ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๓ : สมเด็จพระสังฆราช (มี)
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 4696
ตอบกลับ: 26
พระองค์ที่ ๓ : สมเด็จพระสังฆราช (มี)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-2 23:27
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
พุทธศักราช ๒๓๕๙-๒๓๖๒
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
หัวข้อ
• พระประวัติในเบื้องต้น
• จัดสมณทูตไทยไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
• สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
• เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
• เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ
• การทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์
• ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม
• พระกรณียกิจพิเศษ
• พระอวสานกาล
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:28
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระประวัติในเบื้องต้น
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
ประสูติเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๒๙๓
ตรงกับวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๑๒
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
อนึ่ง หลักฐานตอนต้นของท่านนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด
มาทราบได้ก็ตอนที่ท่านเป็นมหามีเปรียญเอก สถิต ณ วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ)
ในสมัยเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงฟื้นฟูส่งเสริมการพระศาสนาเป็นการใหญ่
ดังที่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
ได้กล่าวถึงสมเด็จพระสังฆราช (มี) เมื่อครั้งยังเป็น
มหามี
ซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับชั้นว่า
“ให้มหามีเปรียญเอกวัดเลียบเป็นพระวินัยรักขิตแทนพระอุบาลี
และพระพุฒาจารย์ วัดบางหว้าน้อยนั้น อาพาธลงถึงแก่มรณภาพ
ทรงพระกรุณาให้ทำฌาปนกิจแล้ว
ให้นิมนต์พระเทพมุนีไปครองวัดบางหว้าน้อยแทน...”
เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระเปรียญเอกอยู่วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ)
ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักขิต
แทนตำแหน่งที่
พระอุปาฬี
ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ
มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงพระราชดำริว่า ที่พระอุปาฬี
ต้องกับนามพระอรหันต์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แปลงนามเลยใหม่เป็น
พระวินัยรักขิต
ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราช (มี)
จึงทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นที่
พระพิมลธรรม
ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้ง
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
และ
สมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงแก่มรณภาพ
ในราวต้นรัชกาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นที่
สมเด็จพระพนรัตน
ทรงคัดเลือกสมณทูตไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป
ในขณะที่ยังดำรงสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระพนรัตน (มี)
ซึ่งขณะนั้น
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
ทรงพระชราทุพพลภาพมาก
ดังที่พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ไว้ว่า
“ครั้นถึงปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
มีพระสงฆ์ลังกาเข้ามาอีก ๑ รูป ชื่อพระสาสนวงศ์
อ้างว่ามหาสังฆนายกในลังกาทวีป
ให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
แต่ไม่มีสมณสาสน์หรือสิ่งสำคัญอันใดมา
ครั้นไต่ถามถึงการพระศาสนาในลังกาทวีป
พระสาสนวงศ์ก็ให้การเลื่อนเปื้อนไปต่างๆ
ซ้ำมาเกิดรังเกียจ ไม่ปรองดองกันกับพระลังกาที่เข้ามาอยู่แต่ก่อน
จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่า
จะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป
ทรงพระราชดำริว่า มีไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
แต่เลิกร้างเสียเพราะเหตุเกิดสงครามไม่ได้ไปมาหาสู่กันช้านาน
บัดนี้กรุงสยามก็ได้ประดิษฐานกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
เป็นอิสระมั่นคงแล้ว และได้ข่าวว่าลังกาเสียแก่อังกฤษ
การพระศาสนาและศาสนวงศ์ในลังกาทวีปเป็นอย่างไร
ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้ จึงทรงเผดียง
สมเด็จพระพนรัตน (มี) วัดราชบุรณะ กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี)
ให้จัดหาภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้และเหนือ
จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง...”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระพนรัตน (มี) จึงเลือกอาราธนาพระภิกษุวัดราชบุรณะได้ ๔ รูป คือ
๑. พระอาจารย์ดี
๒. พระอาจารย์คง
๓. พระอาจารย์เทพ และ
๔. พระอาจารย์ห่วง (หลักฐานบางแห่งว่าชื่อ พระอาจารย์จันทร์)
ได้ร่วมกับพระภิกษุวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
ซี่งพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ได้เลือกไว้ ๔ รูป คือ
๑. พระอาจารย์อยู่
๒. พระอาจารย์ปราง
๓. พระอาจารย์เซ่ง
๔. พระอาจารย์ม่วง
ทั้งนี้ ได้มีมติให้พระภิกษุชาวลังกาอีก ๒ รูป คือ
๑.
พระรัตนปาละ
และ ๒.
พระหิระ
รวมทั้งหมดด้วยกัน ๑๐ รูป
โดยชุดสมณทูตคณะสงฆ์ไทย ได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๗ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ไทยเราได้ส่งสมณทูต
ไปเผยแพร่หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จัดสมณทูตไทยไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระพนรัตน
สมเด็จพระสังฆราช (มี)
ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่สำคัญครั้งหนึ่ง
คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ทรงมีพระราชดำริที่จะให้พระสงฆ์ไทยออกไปสืบข่าวพระศาสนายังลังกาทวีป
แต่เนื่องจาก
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
ขณะนั้นทรงชราภาพ
จึงทรงมอบหมายให้
สมเด็จพระพนรัตน (มี)
เป็นผู้จัดสมณทูตเพื่อออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังลังกาทวีปครั้งนี้
ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ดังนี้
“เมื่อปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
แต่ในปลายรัชกาลที่ ๑ มีพระภิกษุชาวลังกาชื่อพระวลิตรภิกษุ รูป ๑ กับ สามเณร ๒ รูป
เข้ามาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงกรุงเทพฯ
โปรดให้วลิตรภิกษุกับสามเณรชื่อรัตนปาละ
ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดมหาธาตุ
สามเณรอีกรูป ๑ ชื่อหิธายะ ให้ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพน
ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ สามเณรลังกาทั้ง ๒ รูป ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสยามวงศ์
เพราะถือว่าเป็นวงศ์เดียวกับพระสงฆ์ในลังกาทวีป ซึ่งได้รับอุปสมบทแต่พระอุบาลี
ที่ออกไปในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศครั้งกรุงเก่า
จึงโปรดให้สามเณรทั้ง ๒ นี้เป็นนาคหลวงบวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และพระราชทานนิตยภัตไตรปีสืบมา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่าจะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป
ทรงพระราชดำริว่าพระสงฆ์ในลังกาทวีปก็เป็นสมณวงศ์อันเดียวกันกับ
พระสงฆ์ในสยามประเทศ เคยมีสมณไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า
แต่เริดร้างมาเสียเพราะเกิดเหตุศึกสงคราม ไม่ได้ไปมาหาสู่ถึงกันช้านาน
บัดนี้ กรุงสยามก็ได้ประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี มีอิสระมั่นคงแล้ว
แลได้ข่าวว่าลังกาทวีปเสียแก่อังกฤษ
การพระศาสนาแลศาสนวงศ์ในลังกาทวีปจะเป็นอย่างไร
ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้
จึงทรงเผดียงสมเด็จพระวันรัตน์ (มี) วัดราชบูรณะ
กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ให้จัดหาพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้แลคณะเหนือ
จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง
สมเด็จพระวันรัตนจัดได้พระวัดราชบูรณะ ๕ รูป คือ
พระอาจารย์ดีรูป ๑ พระอาจารย์เทพรูป ๑ พระแก้วรูป ๑ พระคงรูป ๑ พระห่วงรูป ๑
พระพุทธโฆษาจารย์จัดได้พระวัดมหาธาตุ ๔ รูป คือ พระอาจารย์อยู่รูป ๑ พระปรางรูป ๑
พระเซ่งรูป ๑ พระม่วงรูป ๑ รวมพระสงฆ์ไทย ๙ รูป ครั้งนั้นพระรัตนปาละ
พระหิธายะชาวลังกา ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในกรุงเทพฯ
ทราบว่าพระสงฆ์สมณทูตไทยจะออกไปลังกา
ถวายพระพรลาจะออกไปเยี่ยมญาติโยมของตนด้วย
โปรดให้ไปกับสมณทูต พระสงฆ์ที่จะไปจึงรวมเป็น ๑๐ รูปด้วยกัน
เมื่อจัดพระได้พร้อมแล้ว ถึงเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีจอ ฉศก พ.ศ. ๒๓๗๕
โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์สมณทูตเข้าไปรับผ้าไตรแลเครื่องบริขารต่อพระหัตถ์
แลโปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับเทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่
เป็นของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุ และพระเจดียฐานในลังกาทวีป
แลโปรดให้จัดเครื่องสมณบริขาร ๓ สำรับ คือ บาตร ฝาแลเซิงประดับมุก
ถลกบาตรสักหลาดแดง ไตรแพรปักสี
ย่ามหักทองขวางเป็นของพระราชทานพระสังฆนายก
พระอนุนายก แลพระเถระซึ่งรักษาพระทันตธาตุ ณ เมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี
แลมีสมณสาสน์ของสมเด็จพระสังฆราช ไปถึงพระสังฆนายกด้วยฉบับหนึ่ง
โปรดให้หมื่นไกร กรมการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นไวยาวัจกรสมณทูต
แลคุมต้นไม้เงินทองสิ่งของพระราชทานไปด้วย
สมณทูตลงเรือกรมอาสาจามไปจากกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ
ถูกลมว่าวพัดกล้าคลื่นใหญ่ เรือไปชำรุดเกยที่ปากน้ำเมืองชุมพร
พระยาชุมพรจัดเรือส่งไปเมืองไชยา พระยาไชยาจัดเรือส่งต่อไป
ถึงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ
ไม่ทันฤดูลมที่จะใช้ใบไปลังกาทวีป
สมณทูตจึงต้องค้างอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ๑๑ เดือน
ในระหว่างนั้น พระวลิตรภิกษุ กับพระศาสนวงศ์
พระลังกาที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์ไทยยังค้างอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช
ถวายพระพรลาว่าจะกลับไปบ้านเมืองกับสมณทูตไทย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:30
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อได้พระราชทานอนุญาตแล้ว ก็ตามออกไปยังเมืองนครศรีธรรมราช
แต่เมื่ออกไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว พระวลิตรภิกษุ กับพระรัตนปาละ พระหิธายะ
ที่มาบวชในกรุงเทพฯ ไปประพฤติตัวไม่เรียบร้อยต่างๆ
พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เห็นว่า ถ้าให้พระลังกา ๓ รูปนั้น
ไปกับพระสงฆ์สมณทูตไทยเกรงจะไปเกิดเหตุการณ์ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
จึงจัดส่งไปเกาะหมากทั้ง ๓ รูป ให้กลับไปบ้านเมืองของตนตามอำเภอใจ
คงให้ไปกับพระสงฆ์ไทยแต่พระศาสนวงศ์รูปเดียว
แต่เมื่อไปขึ้นบกในอินเดียแล้วพระศาสนวงศ์ก็หลบหายไปอีก
พระสงฆ์สมณทูตไทยไปบกจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปลงเรือที่เมืองฝรั่ง
ได้ออกเรือเมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘
ไปกับเรือที่บรรทุกช้างไปขายในอินเดีย
พระยานครศรีธรรมราชมีจดหมายไปถึงสังฆนาเกน นายห้างพราหมณ์อยู่
ณ เมืองบำบุดบำดัด ซึ่งเป็นคนชอบกับเจ้าพระยานคร ได้เคยรับซื้อช้างกันมาเสมอทุกปี
ครั้นเรือไปถึงเมืองบำบุดบำดัด
สังฆนาเกนได้ทราบความในหนังสือเจ้าพระยานครแล้ว
ก็ช่วยเป็นธุระรับรองพระสงฆ์สมณทูต แลให้เที่ยวหาจ้างคนนำทางที่จะไปลังกา
พระสงฆ์ต้องคอยท่าอยู่อีกเดือนหนึ่ง จึงได้บลิม แขกต้นหนคน ๑
เคยมาค้าขายที่เมืองฝรั่งพูดไทยได้เป็นล่าม แลนำทางไป
ต้นไม้ทองเงินธูปเทียนแลเครื่องบริขารของพระราชทานนั้นบลิมก็รับไปด้วย
เรียกค่าจ้างเป็นเงิน ๑๘๐ รูเปีย
ออกเดินไปจากเมืองบำบุดบำดัด เมื่อ ณ เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ไป ๗๖ วัน
ถึงท่าข้ามไปเกาะลังกา บลิมจ้างเรือไปส่งไปวัน ๑ ถึงเกาะลังกา
ขึ้นเดินไปจากท่าเรืออีก ๓ วัน ถึงเมืองอนุราธบุรี
เมื่อ ณ วันเดือน ๘ บุรพาสาธขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด อัฐศก พ.ศ. ๒๓๕๙
พักอยู่ที่เมืองอนุราธบุรี ๓ วัน กุมารสิยูม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองอนุราธบุรีนั้น
จัดคนนำทางส่งต่อไปเมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี เดินไปได้ ๑๖ วัน
ถึงคลองน้ำชื่อว่า วาลุกคงคา เมื่อ ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้นค่ำ ๑
ขุนนางเมืองสิงขัณฑทราบว่าพระสงฆ์ไทยไปถึงคลองวาลุกคงคา
จึงแต่งให้พันนายบ้านราษฎรออกมาปฏิบัติ
ทำปะรำดาดผ้าขาวให้พักอาศัยอยู่คืนหนึ่ง
รุ่งขึ้น ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้น ๒ ค่ำ พระสงฆ์ สามเณร ราษฎรชาวลังกาชายหญิง
ออกมารับสมณทูตไทยแห่เข้าไปในเมือสิงขัณฑ ให้ไปอยู่วัดบุปผาราม
เวลานั้นอังกฤษพึ่งได้เกาะลังกาเป็นเมืองขึ้นใหม่ๆ
เจ้าเมืองอังกฤษกำลังเอาใจชาวลังกา
ให้เห็นว่าไม่ประสงค์จะเบียดเบียนพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ชาวลังกาเคยได้รับนิตยภัตจตุปัจจัยมาแต่
เมื่อยังมีพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬปกครองอย่างไร ก็คงให้อย่างนั้น
พระสงฆ์ไทยก็ได้รับความอุปการะเหมือนกับพระสงฆ์ชาวลังกาด้วยทุกอย่าง
ฝ่ายพระสังฆนายก พระอนุนายกชาวสิงหฬ ก็ช่วยทำนุบำรุง
พาสมณทูตไทยไปหาเจ้าเมืองอังกฤษ ขอลูกกุญแจมาไขเปิดพระทันตธาตุมนเทียร
แลเชิญพระทันตธาตุออกให้นมัสการ
แล้วพาไปนมัสการพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏ
ได้ไปเที่ยวนมัสการพระเจดีย์ฐานที่สำคัญทุกแห่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมณทูตไทยอยู่ในลังกาทวีป ๑๒ เดือนจึงลาพระสังฆนายก พระอนุนายกกลับมา
พระสังฆนายก พระอนุนายก ประชุมพร้อมกัน
ทำสมณสาสน์ตอบให้สมณทูตไทยถือเข้ามาถึงสมเด็จพระสังฆราชฉบับ ๑
ในสมณสาสน์นั้นว่า พระสังฆนายก พระอนุนายก
ได้ช่วยทำนุบำรุงพระสงฆ์ไทยตั้งแต่ไปจนกลับมา มีความผาสุกทุกองค์
จัดได้พระเจดีย์แก้วผลึกสูง ๘ นิ้วบรรจุพระบรมธาตุ ๕ พระองค์
พระพุทธรูปกาไหล่ทองคำหน้าตัก ๕ นิ้วองค์หนึ่ง ฉลองพระเนตรองค์หนึ่ง
ถวายเข้ามาในสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
แลจัดได้พระเจดีย์กาไหล่ทองคำองค์หนึ่งสูง ๑๒ นิ้ว
บรรจุพระบรมธาตุ ๓ พระองค์ แว่นตาศิลาอันหนึ่ง ถวายสมเด็จพระสังฆราช
อนึ่ง เมื่อสมณทูตไทยกลับมาคราวนั้น
ได้หน่อพระมหาโพธิเมืองอนุราธบุรีเข้ามาด้วย ๖ ต้น
พระสงฆ์ไทยออกจากเมืองสิงขัณฑ ณ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลูนพศก พ.ศ. ๒๓๖๐
ขุนนางอังกฤษที่เป็นเจ้าเมืองกลัมพู เอาเป็นธุระฝากเรือลูกค้ามาส่งที่เมืองบำบุดบำดัด
แล้วสังฆนาเกนเศรษฐีเสียค่าระวาง ให้เรือกำปั่นลูกค้ามาส่งที่เมืองเกาะหมาก
ขึ้นพักอยู่ที่เมืองเกาะหมาก ๔ เดือน
พระยานครศรีธรรมราชทราบว่า พระสงฆ์ซึ่งไปลังกากลับมาถึงเมืองเกาะหมากแล้ว
จึงแต่งหรือไปรับ แลจัดส่งเข้ามา ถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๙ แรมค่ำ ๑
ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๖๑
แลต้นพระมหาโพธิที่ได้มานั้น พระอาจารย์เทพ ขอเอาไปปลูกไว้ที่เมืองกลันตันต้นหนึ่ง
เจ้าพระยานครขอเอาไปปลูกที่เมืองนครสองต้น ได้เข้ามาถวายสามต้น
โปรดให้ปลูกไว้ที่วัดสุทัศน์ต้นหนึ่ง วัดมหาธาตุต้นหนึ่ง วัดสระเกศต้นหนึ่ง
แล้วทรงตั้งพระอาจารย์ดีเป็นที่พระคัมภีรปรีชา
ตั้งพระอาจารย์เทพเป็นที่พระปัญญาวิสารเถร พระห่วงนั้นทรงเห็นว่าได้เรียนหนังสือ
รู้ภาษามคธมาก ได้ช่วยเป็นล่ามโต้ตอบกับชาวลังกา
ไม่เสียรัดเสียเปรียบ เป็นคนฉลาดไหวพริบดี
จึงทรงตั้งให้เป็นพระวิสุทธิมุนี เป็นพระราชาคณะทั้ง ๓ รูป
พระสงฆ์ที่ได้เป็นสมณทูตไปลังกานอกจากนั้น
พระราชทานไตรปืแลนิตยภัตต่อมา เดือนละ ๘ บาทบ้าง ๖ บาทบ้างทุกรูป
พระกรณียกิจครั้งนี้นับว่าเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญ
เพราะเป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา
ที่เริดร้างกันมากว่าครึ่งศตวรรษ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งเป็นการปูทางให้แก่สมณทูตไทยในรัชกาลต่อมา
ซึ่งยังผลให้คณะสงฆ์ไทยและลังกา มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น
อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:31
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๕๙
ตรงกับวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวดอัฐศก เวลา ๒ โมงเช้านี้
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา
สมเด็จพระพนรัตน (มี)
ขึ้นเป็น
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๕๙
ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้
“ศิริศยุภมัศดุอดีตกาลพระพุทธศักราชชไมยะ
สหัสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกูณสัฏฐีเตมสประจุบันกาล
มุสิกสังวัจฉรมาสกาลปักษ์ยครุวารสัตตดฤษถีบริเฉทกาลอุกฤษฐ์
สมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า
ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลยอันมหาประเสริฐ
ทรงพระราชศรัทธามีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท
ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้
สมเด็จพระพนรัตน เป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติยวรา
สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์
สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี
เป็นประธานถานาทุกคณะนิกรจัตุพิธบรรพสัช
สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหารพระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล
พระชนมายุศมศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลวิมลทฤฆายุศม ในพระพุทธศาสนาเถิด”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-2 23:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เองที่ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกว่า
สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีราชทินนามว่า
“สมเด็จพระอริยวงษญาณ”
กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแก้เป็น
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
และใช้พระนามนี้สืบมาจนปัจจุบัน
หมู่พระพุทธรูปที่พระวิหารคด วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...