ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๔ : สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
1
2
3
/ 3 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๔ : สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
21
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 09:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๖๒
ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ นี้
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
ขึ้นเป็น
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เดิมทรงพระราชดำริที่จะตั้ง
สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)
วัดสระเกศ
เป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เมื่อ ณ เดือน ๔ พุทธศักราช ๒๓๖๒ ปีเถาะ เอกศก นั้นแล้ว
แต่เมื่อปีมะโรง โทศก ข้างต้นปี เกิดอหิวาตกโรคมาก
ยังไม่ทันจะได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
ถึงเดือน ๑๑ มีโจทก์ฟ้องกล่าวอธิกรณ์สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)
ว่าชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาที่ไม่สมควรแก่สมณะ
ชำระได้ความเป็นสัตย์ อธิกรณ์ไม่ถึงเป็นปาราชิก
จึงเป็นแต่ให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระราชาคณะและเนรเทศไปจากพระอารามหลวง
ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่
และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก พุทธศักราช ๒๓๖๒
ครั้นเมื่อถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ
ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พุทธศักราช ๒๓๖๓
จึงทรงตั้ง
สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)
ขึ้นเป็น
สมเด็จพระสังฆราช
ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้
“ศริศยุภอดีตกาล พระพุทธสักราช
ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ
ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ
สมเด็จบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า
ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลยปรีชาอันมหาประเสริฐ
มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา
ให้สมเด็จพระญาณสังวรเปนสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี
ศรีสมณุตมาปรินายกติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร
วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร
จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
22
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 09:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๘ พรรษาแล้ว
ดังนั้น จึงทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
เหตุที่ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน
สันนิษฐานว่าเพราะทรงเป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะ
แต่ประเพณีการเลือกสมเด็จพระสังฆราช คงถือเอาคันถธุระเป็นสำคัญ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ทรงเป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ
จึงไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน
มาในครั้งนี้เห็นจะทรงพระราชดำริว่า พรรษาอายุท่านมากอยู่แล้ว
มีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้ถึงเกียรติยศที่สูงสุดให้สมกับที่ทรงเคารพนับถือ
เข้าใจว่าเห็นจะถึงทรงวิงวอน ท่านจึงรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช
อนึ่ง ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นได้มีขึ้นในรัชกาลที่ ๒
โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้แห่
สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบุรณะ
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
เป็นพระองค์แรก พระองค์ที่ ๒ คือ
สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แห่งจากวัดราชสิทธาราม มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
พระองค์ที่ ๓ คือ
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
แห่จากวัดสระเกศมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
พระองค์สุดท้ายคือ
สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓)
ในประกาศสถาปนาว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
ตามประกาศ เพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุกำลังปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม
สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ อันเป็นพระอารามเดิมจนสิ้นพระชนม์
แต่นั้นมาธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
23
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 09:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
24
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 09:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช อยู่เพียง ๑ ปี กับ ๑๐ เดือนเท่านั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๖๕
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเมีย ในรัชกาลที่ ๒
มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง
พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูง
บางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว
นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถืออย่างยิ่งนั้นเอง
ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง
พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น
ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิ
ประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม
เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้
ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระรูป
สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ขนาดย่อมขึ้นอีก
ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก
พร้อมกันกับรูป
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)
วัดโมลีโลกยาราม
ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗
ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง
พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ
อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุ
ยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ
ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดเกล้าฯ ให้เชิญไป
เมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕
และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับ
พระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.mbu.ac.th/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://watplub.com/
กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13252
............................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44309
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
3
/ 3 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...