ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1752
ตอบกลับ: 1
กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-4-24 08:36
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-4-24 08:37
กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม
โดย
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
ณ บ้านลานทอง
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๓
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ละเอียดมาก ทรงไปแสดงไว้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุว่าเทวดามีกายละเอียด จิตใจผ่องใส เพราะบนสวรรค์ไม่มีการทำบาป คนที่ไปเกิดบนสวรรค์นั้นตอนเป็นคนก็เว้นโทษ ๕ ประการตลอดชีวิต (คือ อยู่ในศีล ๕ ไม่ละเมิดศีลห้า)
กุศลาธรรมา คือ ธรรมอันเป็นกุศล
อกุศลาธรรมา คือ ธรรมอันเป็นอกุศล
อพยากตธรรมมา คือ ธรรมอันไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศล
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมมีอยู่ ๓ ประการนี้ แต่ว่าแตกกิ่งก้านสาขาไปได้มากมาย แตกร่มเงาให้คน สัตว์ได้อาศัย
กุศลธรรม
คือ ธรรมอันดี พระพุทธเจ้าทรงส่งเสริมให้บุคคลทำ ก็คือ ไม่ทำบาป ๕ ประการ (หนึ่ง) และไม่ทำบาปอื่นอีก (หนึ่ง) ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุญเป็นกุศล ศีลห้าทำให้คนฉลาด คนไม่ฉลาดรักษาศีลห้าไม่ได้ ใครรักษาได้ก็เป็นบุญกุศลของคนนั้น ได้ชื่อว่ามีบุญ กุศล ความดีเป็นที่รั้งจิตใจ
ให้นึกดูว่าพวกเรามีศีลห้าบริสุทธิ์ไหม ถ้ามี ก็แสดงว่าเรามีกุศลธรรม (คือ ความฉลาด) อยู่ในใจ ใจมีความฉลาด หาทางเลี่ยงจากโทษบาปทั้งหลายได้ ใครยังเลี่ยงไม่ได้ก็เพราะขาดปัญญา ขาดความฉลาด เมื่อมีปัญญาแล้ว ปัญญาก็มาสอนจิต มีปัญญาเอาตัวรอดจากบาปผู้มีปัญญาเอาตัวรอดจากบาปได้ ถึงจะไม่เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ ก็ตาม ขอให้มีปัญญาเช่นนี้ ปราชญ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญว่ามีปัญญาเอาตัวรอดจากทุกข์ได้
ถ้าเทศน์เรื่องอื่นจะไม่ใกล้การพ้นทุกข์ จึงนำเรื่อง บุญ-บาป มาเทศน์ให้ฟัง บุญ-บาป ก็อยู่ที่จิตใจเรานี้เอง รังของบุญ-บาป ก็อยู่ที่จิตเราเอง ให้ภาวนาดูจิตของเราเอง สังเกตดู จิตของเราเป็นบุญหรือกุศล หรือเป็นกลางๆ ไม่บุญไม่บาป หรือว่าเป็นบาปอย่างเดียว หรือว่าจิตของเราเป็นทั้งบุญและบาป หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสองอย่างหรือทั้งสามอย่าง ฯลฯ
จิตที่เป็น
อกุศล
ใครมาว่าก็โกรธแล้ว ถ้ามีสติสัมปชัญญะก็จะรู้ตัวว่าจิตเป็นอกุศลอยู่ ยังโกรธคนอยู่ ก็ต้องละความโกรธด้วยการเจริญเมตตา ทำความรู้สึกเอ็นดูต่อเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อารมณ์ต่างๆ นั้น เมื่อใจไม่ยึดถือ มันก็ดับไป
ฟังธรรมมาเยอะแยะแล้ว ควรชำระกายใจให้สะอาด ไม่ให้ความเศร้าหมองเกิดขึ้นในจิตใจ ขอเตือนพุทธบริษัททั้งหลาย เพราะว่าชีวิต คือ จิตดวงนี้ เมื่อได้เสวยผลบุญที่ทำ ก็มีความสุข ไปเกิดที่ใดก็มีความสุข เกิดภพใด ชาติใด จิตใจก็มีความสุขอยู่ในภพที่เกิดนั้นและจิตบาปอกุศล ก็จะหน่วงเหนี่ยวให้ไปเกิดที่ต่ำ ไม่มีทางพาไปสู่ที่สูง ที่ดี หลวงปู่เคยเทศน์ว่านรกอยู่ใต้ดินนี้เอง ในตำราท่านว่าไว้แต่ไม่รู้อยู่ลึกแค่ไหน มีสำนักงานของยมพบาล มีสำนักงานของนายนิรยบาล ควบคุมสัตว์นรก สอบสวนสัตว์นรก แล้วก็บอกว่านี่เป็นกรรมของเธอเอง เธอทำมาเอง
ตอนนี้ก็ต้องเสวยผลของกรรมนั้นของเธอเอง (นี่คือคำตัดสินโทษ) ว่าแล้วก็จะโยนลงนรกไปนายนิรยบาลเองก็เป็นทุกข์เพราะต้องคอยควบคุมสัตว์นรกอยู่ ส่วนยมพบาลผู้เป็นใหญ่นั้นไม่ค่อยทุกข์เพราะมีหน้าที่สอบสวนสัตว์นรก การสอบสวน ก็คือ ถามว่าเคยทำบาปอะไรบ้าง เคยฆ่าสัตว์ไหม ตัวเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ฆ่าสัตว์เล็กก็บาปเล็กหนอ่ย ฆ่าสัตว์ใหญ่ก็บาปมาก บาปมากก็ต้องตกนรกนาน
ดังนี้ พวกเราควรพากันสะดุ้งหวาดกลัว อย่าเห็นแก่ปากท้อง อย่าเห็นแก่ความสนุกสนานชั่วคราว สุขในโลกนั้นสุขชั่วคราวเท่านั้น ไม่ยั่งยืนอะไรเลย เปรียบดังการรับประทานอาหาร พอกินอิ่มก็สบาย แล้วความอิ่มก็หายไป ก็ทุกข์อีกเพราะหิวอีก
เป็นนักปฏิบัติธรรม ต้องพิจารณาให้เห็นทุกอย่างว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ควรรู้เท่าและอาศัยของไม่เที่ยงนี้ (กายก็ไม่เที่ยง จิตก็อาศัยกายอยู่ อาหารที่อาศัยยังกายก็ของไม่เที่ยง) ของไม่เที่ยงกับของไม่เที่ยงมาบำรุงกัน ถ้าเที่ยงแล้วก็ไม่ต้องบำรุงกัน เป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แต่ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง มีแต่พระนิพพานที่เที่ยง ไม่วิบัติ ไม่ผันแปร เราก็ต้องทำใจให้ยินดีในพระนิพพาน ด้วยการไม่ยึดถือในตัวตนขันธ์ ๕ อันไม่เที่ยง
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 08:38
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตัณหา
เป็นปัจจัยให้เกิด
อุปาทาน
เมื่ออยาก ก็ยึดไม่ได้คราวนี้ ต่อไปก็จะต้องเอาให้ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ขอให้เข้าใจ อย่าคิดว่าเป็นผู้ครองเรือนปฏิบัติธรรมอันลึกซึ้งไม่ได้
พระโสดาบันมีสามี-ภรรยา-ลูก ทำไร่นา ทำงาน ค้าขาย ตามความสามารถอยู่ แต่ท่านไม่ทำบาป ขอทานก็เป็นพระโสดาบันได้ (เคยมีคนโรคเรื้อน ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ก็บรรลุโสดาบันแล้วกราบปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ พระอินทร์ ได้ยินข่าวเรื่องนี้เข้า ก็ลงมาทดสอบ ให้ปฏิเสธคุณพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์แล้วจะหายาแก้โรคเรื้อนมาให้หายจากโรค ชายโรคเรื้อนนั้นก็ตอบพระอินทร์ว่า ท่านเป็นใคร จึงมาแนะให้ข้าพเจ้าถอนตัวจากที่พึ่งอันประเสริฐคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าถอนไม่ได้ หาได้หวั่นไหวกับโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ไม่ พระอินทร์ฟังดังนี้ จึงไปกราบต่อพระพุทธเจ้าว่า ผู้นี้บรรลุโสดาบันแล้วจริงๆ ด้วย ได้ไปสัมภาษณ์มาแล้ว
ขอให้เข้าใจ มรรคผล ธรรมวิเศษ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย แต่
จิตเอาร่างกายเป็นอารมณ์
เห็นว่ากายนี้ไม่เที่ยงหนอ เมื่อโรคภัยมากระทบร่างกาย ก็มากระทบจิต จิตก็เดือดร้อน
พระโสดาบันอาจจนกาย แต่ทรัพย์ภายในไม่จนเลย ความเห็นของพระโสดาบันก็คือ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจแห่งปัญญา ใครได้บรรลุความเห็นเช่นนี้ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ แล้ว ท่านผู้นั้นก็จะบรรลุพระโสดาบัน ความเห็นอย่างนี้ ต้องเกิดจาก ศีล เมื่อศีลบริสุทธิ์ ก็น้อมเป็น สมาธิ แล้วก็สงบขึ้น (ขออภัยที่จุด ๓ จุดไว้ตรงนี้คือจดไม่ทัน จำไม่ได้แล้วว่าหลวงปู่กล่าวต่อว่าอย่างไรค่ะ - deedi) เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เรียกว่าพระโสดาบัน รุกขเทวดาสองแม่ลูก ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ด้วยใจสงบด้วยความเคารพ ฟังจบ ก็บรรลุโสดาบันได้
มรรคผล
อยู่กับผู้มีบุญ ผู้มีบุญแก่กล้าก็จะบรรลุ เบื่อหน่ายคลายความยึดถือ แล้วก็วาง จิตใจก็รวมเข้าสู่มรรค ถอนออกจากความสงบก็รู้แจ้งว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ทั้งสังขารที่มีวิญญาณครองและสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นธรรมดา เห็นแล้ว มีปัญญาแล้ว ก็เบื่อหน่าย
ความเบื่อหน่าย
มีหลายขั้นตอน เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ทำบาป เพราะทำบาปแล้วต้องลงนรก ถ้าหากไม่ทำบาปแล้วไม่มีกินก็ยอมตายไปซะดีกว่าตกนรก ใจนั้นไม่ตาย มีแต่กายที่ตาย เมื่อรู้เช่นนี้ก็จะไม่หวาดกลัวต่อความตาย
เมื่อจิตเห็นแจ้งตามปัญญา ก็จะไม่เดือดร้อนแล้ว ใกล้ตายลมหายใจก็จะสั้นเข้าๆ ลมหายใจหมดเสียงดัง 'พ็อก' แสดงว่าจิตออกจากกายแล้ว หมด นี่สำหรับคนสามัญ แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายนิพพาน ไม่มีเสียงดังพ็อก มีแต่เงียบไปเฉยๆ เพราะว่าจิตไม่ได้ห่วงกังวลอะไรแล้ว วางทุกอย่างเรียบร้อยหมดเลย
กุศลธรรม
คือ ความฉลาด คือ อยู่ในศีลห้า เป็นผู้มีปัญญา มีความฉลาด
อกุศลธรรม
คือ ความไม่ฉลาด คนไม่ฉลาดชอบทำแต่บาปแต่กรรมใส่ตัวเอง
อพยากตธรรม
คือ เวลาปกติ ใจกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป
ที่มา :
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8295
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=47579
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...