ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4394
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันพืชมงคล ประจำปี 2557

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันพืชมงคล ประจำปี 2557


                                                                                                                                                                                               


                                หากเอ่ยชื่อ "วันพืชมงคล" แล้วเชื่อว่าหลายคนคงยิ้มแก้มปริเลยทีเดียว เพราะจะได้หยุดเรียน หยุดงาน พักผ่อนอยู่ที่บ้าน เนื่องจากเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่จะมีสักกี่คนรู้รายละเอียด รู้ความหมาย หรือรู้ความเป็นมาเป็นไปของ "วันพืชมงคล" อย่างแท้จริง  ดังนั้นทีมงาน toptenthailand จึงขอนำเสนอ10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันพืชมงคล ประจำปี 2557

                                                                       
                                                ที่มา : ทีมงาน toptenthailand



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10.ความหมาย
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :www.sunti-apairach.com
วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระราชพิธีนี้จะกระทำที่ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9.พิธีพืชมงคล
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก : heartofthekingdombynamfon.blogspot.com
เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และ ให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. พิธีแรกนาขวัญ
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :www.rmutphysics.com
เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7.การประกอบพิธี
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :www.rmutphysics.com
   สำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนาย ปริมาณน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และแล้วพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า 3 ผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ตามชอบใจ ผ้าทั้ง 3 ผืน นี้จะดูคล้ายกัน ถ้าพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุดทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมาก และถ้าเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6.กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันพืชมงคล
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :th.wikipedia.org

          1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

          2. จัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพืชมงคลรวมทั้งพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5.พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2557 มีดังนี้
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก : technologychaoban

          สำหรับพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2557 นี้ ได้มีการเปิดเผยรายชื่อของผู้ทำหน้าที่เป็นพระยาแรกนา พระโคแรกนา รวมถึงเทพีคู่หาบเงิน และเทพีคู่หาบทองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา 2557 คือ

          - นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เทพีคู่หาบทอง 2557 ได้แก่  

          - น.ส.พชร ลาภผล นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมง

          - น.ส.กาญจนา มาลัยกฤษณะชาลี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  

เทพีคู่หาบเงิน 2557 ได้แก่

          - น.ส.จารุรัตน์ พุ่มประเสริฐ นักวิชาการเกษตรชำนาญการกรมวิชาการเกษตร

          - น.ส.ฑิฆัมพร สุทธิฤทธิ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมการข้าว

พระโคแรกนา และพระโคเสี่ยงทาย 2557 ได้แก่

          - พระโคฟ้า และพระโคใส

พระโคสำรอง ได้แก่

          - พระโคมั่น และพระโคคง

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4.พันธุ์ข้าวพระราชทานและพันธุ์พืชที่นำมาใช้ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :chaoprayanews

          - กรมการข้าว ได้ขอพระราชทานพันธุ์ข้าวทรงปลูกในฤดูนา ปี 2557 ทั้งข้าวนาสวนและข้าวไร่ ซึ่งมีคุณลักษณะและความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ จำนวน 11 พันธุ์ รวมน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งสิ้น 2,082 กิโลกรัม ประกอบด้วย

                    - ข้าวนาสวน จำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ ปทุมธานี 1 สังข์หยดพัทลุง ขาวดอกมะลิ 105 กข 49 กข 41 2กข 31 กข 47 และ กข 6

                    - ข้าวไร่ จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ดอกพะยอม พันธุ์ซิวแม่จัน และพันธุ์ลืมผัว

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3.วันประกอบพิธี
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :edtguide
ส่วนวันประกอบพิธีนั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-9 19:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2.พระโค
                                                   


                            ขอบคุณรูปภาพจาก :edtguide
   สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญ จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีในทุ่งหญ้าที่จังหวัดราชบุรี พระโคที่ใช้ในพระราชพิธี จะต้องมีลักษณะที่ดีขาดเกินไม่ได้คือ หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่ต้องสีเหมือนกัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสีเท่านั้น คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง และเจาะจงแต่เพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ "ตอน" เสียก่อนด้วย

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้