ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2560
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หอพระแก้ว นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว

[คัดลอกลิงก์]

                                                                                                                                                                                                    หอพระแก้ว นครเวียงจันทร์
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


“หอพระแก้ว” ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดสีสะเกด
ในนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว

ในอดีตพื้นที่ที่สร้างหอพระแก้วนี้อยู่ในเขตพระราชวังของกษัตริย์
ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ ๑๕๐ เมตร
เคยเป็นวัดที่สำคัญสำหรับประกอบพิธีต่างๆ ทางพระศาสนา
เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
หลังจากที่พระองค์ได้ทรงย้ายเมืองหลวงของประเทศ
จากเมืองหลวงพระบางมาเป็นเมืองเวียงจันทร์
และสถาปนาเมืองเวียงจันทร์ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่
ของอาณาจักรล้านช้างในปี พ.ศ. ๒๑๐๓
ก็ได้ดำริสร้างหอพระแก้วใน ปี พ.ศ. ๒๑๐๘ นั่นเอง
หอพระแก้วจึงมีความสำคัญมาก
เพราะเป็นสถานที่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์
การย้ายเมืองหลวงของประเทศลาว

ปัจจุบันวัดนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์และองค์พระแก้วมรกต
ก็ประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หรือวัดพระแก้ว ในกรุงเทพมหานคร



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
องค์พระแก้วมรกตนั้นเดิมประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ (ล้านนา)
สมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งมีเชื้อสายล้านนาด้วย
ได้เคยไปปกครองนครเชียงใหม่
ก่อนที่จะทรงกลับมาปกครองล้านช้างภายหลังจากสิ้นพระราชบิดา

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงเลื่อมใสบูชาองค์พระแก้วมรกต
อีกทั้งในเวลานั้นเชียงใหม่เป็นเป้าหมายในการรุกรานจากฝ่ายพม่า
เพื่อความปลอดภัยขององค์พระแก้วมรกตด้วยประการหนึ่ง
ทำให้พระองค์อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ก่อน
จนเมื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่นครเวียงจันทร์
จึงได้ย้ายองค์พระมาประดิษฐานไว้ที่เมืองหลวงแห่งใหม่

และพระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐาน ณ นครหลวงเวียงจันทร์
เป็นเวลา ๒๑๙ ปี (นับตั้งแต่ปีสถาปนา พ.ศ. ๒๑๐๓)
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพสยามสมัยกรุงธนบุรี  
ก็นำพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่กรุงเทพมหานคร

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๒ สมัยศึกเจ้าอนุวงศ์
ครั้งนี้กองทัพสยามได้บุกไปตีและเผานครเวียงจันทร์จนสิ้น
หอพระแก้วที่เป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมก็ได้ถูกเผาด้วย
สภาพหอพระในปัจจุบันจึงเป็นหอที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด



สภาพหอพระแก้วที่พังและถูกทิ้งร้างหลังจากสงครามยุติลง
ภาพจาก http://www.vtetoday.la/                                                                                         

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หอพระแก้วที่แม้ปัจจุบันเป็นหอพิพิธภัณฑ์แล้ว
แต่ก็ยังมีชาวพุทธในลาวเข้าไปสักการะ
ด้วยความเคารพว่า สถานที่นี้เป็นวัด
และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแก้วมรกต

ฝ่ายดูแลพิพิธภัณฑ์ในนครหลวงเวียงจันทร์
ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้าชมหอพระแก้ว
เฉลี่ยวันละประมาณ ๑,๐๐๐ คน เป็นผู้เข้ามาสักการะพระพุทธรูป
และส่วนหนึ่งเป็นผู้เข้ามาศึกษางานศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์แบบชาติลาว



ป้ายจารึกประวัติโดยย่อของหอพระแก้ว


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

บันไดนาค


ระยะที่นครเวียงจันทร์กลายเป็นเมืองร้างนั้นยาวนานมาก
จากปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓
จึงได้เริ่มมีการอพยพผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองขึ้นใหม่
ซึ่งหอพระแก้วอยู่ในสภาพเพพังกินเวลานานถึง ๑๐๗ ปี
และได้รับการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙

ซากวัดที่พอหลงเหลือให้ได้เห็นรูปแบบดั้งเดิมนั้น ได้แก่
เสา ฐานหอพระ ประตูใหญ่ทางเข้าด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง
การบูรณะนั้นได้รักษาโครงสร้างเดิมเอาไว้
แต่โครงสร้างส่วนบนได้แก่ ส่วนหลังคาสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด



5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

รอบอาคาร



6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-29 09:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

วัตถุโบราณบางส่วนที่จัดแสดงไว้


ภายในหอพระแก้วมีการจัดแสดงงานศิลปกรรม
สถาปัตยกรรมเก่าแก่จำนวนมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสำริด
พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ พระพุทธรูปทองคำ เงิน  
วัตถุเครื่องใช้โบราณ เช่น ขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา
ศิลาจารึกเป็นตัวอักษรขอม บาลีสันสกฤต ในคริสตศตวรรษที่ ๖-๑๒
ศิลาจารึกภาษาลาวเดิมในคริสตศตวรรษที่ ๑๖-๑๗

หอพระแก้วเปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน  
ช่วงเช้า ๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ช่วงบ่าย ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
ห้ามถ่ายรูปภายในหอพิพิธภัณฑ์ ให้ถ่ายรูปได้เฉพาะภายนอกอาคาร


   

ที่มาของข้อมูล
http://www.vtetoday.la/
http://kpl.net.la/
http://lo.wikipedia.org/wiki                                                                                       

.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47667

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้