ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7299
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระร่วงวาจาสิทธิ์

[คัดลอกลิงก์]
พระร่วง(พระเจ้าศรีจันทราธิบดี)  







พระร่วง



ขอมดำดิน




ขอมดำดิน





                         อีกสำนวนหนึ่งของตำนานวีรบุรุษในพงศาวดารเหนือ และในนิทานชาวบ้านแถบสุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ ที่นิยมหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรม วีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์
ตอนที่หยิบยกมานี้ คัดลอกมาจากหนังสือ “๕๐ นิทานไทย” โดย ธนากิต



         อดีตกาลนานนับพันปีเศษล่วงมาแล้ว ณ กรุงอินทปัด อันมีพระเจ้าอุทัยราช เป็นผู้ปกครอง พระองค์มีพระมเหสี ซึ่งเป็นเชื้อสายของพวกนาค จึงมีนามเรียกกันว่า พระนางนาค วันหนึ่งเมื่อพระเจ้าอุทัยราชพาพระมเหสีซึ่งกำลังมีพระครรภ์แก่ใกล้คลอดเสด็จประพาส ณ หาดทราย เมืองอัมราพิรุณบูรณ์ พระมเหสีก็ประสูติโอรสออกมาเป็นฟองไข่ พระเจ้าอุทัยราชไม่ทราบชาติกำเนิดเดิมของพระมเหสี จึงเกรงว่าฟองไข่นี้อาจจะเป็นเสนียดจัญไรและเกิดความอัปมงคลแก่บ้านเมือง จึงให้ทิ้งไป ก่อนที่จะตามเสด็จพระสวามีกลับกรุงอินทปัด พระนางนาคสั่งให้คนสนิทนำฟองไข่ไปฝังทรายไว้





            กล่าวถึง กรุงละโว้ ซึ่งในเวลานั้นไม่มีเจ้าเมืองครอบครอง นายคงเครา ซึ่งเป็นนายกองส่งน้ำ ทำหน้าที่รักษาการแทนอยู่ ขณะนั้นเมืองละโว้ขึ้นอยู่ในอำนาจของพวกขอม ต้องส่งส่วยเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เป็นประจำทุก ๓ ปี ขากลับที่คุมไพร่พลขนน้ำไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ (พระเจ้าพันธุมสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ณ เมืองขอม ขณะขบวนเกวียนของนายคงเคราผ่านเมืองอัมราพิรุณบูรณ์เห็นมีฟองไข่ขนาดใหญ่ผุดขึ้นบนหาดทราย นายคงเคราจึงเก็บเอาไปยังเมืองละโว้ด้วย แล้วหาแม่ไก่ให้มาช่วยฟักตัวละหนึ่งเดือน พอครบสิบเดือนไข่นั้นก็แตกออก ภายในมีเด็กผู้ชายน่าตาน่ารักน่าเอ็นดู นายคงเคราจึงให้ชื่อว่า ร่วงและเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม





            เมื่อโตขึ้นอายุได้ ๑๑ ปี ร่วงจึงรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ ด้วยเหตุที่วันหนึ่งได้พายเรือเล่นในทุ่งพรหมมาศ (บางตำราว่าพายเล่นในทะเลชุบศร) พายเรือตามน้ำไปได้สักพักก็คิดจะกลับแต่ต้องพายทวนน้ำ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจึงพูดเปรยๆ ออกมาว่า “ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางเรือนเราบ้าง” ทันใดนั้นน้ำในทุ่งพรหมมาศก็เปลี่ยนทิศไหลพาเรือกลับอย่างที่ตนพูด ร่วงได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับไม่ยอมบอกให้ใครทราบ




            อยู่ต่อมานายคงเคราถึงแก่กรรม บรรดาไพร่พลทั้งปวงจึงยกให้นายร่วงเป็นนายกองส่งน้ำแทน ครั้นครบกำหนด นักคุ้มข้าหลวงจากเมืองขอมได้คุมกองเกวียน ๕๐ เล่ม พร้อมไพร่พล ๑,๐๐๐ คน มาบรรทุกน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เพื่อนำไปประกอบพิธี เมื่อมาถึงเมืองละโว้ได้ทราบข่าวนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว จึงให้คนไปตามนายร่วงซึ่งทำหน้าที่แทนมาพบ นายร่วงจึงบอกกับนักคุ้มว่าท่านเอาโอ่งเอาไหที่ทำด้วยดินมาใส่น้ำอย่างนี้หนักเปล่าๆ จงช่วยกันสานชะลอมใส่น้ำไปเถิด เราจะสั่งน้ำมิให้ไหลออกมาเอง




            นักคุ้มเห็นนายร่วงรับรองแข็งขันว่าสามารถทำได้ ก็สั่งไพร่พลให้ช่วยกันสานชะลอมใส่เกวียนเล่มละ ๒๕ ใบ ซึ่งเมื่อนำชะลอมทุกใบไปตักน้ำตั้งบนเกวียน ปรากฏว่าไม่มีน้ำไหลรั่วออกมาเลยแม้แต่ใบเดียว นักคุ้มรู้สึกเกรงอำนาจวาจาสิทธิ์ของนายร่วงจึงรีบนำขบวนเกวียนเดินทางกลับเมืองขอม ระหว่างทางถึงด่านแห่งหนึ่งนักคุ้มเกิดแคลงใจว่าถูกนายร่วงหลอกให้ขนชะลอมเปล่าไปเมืองตนเอง พอนึกดังนั้นครั้นหันไปมองน้ำในชะลอมก็กลับไหลออกมาให้เห็น นักคุ้มจึงสรรเสริญนายร่วงว่าเก่งกล้าสามารถนัก และให้จารึกเรื่องราวไว้เป็นสำคัญ ณ ที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า ด่านพระจารึก




            ครั้นเดินทางต่อมาจนถึงเมืองตึกโช ชาวเมืองพอทราบข่าวก็เล่าลือเรื่องที่นักคุ้มนำชะลอมใส่น้ำบรรทุกมา เจ้าเมืองขอมทราบจึงเรียกไปสอบถาม นักคุ้มก็เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟังอย่างละเอียด พร้อมทั้งยกชะลอมใบที่ยังมีน้ำขังอยู่เทลงในพะเนียงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่เจ้าเมืองและเหล่าข้าราชบริพารโดยทั่วหน้ากัน เจ้าเมืองขอมตกพระทัยตรัสว่า บัดนี้ผู้มีบุญมาเกิด ณ เมืองละโว้แล้วควรจะรีบยกกองทัพไปจับตัวมาสังหารเสียดีกว่า




            นายร่วงรู้ข่าวว่าทหารขอมยกกองทัพมาจับตัวก็หนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปทางเหนือและได้หลบอยู่ริมวัดแห่งหนึ่ง ณ บ้านบางคลาน เขตเมืองพิจิตร ได้รับความอดอยากถึงกับต้องขออาหารชาวบ้านกิน ผู้ที่มีจิตเมตตาได้นำข้าวและปลาหมอตัวหนึ่งมาให้ นายร่วงกินเนื้อปลาทั้งสองข้างหมดแล้วก็โยนก้างลงไปในสระและสั่งว่า “เจ้าจงมีชีวิตขึ้นมาเถิด” พลันปลาซึ่งไม่มีเนื้อมีแต่ก้างนั้นก็กลับมีชีวิตขึ้นมาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ปลาก้าง ต่อมาจึงเดินทางไปถึงเขตแขวงเมืองเชลียง นายร่วงจึงหยุดพักและรู้สึกปวดท้องถ่าย จึงนั่งถ่ายที่ข้างป่า เสร็จแล้วได้หักกิ่งไม้แห้งมาชำระและโยนทิ้ง พร้อมกับสั่งว่า “จงงอกขึ้นมาเถิด” พลันไม้นั้นก็งอกขึ้นมาเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นเหมือนอาจม ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ชำระพระร่วง




            นายร่วงพเนจรหลบหนีพวกทหารขอมอยู่เป็นเวลาหลายปี จนเมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดในเมืองสุโขทัย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระร่วง นับแต่นั้นมา วันหนึ่งนายทหารขอมซึ่งทราบข่าวได้ติดตามมา ครั้นถึงวัดที่พระร่วงจำพรรษาอยู่ได้ใช้ฤทธิ์ดำดินลอดกำแพงวัดเข้าไป เห็นพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่แต่ไม่รู้จักจึงถามว่า “พระร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน” พระร่วงจึงสอบถามจนรู้ว่าเป็นนายทหารขอมที่ตามมาจับตนจึงบอกว่า “เจ้าจงอยู่ที่นี่แหละอย่าไปไหนเลย จะไปตามพระร่วงให้” ด้วยฤทธิ์วาจาสิทธิ์ของพระร่วง ร่างของขอมดำดินผู้นั้นก็แข็งกลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสวรรคต และชาวเมืองรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ จึงพร้อมใจกันขอให้พระร่วงลาสิกขาบท แล้วอัญเชิญขึ้นเป็นเจ้าเมือง นับตั้งแต่พระร่วงครองราชสมบัติปกครองเมืองสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนับแต่นั้นมา...




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-29 07:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

            ตำนานเกี่ยวกับขอมดำดินหรือวาจาสิทธิ์พระร่วงนั้นมีแตกต่างกันไปหลายนัย บางตำนานบอกว่าขอมดำดินนั้นได้อาสาเจ้าเมืองขอมมาตามจับพระร่วงตามลำพังตั้งแต่แรก ไม่ใช่ทหารขอมยกมาเป็นกองทัพอย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น และมีผู้สันนิษฐานว่านายร่วงคงจะใช้ชันสำหรับยาเรือยาหรือทาชะลอมน้ำจึงไม่ไหลออกมา แต่อีกตำนานหนึ่งบอกว่าพระร่วงเป็นลูกของเจ้าเมืองและมีน้องชายชื่อว่า ลือ ดังนี้
           


ณ เมืองศรีสัตชนาลัย... เจ้าเมืองมีลูกชายชื่อว่าร่วง เมื่อเห็นว่าลูกของตนไม่มีเพื่อนเล่น พ่อจึงไปขอเพื่อนเล่นให้ลูกที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่ง รุ่งเช้าปรากฏว่ามีไม้แกะเป็นรูปเด็กวางไว้ที่ศาล ตกกลางคืนพอเดือนตกแล้วพ่อของร่วงซึ่งกลับไปที่ศาลอีกครั้งได้ยินเสียงเด็กไม้พูดทักทาย จึงดีใจนำมาเป็นเพื่อนเล่นกับลูก โดยตั้งชื่อให้ว่า ลือ...




            ต่อมาในวันมาฆบูชา ..

พ่อได้ถามร่วงและลือว่าลูกทั้งสองต้องการจะสร้างอะไรในศาสนาบ้าง ร่วงและลือจึงบอกพ่อว่าจะสร้างเจดีย์ พ่อจึงให้ช่างสร้างเจดีย์ขึ้นสององค์ ซึ่งเจดีย์ของร่วงแต่แรกนั้นสวยกว่าของลือ ลือจึงให้สร้างเจดีย์ของตนสูงกว่าของร่วง ร่วงเห็นเข้าไม่พอใจจึงเตะยอดเจดีย์ของลือหักกระเด็นไปตกที่จังหวัดลพบุรี (กลายเป็นยอดเจดีย์หักในจังหวัดลพบุรี ส่วนเจดีย์ของร่วงกับลือยังอยู่ในจังหวัดสุโขทัย)




            วันหนึ่งร่วงเก็บมะขามเทศใส่ย่ามเดินกินทิ้งเมล็ดไปตลอดทางในระยะสี่กิโลเมตร ต่อมาเกิดเป็นต้นมะขามเทศงอกและโตขึ้น ณ สองฟากถนนและมีช่องว่างเป็นทางสำหรับเล่นว่าว พ่อจึงทำว่าวจุฬาให้ร่วงและทำว่าวปักเป้าให้ลือ ว่าวของร่วงมักจะตกอยู่เสมอ ร่วงพูดขึ้นว่าขอให้ว่าวของลือสายขาดซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ร่วงจึงให้ลือมาเป็นคนคอยส่งว่าวให้ ต่อมาร่วงได้ท้าแข่งกับคนต่างอำเภอและต้องรอคู่แข่งอยู่จนเย็น ขณะทำการแข่งขัน ร่วงวิ่งสะดุดหินล้มลง เข่าทั้งสองข้างจึงกระแทกพื้นดินอย่างแรงเกิดเป็นรอยดินยุบลงไปเป็นรูปวงกลมสองบ่อ ร่วงจึงบอกว่าขอให้บ่อทั้งสองนี้จงมีน้ำซึมอยู่ตลอดปี แม้จะมีคนมาตักก็ไม่แห้ง ชาวสุโขทัยจึงถือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์





            หลังจากเลิกแข่งว่าว ร่วงกับลือก็เดินทางกลับบ้าน พอดีพบพ่อค้าปลา ร่วงหิวข้าวจึงขอปลามาปิ้งกิน พ่อค้าบอกว่าจะเอาปลาไปเลี้ยง ร่วงว่าขอแต่เนื้อเท่านั้น ส่วนตัวปลาจะเอาไปเลี้ยงก็ตามใจเถิด แล้วเอามีดเหลาโครงว่าวปาดแก้มปลาจนถึงหางทั้งสองข้าง ส่วนหัวกับก้างนั้นโยนลงไปในบ่อน้ำที่อยู่ใกล้ๆ นั้น พร้อมสั่งให้ปลามีชีวิตขึ้นมา กลายเป็นปลาก้างตามที่เล่ามาในตอนต้น พ่อค้าสอบถามรู้ว่าเป็นผู้มีบุญก็ยกปลาให้กินทั้งหมด ร่วงกินอิ่มแล้วจึงคืนให้พ่อค้าปลาไปหนึ่งกระป๋อง และสั่งว่าเมื่อกลับถึงบ้านค่อยเปิดออกดูจะได้ของดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ครั้นถึงบ้านเมื่อพ่อค้าปลาเปิดกระป๋องออกดูก็เห็นมีทองคำอยู่เต็มกระป๋อง จึงนำเรื่องนี้ไปบอกกับเพื่อนบ้าน ชาวบ้านจึงต่างออกตามหาร่วงแต่ก็ไม่พบ




                ต่อมาได้มีการประกาศค้นหาผู้มีบุญให้เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย ร่วงจึงได้รับคัดเลือกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “พระร่วง” แต่บางตำนานเรียกพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-29 08:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สุภาษิตพระร่วง



         
         สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์จารึกลงในแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสติดไว้กับผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร และจดไว้ในสมุดไทยอีกหลายเล่ม



          สุภาษิตพระร่วงแต่งเป็นคำประพันธ์ ประเภทร่ายสุภาพ ดำเนินตามฉันทลักษณ์อย่างเคร่งครัดทั้งในเรื่องคำในวรรคมีจำนวนคำ 5-6 โดยประมาณสัมผัสเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ กรมศิลปากรได้คัดลอกตรวจสอบแล้วจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 การตรวจสอบนั้นกรมศิลปากรพบว่า แผ่นศิลาจารึกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งมีจำนวน 6 แผ่นแต่หายไป 2 แผ่น คือแผ่นที่ 5 กับแผ่นที่ 6 ที่เหลือบางแผ่นอักษรลบเลือนไปบ้างก็มี จึงได้ขอความร่วมมือไปยังงานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ค้นหาเรื่องสุภาษิตพระร่วงจากสมุดไทย และพบว่ามีอยู่หลายฉบับ สำนวนคล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกันบ้าง และพบสมุดไทยดำเรื่อง บัณฑิตพระร่วงพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส จารึกรวมกันอยู่กับเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์และแม่สอนลูก เป็นฉบับที่มีข้อความคล้ายคลึงกับจารึกมาก และมีเรื่องครบถ้วน กรมศิลปากรจึงได้ใช้เป็นเอกสารในการตรวจสอบชำระส่วนที่ยังเหลืออยู่จนสำเร็จบริบูรณ์



          นายธนิต อยู่โพธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรได้เขียนคำอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง สุภาษิตพระร่วง ฉบับพิมพ์เป็นที่ระลึกในวันสถาปนากรมศิลปากร พ.ศ. 2505 ว่า



                    "สุภาษิตพระร่วง เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง ฉบับที่ตีพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้ คัดจาก ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม 2 สังเกตจากข้อความและถ้อยคำเห็นได้ว่า เป็นภาษิตไทยแท้ ๆ ใช้ถ้อยคำอย่างพื้น ๆ ยังไม่มีภาษิตต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงปะปน และดูเหมือนจะยังไม่มีอิทธิพลจากภาษิตแบบอินเดีย เช่น คัมภีร์โลกนิติ และพระธรรมบท เป็นต้น เข้าครอบงำ แสดงว่าเป็นภาษิตไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปในลักษณะของกวีนิพนธ์แบบต่าง ๆ แทรกอยู่ในวรรณคดีไทยในกาลต่อมา และถ้าพิจารณาตามรูปของวลี จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงใกล้เคียงกับจารึกในหลักที่ 1 เรียกว่าจารึกพ่อขุนรามคำแหง จึงอาจเป็นได้ว่า สุภาษิตพระร่วง หรือบัญญัติพระร่วงนี้ เดิมเป็นพระบรมราโชวาท ซึ่งพระร่วงเจ้าพ่อขุนรามคำแหงทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทย…"




          ขอยกคำในสุภาษิตพระร่วง และ คำในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มาให้เห็นเป็นข้อเปรียบเทียบดังนี้




          สุภาษิตพระร่วง


อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก

พบศัตรูปากปราศรัย ความในใจอย่าไขเขา

อย่ามัวเมาเนืองนิจ คิดตรองตึกทุกเมื่อ

พึงผันเผื่อต่อญาติ รู้ที่ขลาดที่หาญ

คบพาลอย่าพาลผิด อย่าผูกมิตรไมตรี

เมื่อพาทีพึงตอบ จงนบนอบผู้ใหญ่

ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ สุวานขบอย่าขบตอบ

อย่ากอบจิตริษยา เจรจาตามคดี

อย่าปลุกผีกลางคลอง อย่าปองเรียนอาถรรพณ์

พลันฉิบหายวายม้วย อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด

จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย ลูกเมียอย่าวางใจ

ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า

อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจงพอแรง

ของแพงอย่ามักกิน อย่ายินคำคนโลภ

โอบอ้อมเอาใจคน อย่ายลเหตุแต่ใกล้

ท่านไท้ยออย่าหมายโทษ คนโหดให้เอ็นดู

ยอครูยอต่อหน้า ยอข้าเมื่อแล้วกิจ

ยอมิตรเมื่อลับหลัง ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ
..








          จารึกหลักที่ 1 "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก…" และที่ราชบัณฑิตสุโขทัยร้อยกรองต่อว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า …"
          ในปี พ.ศ. 2527 อาจารย์นิยะดา เหล่าสุนทรได้เขียนบทความวิชาการเรื่อง "สุภาษิตพระร่วง : การศึกษาเชิงประวัติ" เพื่อใช้ประกอบการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง วรรณกรรมเกี่ยวกับโลกศาสตร์และสุภาษิตพระร่วง จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้.



                    "ความคิดที่ว่า สุภาษิตพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระร่วง โดยอาศัยคำว่า



"พระร่วง" เป็นข้ออ้างนั้นดูจะเป็นการรวบรัดพอควร เพราะในวรรณคดีเรื่องอื่นที่มีคำว่า "พระร่วง"


อยู่ในชื่อเรื่องด้วยก็ไม่ได้จำเป็นว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระร่วงเสมอไป ดังเช่น ประดิษฐ์พระร่วง พระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปีพุทธศักราช 2297-2298 ก่อนหน้านั้นในโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ และโคลงราชานุวรรค ก็มีการอ้างถึงพระร่วง ฉะนั้นการที่มีคำว่า "พระร่วง" อยู่ในชื่อเรื่องนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นพระราชนิพนธ์ของพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยเสมอไป…"
                  


ขอบคุณคร้าบ ดีมากมาย
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-10-30 07:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
     สุภาษิตพระร่วง


อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก

พบศัตรูปากปราศรัย ความในใจอย่าไขเขา

อย่ามัวเมาเนืองนิจ คิดตรองตึกทุกเมื่อ

พึงผันเผื่อต่อญาติ รู้ที่ขลาดที่หาญ

คบพาลอย่าพาลผิด อย่าผูกมิตรไมตรี

เมื่อพาทีพึงตอบ จงนบนอบผู้ใหญ่

ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ สุวานขบอย่าขบตอบ

อย่ากอบจิตริษยา เจรจาตามคดี

อย่าปลุกผีกลางคลอง อย่าปองเรียนอาถรรพณ์

พลันฉิบหายวายม้วย อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด

จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย ลูกเมียอย่าวางใจ

ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า

อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจงพอแรง

ของแพงอย่ามักกิน อย่ายินคำคนโลภ

โอบอ้อมเอาใจคน อย่ายลเหตุแต่ใกล้

ท่านไท้ยออย่าหมายโทษ คนโหดให้เอ็นดู

ยอครูยอต่อหน้า ยอข้าเมื่อแล้วกิจ

ยอมิตรเมื่อลับหลัง ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ
..

ขอบคุณคร้าบ
ขอบคุณครับ
ดีจังครับ


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้