อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุ
ยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ
ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดเกล้าฯ ให้เชิญไป
เมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕  
และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับ
พระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้

    

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.  
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.mbu.ac.th/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://watplub.com/


กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13252   
                                                                                    
............................................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44309

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้