ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม ~
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 18
/ 18 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 30556
ตอบกลับ: 170
~ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-3-24 17:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2013-11-19 20:34
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
ประวัติย่อหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
พระราชวุฒาจารย์
นามเดิม
ดูลย์ เกษมสินธุ์
บิดา
แดง เกษมสินธุ์
มารดา
เงิน เกษมสินธุ์
เกิดที่
บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ตรงกับวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
อุปสมบท
ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย ณ วัดจุมพล อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
การจาริก
เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้เข้าพบและศึกษาธรรมจากพระอาจารย์มั่น ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนี้ก็ได้ปฏิบัติเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน และได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ แถบภาคอีสานตลอดมา
พ.ศ. ๒๔๖๓ หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้ออกติดตามพระอาจารย์มั่น โดยเที่ยวธุดงค์มาจนถึงบ้านม่วงไข่ จึงได้ขอแวะพักที่วัดโพธิ์ชัย ณ ที่นี้ได้มีท่านอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ฝั้น เข้ามาศึกษาธรรมในเบื้องต้นกับท่านก่อน และต่อมาภายหลังได้พากันเดินทางออกติดตามไปจนพบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
การขอญัตติ
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ขอญัตติเป็นพระภิกษุในธรรมยุติกนิกาย มีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (ชิด เสโนเสน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สมณศักดิ์
ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดสุรินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่ออายุ ๙๐ ปี
มรณภาพ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๖ สิริอายุ ๙๖ ปี ๒๖ วัน เวลา ๐๔.๑๓ น.
ที่มา
http://www24.brinkster.com/thaniyo/archan1144_1.html
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:04
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติชีวิต การงาน หลักธรรม
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
๑. ชาติกำเนิด
ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของจังหวัดสุรินทร์ มีครอบครัว
“ดีมาก”
อาศัยทำมาหากินอยู่ และเป็นสถานที่เกิดของเด็กชายดูลย์ ต่อมาเป็นพระกัมมัฏฐานผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นามว่า
พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล
พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล มีบิดาชื่อนางแดง ดีมาก และมารดาชื่อนางเงิม ดีมาก ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งขณะนั้นเสวยราชสมบัติย่างเข้าปีที่ ๓๐
พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล มีพี่น้องทั้งสิ้น ๕ คน ได้แก่
๑. นางกลิ้ง ๒. พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ๓. นายเคน ๔. นางรัตน์ และ ๕. นางทอง
ในบรรดาพี่น้องทั้ง ๕ คนนั้น พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ท่านมีอายุยืนยาวที่สุดคือ ๙๖ ปี ส่วนพี่น้องคนอื่นมีอายุอย่างมากที่สุดเพียง ๗๐ ปีก็ถึงแก่กรรม
ภายหลังท่านได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล
“เกษมสินธุ์”
ด้วยเหตุที่นายพร้อม หลานชายของท่านให้ตั้งนามสกุลให้ ท่านจึงตั้งว่า
“เกษมสินธุ์
”
แล้วท่านก็ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลนี้ด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:05
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถิ่นกำเนิดบรรพบุรุษ
สุรินทร์หรือเมืองประทายสมันต์ หรือไผทสมันต์ในอดีต อยู่ในพื้นที่ราบต่ำ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่านานาชนิด ชุมชนสุรินทร์ในอดีตไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่ามีมาไม่ต่ำกว่าสองพันปี เคยผ่านความรุ่งเรืองมาสมัยหนึ่ง ในฐานะเป็นเมืองด่านจากผืนที่ราบโคราชลงสู่แคว้นเจนละของกัมพูชา หลักฐานของเมืองโบราณที่พบเห็นได้แก่ ปราสาทหินหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วไปในแถบบริเวณนั้น เช่นปราสาทหินภูมิโปน ปราสาทระแงง ปราสาทตาเหมือน เป็นต้น รวมทั้งกำแพงเมือง ๒ ชั้นด้วย
ปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับของตนเอง ยากที่ใครจะเหมือนได้ สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนี้ก็คือช้าง จนมีคนเรียกขานจังหวัดสุรินทร์ว่าเป็น
“เมืองช้าง”
พระอาจารย์ดูลย์เล่าถึงบรรพบุรุษของท่านว่า ปู่ทวดของท่านอาศัยอยู่ที่
บ้านสลักได
ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุรินทร์ ทางด้านตะวันออก ครั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ตาของท่านชื่อแสร์ และญาติพี่น้องรวม ๕ ครอบครัว ตั้งใจจะพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ประเทศกัมพูชา จึงพากันออกเดินทางด้วยช้าง มุ่งลงทางใต้ไปเรื่อย ๆ
เมื่อเดินทางไปได้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร คณะของตาแสร์ก็ได้พบกับคณะของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ กำลังออกสำรวจพื้นที่อยู่ ครั้นทราบว่าคณะของตาแสร์กำลังจะไปทำมาหากินที่เขมรจึงทัดทานไว้ โดยชี้แจงถึงความยากลำบากและอันตรายในการเดินทาง รวมทั้งสภาพบ้านเมืองของเขมรซึ่งในขณะนั้นไม่สงบ และท่านแนะนำให้ตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน ณ สถานที่แห่งนั้น ซึ่งอุดมสมบูรณ์ ใครใคร่จะจับจองเอาที่ดินมากเท่าไรก็ได้
คณะของตาแสร์ปรึกษาหารือกัน ที่สุดก็คล้อยตามคำแนะนำนั้น จึงตกลงจะตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ สถานที่นั้น ได้ช่วยกันหักร้างถางพง สร้างบ้านเรือนตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อ
บ้านปราสาท
และมอบหมายให้ตาแสร์เป็นนายบ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลหมู่บ้านปราสาทแห่งนั้น
ตาแสร์มีลูก ๖ คน คือ นายมาก นางเงิม (มารดาของพระอาจารย์ดูลย์) นายม่วง นางแก้ว นางเมอะ และนายอ่อน ต่อมาครอบครัวของตาแสร์ได้ขยายเพิ่มสมาชิกออกไป บางส่วนอาศัยอยู่ในบ้านปราสาท บางส่วนก็ไปอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง หรืออพยพย้ายไปอยู่ถิ่นอื่นตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
บ้านเรือนที่อาศัยก็สร้างกันง่าย ๆ ใช้ต้นไม้ทั้งต้นทำเป็นเสา ส่วนที่เป็นพื้นกระดานก็นำต้นไม้มาถากเป็นแผ่น นำใบไม้หรือไม้ไผ่มาขัดแตะทำเป็นฝาบ้านแล้วมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ประกอบอาชีพปลูกข้าว ฟักแฟงแตงกวา เลี้ยงเป็ด ไก่ วัว ควาย เก็บของป่า ล่าสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำการทอผ้า ปั่นฝ้าย และเลี้ยงไหม ไว้แลกเปลี่ยนแทนการใช้เงินตรา หรือมีไว้สำหรับแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านที่ขาดแคลน หรือให้กู้ยืมไปกินไปใช้ตามความจำเป็น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:05
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒. ชีวิตฆราวาส
ในวัยเด็ก การศึกษาเล่าเรียนของพระอาจารย์ดูลย์อาศัยวัดเป็นสถานศึกษา โดยมีพระในวัดเป็นผู้อบรมสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการศึกษาในสมัยนั้น วิชาที่เล่าเรียนก็ประกอบไปด้วยการเรียนการสอนทางโลกที่พอให้อ่านออกเขียนได้ และศีลธรรมจรรยามารยาทอันควรประพฤติปฏิบัติ โดยจะมุ่งเน้นที่การฝึกอบรมจิตใจเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจของคน ส่วนในเรื่องของวิชาการนั้นจะมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเอาเสียเลย เพราะในสมัยนั้นระบบการศึกษาของประเทศยังไม่ดีพอ เด็กชายดูลย์ก็ได้เจริญเติบโตและได้รับการศึกษาอบรมมาแบบนั้นเช่นกัน
พระอาจารย์ดูลย์ได้เล่าเรื่องราวในอดีตของท่านให้ฟังว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ (ม่วง) ซึ่งเป็นผู้ที่ชักชวนให้คุณตาของท่านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปราสาทนั้น ได้ถึงแก่อนิจกรรม กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ในขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ผู้เป็นน้องชายขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๖ แทน
ขณะพระอาจารย์ดูลย์อายุประมาณ ๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๑) ได้เกิดเหตุการณ์สู้รบกับต่างชาติ นั่นคือกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒) ชายฉกรรจ์ในจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๘๐๐ คน ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้ารับการฝึกในกองกำลังรบและส่งไปตรึงแนวรบด้านจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับกองกำลังจากเมืองอื่น ๆ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝรั่งเศส หลังจากการปะทะกันเล็กน้อย ก็ตกลงทำสัญญาสงบศึกกัน
ต่อมาอีกไม่นาน เมื่อพระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ถึงแก่กรรมลง ในปีพ.ศ. 2436 และพระพิไชยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๘ เป็นที่พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ และเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านนี้เองเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กชายดูลย์ให้กลายเป็นนางเอกละคร
วัยหนุ่ม
เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม นายดูลย์ได้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของครอบครัว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่บุตรคนหัวปี แต่ก็ถือว่าท่านเป็นลูกชายคนโตของบ้าน ในช่วงแรกท่านก็ช่วยพี่สาวทำงานบ้าน ต่อเมื่อโตขึ้นต้องแบกรับภาระมากมายทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตั้งแต่หาบน้ำ ตำข้าว หุงข้าว เลี้ยงดูน้อง ๆ และช่วยบิดามารดาทำไร่ไถนา เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น ซึ่งท่านก็สามารถทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด
ในบรรดาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันแห่งบ้านปราสาท นายดูลย์จัดว่าเป็นหนุ่มหน้าตาดี ได้เปรียบเพื่อน ๆ ทั้งด้านรูปสมบัติที่นอกจากจะมีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพอนามัยดีแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีผิวพรรณหมดจด รูปร่างโปร่ง ได้สัดส่วนสมทรง น่ารักน่าเอ็นดู และมีท่าทางคล่องแคล่ว ว่องไว นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้มีอุปนิสัยที่อ่อนโยนเยือกเย็น ความประพฤติเรียบร้อยซึ่งติดมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาญาติพี่น้องและผู้ที่ได้พบเห็นโดยทั่วไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นางเอกละคร
ด้วยเหตุที่ท่านมีรูปร่างดังกล่าวนั้นเอง พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) เจ้าเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้น จึงมีบัญชาให้นำตัวนายดูลย์มาร่วมแสดงละครนอกโดยให้เล่นเป็นตัวนางเอก
พระอาจารย์ดูลย์ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านเล่นเป็นนางเอกละครว่า ในสมัยนั้นผู้คนนิยมดูละครกันมาก ถ้าเป็นละครของเจ้าเมืองในหัวเมือง ผู้แสดงจะต้องเป็นชายทั้งหมด โดยสมมติให้เป็นพระเป็นนาง ส่วนละครหลวงหรือละครของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้แสดงจะต้องเป็นหญิงล้วนโดยสมมติเอาเช่นกัน
พระอาจารย์ดูลย์เมื่อครั้งรับบทเป็นนางเอกละครนั้น เป็นที่ชื่นชอบของผู้ดูมาก ละครที่ท่านแสดงมีหลายเรื่อง อาทิ ไชยเชษฐ์ จันทรกุมาร ลักษณวงศ์ เป็นต้น ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อท่านขึ้นแสดงละครนั้น ครั้นจบการแสดงแล้ว มีหญิงสาวคนหนึ่งพรวดพราดเข้ามาหาท่านในห้องแต่งตัว ขณะเดียวกับที่ท่านกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า เมื่อหญิงสาวผู้นั้นแลเห็น ถึงกับตกตะลึง เมื่อทราบว่าท่านเป็นผู้ชาย จึงรีบวิ่งหนีออกไปอย่างรวดเร็ว ด้วยไม่คิดว่าผู้แสดงที่ตนชื่นชอบจะเป็นผู้ชาย จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า หนุ่มสาวในสมัยนั้นรู้จักระมัดระวังในเรื่องการคบหาระหว่างเพศเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้สิ้นเชิง
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่อพระอาจารย์ดูลย์อายุได้ ๑๘ ปี และขณะที่ยังคงแสดงละครอยู่นั้น ท่านได้เดินทางไปบางกอก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเป็นครั้งแรก เพื่อไปหาซื้อเครื่องแต่งตัวละคร ด้วยตัวนางเอกจะต้องลงมาลองเครื่องแต่งตัวให้เหมาะเจาะสวยงามสมตัว
การเดินทางในครั้งนั้น เมื่อออกจากเมืองสุรินทร์ใช้ช้างเป็นพาหนะ เป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน จนไปถึงเมืองโคราช แล้วขึ้นรถไฟสายกรุงเทพ ฯ – โคราช ใช้เวลาในการเดินทางอีก ๑ วัน จึงถึงเมืองบางกอก ซึ่งสมัยนั้นเมืองบางกอกยังไม่มีตึกรามบ้านช่องหรือผู้คนแออัดเหมือนสมัยนี้ ยังคงมีต้นไม้ป่าไม้ให้เห็นมากมาย น้ำในแม่น้ำลำคลองก็ใสสะอาด สามารถจะนำมาบริโภคใช้สอยได้เป็นอย่างดี
การเดินทางมาครั้งนี้ ท่านรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสไปเห็นด้วยสายตาตัวเอง เพราะเหตุว่าในสมัยนั้นน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้ไปเห็นเมืองบางกอก ทำให้ท่านมีเรื่องที่จะเล่าให้ผู้อื่นฟังเสมอเมื่อกลับไปถึงสุรินทร์
นายดูลย์อยู่กับคณะละครถึง ๔ ปีเศษ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพที่น่าลุ่มหลงและเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นนักแสดงที่ชื่นชอบของผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่ท่านมิได้หลงใหลไปกับสิ่งนั้น กลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงเข้าหาพระศาสนา และชอบเข้าวัดฟังธรรม ซึ่งแตกต่างจากเด็กหนุ่มทั่ว ๆ ไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓. อ้อมอกพระศาสนา
เนื่องจากมีจิตใจฝักใฝ่โน้มเอียงไปในทางธรรม ทำให้นายดูลย์คิดจะออกบวชมาหลายครั้ง แต่ด้วยความที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และบิดามารดาก็ไม่ยินยอมให้บวชเรียนอย่างง่ายดายนัก ในครั้งแรกเมื่อคิดจะบวชจึงถูกคัดค้านจากพ่อแดงด้วยเหตุผลว่า เมื่อท่านไปบวชแล้วครอบครัวอาจจะต้องลำบาก เพราะท่านเป็นบุตรชายคนโต เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว
นายดูลย์เฝ้าอ้อนวอนบิดามารดาอยู่หลายครั้ง แต่ก็ถูกคัดค้านเรื่อยมา แต่นายดูลย์ก็ยังมิได้ละความคิดในการบวชเรียนแต่ประการใด จนในที่สุดบิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ จึงยินยอมอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนา แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาสเสียก่อน เหตุที่นายดูลย์มีอุปนิสัยโน้มไปทางธรรมนั้นน่าจะมีส่วนส่งเสริมมาจากที่ปู่ของท่านเคยบวช และได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว จึงทำให้นายดูลย์มีอุปนิสัยรักการบุญและเกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนคนทั่ว ๆ ไป
ครั้นเมื่อนายดูลย์ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวช ขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๒๒ ปี ตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน ได้เป็นผู้จัดแจงเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ นายดูลย์ก็เข้าพิธีอุปสมบทก่อนเข้าพรรษา ณ พัทธสีมาวัดจุมพลสุทธาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในกำแพงเมืองรอบนอกของจังหวัดสุรินทร์ในสมัยนั้น
โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านพระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านพระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า
“อตุโล”
อันหมายถึง
ผู้ไม่มีใครเทียบได้
นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เล่าเรียนกัมมัฏฐาน
เมื่อได้อุปสมบทแล้ว พระอาจารย์ดูลย์มีความปรารถนาแรงกล้าในการที่จะศึกษาธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นจึงไปขอจำพรรษาเพื่อศึกษากัมมัฏฐานที่วัดคอโค ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร โดยมีหลวงพ่อแอก เจ้าอาวาสวัดคอโค เป็นผู้ฝึกกัมมัฏฐานให้เป็นท่านแรก
การสอนกัมมัฏฐานในสมัยนั้น เป็นการสอนโดยถือตามความเห็นของครูบาอาจารย์เป็นหลัก วิธีการสอนของหลวงพ่อแอกนั้น ท่านให้เริ่มต้นด้วยการทำอย่างง่าย ๆ เพียงจุดเทียน ๕ เล่ม จากนั้นก็นั่งบริกรรมว่า
“ขออัญเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา”
บริกรรมไปเรื่อย ๆ จนกว่าเทียนจะไหม้หมด ซึ่งก็นับว่าดีเยี่ยมแล้วในสมัยนั้น
ปีติมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ปฏิบัติจนได้ฌาน มี ๕ ประการ คือ
๑. ขุททกาปีติ
ปีติเล็ก ๆ น้อย ๆ พอขนชูชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ
ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบ ๆ เป็นขณะ ๆ เหมือนฟ้าแลบ
๓. โอกันติกาปีติ
ปีติเป็นระลอก หรือเป็นพัก ๆ คือรู้สึกซ่าลงมาในกายเหมือนคลื่นซัดต้องฝั่ง
๔. อุพเพงคาปีติ
ปีติโลดลอยเป็นอย่างแรง คือให้รู้สึกใจฟูขึ้น แสดงอาการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่นเปล่งอุทาน เป็นต้น
๕. ผรณาปีติ
ปีติซาบซ่าน คือให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ อันเป็นปีติที่ประกอบกับสมาธิกระทั่งนำไปสู่รวมจิต
พระอาจารย์ดูลย์เมื่อได้รับคำแนะนำ ท่านก็ได้พากเพียรปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหลวงพ่อแอกผู้เป็นอาจารย์อย่างเคร่งครัดด้วยความอุตสาหะและความพยายามอย่างมิได้ลดละจนตลอดพรรษา แต่ก็ไม่บรรลุผลประการใดเลย และหลวงพ่อแอกก็สอนเพียงแค่นั้น จนทำให้ท่านเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น เพราะได้เห็นแต่เทียน ๕ เล่ม โดยมิได้บังเกิดปีติ ๕ ตามปรารถนา
ในระหว่างพรรษานั้น นอกจากพระอาจารย์ดูลย์จะพยายามทำตามคำสอนของหลวงพ่อแอกแล้ว ท่านยังทรมานตนด้วยการลดอาหารอีก จนกระทั่งร่างกายซูบผอม แต่ก็ยังไม่ได้ผลเหมือนเดิม ทำให้ท่านต้องกลับมาฉันอาหารตามเดิม
นอกจากกัมมัฏฐาน และฝึกทรมานร่างกายแล้ว ท่านก็ได้ท่องบ่นบทสวดมนต์เจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ก็มิได้เรียนพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติเพื่อฝึกฝนขัดเกลากาย วาจา ใจ อันเป็นรากฐานของการปฏิบัติสมาธิภาวนาแต่ประการใด ถึงแม้จะปฏิบัติไม่ได้ผลแต่ท่านก็ยังคงพำนักอยู่ที่วัดคอโค นานถึง ๖ ปี ซึ่งในระหว่างนั้นท่านยังถูกใช้ให้สร้างเกวียนและเลี้ยงโค ทั้งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะต้องทำ ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายที่สุด
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศึกษาพระปริยัติธรรม
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ขณะที่พระอาจารย์ดูลย์ยังพำนักอยู่ที่วัดคอโค ท่านก็ได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับการสอนการเรียนพระปริยัติ ที่จังหวัดอุบลราชธานีตามแบบของมหามงกุฎราชวิทยาลัยแห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ด้วยการริเริ่มสร้างสรรค์ของท่านเจ้าประคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) และด้วยการสานเสริมเติมต่อของพระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ) ในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๕๐ จนกล่าวได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นทิศาปาโมกข์ของผู้รักการศึกษาพระปริยัติโดยแท้ ท่านมีความปีติอย่างล้นพ้นเมื่อได้ทราบข่าวนี้ และมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะได้เดินทางไปศึกษายังจังหวัดอุบลราชธานี
จึงได้ไปขออนุญาตต่อพระอุปัชฌาย์ (พระครูวิมลศีลพรต) แต่ปรากฏว่าถูกคัดค้าน เพราะการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ไปจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นลำบากเป็นอย่างยิ่ง
แต่ด้วยความมานะพยายามและตั้งใจจริงของท่าน ทำให้พระอุปัชฌาย์เห็นความมุ่งมั่น จึงได้อนุญาตให้ท่านได้ออกเดินทางไปกับพระภิกษุอีก ๒ องค์ คือ พระคงและพระดิษฐ์
ครั้นเมื่อออกเดินทางมาถึงสถานที่เรียนปริยัติในจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว กลับเกิดปัญหายุ่งยากขึ้นอีก ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ดูลย์บวชในมหานิกาย แต่วัดสุปัฏนาราม และวัดสุทัศนาราม ซึ่งเป็นสถานที่พระอาจารย์ดูลย์จะศึกษา พระปริยัติธรรมนั้นเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย ทำให้พระอาจารย์ดูลย์ต้องประสบกับปัญหาในเรื่องที่พัก
แต่ต่อมาภายหลังปัญหาดังกล่าวก็ได้ถูกคลี่คลายลง โดยการช่วยเหลือจากพระพนัสซึ่งเดินทางมาศึกษาที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่ก่อน ได้เป็นธุระในการติดต่อให้พระอาจารย์ดูลย์พำนักอยู่ที่วัดสุทัศนาราม ในฐานะพระอาคันตุกะ ทำให้ความราบรื่นในทางการเรียนค่อยบังเกิดขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อได้เข้าศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติสมความตั้งใจแล้ว พระอาจารย์ดูลย์ก็พยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มสติกำลัง โดยเข้าศึกษาในหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี อันเป็นหลักสูตรพื้นฐานในการศึกษาพระพุทธศาสนา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:07
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิชาที่ศึกษาก็มี นวโกวาท พุทธศาสนสุภาษิต พุทธประวัติ วินัยมุข และปฐมสมโพธิ จนท่านประสบความสำเร็จ และสามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตร นักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ นับเป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นพระอาจารย์ดูลย์ยังได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนท่านสามารถแปลธรรมบทได้ด้วย
การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กว่า ๆ นั้น เป็นไปอย่างเข้มงวด การไล่หรือสอบพระธรรมบทหรือวินัยมุขต่าง ๆ นั้น ผู้สอบจะถูกไล่เรียงซักถามเป็นรายตัวตามเนื้อหาที่เรียนมาเป็นบท ๆ จนจบ ผู้ที่สอบได้จึงถือว่าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความเพียรพยายามอย่างที่สุด
แม้จะนำความรู้ในระดับนักธรรมตรี ไปเทียบกับเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งเป็นคุณวุฒิสูงสุดในทางปริยัติธรรม อาจถือได้ว่าห่างไกลกันเป็นอย่างยิ่งเหมือนกับนำความรู้ระดับชั้นประถมปีที่ ๑ ไปเทียบกับปริญญาเอกก็น่าจะได้ แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการศึกษาในทางปริยัติธรรมของหลวงปู่นั้น เกิดขึ้นในทศวรรษ ๒๔๕๐ เช่นเดียวกับการศึกษาในทางโลกเมื่อประมาณ ๘๐ ปีก่อน การได้เรียนถึงประถมปีที่ ๑ หรือ ๒ ก็นับว่ายอดเยี่ยมล้ำเลิศแห่งยุคสมัยแล้ว
ภายหลังต่อมา เมื่อท่านมีพรรษาแก่กล้า ผ่านประสบการณ์ด้านธรรมปฏิบัติมามาก และมาตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมที่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์แล้ว คราวหนึ่งที่นักเรียนของท่าน มีพระภิกษุสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้เป็นองค์แรก และในงานฉลองพัดประโยค ๙ ในครั้งนั้น หลวงปู่ได้ให้โอวาทในเชิงปรารภธรรมว่า ผู้ที่สามารถสอบเปรียญ ๙ ประโยคได้นั้น ต้องมีความเพียรอย่างมาก และมีความฉลาดเพียงพอ เพราะถือว่าเป็นการจบหลักสูตรฝ่ายปริยัติและต้องแตกฉานในพระไตรปิฎก การสนใจในทางปริยัติอย่างเดียวพ้นทุกข์ไม่ได้ ต้องสนใจปฏิบัติทางจิตต่อไปอีกด้วย โดยท่านให้คำอธิบายสั้น ๆ ว่า พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิตใจ อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-24 17:07
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย
หลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ ๆ คือ เถรวาทหรือหินยาน และมหายานหรืออาจารยวาท
นิกายเถรวาทได้แผ่ลงมาทางใต้จึงเรียกว่า นิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ปัจจุบันมีอยู่ในไทย ลังกา พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนนิกายมหายาน ได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือในแถบประเทศจีน ธิเบต ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย จึงเรียกว่า นิกายฝ่ายเหนือหรืออุตตรนิกาย
สำหรับในประเทศไทยเรา นิกายเถรวาทมีมากกว่ามหายาน แต่นิกายเถรวาทในประเทศไทยยังแยกย่อยออกไปอีก ๒ นิกาย คือ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ถ้าจะพูดให้ถูกต้องทั้งสองนิกายนี้เป็นเพียงนิกายสงฆ์ในประเทศไทยเท่านั้น หาใช่นิกายทางพระพุทธศาสนาไม่ เพราะทั้งสองนิกายนี้ต่างก็ขึ้นอยู่ในนิกายเถรวาท
แต่เดิมนิกายเถรวาทในประเทศไทยเรานั้น มีคณะสงฆ์เพียงคณะเดียวคือคณะสงฆ์ไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ได้ตั้งนิกายแยกออกมา และเรียกว่าธรรมยุติกนิกาย โดยปรารภความย่อหย่อนทางวินัยของคณะสงฆ์ในขณะนั้น สำหรับคณะสงฆ์เดิมที่ไม่ได้เข้ากับธรรมยุติกนิกายคงมีชื่อเรียกว่ามหานิกาย
พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล บวชเป็นพระในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จึงมีปัญหาในด้านการเรียนกับวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกาย ท่านจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนนิกายใหม่อันเป็นความคิดที่ค้างคาใจของท่านอยู่แต่เดิม
ขณะนั้น ทางจังหวัดสุรินทร์ยังไม่มีวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกาย ทำให้การญัตติเปลี่ยนนิกายของท่านไม่ราบรื่น เพราะพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑล (ธรรมยุติกนิกาย) ในขณะนั้น ต้องการให้ท่านเล่าเรียนไปก่อนไม่ต้องญัตติ เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรมที่จังหวัดสุรินทร์ให้เจริญรุ่งเรือง เพราะหากญัตติแล้ว เมื่อกลับจังหวัดสุรินทร์ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายที่จังหวัดสุรินทร์เลย
แม้พระเถระผู้ใหญ่จะทัดทานการญัตติของพระอาจารย์ดูลย์อย่างใด แต่ท่านก็มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่จังหวัดสุรินทร์เลย ท่านต้องการเป็นพระนักปฏิบัติมากกว่า ดังนั้นถึงแม้ท่านจะได้รับการทัดทานและคำแนะนำที่เปี่ยมไปด้วยเจตนาดีจากพระเถระเพียงใดก็ตาม พระอาจารย์ดูลย์ก็ยังคงพยายามที่จะญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกายอยู่เช่นเดิม
ต่อมาความพยายามในการญัตติของพระอาจารย์ดูลย์ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อท่านได้พบกับพระอาจารย์สิงห์ทอง ขันตยาคโม ซึ่งรับราชการครู ทำหน้าที่สอนฆราวาส ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ที่วัดสุทัศนาราม อุบลราชธานี ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่พระอาจารย์ดูลย์อ่อนพรรษกว่า พระอาจารย์สิงห์เป็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียนพร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจของพระอาจารย์ดูลย์ด้วยความตั้งใจจริง จึงเสนอตัวรับภาระเรื่องการขอญัตติจนกระทั่งประสบผลสำเร็จ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 18
/ 18 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...