ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ตุจโฉโปฏฐิละ
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3195
ตอบกลับ: 1
ตุจโฉโปฏฐิละ
[คัดลอกลิงก์]
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-25 11:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ตามดูจิต
ในสมัยพุทธกาล มีสาวกรูปหนึ่งชื่อว่า ตุจโฉโปฎฐิละ ซึ่งเป็นพระผู้มีปัญญามากแตกฉานในพระสูตร มีวัดสาขา 18 แห่ง เป็นครูบาอาจารย์ มีลูกศิษย์นับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใคได้ยินชื่อว่า ตุจโฉโปฏฐิละ ก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียงเมื่อท่านอธิบายธรรมะ ฉะนั้น ท่านตุจโฉโปฏฐิละจึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียนปริยัติ
วันหนึ่ง ท่านไปกราบพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงพระพุทธองค์ตรัสว่า
"มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า" พอท่านจะกราบลาพระพุทธองค์กลับวัด
"กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า" พระพุทธองค์ตรัสแค่คำนั่น มาก็
"มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า" กลับก็
"กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า" ท่านตรัสอยู่เท่านั้น ตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ก็คิดในใจว่า
"เอ ทำไมพระพุทธองค์จึงเรียกตนอย่างนั้น?" คิดไปคิดมา พิจารณาไปจนเห็นว่า
"เออ มันจริงที่พระองค์ว่า" พระใบลานเปล่า คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติยังไม่บรรลุธรรม
เมื่อเข้าใจความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัส รู้สึกวตัวว่าตนเองมีแต่สุตมยปัญญา จำคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่จิตใจก็เหมือนปุถุชน เมื่อสำนึกได้ดังนี้ ก็เกิดสลดสังเวช ตัดสินใจทิ้งวัดทิ้งความเป็นอาจารย์ใหญ่ หาหนทางปฏิบัติ แสวงหาไปยังสำนักที่เข้าใจกันว่าพระเถระ เณรทุกรูปในสำนักล้วนเป็นพระอรหันต์ ครั้งแรกก็เข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่ ขอคำแนะนำในการเจริญวิปัสสนา ท่านก็นิ่ง แล้วบอกว่าไม่สามารถจะสอนได้ เมื่อไปหารองเจ้าอาวาส ขอคำแนะนำในการปฏิบัติท่านก็ตอบว่า ไม่สามารถจะสอนได้ พอไปหาพระรูปที่ 3 รูปที่ 4 หาพระกี่รูปในสำนักท่านก็ตอบเหมือนกันหมด พระทุกรูปปฏิเสธว่า ไม่มีความสามารถที่จะอบรมตุจโปฎฐิละได้ จนในที่สุดท่านไปหาสามเณร ไปขอปฏิบัติกับเณรน้อย สามเณรบอกว่า
"พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผม ถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้"
ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิตสามเณรให้ห่มจีวร เมื่อห่มจีวรเรียบร้อยแล้ว เผลิญมีหนองอยู่ใกล้ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า
"เอ้า ให้เดินเข้าไปในหนองนี่ เดินลงไปถ้ายังไม่บอกให้หยุด อย่าหยุด ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้น อย่าขึ้น " ตุจโฉโปฏฐิละห่มจีวรดี ๆ แล้วก็เดินลงไปในหนอง ต่ำลงๆ เรื่อยๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุด ท่านก็ลงไปจนตัวเปียก เปื้นตมและขี้เลนหมด สามเณรจึงบอก
"เอาละ หยุดได้"
ท่านจึงหยุด สามเณรบอกว่า
"เอาละขึ้นมา" ท่านจึงขึ้นมา เมื่อท่านขึ้นมาแล้ว สามเณรก็หยิบรองเท้าโยนเข้าไปในกอไผ่ แล้วก็บอกตุจโฉโปฏฐิละว่า
"เอ้า เข้าไปเก็บรองเท้า เอามาให้ผม" ตุจโฉโปฏฐิละก็เดินบุกกอไผ่ ฝ่าดงหนามเข้าไปเอารองเท้ามาให้สามเณรแต่โดยดีแสดงให้เห็นว่าท่านละทิฏฐิมานะแล้วจริงๆ จึงยอมทำตามคำสั่งของสามเณรทุกอย่าง สามเณรเห็นดังนั้นก็รู้ว่าตุจโฉโปฏฐิละมีจิตใจอ่อนโยนพร้อมที่จะรับธรรมะได้แล้ว สามเณรจึงสอนให้ โดยใช้วิธีกำหนดอารมณ์ จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เณรก็ยกอุบายอันหนึ่งขึ้นมาว่า ให้ใช้วิธีที่บุรุษทั้งหลายจะจับเหี้ย เหี้ยตัวหนึ่ง เข้าไปในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดมันไว้ ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดไว้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้นครั้งเหี้ยวิ่งออกมาก็จับได้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิดเหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือสำรวมสังวร ภาวนาโดยกำหนดที่จิตอย่างเดียว
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-25 11:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การภาวนา คือการมีสติระลึกรู้สังเกตดูความรู้สึกนึกคิดในจิตใจเรา การเจริญอานาปานสติ คือมีสติระลึกรู้ลมหายใจ ลมหายใจออก เปรียบลมหายใจเหมือนเป็นหน้าต่างที่เราใช้มองดูจิตใจ เห็นลมหายใจ คือเห็นจิต ถ้าเรามีสติระลึกรู้สมหายใจเข้า ลมหายใจออก เราก็สามารถติดตามดูความรู้สึกนึกคิดที่เกิดกับจิตใจได้ เมื่อเราตามดูจิต เฝ้าสังเกตจิตใจของเราแล้ว เมื่อมีความรู้สึกนึกคึดต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ขี้เกียจ ขี้บ่น ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉา ขี้โมโห ขี้โกรธ ขี้กลัว ขี้โกง ขี้เหนียว ขี้สงสัย ขี้วิตกกังวล ขี้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เราจะรู้ท่าทันความรู้สึกเหล่านี้ได้มากขี้น รู้เท่าทันหมายถึง เมื่อรู้สึกนึกขึ้นมาก็ดับไปพร้อมกัน นึกดีหรือนึกชั่วก็ตาม กำหนดรู้เท่าทันคือความดับ ไม่คิดปรุงแต่งต่อ ไม่คิดไปตามกิเลส ตัณหา มโนกรรมไม่เกิด จิตก็สักแต่ว่าจิต ชอบหรือไม่ชอบก็สักแต่ความรู้สึก วิปัสสนาก็จะสมบูรณ์ คือสักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่ารู้รส สักแต่ว่าสัมผัส สักแต่ว่ารู้ทางใจ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...