|
กระทั่งเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา ในขณะนั้น
พร้อมด้วย พ.อ.พรชัย วิชาวรณ์ ได้มาสำรวจการก่อสร้าง
พระครูโอภาสธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต ในขณะนั้น
ได้เสนอให้ท่านทั้ง ๒ เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้างองค์พระสืบต่อไป
พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ได้นำเรื่องการก่อสร้าง “พระมงคลมิ่งเมือง”
มารายงานให้ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร
ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับทราบ
พล.อ.ประภาส จึงได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวสมทบการสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท
และผู้มีจิตศรัทธาในกลุ่มของ พล.อ.ประภาส ร่วมบริจาคสมทบให้อีก
๑๐๐,๐๐๐ บาท การก่อสร้าง “พระมงคลมิ่งเมือง” จึงได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับการก่อสร้างครั้งใหม่ มีการขยายแท่นองค์พระออกไปทั้ง ๔ ด้าน
ด้านละ ๑-๕ เมตร โดยขยายแท่นพระซึ่งมีความยาวเดิม ๙ เมตร กว้าง ๕ เมตร
เป็น ๑๒ เมตร กว้าง ๘ เมตร สูง ๕ เมตร สูงจากพื้นดินถึงพระเกตุมาลา ๒๐.๕๐ เมตร
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร องค์พระพุทธรูปหันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา
ปิดด้วยกระเบื้องโมเสกทองเหลืองอร่าม โดยองค์พระแม้มีขนาดใหญ่ แต่สวยงามยิ่ง
ทำให้ผู้มีจิตศรัทธาบางคนนิยมเรียกท่านว่า “พระเจ้าใหญ่มงคลมิ่งเมือง”
ใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๓๒,๘๐๐ บาท สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๘
ปัจจุบัน พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวจังหวัดอำนาจเจริญ
หากสาธุชนท่านใดได้มาเยือนแล้วไม่ได้ไปกราบนมัสการ
ถือเสมือนว่ายังเดินทางมาไม่ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ
การกราบขอพรจากองค์พระมงคลมิ่งเมือง
ส่วนมากนิยมขอพรให้คลายความทุกข์โศกร้อนใจ
และบนบานให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ
ทั้งนี้ ทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี
ชาวอำนาจเจริญจะพร้อมใจจัดงานกราบนมัสการเป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน
ดังนั้น ผู้คนที่เคยเดินทางมากราบไหว้ขอพรหรือบนบานไว้
จะพากันเดินทางมากราบนมัสการและแก้บนในช่วงวันดังกล่าวจำนวนมาก
การกราบไหว้บูชา “พระมงคลมิ่งเมือง” หรือ “พระใหญ่”
เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัว เป็นมงคลชีวิตดีนักแล
ความวิจิตรงดงามของ “พระมงคลมิ่งเมือง” หรือ “พระใหญ่” ยามราตรี
ในงานกราบนมัสการพระมงคลมิ่งเมือง ณ พุทธอุทยาน จ.อำนาจเจริญ
|
|