ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1832
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

โอวาทบางตอน

[คัดลอกลิงก์]
โอวาทบางตอน



ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนาจากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไรบางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลางไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติ จนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆพอสมควร อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ บางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็อาจจะเป็นไปได้
ผู้จะเข้าถึงพุทธธรรม

ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้นเบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำและเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า

พุทธะหมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สว่าง สงบ สว่างในใจ

ธรรมหมายถึงตัวการความสะอาด สงบ สว่างได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรมก็คือคนเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง

การเดินเข้าถึงพุทธธรรม ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอาเขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวกและถึงที่หมายได้หากเดินผิดทางเขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนาม เป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกทีหรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอน เป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์ ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้านหรือผ่านบ้านไปเฉยๆคนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใดการเดินทาง เข้าไปถึงพุทธธรรมนั้นก็เหมือนกัน ทุกๆคนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเองไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมายได้รับความสะอาดสงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเองแต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรากางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลยเขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านไปเลย ครูบา-อาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้นเราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด มันเป็นเรื่องเฉพาะตนอีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ข้างนอก ขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่าแก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวดอ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรก็ไม่ได้เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลยเพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียเพลิน แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรคแต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเองที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกินดังนั้น ท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญา พิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี

พวกแพทย์ พวกหมอ เขาปรุงยา ปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีระโอสถก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจเรียกว่าธรรมโอสถ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกโรคทางใจเป็นได้ไว และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจจะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิดการเดินทางเข้าถึงพุทธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจ จึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น ๓ ชั้น คือ


ก. ชั้นต่ำ ได้แก่ผู้รู้จักปฏิญาณตน เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัยตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงาย ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวจะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่าสาธุชนข. ชั้นกลาง หมายถึงผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น ไม่เสื่อมคลายรู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมชั้นสูงขึ้นเป็นขั้นๆท่าน เหล่านี้เรียกว่า พระอริยบุคคล คือพระโสดาบันพระสกิทาคามี พระอนาคามีค. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกายวาจาใจเป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิงเรียกว่าพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด

การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลนั้นคือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาให้เรียบร้อยว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว มีอย่างเดียวคือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอ เพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหายและรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจอยู่ให้ในแนวทางแห่งการปฏิบัติถูกต้องที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดาเมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรก และตัวเองก็สกปรกย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบายแต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกาย และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบานดังนั้น เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์ และกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมองขัดต่อการปฏิบัติธรรมและเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้นเพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-15 10:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิก็คือ การฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น และมีความสงบเพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆเหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆมนุษย์เรามีความรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำนบ ทำชลประทานเหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่าง และใช้ทำประโยชน์อื่นๆก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมดจิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า"จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์" ดังนี้เป็นต้นเราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอาใช้งานต้องฝึกเสียก่อนเมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้วจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริย-บุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป และท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนดเพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้นจิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบไม่เป็นผู้หุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ

การฝึกจิต มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุดใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า "อานาปานสติภาวนา" คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูก โดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดิน จงกรม และนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆจึงจะได้ผลไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีกอย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มากคือทำบ่อยๆติดต่อกันไป โดยการฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่านเช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง(กระท่อม) โคนไม้, ป่า, ป่าช้า, ถ้ำ, ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะอยู่ที่ใดก็ตามใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆจิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมันเรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

ปัญญาเกิด เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารก็เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมามีสติ ไม่ดีใจจนเกินไปเมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกข์ เวทนาเพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดีสิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่า เกิดปัญญา รู้ทันตามความเป็นจริง ที่เกิดปัญญาเพราะมีสมาธิสมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้

สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยงทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

ผลจากการปฏิบัติ เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆซึ่งแบ่งเป็น ๓ พวก ดังต่อไปนี้

ก. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้นเปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวานข. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระ รัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลายเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมันค. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหันต์ ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้วพ้นจากโลกอยู่จบพรหมจรรย์ เปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวานมันและหอม

เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระ-พุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเราจงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูงอย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลยฉะนั้น ควรจะ ทำตน ให้ เข้าถึง พุทธรรม เสีย แต่ วัน นี้

ขอฝาก ภาษิตว่า "เที่ยว ทาง เวิ้ง เหิงนาน มัน สิค่ำ เมา นำต่าบักหว้ามัน สิช้า ค่ำ ทาง "
"มรรค ผล ไม่พ้นสมัย"

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... _of_a_Teaching.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้