ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม ทางภาคเหนือ
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2064
ตอบกลับ: 1
ประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม ทางภาคเหนือ
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-15 16:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม
วันเพ็ญเดือน 4 เหนือ เดือน ยี่ ใต้ คือ เดือนมกราคม เป็นเดือนที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนำไปใส่ยุ้งฉาง ชาวล้านนาไทยนิยมทำบุญทำทานก่อนที่ตัวเองจะบริโภค เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่เทพยดา มีแม่โพสพ เป็นต้น ให้ช่วยคุ้มครองดูแลข้าวเปลือกในยุ้งฉางหลองข้าวของตน มิให้สิ่งอื่นใดมารบกวน ทำให้การกินข้างเปลือกหมดเร็ว การทำบุญทานข้าวจี่เข้าหลาม มีการทำดังนี้ การเตรียมข้าวจี่ ในสมัยโบราณชาวล้านนาไทยนิยมการทำอาหารให้สุกด้วยการจี่ การเผา การปิ้ง การย่าง เป็นส่วนมาก ไม่ใช่การทอดอย่างในปัจจุบัน ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงมีอายุยืนเพราะไม่มีไขมันอุดตันเส้นเลือดอย่างคน สมัยปัจจุบัน การทำบุญข้าวจี่-ข้าวหลามมีการเตรียม คือ
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-15 16:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ที่จะถวายเข้าจี่ต้องเตรียมนึ่งข้าวเหนียวให้สุก แล้วเตรียมถ่านไฟจากเตา พัดวีจนลุกโชนแล้ว ข้าวสุกปั้นเป็นกลม ๆ ใช้ไม้ไผ่เหลาให้เป็นแผ่นบางเสียบเข้าไป แล้วนำเข้าจี่ที่ถ่านไฟแดง ๆ พลิกไปพลิกมาให้มีผิวเหลืองกรอบน่ากิน บางรายต้องการให้ไหม้เสียบ้าง ชอบรับประทาน ถือว่าอร่อยกว่าการจี่แบบสุกเหลืองกรอบ เพราะมีกลิ่นหอมกว่า สิ่งนี้แล้วแต่ความพอใจของบุคคล
บางรายเวลาจี่จะบี้เข้าปั้นให้มี รูปบ้านหรือแบน ๆ เพื่อสะดวกในการจี่ และนิยมทาน้ำผึ้ง น้ำอ้อย บางรายทาน้ำกะทิข้นให้ซึมเข้าไปในข้าวจี่ เมื่อจี่จนกรอบตามต้องการแล้ว นำมาใส่จานหรือภาชนะพื่อนำไปถวายพระในวันเดือน 4 เพ็ญ
การจี่ข้าว เย็น คือข้าวที่นึ่งนานแล้ว จะรับประทานอย่างธรรมดาก็จืดชืดแข็งไม่อร่อย ชาวบ้านจึงนิยมเอาข้าวมาปั้นเสียบด้วยไม้จี่ไฟ แจกกันกินอร่อยกว่ารับประทานข้าวเย็นธรรมดา การจี่ข้าวแบบนี้หากจะพิจารณากันในแง่การกินแล้ว ได้ 2 ลักษณะ คือเป็นอาหารคาวใช้รับประทานกับแกง และใช้เป็นอาหารหวาน เพราะข้าวจี่มีรสหวาน มันกรอบ เพราะทาน้ำผึ้ง น้ำอ้อย อร่อยนัก ชาวบ้านในชนบทของไทยไม่พิถีพิถันเรื่องอาหาร การได้กินข้าวจี่จึงเป็นเครื่องแทนขนมหวานได้เป็นอย่างดี เพราะทำง่ายและวัสดุก็มีอยู่แล้วการทำบุญข้าวจี่นี้ นิยมทำกันกลุ่มประชาชนที่รับประทาานข้าวนึ่งเป็นอาหารหลัก คือไทยในล้านนา ไทยภาคอีสาน และประเทศลาว สำหรับไทยภาคกลางปัจจุบันนิยมรับประทานข้าวตัง คือ ข้าวติดก้นกะทะ หรือก้นหม้อหุงข้าวนำมาทอดให้กรอบ การรับประทานข้าวจี่และข้าวตัง จึงเป็นการสงวนอาหารไว้เป็นอย่างดี จึงนิยมกันสืบมาจนทุกวันนี้
การทำข้าวหลาม คือ การนำข้าวสารเหนียวใส่กระบอกไม้ไผ่ ใส่น้ำแช่ไว้นานประมาณ 1 คืน หรือประมาณ 6 ชั่วโมงแล้วนำมาเผาไฟจนสุก
การทำบุญข้าวจี่-ข้าวหลาม 2 วิธี
การเตรียมข้าวจี่ ข้าวหลาม และอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ในตอนเช้า ขอท่านให้พรหรือล้านนาเรียกว่า “ปันพร” นั้น ชาวล้านนาจะนิยมถวายทุกบ้านเรือน เมื่อทำบุญข้าวใหม่เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่บุพการีของตน
การ ขึ้นวัดหรือขึ้นวิหาร หลังจากการนำเอาขันข้าวไปถวายพระภิกษุเพื่ออุทิศบุญกุศลแด่บรรพชนแล้ว ศรัทธาประชาชนประจำวัดจะนำเอาข้าวจี่ข้าวหลาม อาหารอีกส่วนหนึ่งนำขึ้นไปรวมกันบนวิหาร ซึ่งจะมีพิธีกรรมต่อไปนี้
นำดอกไม้ใส่พานไปใส่ขันแก้วทั้ง 3
เอาข้าวใส่บาตร พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เอาอาหารใส่ในถาดที่เตรียมไว้
เอาน้ำหยาดหรือน้ำทักขิณา ใส่รวมกันในน้ำต้นหรือคนโทของวัด สำหรับกรวดน้ำร่วมกัน
ใส่ดอกไม้ในพานขอศีล เรียก “ขันขอศีล”
ใส่พานดอกไม้ในพานถวายไทยทาน (ขันนำทาน)
เมื่อพระสงฆ์ขึ้นพร้อมกันบนวิหาร ปู่อาจารย์หรือมัคนายกจะขอศีลกล่าวคำถวายแล้วนำอาหารบิณฑบาต ข้าวจี่ข้าวหลามถวาย พระสงฆ์อนุโมทนา หลังจากพระสงฆ์ให้พระแล้ว ศรัทธาประชาชนจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนและขอขมาพระรัตนตรัยแล้วก็ กลับบ้าน
คุณของการถวายข้าวจี่ ข้าวหลาม
ทำให้มีความสุข เบิกบานใจที่ได้ทำบุญด้วยน้ำพักน้ำแรงตน
ทำให้มีโอกาสแสดงกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนและเทพยดา
ทำให้มีการปฏิบัติตามจารีตประเพณี
เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานเยาวชน
เป็นโอกาสที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนบ้าน
ทำให้เกิดความรักความผูกพันกับเพื่อนบ้าน
เป็นการบำรุงพระศาสนาอันเป็นที่เคารพสักการะของตน
ที่มา :
http://www.lanna-arch.net/?p=226
.............................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=46045
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...