ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ประวัติวัดศรีชุม จ.ลำปาง (ศิลปพม่า)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2016
ตอบกลับ: 3
ประวัติวัดศรีชุม จ.ลำปาง (ศิลปพม่า)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-8 11:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-8 11:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดศรีชุม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีชุม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยคหบดีชาวพม่า ที่เข้ามารับจ้างและทำป่าไม้และอาศัยอยู่ในเมืองลำปาง ตามประวัติวัดศรีชุมนั้นกล่าวไว้ว่า ก่อนที่คหบดีพม่าจะสร้างวัดขึ้นนั้น ที่บริเวณนี้เคยเป็นวัดมาก่อน แต่เป็นวัดเล็ก ๆ มีเพียงศาลา บ่อน้ำ และต้นโพธิ์เท่านั้น ต่อมาในปี 2435 คหบดีชาวพม่าจึงได้ทูลขออนุญาตเจ้านครลำปางแล้วสร้างวัดศรีชุมนั้นขึ้น โดยตั้งชื่อเป็นภาษาพม่าว่า หญ่องไวง์จอง
วัดศรีฯจัดเป็นวัดพม่าที่มีความสมบูรณ์พร้อม กล่าวคือมีทั้งพระวิหาร พระอุโบสถ พระธาตุเจดีย์ กุฏิและซุ้มประตูเป็นแบบอย่าพม่าทั้งสิ้น
สำหรับพระวิหารที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด เป็นอาคารตึกครึ่งไม่แบบพม่า กล่าวคือมีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น แต่ละชั้นลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น ขึ้นไปหาเรือนยอด ชั้นบนสุดประดับด้วยฉัตรทองคำตัวพระวิหารมีมุขบันไดทางขึ้นทั้งสองด้าน ซึ่งทั้งสองมุขมีลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง มีภาพตุ๊กตาพม่าสลับบนลายเครือเถา หน้าบันเป็นลายดอกไม้ประดับ กระจกสี
ส่วนบนเพดานวิหารแต่ละช่องประดับด้วยตุ๊กตาแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งสิงโต ปลา วัว ลิง นก ช้าง ม้า เด็ก และเทวดา
นอกจากรูปแบบการก่อสร้าง การจำหลักไม้และการประดับกระจกอันเป็นศิลปะที่ชี้ชัดว่า เป็นแบบพม่าแล้ว พระประธานที่ประดิษฐ์ฐานไว้ตรงตำแหน่งที่ตรงกับส่วนที่เป็นหลังคาซ้อนกัน 7 ชั้น บนวิหารนี้ ก็เป็นพระพุทธรูปแบบพม่าปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ พระนลาฏต่ำ พระพักตร์แบน พระขนงโก่ง พระนาสิกเป็นสัน พระโอษฐ์อมยิ้ม พระหนุมน พระกรรณยาวและโค้งเล็กน้อยจรดพระอังสา พระเกศามีเม็ดพระศกละเอียด ไรพระศกเป็นแถบกว้าง ห่มจีวรลดไหล่แต่มีผ้าหลุมไหล่ทั้งซ้ายและขวา
พระประธานของวัดพม่าในลำปางส่วนใหญ่แกะสลักจากไม้สักทั้งต้นแล้วปิดทอง แต่ใช่ว่าพระพุทธรูปพม่าจะต้องแกะสลักจากไม้เท่านั้น บางองค์ก็สลักจากหินอ่อน ถ้าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากก็สลักจากหินอ่อน ถ้าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากก็ใช้วิธีสร้างแบบก่ออิฐถือปูน เช่นเดียวกับพระพุทธรูปของไทย
พระวิหารวัดศรีชุมหลังนี้ถูกไฟไหม้เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2535 จึงมีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยถ่ายแบบจากของเดิมทุกประการ แต่ก็อาจจะงดงามเทียบของเก่าแทบไม่ได้ ส่วนพระอุโบสถซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดนั้น มีกำแพงแก้งล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ทางเข้าพระอุโบสถทำเป็นซุ้มประตู ก่ออิฐถือปูน หลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะของพระอุโบสถมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมมุมและมีจัตุรมุขหลังคาซ้อนกัน 7 ชั้น ส่วนยอดประดับฉัตรทอง เชิงชายของหลังคาแต่ละชั้นตกแต่งด้วยลวดลายฉลุโลหะ ในส่วนของมุขทั้งสี่ก็ทำหลังคาซ้อนกัน 5 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไป ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปแบบพม่าหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
สำหรับพระธาตุเจดีย์ก็เป็นเจดีย์ทรงกลมก่ออิฐถือปูนแบบพม่า รอบคอระฆังมีลวดลายปูนปั้น ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2449 พระธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-8 11:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม ตั้งอยู่เลขที่ 198 ถนนศรีชุม-แม่ทะ บ้านศรีชุม ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 16 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4726 อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 100 เมตร จดที่ดินเลขที่ 141 ทิศใต้ประมาณ 60 เมตร จดทางสาธารประโยชน์ ทิศตะวันออกประมาณ 160 เมตร จดถนนศรีชุม ทิศตะวันตกประมาณ 120 เมตร จดที่ดินเลขที่ 51 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศิลปะแบบพม่า มีหลังคาทรงปราสาทเจ็ดชั้น หอสวดมนต์ และกุฏิ 2 หลัง ปูชนียวัตถุมี เจดีย์ พระพุทธรูปจากพม่า และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ อีก 3 องค์
วัดศรีชุม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยจองตะก่าอูโย พ่อเลี้ยงหม่องยีและแม่เลี้ยงป้อม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2436 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสจำนวน 8 รูป คือ ระหว่าง พ.ศ. 2434-2482 พระสย่าต่ออุสุมะณะ ระหว่าง พ.ศ. 2482-2491 พระอูสุซ่าตะ ระหว่าง พ.ศ. 2491-2494 พระอูโอ่งส่วย ระหว่าง พ.ศ. 2496-2498 พระอูอ่องเต็ง ระหว่าง พ.ศ. 2498-2500 พระอูเกเตะยะ ระหว่าง พ.ศ. 2500 พระอูปัญญา วังสะ??พระใบฎีกาสิทธิโชติกรณ์(หลวงพ่อเฉลียว ระหว่าง พ.ศ.2544-2550 ปฐมสยามสมภาร เจ้าอาวาสพระสงฆ์ไทยรูปแรก) พระครูสุตชยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นพระไทยรูปที่ 2 ตั้งแต่ 2551 ถึงปัจจุบัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-8 11:19
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดศิลปะพม่า
ศิลปะแบบพม่าในภาคเหนือมีการก่อสร้างขึ้นส่วนใหญ่ด้วยความศรัทธาทางศาสนา คือศาสนาพุทธ ซึ่งปรากฏว่า วัดทางเหนือหลาย ๆ จังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน นั้นยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถพบเห็นได้กับงานสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นต้น โดยมีชาวพม่าผู้ที่เข้ามาค้าขายหรืตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นผู้สร้างและทำนุบำรุง
ศิลปกรรมแบบพม่านั้นมีรูปแบบเฉพาะตัวคือ โบสถ์ วิหาร นิยมสร้างตัวอาคารให้มีมุขยื่นออกมา 4 ด้าน ส่วนหลังคาสร้างเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันขึ้นไป ตรงมุมของแต่ละชั้นจะมีสถูปเล็ก ๆ ประดิษฐานอยู่ หลังคาเป็นรูปกรวยเหลี่ยม สถาปัตยกรรมแบบพม่าแต่เดิมนั้นมักสร้างด้วยอิฐและหิน ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา พม่าเริ่มใช้ไม้ในการก่อสร้าง จึงทำให้เกิดศิลปะชิ้นใหม่ขึ้น นอกจากนี้พม่ายังนิยมตกแต่งอาคารให้วิจิตรพิสดารด้วยลวดลายจำหลักไม้ ลงรักปิดทองเช่นเดียวกับศิลปะของไทยอีกด้วย
สถาปัตยกรรมตามศิลปะพม่าในล้านนาไทยนั้นแบ่งออกได้ 2 ยุค คือ ศิลปะพม่าสมัยแรกที่พม่าเข้าปกครองล้านนาก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบการบริหารแผ่นดินส่วนภูมิภาค คือ ล้านนายังตกอยู่ในการปกครองของกรุงเทพฯ แบบเมืองประเทศราช ศิลปะในยุคนี้นับว่าเป็นศิลปะพม่าในยุคเก่า ซึ่งส่วนมากได้แก่ สถูป เจดีย์ เช่น เจดีย์วัดแสนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วัดเจดีย์ซาว จังหวัดลำปาง เป็นต้น ความจริงแล้วศิลปะแบบพม่ารุ่นเก่าในล้านนาสมัยที่พม่าเข้ามาปกครองนั้นยังคงมีปรากฏอยู่อีกหลายแห่ง ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดมากขึ้น ศิลปะพม่าได้ถูกดัดแปลงผสมผสานกับพื้นเมืองจนดูเป็นศิลปะล้านนาไป ศิลปะแบบพม่ายุคเก่าคงถูกดัดแปลงไปเสียส่วนมาก เมื่ออิทธิพลของไทยหรือของกรุงเทพฯ ได้แพร่ขยายขึ้นไปในยุคหลังที่ขับไล่พม่าออกไปแล้ว
นอกจากศิลปะพม่าในยุคแรกแล้ว ต่อมาได้เกิดศิลปะพม่าแบบสมัยหลังขึ้น คือ ในราวสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ศิลปะแบบพม่าได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งส่วนมากพ่อค้า คหบดีชาวพม่าที่เข้ามาค้าไม้ในล้านนาไทยจนร่ำรวย ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามศิลปะของตน เพื่อเป็นการอุทิศกุศลให้แก่บรรดาผีสางเทวดา และนางไม้ที่สิงอยู่ตามต้นไม่ใหญ่ เพื่อเป็นการขอลุแก่โทษ พร้อมกับอันเชิญให้คุ้มครองตนเองด้วย และด้วยเหตุนี้วัดศิลปะมอญพม่าจึงเกิดขึ้นในล้านนาไทยหรือภาคเหนือหลายแห่ง เช่น วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้า ในจังหวัดลำปาง วัดศรีรองเมือง วัดจอมสวรรค์ วัดสระบ่อแก้ว ในจังหวัดแพร่ เป็นต้น
สถาปัตยกรรมแบบพม่าในล้านนาไทยสมัยหลัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ลงมาส่วยใหญ่เป็นวิหารและมณฑปที่สร้างตามแบบของปราสาทตามสถาปัตยกรรมราชสำนักพม่า เป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้ มีหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ 3 ถึง 7 ชั้น ซึ่งอาคารแบบปราสาทนี้จะพบทั่วไปในจังหวัดลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน หลายแห่ง สถาปัตยกรรมแบบพม่าที่เป็นแบบปราสาทหินที่นิยมสร้างกันมากในล้านนาเป็นแบบที่เรียกว่า ทรงพระยาธาตุ
สถาปัตยกรรมที่นำมาสร้างเป็นมณฑปและวิหารในวัดล้านนานี้ มีลักษณะพิเศษคือตกแต่งด้วยไม่จำหลักและการประดับกระจกจะทำด้วยมืออันประณีตงดงามอย่างยิ่ง ตั้งแต่หลังเสาจำหลักด้วยไม้ประดับกระจก ตลอดไปจนถึงฝ้าเพดาน หลังคา สาหร่ายรวงผึ้ง ซึ่งมักจำหลักเป็นครุฑ ไก่ฟ้า เป็นต้น ฝีมือการประดับกระจกด้วยวิธีการปั้นรักปิดทอง และการจำหลักไม้ตามอาคารต่าง ๆ ที่สร้างตามแบบศิลปะพม่านั้น เป็นฝีมือช่างชั้นดีที่มีความประณีตสวบงาม ยากที่จะหารที่เปรียบได้ เพราะช่างพม่ามีฝีมือในการจำหลักไม้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
วัดศิลปะพม่าในภาคเหนือที่สำคัญและน่าสนใจมีอยู่มากมายหลายวัด หลายจังหวัด ที่มีลักษณะเด่นและสวยงามแตกต่างกัน ได้แก่ ลวดลายพรรณพฤษษา และนกที่สำคัญ เช่น วัดศรีชุม เป็นวัดพม่าที่น่าสนใจวัดหนึ่งในตำบลสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วัดนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดมาก่อน แต่เดิมนั้นมีเพียงศาลาหลังหนึ่ง บ่อน้ำ และต้นศรีมหาโพธิเท่านั้น ไม่มีกุฏิ ไม่มีพระ เนื่องจากมีต้นศรีมหาโพธิล้อมรอบวัดอยู่หลายต้น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกชื่อวัดว่า
วัดศรีชุม
ต้นศรีมหาโพธินี้เรียกตามภาษาไทยล้านนาว่า
ศรี
คำว่า
ชุม
มัความหมายว่าชุมนุม ล้อมรอบ ดังนั้นเมื่อมีความหมายดังกล่าวจึงเรียกชื่อวัดตามภาษาพม่าว่า
หญ่องไวง์จอง
ในสถานที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเก่ามาก่อนนี้ จองตะก่า อู โย กับพ่อเลี้ยงอูหม่องยี และแม่เลี้ยงป้อม ได้ทูลเกล้าฯ ขออนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครสมัยนั้น(เจ้าหลวงนรนันทชัยชวลิต พ.ศ. 2430-2440) แล้งจึงสร้าง
วัดศรีชุมนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2436 ปราสาทหลังกลางของวัด จองตะก่า อู โย ได้สร้างขึ้นเป็นกุฏิไม้ก่อน ในปี พ.ศ. 2443 ต่อมาพ่อเลี้ยงอู หม่องยี ผู้เป็นลูกเขยได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง โดเปลี่ยนจากไม้มาเป็นกุฏิตึก ก่อด้วยอิฐถือปูน แล้วเสร็จในปี 2444 ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างศิลปะแบบพม่า ซึ่งได้ช่างมาจากเมืองมันฑะเลย์ ประเทศพม่า มาเป็นช่างสร้างวิหารของวัดนี้เป็นไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรพิสดาร ส่วนที่ฝาผนัง เพดาน และเสาไม้ต้นใหญ่ ๆ ในวิหารลงรักปิดทอง มีความสวยงามแปลกตาออกไป อุโบสถสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2444 กุฏิตึกหลังที่อยู่ด้านทิศเหนือ พ่อเลี้ยงอูหม่องยีก็ได้สร้างถวายในปี พ.ศ. 2493 และพ่อเลี้ยงอู สั่นลิน ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ถวายในปี พ.ศ. 2492 เป็นที่น่าเสียดายว่า วิหารที่สวยงามวิจิตรของวัดศรีชุม ได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายจนหมด เมื่อปี พ.ศ. 2535 แต่ปัจจุบันได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรียบร้อยแล้ว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ที่มา :
http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-157.html
............................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46069
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...