ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2127
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี

[คัดลอกลิงก์]
วัดวรจันทร์ อำเภอเมือง สุพรรณบุรี

   
เล่ากันต่อๆมาว่าเมื่อหลายร้อยปี บริเวณนี้เป็นค่ายพักทหาร ที่พักช้างศึก ของกองทัพพระนเรศวรมหาราช และเป็นที่ฝังศพเชลยพม่าจำนวนนับไม่ถ้วน....
  
วัดวรจันทร์ เดิมทีอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณ ตรงข้ามกับ วัดพร้าว ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2466 ชลประทานสร้างประตูน้ำขึ้นทางด้านเหนือ ของวัดพร้าว จำต้องปิดกั้นแม่น้ำตรงวัดวรจันทร์ และวัดพร้าว เปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำไปทางตะวันตกของวัดพร้าว แม่น้ำสุพรรณตอนวัดวรจันทร์ และวัดพร้าว จึงไม่เป็นทางสัญจรไปมาของเรือต่างๆ ทางวัดจึงสร้างสะพานขึ้นเชื่อมระหว่างกัน   
   ภายในวัดเป็นสถานที่ตั้งของ เจดีย์จุฬามณีย์ เป็นเจดีย์ที่มีความงดงาม และไม่เหมือนเจดีย์โดยทั่วไป มีฐานกว้างเท่ากัน 4 ด้าน ประกอบกับมีเจดีย์เล็กๆ รอบทุกด้านองค์ พระเจดีย์จุฬามีณีย์เป็นสีขาวสูงใหญ่ ภายในเจดีย์หล่อด้วยทองเหลือง รวมเจดีย์ที่อยู่รอบๆ พระเจดีย์จุฬามณีย์ จำนวน 30 องค์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2456



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-28 20:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


วัดวรจันทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์พระยา เหนือสุดของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี เขตอุปจารของวัดห่างจากตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ ประมาณ 100 เมตรเศษ ความเป็นจริงสมัยโน้นเขตของอำเภอศรีประจันต์เป็นของ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี (อำเภอท่าพี่เลี้ยงเดิม) ใครจะเป็นผู้แรกสร้างมาแต่เมื่อไร สืบสวนไม่ได้ความตลอด เพราะเหตุว่าในเวลาเมื่อเขียนประวัติเรื่องนี้ ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากๆได้ล่วงลับไปเสียหมด แต่คงได้ความยุติว่า ได้ตั้งมากว่าร้อยปี คือก่อนพุทธศักราช 2377 แต่เดิมไม่มีถาวรวัตถุอันใด นอกจากกุฏีไม้ไผ่มุงแฝกอยู่ 2 ถึง 3 หลัง ตั้งอยู่ที่ต้นมะตูมเหนือสระเก่าและต่อมาได้เป็นป่าช้าเผาผี มีวิหารเก่ามุงแฝกไม่มีฝา มีพระประธานปูนปั้น หน้าตัก 3 ศอกเศษประดิษฐานอยู่ เพียงเท่านี้
   พ.ศ.2444 ทางราชการถอนเนื้อที่ตอนเหนือของอำเภอเมืองฯหรืออำเภอท่าพี่เลี้ยงในสมัยนั้น คือ ตำบลมดแดงขึ้นไปและตัดเนื้อที่ตอนใต้ของอำเภอสามชุก (เดิมชื่ออำเภอนางบวช) เป็นอำเภอศรีประจันต์ ด้วยเหตุดังกล่าว วัดวรจันทร์จึงอยุ่สุดเขตของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
   พ.ศ.2466 ชลประทานมีการสร้างประตูน้ำโพธิ์พระยาขึ้น ทางด้านวัดพร้าวซึ่งเป็นฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ(แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตรงข้ามกับวัดวรจันทร์ จำเป็นต้องปิดกั้นแม่น้ำตรงวัดวรจันทร์และวัดพร้าว เพื่อเปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำไปทางตะวันตกของวัดพร้าว แม่น้ำสุพรรณ ตอนวัดวรจันทร์และวัดพร้าวจึงไม่เป็นทางสัญจรไปมาของเรือต่างๆ จึงมีการสร้างสะพานไม้ขึ้น เชื่อมระหว่างวัดพร้าวและวัดวรจันทร์ ปัจจุบันเป็นสะพานปูนแล้ว
   พ.ศ.2476 วัดนี้แต่เดิมเรียกว่าวัดจันทร์ ได้เปลี่ยนเป็นวัดวรจันทร์ โดยเพิ่มคำว่า "วร" ซึ่งแปลว่ายอดเยี่ยม ประเสริฐ เลิศ อันนี้ เป็นเพราะเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดเชตุพน เมื่อยังเป็นพระธรรมปิฎก และเป็นเจ้าคณะมณฑลราชบุรี พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อพริ้ง) เป็นสมภารอยู่วัดนี้ เห็นว่าชื่อวัดจันทร์ไปพ้องกับวัดจรรย์ อำเภอศรีประจันต์ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 8 - 9 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีการส่งหนังสือราชการผิดพลาดไข้วเขวกันเนืองๆ ฉะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีจึงให้เปลี่ยนวัดจันทร์เป็น
วัดวรจันทร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-28 20:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


เรือมาดเก๋งสี่แจว - เรือเก๋งเครื่องยนต์ อายุเกือบ 100 ปี เรือยาวต่อด้วยไม้สักยาว 8 เมตร

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-28 20:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


สะพานหน้าวัดข้ามไปยัง วัดพร้าว มีอุทยานมัจฉา รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างไว้มากมาย

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้