ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3684
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

[คัดลอกลิงก์]


พระธาตุพนม
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม


   

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) เป็นเจ้าอาวาส
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ฝ่ายมหานิกาย
วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม
ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ
กว้างด้านละ ๑๒.๓๓ เมตร สูง ๕๓.๖ เมตร
มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ ๔ ชั้น

องค์พระธาตุตั้งอยู่บน "ภูกำพร้า"
เป็นเนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ ๓ เมตร
(อ่านเพิ่มเติมจาก อุรังคนิทาน ท้ายกระทู้)
ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่า บึงธาตุพนม
ในวันเพ็ญเดือน ๓ ถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
จะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม





2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภายในองค์พระธาตุพนม



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

๑. องค์พระธาตุพนม



พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งของวัด
และของประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง
องค์พระธาตุมีการบูรณะใหม่มาแล้วอย่างน้อย ๓ ครั้ง
จนถึงได้ล้มลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘
มีการสมโภชใหญ่ประจำปีมาแต่โบราณ
คือ แต่เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ถึง แรม ๑ ค่ำ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน



๒. พระอุโบสถและวิหารหลวง



พระประธานในพระวิหาร พระนามว่า “พระพุทธมารวิชัยศาสดา”
เข้าใจว่าสร้างแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช นครหลวงพระบาง
เสด็จมาสร้างพระวิหารหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๓-๒๑๐๒
เมื่อสร้างวิหารใหญ่เข้าใจว่าได้หล่อพระประธานไว้ประจำเลย
เพราะสืบแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็บอกว่า เห็นประจำอยู่ในพระวิหารหอพระแก้วตั้งแต่ก่อนเกิด

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เจ้าอาวาสได้ให้ช่างสร้างนาค ๗ เศียรแบบขอมประดับ
ดูสวยงามมาก แต่เวลานี้พระธาตุล้มทับพังแล้ว
คงเหลือแต่พระประธานไม่เป็นอันตราย
เวลานี้ทางศิลปากรได้ลงรักปิดทองและกั้นฉัตร ๕ ชั้นไว้กลางแจ้งบนฐานพระวิหาร
หลังคาและผนังพระวิหาร กรมศิลปากรรื้อจะสร้างใหม่
      
พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระปางมารวิชัยเหมือนกัน
แต่มีขนาดย่อมกว่าพระประทานในพระวิหาร
มีพระนามว่า “พระองค์แสนศาสดา”
เป็นพระประจำอุโบสถมานานแล้ว ที่ฐานมีจารึกเลขศักราชไว้ดังนี้
“ศักราชได้ ๘๖๔ ตัว” ตรงกับปี พ.ศ. ๒๐๓๕
ที่ฐานมีห่วงสำหรับหาม เข้าใจว่าแต่โบราณคงเอาออกแห่เวลาตรุษสงกรานต์
พระพักตร์นูน จมูกโด่งงาม พระองค์เกลี้ยงเกลา
ไม่ทราบประวัติว่าหล่อที่่ไหน ใครสร้าง
ดูพระพุทธลักษณะและฝีมือช่างเป็นนักปราชญ์ชั้นสูงสร้าง
        
ส่วนโรงอุโบสถนั้นสร้างมานานแล้ว ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๔๙-๒๓๕๖
คราวเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ลงมาบูรณะวัดพระธาตุพนม
ปรากฏตามจารึกว่า พระจันทสุริยวงศา เมืองมุกดาหาร
ได้ปฏิสังขรณ์สร้างอุโบสถไว้เป็นพุทธบูชาเป็นส่วนของท่านโดยเฉพาะด้วย

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านพระครูศิลาภิรัต เจ้าอาวาส
พร้อมด้วยหลวงพิทักษ์พนมเขต (ท้าวสีกะทูมจันทรสาขา) นายอำเภอธาตุพนม
ลูกหลานเหลนของพระจันทสุริยวงศา ได้รื้อโรงอุโบสถเก่าที่ชำรุดสร้างใหม่
ถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พระเทพรัตนโมลี ขอทุนฉลอง ๒,๕๐๐ มาบูรณะโรงอุโบสถใหม่
คือ รื้อหลังคาแปลงเป็น ๓ ชั้น เพิ่มฝาผนังขึ้น
ขยายหน้าโบสถ์ออกอีก ๗ เมตร ทำช่องประตูหน้าต่างใหม่ทุกห้อง
ประตูหน้า ๓ ช่อ เป็นซุ้มกรอบประตูหน้าต่างประดับลวดลายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้


(ข้อมูลจาก http://www.fisheries.go.th/)
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้







พระพุทธรูปมีนาคปรกหน้าองค์พระธาตุ


พระธาตุพนมจำลองเพื่อให้ประชาชนได้ปิดทอง
และคล้องมาลัยบูชาพระธาตุ ตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศรอบองค์พระธาตุ
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓. สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม

ตั้งอยู่กลางสระน้ำในบริเวณวัดพระธาตุพนม








บางส่วนของพระธาตุองค์เดิม มีการสร้างหลังคาครอบไว้ให้เห็น


การบูชาองค์พระธาตุองค์เดิมตามประเพณีในเดือน ๓ ของทุกปี
(บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗)
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
งานนมัสการพระธาตุพนม
(บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗)

ฮานาโกะจังมีโอกาสได้ไปเอง เก็บภาพบรรยากาศมาฝากค่ะ



ในปีนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๗) งานนมัสการพระธาตุตรงกับวันที่ ๗ กุมภาพันธ์
มีงานสมโภชไปจนถึงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
โดยงานบวงสรวงสำคัญจัดในวันแรก คือ ๗ กุมภาพันธ์ค่ะ
มีการสักการะด้วยเครื่องบูชาต่างๆ มีบายศรี ต้นดอกผึ้ง เป็นต้น
สวยงามและยิ่งใหญ่มาก  

ภายในบริเวณพระธาตุ ประชาชนมาสักการะกันอย่างหนาแน่นจริงๆ
ทั้งประชาชนฝั่งไทย และทั้งจากฝั่งประเทศลาว  
มาจากจังหวัดอื่นๆ รวมตัวกันเป็นคณะใหญ่ๆพากันมาก็เป็นจำนวนมาก

ประชาชนที่ศรัทธาจะถวายปัจจัยบำรุงดูแลองค์พระธาตุหรือวัด
บางส่วนก็ให้วงดนตรีแห่นำขบวนรอบองค์พระธาตุก่อน
เพื่อเป็นการบูชา แล้วจึงนำปัจจัยไปถวาย
บรรยากาศของงานสักการะสนุกสนานตามแบบชาวอีสาน









แค่ครึ่งวันแรก ดอกไม้บูชาก็มีล้นหลาม
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-21 10:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ต้นดอกผึ้ง


รอบนอกวัดมีงานออกร้านขายของ   
                                                                                      
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47310

สาธุครับ









ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้