| | พระสังฆคุณ ๑๔ | คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา |
๑ | สุ. | สุทธะสีเลนะ สัมปันโน
สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก
สุนทะโร สาสะนะกะโร
สุนทะรันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ถึงพร้อมด้วยศีลอันหมดจด เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ทำตามคำสอนดี ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้นซึ่งเป็นผู้ดี. |
๒ | ปะ. | ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย
ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร
ปัญญายะ อุตตะโร โลเก
ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา อันบัณฑิตสรรเสริญเป็นเยี่ยมแท้ ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้น่าสรรเสริญในโลก. |
๓ | ฏิ. | ติตถะกะระชิโต สังโฆ
ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน
ติตถิโย พุทธะวะจะเน
ติตถันตังปิ นะมามิหัง. | พระสงฆ์ชนะเจ้าลัทธิต่าง ๆ เป็นครูผู้มีปัญญาในพระศาสนาแท้ เป็นเจ้าท่าในพระพุทธวจนะ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น แม้ผู้เป็นดุจท่า. |
๔ | ปัน. | ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร
ปัญญะวา จะ อะวังกะโค
ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ
ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใดทรงธรรมอันลึก น่าสรรเสริญ ฉลาดและซื่อตรง เห็นอรรถ เห็นธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้น่าสรรเสริญแท้. |
๕ | โน. | โน เจติ กุสะลัง กัมมัง
โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง
โนทิสันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ไม่สร้างกุศลธรรม ทั้งไม่บาปด้วย (คือละทั้งบุญทั้งบาป) รู้ธรรมอันไม่ทราม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไม่เป็นศัตรูกับใคร. |
๖ | ภะ. | ภัคคะราโต ภัคคะโทโส
ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง
ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง
ภะคะวันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด เป็นผู้หักราคะ หักโทสะ หักโมหะแล้ว และช่วยหักกิเลสทั้งปวง ของสัตว์ทั้งหลายด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีโชค. |
๗ | คะ. | คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง
คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ
คะโตเยวะ กิเลเสหิ
คะมิตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ได้บรรลุทั้งโลกิยธรรม ทั้งโลกุตตรธรรม เป็นผู้ไปเสียจากเครื่องเศร้าหมอง ทั้งหลายเทียว ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไป (เสียจากเครื่องเศร้าหมอง) แล้ว. |
๘ | วะ. | วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง
วัณเณติ สีละสัมปะทัง
วัณเณติ สีละรักขิตัง
วัณณิตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด สรรเสริญกุศลธรรม สรรเสริญความถึงพร้อมแห่งศีล สรรเสริญผู้รักษาศีล ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้สรรเสริญธรรมอันควรสรรเสริญ. |
๙ | โต. | โตเสนโต เทวะมานุสเส
โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ
โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ
โตเสนตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ยังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้ยินดี (ในธรรม) แสดงธรรมให้พอใจ (คนฟัง) ยังคนที่แม้เป็นคนคิดร้าย ให้กลายกลับเป็นยินดีพอใจ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ปลุกปลอบใจคน. |
๑๐ | สา. | สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน
สาสันโต สิวะคามินัง
สาสะนะมะนุสาสันโต
สาสันตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด รับเอาพระศาสนาไว้ แนะนำทางไปนิพพาน พร่ำสอนพระศาสนาอยู่เสมอ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้แนะนำสั่งสอน. |
๑๑ | วะ. | วันตะราคัง วันตะโทสัง
วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง
วันตัญจะ สัพพะปาปานิ
วันตะเกลสัง นะมามิหัง. | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้มีความเห็นชอบ คายราคะ คายโทสะ คายโมหะ คายกิเลส. |
๑๒ | กะ. | กะโรนโต สีละสะมาธิง
กะโรนโต สาระมัตตะโน
กะโรนโต กัมมะฐานานิ
กะโรนตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด บำเพ็ญศีล สมาธิ (ปัญญา) สร้างสาระของตนขึ้น ทำพระกรรมฐานต่าง ๆ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้เป็นนักทำ. |
๑๓ | สัง. | สังสาเร สังสะรันตานัง
สังสาระโต วิมุจจิ โส
สังสาระทุกขา โมเจสิ
สังสุทธันตัง นะมามิหัง. | เมื่อสัตว์ทั้งหลายมัวท่องอยู่ในสงสาร พระสงฆ์ท่านหลุดพ้นจากสงสารไปแล้ว ยังช่วยสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากทุกข์ในสงสารด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้บริสุทธิ์พร้อม. |
๑๔ | โฆ. | โฆระทุกขักขะยัง กัตวา
โฆสาเปติ สุรัง นะรัง
โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง
โฆสะกันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใดทำความสิ้นทุกข์ อันเป็นสิ่งพึงกลัว (แก่เทวดามนุษย์) แล้ว ยังเทวดามนุษย์ให้ช่วยกันโฆษณาประกาศพระไตรปิฏก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสงฆ์นั้น ผู้เป็นนักโฆษณา. |