ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 13047
ตอบกลับ: 52
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธเจ้ากับพญานาค

[คัดลอกลิงก์]
พระพุทธเจ้ากับพญานาค



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พญานาค หมายถึง งูใหญ่ มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล
เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา
ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

พญานาคนั้นเรามักจะพบเห็นเป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์
ตามวัดต่างๆ บันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนา
ภาพเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย
และนครวัดมหาปราสาท

ถ้าเราจะสังเกต ก็คงจะเป็นที่ศาสนาพุทธ
ทำไมมีเรื่องราวพญานาคมาเกี่ยวข้องมาก

พญานาค ในตำนานของฝรั่ง หรือชาวตะวันตก
ถือว่าเป็นตัวแทนของกิเลส ความชั่วร้าย
ตรงข้ามกับชาวตะวันออก ที่ถือว่า งูใหญ่ พญานาค มังกร
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลังอำนาจ

ชาวฮินดูถือว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่าง ๆ
เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช
ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์
ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ ๑ ตัว
หมายถึงน้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา

ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อย
ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์
เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ ๗ ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ทรงประทับบนอนันตนาคราชบัลลังก์
ในคติความเชื่อของฮินดู

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิตาราม ตอนมุจจลินทนาคราชแผ่พังพานใหญ่
เหนือพระเศียรพระพุทธองค์ขณะที่ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• พญานาคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

พญานาคมีปรากฎหลายแห่งทั้งในพระไตรปิฎก
อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท
และอรรถกถาดังต่อไปนี้

• ในวินัยปิฎก มหาวรรค (๔/๕/๗)

กล่าวถึง มุจจลินทนาคราช ความว่า

ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น
เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์
แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ ตลอด ๗ วัน
ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว
ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน

มุจจลินทนาคราช ออกจากที่อยู่ของตน
ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ
ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า
ความหนาว ความร้อนอย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค

ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราช รู้ว่า
อากาศปลอดโปร่งปราศจากฝนแล้ว
จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค
จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ
ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค
ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


• ในอรรถกถาพระวินัย สมันตปาสาทิกา
มหาวิภังควรรณนา หน้า ๒๐๒

ในการอรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า “ปุริสทมฺมสารถิ”

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นที่ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป

มีอธิบายไว้ว่าย่อมฝึก
คือแนะนำ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี
อมนุษย์ผู้ชายก็ดี ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้
ชื่อว่าปุริสทัมมา ในคำว่าปุริสทมฺมสารถินั้น

แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีอาทิอย่างนี้
คือ อปลาลนาคราช จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช
อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช
อาลวาฬนาคราช ช้างชื่อธนบาลก์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว
คือทรงทำให้สิ้นพยศแล้วให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


[ภาพพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงอธิษฐานลอยถาดทวนกระแส
และตกไปยังพิภพของท้าวกาฬนาคราช]


8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• อรรถกถาปาสราสิสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๕๖


ได้กล่าวถึงพญานาคไว้ว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
แล้ววางถาดทองไว้ริมฝั่งลงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว
ทรงปั้นข้าวมธุปายาสจำนวน ๔๙ ก้อน
เสวยข้าวมธุปายาสแล้วทรงเสี่ยงทายว่า

ถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าวันนี้
ขอถาดจงลอยทวนกระแสน้ำดังนี้แล้วทรงเหวี่ยงถาดไป
ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำแล้วหยุดหน่อยหนึ่ง
เข้าไปสู่ภพของ ท้าวกาฬนาคราช
วางทับถาดของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๑๕

กล่าวไว้ทำนองเดียวกันว่า
พระโพธิสัตว์ครั้นเสวยข้าวข้าวปายาสนั้นแล้ว
จับถาดทองทรงอธิษฐานว่า

ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ไซร้
ถาดของเราใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป
ถ้าจักไม่ได้เป็นจงลอยไปตามกระแสน้ำ

ครั้นทรงอธิษฐานแล้วได้ลอยถาดไป
ถาดนั้นลอยตัดกระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ
ณ ที่ตรงกลางแม่น้ำนั่นแลได้ลอยทวนกระแสน้ำ
ไปสิ้นสถานที่ประมาณ ๘๐ ศอก

เปรียบเหมือนม้าซึ่งเพียบพร้อมด้วยฝีเท้าอันเร็วไวฉะนั้น
แล้วจมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่งจมลงไปถึงภพของกาลนาคราช
กระทบถาดเครื่องบริโภคของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
มีเสียงดังกริ๊ก ๆ แล้วได้วางรองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น

กาลนาคราช ครั้นได้สดับเสียงนั้นแล้ว
กล่าวว่า เมื่อวานนี้พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดแล้วองค์หนึ่ง
วันนี้บังเกิดอีกองค์หนึ่ง
จึงได้ยืนกล่าวสดุดีด้วยบทหลายร้อยบท ได้ยินว่า

เวลาที่มหาปฐพีงอกขึ้นเต็มท้องฟ้า
ประมาณหนึ่งโยชน์สามคาวุต
ได้เป็นเสมือนวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้แก่ กาลนาคราช นั้น
อายุของกาลนาคราชยืนยาวมาก
เพราะหากถือตามนี้หนึ่งพุทธันดร
เท่ากับ ๑ วันของพญานาค


10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-3 12:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


• พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ หน้าที่ ๑๑๙


บรรยายไว้ว่า เวลาเย็นทรงรับหญ้าที่นายโสตถิยะถวาย
มีพระคุณอันพระยากาฬนาคราชชมเชยแล้ว
เสด็จสู่ควงไม้โพธิ ปฏิญญาว่า

“เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้
ตลอดเวลาที่จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
ด้วยการไม่เข้าไปถือมั่น”



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้