ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2553
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระอุปัชฌาย์ปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง

[คัดลอกลิงก์]
พระอุปัชฌาย์ปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 01:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอุปัชฌาย์ปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง

ประวัติพ่อท่านปลอด ซึ่งท่านเป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ หลวงพ่อปลอด เป็นที่พึ่งพาของชาวบ้านเมื่อยามเดือนร้อน เป็นที่เคารพนับถือของชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก เพราะชื่อเสียงของท่านกระฉ่อนไปทั้งส
ี่ทิศกินตำแหน่ง เจ้าคณะปกคลุ่มอำเภอฉวาง ,ช้างกลาง ,ถ้ำพรรณรา ,นาบอน และ ทุ่งใหญ่

ประวัติหลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง
หลวงพ่อปลอด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2410 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ บ้านเกาะใหญ่ อ.เมือง จ.สงขลา บิดาชื่อ เปรม มารดาชื่อ เอียด (สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) มีพี่น้องรวมกัน 3 คน คือ นางหนู หลวงพ่อปลอดและนายผอมหรือพระผอม (บวชอยู่ ณ วัดบ่อท่อ อ.ระโนด จ.สงขลา)
เมื่อยังเยาว์"หลวงพ่อปลอด"ได้เล่าเรียนหนังสือที่บ้านพ่อตาขุน(พ่อเฒ่าบ้าน ในสมัยนั้น) เมื่ออายุได้ 20 ปี ได้ถูกเกณฑ์ทหารไปรบที่เมืองไทรบุรี เจ้าเมืองแขกเป็นกบฏ พ่อท่านปลอด กลัวจะถูกเกณฑ์ทหารจึงได้หลบขึ้นไปอาศัยกับญาติที่บนภูเขาในท้องที่ ต.เกาะใหญ่ ภายหลังเมื่อต้องการที่จะพ้นความผิด จึงได้ตกลงที่จะบวช ในที่สุดก็ได้บวชเมื่ออายุ 20 ปีนั่นเอง ณ วัดพังตรี มีหลวงพ่อเสน เจ้าอาวาสวัดพังตรีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ต.ระวะ อ.ระโนด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ่อท่านปลอด บวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งกับหลวงพ่อแก้วเป็นเวลาถึง 15 พรรษา ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ คาถาอาคมต่าง ๆเป็นที่เคารพนับถือของชาว ต.ระวะ ตลอดจนตำบลใกล้เคียงเป็นอันมาก หลวงพ่อปลอดจึงได้ศึกษาธรรมะและวิชาทางไสยศาสตร์ ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ จากอาจารย์แก้วจนชำนาญ แล้วพ่อท่านปลอดได้ออกจากวัดแจ้งเมื่ออายุประมาณ 35 ปี เดินทางมายัง อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช พักอยู่ที่วัดบางทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส เพื่อต้องการนำเรือไปแข่งกับเรือของวัดเนินหนองหงษ์ จ.สงขลา ได้นำเรือไป 1 ลำ แต่ก็แข่งไม่ชนะ พ่อท่านปลอดเลยเดินทาง กลับไปยัง อ.ปากพนัง อีก ภายหลังต้องการไปหาเรือที่ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

หลวงพ่อปลอดจึงได้เดินทางไปยังวัดกะเบียดกับพวกอีก 5 คน แต่วัดกะเบียดไม่มีเรือ เลยได้ไปพบกับหลวงพ่อบัว เจ้าอาวาสวัดนาเขลียง ได้เรือชื่อพยอมไป 1 ลำ พาออกเดินทางไปตามคลองแม่น้ำตาปี ออกบ้านดอน จ.สุราษฏร์ธานี เลียบฝั่งไปถึงสงขลา เอาเรือไปแข่งกับวัดเนินหนองหงส์แต่ก็ไม่ชนะอีก แล้วต่อมาภายหลัง พ่อท่านปลอด ได้เดินทางกลับไปอยู่ วัดนาเขลียงอีกครั้งหนึ่ง ได้รู้จักกับ หมื่นณรงค์ จงจิตร (หรือขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์) กำนันตำบลพิปูนและพ่อท่านแดง (พระครูรังสรรค์ อธิมุตต์)เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เมื่ออายุประมาณ 37 ปี ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2451 หลวงพ่อบัว(เจ้าอาวาสในขณะนั้น)ได้มรณภาพลง ชาวบ้านบ้านนาเขลียงจึงได้นิมนต์ หลวงพ่อปลอดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนาเขลียง นับแต่นั้นมา


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 01:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติความเป็นมา : บ้านนาเขลียง เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว มีผู้คนอพยพเพื่อหนีภัยสงคราม และต้องการหาที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งได้มาพบกับแหล่งๆหนึ่งซึ่งเป็นที่ราบกว้างใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นาๆชนิด และที่พบมากที่สุดคือต้นเขลียง ชาวบ้านจึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านนาเขลียง" เป็นที่ราบสูงสลับเนินดิน ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำตาปีทางทิศตะวันตก มีฝนตกชุกตลอดปี ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา

ทิศเหนือ ติดต่อ ต.กะทูน อ.พิปูน , ทิศใต้ ติดต่อ ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง, ทิศตะวันออก ติดต่อ ต.นาแว อ.ฉวาง , ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.กะเปียด อ.ฉวาง เป็นที่ราบสูงสลับเนินดิน ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำตาปีทางทิศตะวันตก มีฝนตกชุกตลอดปี ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา

บ้านนาเขลียง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาเขลียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอฉวาง มีระยะห่างจากอำเภอฉวาง ประมาณ 11 กิโลเมตร อดีตกาลประมาณ 211 ปีเศษ บรรพบุรุษดั้งเดิมอพยพมาจากจังหวัดพัทลุง มาหักล้างถางพงบนที่ราบริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตาปี ที่ตั้งชุมชนตำบลบ้านนาเขลียงปัจจุบัน บนที่ราบบนฝั่งนี้ มีพันธุ์ไม้ ชื่อ เขลียง (ใบและผลนำมาปรุงอาหารได้) ขึ้นอยู่หนาแน่น บรรพบุรุษได้พัฒนาให้เป็นนาข้าวและปลูกไม้ผลพร้อมสร้างที่พักอาศัย บนพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของตำบล “นาเขลียง” จากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยภูมิปัญญาบรรพชนรวมกันทำคันนบกั้นน้ำ ผันเข้าสู่แปลงนาเรียกว่า “คันนบคลองเภา” ใช้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 01:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ก่อตั้ง : วัดนาเขลียง
ชุมชนชาวไทยพุทธจะต้องมีวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยว เรียนรู้ ประกอบกิจทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่สั่งสมมาจากบรรพบุรุษและคาดการสู่อนาคต ในปี พ.ศ. 2336 ได้ก่อตั้ง “วัดนาเขลียง” มีอธิการองค์แรกคือ หลวงพ่อด้วน หลวงพ่อหมวก หลวงพ่อบัว หลวงพ่อปลอด และถัด ๆ มาอีก 2-3 องค์ จนถึงปัจจุบัน

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดนาเขลียง
๑. พระอธิการ ด้วน ...................................๒๓๓๖ – ๒๓๖๖
๒. พระอธิการ หมวก................................. ๒๓๖๖ - ๒๔๑๑
๓. พระอธิการ บัว ปทุมสุวรรโณ ..................๒๔๑๑ – ๒๔๕๑
๔ . พระอธิการปลอด (ติสฺสโร) พ่อท่านปลอด .....................๒๔๕๑ - ๒๔๘๒
๕ . พระอธิการนุ้ย .......................................๒๔๘๒ - ๒๔๘๔
๖. ว่างสมภาร ..............................................๒๔๘๔ - ๒๔๘๖
๗. พระอธิการไล่ อานนฺโท ............................๒๔๘๖ - ๒๔๘๘
๘. พระอธิการลอย ธมฺมปาโล........................ ๒๔๘๘ - ๒๕๐๒
๙. พระครูอุดมวีรธรรม(ไสว)..........................๒๕๐๒ - ๒๕??
๑๐. พระอาจารย์ สงบ เขมฺคโร ..........................เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

นับอายุเจ้าอาวาสรวมแล้ว ๒๑๕ ปี จะขอกล่าวถึงประวัติประเกจิดังองค์สำคัญของทางวัดที่ได้พัฒนาให้วัดนาเขลียง ให้มีความเจริญเป็นอย่างมากก็คือหลวงพ่อปลอด นั้นเอง วัดนาเขลียงในสมัยที่"หลวงพ่อปลอด"เป็นเจ้าอาวาสเป็นยุคที่ชุมชนเจริญรุ่งเรือง มาก “หลวงพ่อปลอด” ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2410 ตรงกับรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ บ้านเกาะใหญ่ อ.เมือง จ.สงขลา บิดาชื่อ เปรม มารดาชื่อ เอียด (สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) มีพี่น้องรวมกัน 3 คน คือ นางหนู หลวงพ่อปลอด และนายผอมหรือพระผอม (บวชอยู่ ณ วัดบ่อท่อ อ.ระโนด จ.สงขลา) เมื่อยังเยาว์หลวงพ่อปลอดได้เล่าเรียนหนังสือที่บ้านพ่อตาขุน (พ่อเฒ่าบ้านในสมัยนั้น) เมื่ออายุได้ 20 ปี ได้ถูกเกณฑ์ทหารไปรบที่เมืองไทรบุรี เจ้าเมืองแขกเป็นกบฏ พ่อท่านปลอด กลัวจะถูกเกณฑ์ทหารจึงได้หลบขึ้น ไปอาศัยกับญาติ ที่บนภูเขาในท้องที่ ต.เกาะใหญ่ ภายหลังเมื่อต้องการที่จะพ้นความผิด จึงได้ตกลงที่จะบวช ในที่สุดก็ได้บวชเมื่ออายุ 20 ปีนั่นเอง ณ วัดพังตรี มีหลวงพ่อเสน เจ้าอาวาสวัดพังตรีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ต.ระวะ อ.ระโหนด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งกับหลวงพ่อแก้วเป็นเวลาถึง 15 พรรษา ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ คาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่เคารพนับถือของชาว ต.ระวะ ตลอดจนตำบลใกล้เคียงเป็นอันมาก


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 01:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อปลอด จึงได้ศึกษาธรรมะและวิชาทางไสยศาสตร์ ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ จากอาจารย์แก้วจนชำนาญ แล้ว "พ่อท่านปลอด"ได้ออกจากวัดแจ้งเมื่ออายุประมาณ 35 ปี เดินทางมายัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พักอยู่ที่วัดบางทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส เพื่อต้องการนำเรือไปแข่งกับเรือของวัดเนินหนองหงษ์ จ.สงขลา ได้นำเรือไป 1 ลำ แต่ก็แข่งไม่ชนะ พ่อท่านปลอดเลยเดินทางกลับไปยัง อ.ปากพนัง อีก ภายหลังต้องการไปหาเรือที่ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช หลวงพ่อนาคจึงได้เดินทางไปยังวัดกะเปียดกับพวกอีก 5 คน แต่วัดกะเปียดไม่มีเรือ เลยได้ไปพบกับหลวงพ่อบัวเจ้าอาวาสวัดนาเขลียง ได้เรือชื่อพยอมไป 1 ลำ พาออกเดินทางไปตามคลองแม่น้ำตาปี ออกบ้านดอน จ.สุราษฏร์ธานี เลียบฝั่งไปถึงสงขลา เอาเรือไปแข่งกับวัดเนินหนองหงส์แต่ก็ไม่ชนะอีก แล้วต่อมาภายหลัง พ่อท่านปลอดได้กลับไปอยู่วัดนาเขลียงอีกครั้งหนึ่ง ได้รู้จักกับ หมื่นณรงค์ จงจิตร (หรือขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์) กำนันตำบลพิปูนและพ่อท่านแดง (พระครูรังสรรค์ อธิมุตต์) เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เมื่ออายุประมาณ 37 ปี ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2451 หลวงพ่อบัวได้มรณภาพลง ชาวบ้านนาเขลียงจึงได้นิมนต์หลวงพ่อปลอดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนาเขลียงนับแต่นั้นมา
หลวงพ่อปลอด ติสสโร วัดนาเขลียง มรณภาพด้วยโรคลมปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2482 รวมอายุได้ 72 ปี

วัดนาเขลียง ในสมัยที่หลวงพ่อปลอดเป็นเจ้าอาวาสเป็นยุคที่ชุมชนเจริญ รุ่งเรืองมาก “หลวงพ่อปลอด” ท่าน เป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ คาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่เคารพนับถือของชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมากเพราะ "พระอุปัชฌาย์ปลอด วัดนาเขลียง" ชื่อเสียงของท่านกระฉ่อนไปทั้งสี่ทิศกับตำแหน่ง เจ้าคณะปกกลุ่มอำเภอฉวาง ,ช้างกลาง ,ถ้ำพรรณรา ,นาบอน และ ทุ่งใหญ่ ซึ่งในสมัยสงครามเอเชียบูรพา พระเครื่องวัตถุมงคลที่รับจากมือ"พ่อท่านปลอด" ไม่ว่าจะเป็นเครื่องราง ผ้ายันต์ ตะกรุด และเหรียญพ่อท่านปลอด รุ่นแรก ที่สร้างขึ้นมาในปี ๒๔๘๒ จัดเป็นสุดยอดปราถนาของประชาชนทุกชนชั้น สามารถปกป้องคุ้มครอง ผู้ที่พกพาพระเครื่องหลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง ให้แคล้วคลาดอันตรายต่างๆ จนถึงประสบการณ์ด้านคงกระพันมหาอุดที่ให้พบเจอกันบ่อยๆ

*********************************************************

บ้านนาเขลียงได้ประสบภัยเมื่อปี พ.ศ. 2531 ทำให้วัดที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีต กลายเป็นเหมือนวัดร้าง สิ่งปลูกสร้างภายในวัดโดนน้ำซัด เหลือความปาฎิหาริย์ “พระประธาน” ยังคงตั้งตระหง่าน แต่ตัวโบสถ์รอบข้างพังทลาย บ้านเรือนของชาวบ้านก็หายไปกับสายน้ำ ชาวบ้านบางรายที่ดินกลายเป็นลำคลอง

รูปหลวงพ่อด้านบนจาก phipun.com
ข้อมูลดีๆเพิ่มเติมจากโกหนึ่งเพื่อความสมบูรณ์

http://www.tumsrivichai.com/

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้