ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1687
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ความสงบ

[คัดลอกลิงก์]
ความสงบ



ในฐานะที่พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ตั้งอกตั้งใจมาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาทุกท่านอยู่คนละแห่งละหนก็มารวมกันณ วัดป่าพงนี้ซึ่งเป็นพระประจำอยู่วัดนี้ก็มีที่เป็นอาคันตุกะเพิ่งมาอาศัยอยู่ก็มีก็ล้วนแต่เป็นนักบวชซึ่งได้พยายามหาความสงบด้วยกันทั้งนั้น


ความสงบอยู่ที่ตัวเรา

ความสงบที่แท้จริงนั้นพวกเราทั้งหลายจงเข้าใจพระพุทธองค์ตรัสว่าความสงบอย่างแท้จริงนั้นไม่ได้อยู่ห่างไกลจากพวกเรามันอยู่กับพวกเราแต่เราทั้งหลายมองข้ามไปข้ามมาอยู่เสมอต่างคนก็ต่างมีอุบายที่จะหาความสงบนั่นเองแต่ก็ยังมีความฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่ถนัดใจอยู่ก็ยังไม่ได้รับความพอใจในการปฏิบัติของตนเองคือยังไม่ถึงเป้าหมายเปรียบประหนึ่งว่าเราเดินทางออกจากบ้านเราแล้วก็เร่ร่อนไปสารพัดแห่งไม่มีความสบายแม้จะไปรถ จะไปเรือจะไปที่ไหนอะไรก็ตามทีมันยังไม่ถึงบ้านเราเมื่อเรายังไม่ถึงบ้านเรานั้นก็ไม่ค่อยสบายยังมีภาระผูกพันอยู่เสมอนี้เรียกว่าเดินยังไม่ถึงไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็เร่ร่อนไปในทิศต่างๆเพื่อแสวงหาโมกขธรรม
ยกตัวอย่างเช่นพระภิกษุสามเณรเรานี้ใครๆก็ต้องการความสงบตลอดพวกท่านทั้งหลายถึงอาตมาก็เหมือนกันหาความสงบไม่เป็นที่พอใจไปที่ไหนก็ยังไม่เป็นที่พอใจเข้าไปในป่านี้ก็ดีไปกราบอาจารย์นั้นก็ดีไปฟังธรรมใครก็ดีก็ยังไม่ได้รับความพอใจอันนี้เป็นเพราะอะไร


เราต้องการความสงบแบบใด

หาความสงบไปอยู่ในที่สงบไม่อยากจะให้มีเสียงไม่อยากจะให้มีรูปไม่อยากจะให้มีกลิ่นไม่อยากจะให้มีรสอยู่เงียบๆอย่างนี้นึกว่ามันจะสบายคิดว่าความสงบมันอยู่ตรงนั้นซึ่งความเป็นจริงนั้นเราไปอยู่เงียบๆไม่มีอะไรมันจะรู้อะไรไหมมันจะรู้สึกอะไรไหมลองคิดดูซิตาของเรานั้นนะถ้าไม่เห็นรูปมันจะเป็นอย่างไรไหมจมูกนี้ก็ไม่ได้กลิ่นมันจะเป็นอย่างไรไหมลิ้นของเราไม่ได้รู้จักรสมันจะเป็นอะไรอย่างไรไหมร่างกายไม่กระทบโผฏฐัพพะที่ถูกต้องอะไรมันจะเป็นอะไรไหมถ้ามันเป็นอย่างนั้นมันก็เป็นคนตาบอดซิคนหูหนวกคนจมูกขาดลิ้นหลุดไป กายไม่รับรู้อะไรเป็นอัมพาตไปเลยมันจะมีอะไรไหมแต่ใครก็มักจะคิดอย่างนั้นอยากจะไปอยู่ที่ว่ามันไม่มีอะไรความคิดอย่างนั้นเคยคิดเคยคิดมา


ความสงบเกิดจากภายในจิตใจ

ในสมัยที่อาตมาเป็นพระปฏิบัติใหม่ๆจะนั่งสมาธิตรงไหนเสียงมันก็อื้อมันไม่สงบเลยคิดผ่านไปผ่านมาเสมอว่าจะทำอย่างไรหนอมันไม่สงบจนต้องหาขี้ผึ้งมาปั้นกลมๆอุดเข้าไปในหูนี่ไม่ได้ยินอะไรมีแต่เสียงอื้อเท่านั้นนึกว่ามันจะดีนึกว่ามันจะสงบเปล่า! ความปรุงแต่งอะไรต่ออะไรต่างๆนี้มิใช่อยู่ที่หูดอกมันเกิดภายในจิตในใจมันจะมีสารพัดอย่างต้องคลำหามันค้นคว้าหาความสงบพูดง่ายๆ จะไปอยู่ในเสนาสนะอะไรก็ดีนะคิดไม่อยากจะทำอะไรมันขัดข้องไม่ได้ทำเพียรอยากจะนั่งให้มันสงบลานวัดก็ไม่อยากจะไปกวาดมันอะไรก็ไม่อยากจะทำมันอยากจะอยู่เฉยๆอยากหาความสงบอย่างนั้นครูบาอาจารย์ให้ช่วยกิจวัดที่เราอาศัยอยู่ก็ไม่ค่อยจะเอาใจใส่มันเพราะเห็นว่ามันเป็นงานภายนอก


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-11 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การปล่อยวางที่ไม่ถูกต้อง

อาตมาจะยกตัวอย่างให้ฟังเลยนะเช่นว่าอาจารย์องค์หนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์อาตมาท่านมีศรัทธามากที่สุดตั้งใจมาปฏิบัติละวางหาความสงบ ผมก็สอนให้ละให้วางท่านก็เข้าใจเหมือนกันว่าละวางทั้งหมดมันคงจะดีความเป็นจริงตั้งแต่มาอยู่ด้วยก็ไม่อยากทำอะไรแม้หลังคากุฏิลมมันพัดตกไปข้างหนึ่งท่านก็เฉย ท่านว่าอันนั้นมันเป็นของภายนอกแน่ะ ไม่เอาใจใส่แดดฝนรั่วทางโน้นท่านก็ขยับมาทางนี้ท่านว่าไม่ใช่เรื่องของท่านเรื่องของท่านมันเรื่องจิตสงบหลังคารั่วมันไม่ใช่เรื่องของท่านมันขัดข้องวุ่นวาย ไม่ให้เป็นภาระนี่ความเห็นมันเป็นอย่างนั้นอีกวันหนึ่งอาตมาก็เดินไปไปพบหลังคามันตกก็ถามว่า "เอ..กุฏิของใคร"ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นกุฏิของท่านอาจารย์องค์นั้น"อือ..แปลกนะ" นี่ก็เลยได้พูดกันอธิบายอะไรต่ออะไรกันหลายอย่างเสนาสนะวัตรน่ะที่อยู่ของเรานั้นคนเรามันต้องมีที่อยู่ที่อยู่มันเป็นอย่างไรก็ต้องดูมันการปล่อยวางไม่ใช่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่ว่าเราปล่อยเราทิ้ง อันนั้นมันเป็นลักษณะคนที่ไม่รู้เรื่องฝนตกหลังคารั่วต้องขยับไปข้างโน้นแดดออก เอ้าขยับมาข้างนี้อีกแล้วทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะทำไมไม่ปล่อยไม่วางอยู่ตรงนั้นอาตมาก็เลยเทศน์ให้ฟังกัณฑ์ใหญ่ท่านก็ยังมาเข้าใจว่า


"เออ หลวงพ่อบางทีเทศน์ให้เรายึดมั่นบางทีเทศน์ให้เราปล่อยวางไม่รู้จะเอาอย่างไรขนาดหลังคากุฏิมันตกลงไปเราก็ปล่อยวางขนาดนี้ท่านก็ยังว่าไม่ถูกอีกแต่ท่านก็เทศน์ว่าไม่ให้ยึดไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรมันจึงจะถูก"ดูซิคนเราจิตมันเป็นอย่างนี้ในการปฏิบัติมันโง่อย่างนี้


ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุ

ตาเรามันมีรูปไหมถ้าไม่อาศัยรูปข้างนอกรูปมีในตาไหมหูเรานี้มีเสียงไหมถ้าเสียงข้างนอกไม่มากระทบมันจะมีเสียงไหมถ้าไม่อาศัยกลิ่นข้างนอกจมูกของเรามันจะมีกลิ่นไหมลิ้นมันจะมีรสไหมมันต้องอาศัยรสภายนอกมากระทบมันจึงมีรสอย่างนั้นเหตุมันอยู่ตรงไหนนะเราพิจารณาดูที่พระท่านว่าธรรมมันเกิดเพราะเหตุถ้าหูเราไม่มีแล้วจะมีโอกาสได้ยินเสียงไหมตาเราไม่มีมันจะมีเหตุให้เราเห็นรูปไหมตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ นี้มันคือเหตุพระท่านบอกว่าธรรมมันเกิดเพราะเหตุเมื่อจะดับก็เพราะเหตุมันดับก่อนผลมันจึงดับเมื่อผลมันจะมีขึ้นก็มีเหตุมาก่อนแล้วผลมันจึงตามมา


ถ้าหากเราเข้าใจว่าความสงบมันอยู่ตรงนั้นมันจะมีปัญญาไหมมันจะมีเหตุมีผลไหมสำหรับที่เราจะต้องปฏิบัติหาความสงบมันจะมีอะไรไหมถ้าเราจะไปโทษเสียงไปนั่งที่ไหนมีเสียงก็ไม่สบายใจแล้วคิดว่าที่นี่ไม่ดีที่ไหนมีรูปก็ว่าที่นั่นไม่ดีไม่สงบ อย่างนั้นก็เป็นคนอายตนะหายหมดตาบอด หูหนวกหมดทีนี้ผมทดลองดูก็คิดไป


"เอ มันก็แปลกเหมือนกันมันไม่สบายเพราะตา หู จมูกลิ้นกาย จิตนี่แหละ หรือว่าเราจะเป็นคนที่จักษุบอดดีนะมันไม่ต้องเห็นอะไรดีนะมันจะหมดกิเลสที่ตรงจักษุมันบอดละมั้งหรือว่าหูมันหนักมันตึงมันจะหมดกิเลสที่ตรงนั้นละมั้ง"


รู้ความเป็นจริงจักเกิดปัญญา

ลองๆดูก็ไม่ใช่ทั้งหมดนั้นแหละงั้นคนตาบอดก็สำเร็จอรหันต์สิคนหูหนวกก็สำเร็จหมดแล้วคนตาบอดหูหนวกสำเร็จหมดถ้าหากว่ากิเลสมันเกิดตรงนั้นอันนั้นคือเหตุของมันอะไรมันเกิดจากเหตุเราต้องดับตรงนั้นเหตุมันเกิดตรงนี้เราพิจารณาจากเหตุนี้ความเป็นจริงอายตนะคือตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ นี้เป็นของที่ให้เกิดปัญญาถ้าเรารู้เรื่องตามความเป็นจริงถ้าเราไม่รู้เรื่องเราก็จะต้องปฏิเสธว่าไม่อยากจะเห็นรูปไม่อยากจะฟังเสียงไม่อยากจะอะไรทั้งนั้นมันวุ่นวายอยู่ตรงนั้นเราตัดเหตุมันออกเสียแล้วจะเอาอะไรมาพิจารณาเล่าลองๆซิ อะไรจะเป็นเหตุอะไรจะเป็นเบื้องต้นท่ามกลางเบื้องปลายมันจะมีไหม นี่อันนี้คือความคิดผิดของพวกเราทั้งหลาย


ดังนั้น ครูบาอาจารย์ท่านจึงให้สำรวมการสำรวมนี้แหละมันเป็นศีลศีลสังวร ตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจ นี่เป็นศีลเป็นสมาธิเหล่านี้เราคิดดูประวัติพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังไม่บวชท่านไปพบพระชื่ออัสสชิด้วยตาของท่านเองเห็นพระอัสสชิเดินไปบิณฑบาตเมื่อมองเห็นแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า"แหม พระองค์นี้แปลกเหลือเกินเดินไม่ช้าไม่เร็วกลีบจีวรสีจีวรของท่านไม่ฉูดฉาดเรียบๆ เดินไปก็ไม่มองหน้ามองหลังสังวรสำรวม"เกิดแปลกขึ้นในใจอันนั้นเป็นเหตุแก่ผู้มีปัญญาท่านสารีบุตรสงสัยก็ตรงเข้าไปกราบเรียนถามท่านอยากจะรู้ว่าใครมาจากไหนอย่างนี้

"ท่านเป็นใคร""เราเป็นสมณะ"

"ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน"


"พระโคดมเป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา"


"พระโคดมนั้นท่านสอนว่าอย่างไร"


"ท่านสอนว่าธรรมทั้งหลายมันเกิดเพราะเหตุเมื่อมันจะดับก็เพราะเหตุมันดับไปก่อน"


อายตนะกับผู้มีปัญญา

นี้คือพระสารีบุตรนิมนต์ให้ท่านเทศน์ให้ฟังท่านก็อธิบายพอสังเขปเท่านั้นท่านยกเหตุผลขึ้นมาธรรมเกิดเพราะเหตุเหตุเกิดก่อนผลจึงเกิดเมื่อผลมันจะดับเหตุต้องดับก่อนเท่านั้นเองพระสารีบุตรพอแล้วได้ฟังธรรมพอสังเขปเท่านั้นไม่ต้องพิสดารเท่านั้นแหละอันนี้เรียกว่ามันเป็นเหตุเพราะในเวลานั้นพระสารีบุตรท่านมีตามีหูมีจมูกมีลิ้น มีกายมีจิต อายตนะของท่านครบอยู่ถ้าหากว่าอายตนะของท่านไม่มีมันจะมีเหตุไหมท่านจะเกิดปัญญาไหมท่านจะรู้อะไรต่ออะไรไหมแต่พวกเราทั้งหลายกลัวมันจะกระทบหรือชอบให้มันกระทบแต่ไม่มีปัญญาให้มันกระทบเรื่อยๆทางตาหู จมูกลิ้นกาย จิต เลยเพลินไปเลยหลง นี้มันเป็นอย่างนี้อายตนะนี้มันให้เพลินก็ได้ให้หลงก็ได้มันให้เกิดความรู้มีปัญญาก็ได้มันให้โทษและให้คุณพร้อมกันแล้วแต่บุคคลที่จะมีปัญญา

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-11 08:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รู้จักโลกตามความเป็นจริง

อันนี้ให้เราเข้าใจว่าเราเป็นนักบวชเข้ามาปฏิบัติปฏิบัติทุกอย่างความชั่วก็ให้รู้จักคนสอนง่ายก็ให้รู้จักคนสอนยากก็ให้รู้จักท่านให้รู้จักทั้งหมดเพื่ออะไร เพื่อเราจะรู้ความจริงที่เราจะต้องเอามาปฏิบัติไม่ใช่ว่าเราปฏิบัติแต่สิ่งที่ว่ามันดีมันถูกใจเราเราจึงจะชอบมันไม่ใช่อย่างนั้นสิ่งในโลกนี้นะบางสิ่งเราชอบใจบางสิ่งเราไม่ชอบใจมันมีอยู่ในโลกมันไม่มีอยู่ที่อื่นตามธรรมดาสิ่งอะไรที่ชอบใจเราก็ต้องการสิ่งนั้นพระเณรอยู่ด้วยกันก็เหมือนกันถ้าองค์ไหนไม่ชอบใจไม่เอาเอาแต่องค์ที่ชอบนี่ดูซิ เอาแต่สิ่งที่ชอบไม่อยากจะรู้ไม่อยากจะเห็นไม่อยากจะเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงพระพุทธองค์ให้มีประสบการณ์โลกวิทูเราเกิดมาดูโลกอันนี้ให้แจ่มแจ้งให้ชัดเจน ถ้าเราไม่รู้จักโลกตามความเป็นจริงไปไหนไม่ไหวไปไม่ได้จำเป็นจะต้องรู้จักอยู่ในโลกก็ต้องรู้จักโลกพระอริยบุคคลสมัยก่อนก็ดีพระพุทธเจ้าของเราก็ดีท่านก็อยู่กับพวกเรานี้อยู่กับพวกปุถุชนนี้อยู่ในโลกนี้ท่านก็เอาความจริงในโลกนี้เองไม่ใช่ว่าท่านไปเอาที่ไหนไม่ใช่ท่านหนีโลกไปหาสัจจธรรมที่อื่นแต่ท่านมีปัญญาสังวรสำรวมอายตนะของท่านอยู่เสมอการประพฤติปฏิบัตินี้คือการพิจารณาดูสิ่งทั้งหลายเหล่านี้รู้ตามความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนั้นอยู่ให้รู้เรื่องมัน

ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงให้รู้อายตนะเครื่องต่อไต่นัยน์ตามันก็ต่อเอารูปเข้ามาเป็นอารมณ์หูมันก็ต่อเอาเสียงเข้ามาจมูกมันก็ต่อเอากลิ่นเข้ามาลิ้นมันก็ต่อเอารสเข้ามาร่างกายก็ต่อเอาโผฏฐัพพะเข้ามาเกิดความรู้ขึ้นที่เกิดความรู้ขึ้นน่ะให้เราพิจารณาตามความจริงถ้าเราไม่รู้จักตามความเป็นจริงเราจะชอบมันที่สุดหรือเกลียดมันที่สุดชอบมันอย่างยิ่งเกลียดมันอย่างยิ่งอารมณ์นี้ถ้ามันเกิดขึ้นมานี่ที่เราจะตรัสรู้ที่ปัญญามันจะเกิดตรงนี้แต่ว่าเราไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น


สำรวมสังวร...ทำอย่างไร?

พระพุทธองค์ท่านให้สังวรสำรวมการสังวรสำรวมนั้นไม่ใช่ว่าไม่ให้เห็นรูปไม่ให้ได้ยินเสียงไม่ให้ได้กลิ่นไม่รู้จักรสไม่รู้จักโผฏฐัพพะไม่รู้จักธรรมารมณ์ไม่ใช่อย่างนั้นถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติไม่เข้าใจพอเห็นรูปก็เสียวฟังเสียงก็เสียวหนีเรื่อย หนีไปไม่สู้หนีไปนึกว่ามันจะหมดฤทธิ์หมดเดชนึกว่ามันจะจบลงมันจะพ้น มันไม่พ้นนะอันนั้นไม่พ้นหนีไปไม่รู้ตามความจริงข้างหน้ามันก็โผล่ขึ้นอีกต้องแก้ปัญหาอีกเช่นพวกปฏิบัตินี่อยู่ในวัดก็ดีอยู่ในป่าก็ดีอยู่ในเขาก็ดีไม่สบาย เดินธุดงค์ไปดูอันนั้นไปดูอันนี้สารพัดอย่างว่าจะสบายใจไปแล้ว กลับมาแล้วก็ไม่เห็นอะไรลองขึ้นไปบนภูเขา"เออตรงนี้สบายนะเอาละ" ไม่รู้สบายกี่วันก็เบื่ออีกแล้วเอ้า ลงไปในทะเล"เออ ตรงนี้มันเย็นดีตรงนี้พอแล้วเอาละ" นานอีกก็เบื่อทะเลอีกเบื่อป่า เบื่อภูเขาเบื่อทะเล เบื่อสารพัดอย่างไม่ใช่เบื่อเป็นสัมมาทิฏฐิเบื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นไม่ตรงตามความจริงอย่างนั้นกลับมาถึงวัดแล้ว"จะทำอย่างไรหนอไปแล้วไม่ได้อะไรมา"แล้วก็ทิ้งบาตรสึก


เมื่อเห็นทุกข์จักเกิดปัญญา

ทำไมถึงสึกเพราะไม่มีเครื่องกันสึกเหมือนรองเท้าเห็นไหมรองเท้าอย่างดีเขามีเครื่องกันสึกไปถูกหินถูกตอไม่สึกกันสึกเสียแล้วรองเท้าไม่ดีไม่มีเครื่องกันสึกมันก็สึก พระเราก็เหมือนกันทำไมสึกเพราะไม่เห็นอะไรเสียแล้วไปทิศใต้ก็ไม่เห็นไปทิศเหนือก็ไม่เห็นลงทะเลก็ไม่เห็นขึ้นภูเขาก็ไม่เห็นเข้าอยู่ในป่าก็ไม่เห็นไม่มีอะไร หมดแล้วตาย นี่มันเป็นอย่างนี้คือหนีไป หนีจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปปัญญาไม่เกิด


ความฉลาดมีปัญญาเกิดจากการต่อสู้

เอาอย่างนี้นะเอาใกล้ๆเรานี้เราอยากจะอยู่ในความสงบระงับที่สุดไม่อยากจะรู้เรื่องพระเรื่องเณรเรื่องอะไรต่างๆหนีไปเรื่อยๆกับอีกคนหนึ่งตั้งใจอยู่ไม่หนี อยู่ปกครองตัวเองรู้เรื่องของตัวเองคนอื่นมาอยู่ด้วยก็รู้เรื่องทั้งหมดแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลาเช่นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาสนี้เหตุการณ์มีอยู่ทุกเวลามีอะไรมาให้พิจารณาผูกใจเราอยู่เสมอเพราะอะไร เพราะเขาถามปัญหาไม่หยุดปัญหาไม่หยุดเราก็มีความรู้ไม่หยุดแก้ปัญหาไม่หยุดปัญหาตนด้วยปัญหาคนอื่นด้วยสารพัดอย่างนี่คือมันตื่นอยู่เสมอก่อนที่มันจะหลับมันก็ตื่นขึ้นมาอีกเป็นเหตุให้เราได้พิจารณาได้รู้เรื่องเลยเป็นคนฉลาดฉลาดเรื่องของตนเองฉลาดเรื่องของคนอื่นฉลาดหลายๆอย่างความฉลาดอันนี้เกิดจากการกระทบเกิดจากการต่อสู้เกิดจากการไม่หนีไม่หนีด้วยกายแต่หนีทางใจหนีทางปัญญาของเราให้รู้ด้วยปัญญาของเราอยู่ตรงนี้แหละไม่หนีมัน อันนี้เป็นเหตุที่จะให้เกิดปัญญาจะต้องทำ จะต้องคลุกคลีอยู่ในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เหมือนกันกับที่เราอยู่ในวัดช่วยกันรักษาอะไรต่างๆคลุกคลีอยู่อย่างนี้มองดูอย่างอื่นเป็นกิเลสอยู่กับพระกับเณรมากๆโยมมากๆ เป็นกิเลสมากใช่ยอมรับ แต่ต้องอยู่ไปให้ปัญญาเกิดสิให้มันลดความโง่นั่นมันจะไปตรงไหนล่ะเราอยู่ไปเพื่อให้ลดความโง่อย่าอยู่ไปเพื่อให้มันเพิ่มความโง่ขึ้นมา


ต้องรู้จักทุกข์จึงจักสู้ทุกข์ได้

ต้องพิจารณาตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจ มันกระทบเมื่อใดเป็นต้นก็ต้องสังวรสำรวมพิจารณาเมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาใครทุกข์ทุกข์นี้ทำไมมันจึงเกิดท่านเจ้าอาวาสปกครองลูกศิษย์ลูกหานี่ก็เป็นทุกข์ต้องรู้จักทุกข์เกิดขึ้นมานะให้มันรู้จักทุกข์สิทุกข์มันเกิดขึ้นมาเรากลัวทุกข์ไม่รู้จักทุกข์จะไปสู่ที่ไหนล่ะถ้าทุกข์มาก็ไม่รู้อีกจะไปสู้ทุกข์ที่ไหนล่ะนี่เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดต้องให้รู้จักทุกข์การหนีทุกข์ก็คือให้รู้จักพ้นทุกข์ไม่ใช่ว่ามันทุกข์ที่นี้แล้วก็วิ่งไปหอบทุกข์ไปด้วยอยู่ที่นั้นทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกก็วิ่งอีก นี่ไม่ใช่คนหนีทุกข์เป็นคนไม่รู้จักทุกข์ถ้ารู้จักทุกข์ต้องดูเหตุการณ์ครูบาอาจารย์ท่านว่าอธิกรณ์เกิดที่ไหนให้ระงับที่นั้นทุกข์มันเกิดตรงนั้นเรื่องที่ไม่ทุกข์มันก็อยู่ตรงนั้นเรื่องที่ทุกข์มันจะหายก็อยู่ตรงที่มันเกิดถ้าทุกข์เกิดขึ้นมาต้องพิจารณาไม่ต้องหนีนะต้องแก้อธิกรณ์ให้มันจบรู้เรื่องของมันทุกข์เกิดตรงนี้เราหนีไปกลัวทุกข์ นี่แหละคือโง่ที่สุดสร้างความโง่ขึ้นตลอดเวลาเราต้องรู้นะทุกข์นี้มันไม่ใช่อะไรไม่ใช่ทุกขสัจหรือเรื่องทุกข์นั้นเราจะเห็นในแง่ไม่ดีหรือทุกขสัจสมุทัยสัจ นิโรธสัจมรรคสัจ ถ้าหนีจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่ปฏิบัติตามสัจจธรรมเท่านั้นแหละมันจะพบทุกข์เมื่อไรมันจะรู้เรื่องเมื่อไรถ้าหนีทุกข์เรื่อยไปเราไม่รู้จักทุกข์ทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ถ้าไม่กำหนดจะรู้มันเมื่อไรไม่พอใจหนีไปไม่พอใจหนีไปเรื่อยอย่างนั้นต้องทำสงครามหมดประเทศพญามารเอาหมดนี่ มันก็ต้องเป็นอย่างนี้

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-11 08:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หนีทุกข์ด้วยปัญญา

พระพุทธองค์ท่านให้หนีด้วยปัญญาเปรียบประหนึ่งว่าเรามีเสี้ยนหรือหนามน้อยๆตำเท้าเราอยู่เดินไปปวดบ้างหายปวดบ้างบางทีก็เดินไปสะดุดหัวตอเข้าปวดขึ้นมาก็คลำดูคลำไปคลำมาไม่เห็นเลยขี้เกียจดูมันก็ปล่อยมันไปต่อไปเดินไปถูกปุ่มอะไรขึ้นมาก็ปวดอีกมันเป็นอย่างนี้เรื่อยไปเพราะอะไรนะเพราะเสี้ยนหรือหนามนั้นมันยังอยู่ในเท้าเรายังไม่ออก ความเจ็บปวดมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นเมื่อมันปวดมาก็คลำหามันไม่เห็นก็ปล่อยไปนานๆเจ็บอีกก็คลำอีกอยู่อย่างนั้นเรื่อยๆทุกข์ที่เกิดขึ้นมาเราต้องกำหนดรู้มันไม่ต้องปล่อยมันไปเมื่อมันเจ็บปวดขึ้นมา"เออ.หนามนี่มันยังอยู่นี่นะ"
เมื่อความเจ็บปวดเกิดขึ้นความคิดที่ว่าจะเอาหนามออกจากเท้าเราก็มีพร้อมกันขึ้นมาถ้าเราไม่เอามันออกความเจ็บปวดมันก็เกิดขึ้นเดี๋ยวก็เจ็บเดี๋ยวก็เจ็บอยู่อย่างนี้ความสนใจที่จะเอาหนามออกจากเท้าเรามันมีอยู่ตลอดเวลาผลที่สุดวันหนึ่งต้องตั้งใจเอาหนามออกให้ได้เพราะมันไม่สบายอันนี้เรียกว่าการปรารภความเพียรของเราต้องเป็นอย่างนั้นมันขัดตรงไหนมันไม่สบายตรงไหนก็ต้องพิจารณาที่ตรงนั้นแก้ไขที่ตรงนั้นแก้ไขหนามที่มันยอกเท้าเรานั่นแหละงัดมันออกเสีย


จงมีความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส

จิตใจของเรามันติดอยู่ที่ตรงไหนเราจะต้องรู้จักอยู่อย่างนั้นคลำไปคลำมาก็รู้อยู่เห็นอยู่ เป็นอยู่อย่างนั้นแต่ว่าความเพียรของเราไม่ถอยเหมือนกันไม่หยุด ท่านเรียกว่าวิริยารัมภะปรารภความเพียรอยู่เสมอเมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นเมื่อไรในเท้าของเรานะปรารภว่าจะเอาหนามออกจะบ่งหนามออกเสมอไม่ได้ขาดเลยทุกข์ทางใจมันเกิดขึ้นมาเรื่องกิเลสตัณหานี้เราก็มีความรู้สึกปรารภความเพียรอยู่เสมอว่าจะพยายามฆ่ามันพยายามละมันอยู่ตลอดเวลาตามไปไม่หยุดอีกวันหนึ่งมันก็จนมุมเราถึงที่นั้นเราก็ตะครุบมันได้


ฉะนั้นเรื่องสุขทุกข์นี้เราจะทำอย่างไรถ้าไม่มีสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเอาอะไรเป็นเหตุถ้าไม่มีเหตุผลมันจะเกิดตรงไหนเล่านี่เรียกว่าธรรมมันเกิดเพราะเหตุเมื่อผลมันจะดับไปนั้นเพราะเหตุมันดับไปก่อนผลมันจึงดับไปด้วยมันเป็นไปในทำนองอันนี้แต่ว่าเราไม่ค่อยเข้าใจจริงอยากแต่จะหนีทุกข์รู้อย่างนี้เรียกว่ารู้ไม่ถึงมัน


ไม่ยึดมั่นมันก็ไม่ทุกข์

ความเป็นจริงแล้วท่านอยากจะให้รู้โลกที่เราอยู่นี้ไม่ต้องหนีไปไหนจะอยู่ก็ได้จะไปก็ได้ ให้มีความรู้สึกอย่างนั้นให้พิจารณาให้ดีมันสุข มันทุกข์มันอยู่ตรงไหนอะไรที่เราไม่ยึดหมายหรือไม่มั่นหมายกับมันอันนั้นไม่มีทุกข์มันก็ไม่เกิดทุกข์มันเกิดจากภพมันมีภพที่จะเกิดมันก็ต้องไปเกิดที่ภพตัวอุปาทานยึดมั่นถือมั่นนี้แหละมันเป็นภพให้ทุกข์เกิดทุกข์มันเกิดขึ้นดูเถอะ อย่าไปดูไกลๆดูปัจจุบันนี้ดูกายดูจิตของเรานี้เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะอะไรมันเป็นทุกข์ดูเดี๋ยวนี้แหละเมื่อสุขเกิดขึ้นมามันเป็นอะไรมันจึงสุขดูเดี๋ยวนั้นมันเกิดตรงไหนให้มันรู้จักตรงนั้นทุกข์เกิดที่อุปาทานสุขเกิดที่อุปาทานทั้งนั้น


จิตเราเกิดแล้วตายตายแล้วเกิด

พระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติปฏิบัติดีแล้วเห็นจิตว่าเป็นอยู่อย่างนี้มันเกิดๆตายๆเป็นของไม่แน่นอนสักอย่างหนึ่งเลยถ้าพิจารณาแล้วท่านดูมันทุกวิธีมันเป็นของมันอย่างนั้นไม่มีอะไรแน่นอนเกิดแล้วก็ตายตายแล้วก็เกิดไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารเดินไปท่านก็รู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นนั่ง...ท่านก็รู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นจะเอาตรงไหนมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเอาโลกก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นเหมือนแท่งเหล็กใหญ่ๆที่เขาเอาเข้าเตาหลอมแล้วนั้นแหละร้อนไปทั้งแท่งเลยยกขึ้นมาเอามือไปแตะดูข้างบนมันก็ร้อนข้างๆมันก็ร้อนมันร้อนทั้งนั้นใช่ไหมที่ไม่ร้อนไม่มีเพราะมันออกจากเตาหลอมมาเหล็กทั้งแท่งไม่มีเย็นเลย


อันนี้ถ้าหากเราไม่พิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่รู้เรื่องจะต้องเห็นชัดจะต้องไม่เกิดจะต้องไม่ให้มันเกิดให้รู้จักการเกิดแม้แต่ที่ว่า"แหม คนนี้ทำไม่ถูกใจฉันฉันเกลียดที่สุด"ไม่มีแล้ว "คนนี้ทำฉันชอบที่สุด"ไม่มีแล้ว มีแต่อาการในโลกที่พูดกันว่าชอบที่สุดไม่ชอบที่สุดเท่านั้นแต่พูดอย่างใจอย่างคนละเรื่องกันจะต้องเอาสมมติของโลกมาพูดกันให้มันรู้เรื่องกับโลกเท่านั้นไม่มีอะไรแล้วมันเหนือต้องให้มันเหนืออย่างนั้นอันนั้นเป็นที่อยู่ของพระพวกเราทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้นจะต้องปฏิบัติอย่างนั้นต้องพยายามอย่าไปสงสัย


ก่อนที่ผมจะปฏิบัตินี่คิดว่าศาสนาตั้งอยู่ในโลกทำไมบางคนทำบางคนไม่ทำทำแบบนิดๆหน่อยๆแล้วเลิกมันอะไรอย่างนี้หรือผู้ไม่เลิกก็ไม่ประพฤติปฏิบัติเต็มที่นี่มันเป็นเพราะอะไรก็ไม่รู้นั้นเองละอาตมาจึงต้องอธิษฐานในใจว่าเอาละ ชาตินี้เราจะมอบกายอันนี้ใจอันนี้ให้มันตายไปชาติหนึ่งจะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการจะทำให้มันรู้จักในชาตินี้ถ้าไม่รู้จักมันก็ลำบากอีกจะปล่อยวางมันเสียทุกอย่างจะพยายามทำถึงแม้ว่ามันจะทุกข์มันจะลำบากขนาดไหนก็ต้องทำ ไม่เช่นนั้นก็จะสงสัยเรื่อยไปคิดอย่างนั้นเลยตั้งใจทำถึงแม้มันจะสุขมันจะทุกข์ จะลำบากขนาดไหนก็ต้องทำชีวิตในชาตินี้ให้เหมือนวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้นทิ้งมัน จะตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะตามธรรมะให้มันรู้ทำไมมันยุ่งมันยากนักวัฏฏสงสารนี้อยากรู้ อยากจะเป็นอย่างนั้นคิดปฏิบัติ

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-11 08:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ปฏิบัติต้องมักน้อยสันโดษ

ในโลกนี้ นักบวชทิ้งอะไรไหมถ้าเป็นนักบวชไม่สึกแล้วก็เป็นอันว่าทิ้งหมดทุกอย่างเลยไม่มีอะไรจะไม่ทิ้งที่โลกเขาต้องการเราก็ทิ้งหมดทั้งนั้นแหละรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะทิ้งหมด แต่ก็กระทบทั้งหมดเช่นกันฉะนั้นเราเป็นผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษถึงการพูดการจาการขบการฉันการอะไร จะต้องเป็นคนที่ง่ายที่สุดกินง่าย นอนง่ายอะไรๆก็ง่ายแบบที่เรียกว่าเป็นตาสีตาสาธรรมดาแบบง่ายๆ ทำไปยิ่งทำมันก็ยิ่งภูมิใจมันจะเห็นในจิตในใจของเราฉะนั้นธรรมะนี้จึงเป็นปัจจัตตังรู้เฉพาะตัวเราถ้ารู้เฉพาะตัวเราแล้วก็ต้องปฏิบัติเอาเอง


อย่าเชื่อง่ายแต่ให้ใช้ปัญญา

แต่เราปฏิบัตินี้ก็จะต้องอาศัยครูบาอาจารย์ครึ่งหนึ่งเท่านั้นอย่างวันนี้อาตมาเทศน์ให้ฟังอันนี้ยังเป็นของใช้ไม่ได้เลยแต่เป็นของน่ารับฟังไว้ถึงมีใครมาเชื่อเชื่อเพราะอาตมาพูดยังไม่เกิดประโยชน์เต็มที่ถ้าใครเชื่อที่ผมพูดเต็มที่คนนั้นก็ยังโง่ถ้าหากว่าฟังแล้วมีเหตุผลเอาไปพิจารณาดูให้มันเห็นชัดในจิตของตัวเองทำเองละเองอันนั้นแหละมีผลมากแล้วรู้รสมันแล้วคือมันรู้ด้วยตนเองจริงๆอันนี้พระพุทธองค์ท่านถึงไม่ตรัสลงไปคือบอกชัดไม่ได้เหมือนกับบอกสีให้คนตาบอดว่ามันขาวเหลือเกินเหลืองเหลือเกินบอกไม่ได้ หรือบอกก็ได้อยู่แต่ท่านว่ามันไม่เกิดประโยชน์เพราะคนนั้นตาบอดแล้วดังนั้นท่านจึงย้อนกลับมาให้เป็นปัจจัตตังให้เห็นชัดกับตัวเองเมื่อเห็นชัดกับตัวเองแล้วมันจึงจะเป็นสิขีภูโตเป็นพยานของเราแท้ๆจะยืนก็ไม่สงสัยนั่งก็ไม่สงสัยนอนก็ไม่สงสัยใครจะมาพูดว่า"ท่านปฏิบัติอย่างนี้ไม่ถูกผิดหมดแล้ว"มันก็สบายใจได้เพราะมันมีหลัก


เมื่อใช้ปัญญาจักเกิดสัมมาทิฏฐิ

ผู้ปฏิบัติต้องเป็นอย่างนั้นจะไปที่ไหน ใครจะบอกให้ชัดเจนอย่างไรไม่ได้นอกจากความรู้สึกของเราการเห็นของเรามันเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิขึ้นเรื่องประพฤติปฏิบัติมันเป็นอย่างนั้นเราทุกคนก็เหมือนกันเรื่องปฏิบัตินี้นะบวชอยู่ตั้ง๕ ปี ๑๐ ปี จะปฏิบัติสักเดือนหนึ่งอย่างนี้มันก็ยากเหมือนกันความเป็นจริงอายตนะทั้งหลายต้องต่อสู้ตลอดเวลาสบายใจไม่สบายใจก็รู้จักชอบไม่ชอบก็ให้รู้จักให้มันรู้จักสมมติให้มันรู้จักวิมุตติวิมุตติกับสมมติมันจะมาพร้อมกันให้รู้จักดีรู้จักชั่วรู้จักพร้อมกันเกิดขึ้นพร้อมกันอันนี้เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้ปฏิบัติ


ฉะนั้น สิ่งใดที่มันเกิดประโยชน์ตนและเกิดประโยชน์คนอื่นสร้างประโยชน์ตนแล้วสร้างประโยชน์คนอื่นชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้าอาตมาเคยสอนเสมอสิ่งที่ควรทำนั้นก็ไม่ค่อยอยากจะทำกันอย่างกิจวัตรข้อวัตรอะไรต่างๆเคยพูดบ่อยๆพูดไปก็ไม่ค่อยเอาใจใส่เพราะคนมันไม่รู้มันขี้เกียจบ้างมันรำคาญบ้างวุ่นวายบ้างนั่นแหละมันเป็นเหตุเราจะไปอยู่ที่มันไม่มีอะไรอยู่เฉยๆ จะเห็นอะไรไหมอาหารก็เหมือนกันฉันไปแล้วมันเฉยๆจะเป็นอะไรไหมอร่อยไหม หูมันตึงพูดแล้วก็เฉยมันจะรู้เรื่องไหมถ้าไม่รู้เรื่องมันจะมีเรื่องไหมไม่มีเรื่องมันก็ไม่มีเหตุมีที่แก้ไหมให้เราเข้าใจการปฏิบัติอย่างนั้น


สมัยก่อนอาตมาไปอยู่เหนือไปอยู่กับพระหลายองค์พระแก่ๆแบบหลวงพ่อหลวงตา๒-๓ พรรษา ผมนั้น๑๐ พรรษาแล้วอยู่กับพวกคนแก่ก็ตั้งใจปฏิบัติเลยรับบาตร ซักจีวรเทกะโถน สารพัดอย่างไม่ได้คิดว่าอันนี้ทำให้องค์นั้นไม่ได้คิด ทำข้อปฏิบัติของเราใครไม่ทำเราก็ทำเป็นกำไรของเราเป็นเรื่องสบายใจภูมิใจ ถึงวันอุโบสถเราก็รู้จักเราเป็นพระหนุ่มไปจัดโรงอุโบสถตั้งน้ำใช้น้ำฉันสารพัดอย่างสบาย พวกนั้นไม่รู้จักกิจวัตรก็เฉยเราก็ไม่ว่าเขาเพราะเขาไม่รู้จักอันนี้เรามาปฏิบัติเราทำแล้วก็ภูมิใจถึงเวลาห่มผ้าเดินจงกรม...สบายมันภูมิใจเหลือเกินมันดี มันมีกำลัง


กวาดสิ่งสกปรกออกจากจิตใจ

ข้อวัตรทั้งหลายมีกำลังมากที่ไหนในวัดที่จะทำได้ไม่ว่าจะเป็นในกุฏิของเราในกุฏิคนอื่นก็ดีที่มันสกปรกรกรุงรังทำเลย ไม่ต้องทำให้ใครไม่ต้องทำเอาหน้าเอาตาจากใครทำเพื่อข้อปฏิบัติของเรากวาดกุฏิกวาดเสนาสนะให้มันสะอาดถ้าเราทำเช่นนี้ก็เหมือนเรากวาดของสกปรกออกจากใจของเราเพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติอันนี้ให้มันมีอยู่ในใจของพวกเราทุกคนความสามัคคีนั้นไม่ต้องเรียกร้องหรอกเป็นเลยให้มันเป็นธรรมมะสงบระงับ พยายามทำใจให้มันเป็นอย่างนั้นไม่มีอะไรมันจะมาขัดแย้งเราอะไรที่เป็นงานหนักงานหนาช่วยกันทำถ้าเราช่วยกันทำไม่นานหรอกก็เสร็จช่วยกันง่ายๆแล้วก็แล้วไปมันดีที่สุดอาตมาก็เคยพบเหมือนกันแต่ว่าอาตมามีกำไรคือไปอยู่ด้วยกันมากๆทั้งพระทั้งเณร"เอ้า วันนี้ย้อมผ้ากันนะ"ย้อมผ้า เราไปต้มแก่นขนุนมีพระบางองค์ให้เพื่อนต้มแก่นขนุนเสร็จแล้วก็เอาผ้ามาชุบๆย้อมแล้วก็หนีไปตากผ้าอยู่กุฏินอนสบายไม่ต้องต้มแก่นขนุนไม่ต้องมาล้างหม้อไม่ต้องจัดทำอะไรเขานึกว่าเขาสบายเขาดีอันนั้นคือโง่ที่สุดแล้วสร้างความโง่ใส่ตัวเองเพราะเขาไม่ได้ทำเพื่อนเขาทำถึงเวลาไม่ต้องทำอะไรเลยง่าย นี่ยิ่งเพิ่มความโง่ขึ้นดูเถอะอันนั้นไม่ได้เกิดประโยชน์แก่เขาเลยนี่คือความคิดของคนโง่กิจที่จะต้องทำก็ไม่ทำคือถ้าไม่ทำได้ละเป็นดีที่สุดนั่นแหละมันโง่ที่สุดถ้าเรามีความเห็นอย่างนั้นในใจอยู่เราอยู่ไม่ได้


อย่าปล่อยใจให้ตามอารมณ์

ฉะนั้นจะพูดอะไรจะทำอะไร ก็ให้รู้สึกว่าเรามาทำอะไรที่นี้อยากกินดีนั่งดี นอนดีอะไรทั้งหลายนั้นไม่ได้ ที่เรามาทำอะไรถ้าเราคิดอย่างนี้อยู่เสมอมันก็จะผูกใจเราตลอดเวลาไม่เผลอ ผูกใจเสมอแม้ท่านจะยืนอยู่ท่านก็จะปราภความเพียรจะเดินอยู่ก็ปรารภความเพียรจะนอนอยู่ก็ปรารภความเพียรถ้าไม่ได้ปรารภความเพียรไม่ได้เป็นอย่างนั้นนั่งอยู่ก็นั่งในบ้านเดินก็ไปเดินในบ้านจะไปเล่นอยู่ในบ้านเล่นกับประชาชนเขาใจมันไปอย่างนั้นไม่ได้ปรารภความเพียรไม่ได้หักห้ามใจของเราอีกเสียด้วยก็ยิ่งปล่อยมันไปตามลมตามอารมณ์นี่เรียกว่าตามอารมณ์ก็เหมือนเด็กในบ้านเราไปตามใจมันมันจะดีไหม พ่อแม่ตามใจเด็กในบ้านมันจะดีไหมถ้าไปตามใจมันตั้งแต่เป็นเด็กพอมันรู้ภาษาเขาก็จะเฆี่ยนมันเท่านั้นแหละกลัวมันจะโง่การฝึกจิตของเราก็ต้องเป็นอย่างนั้นต้องรู้จักตัวรู้จักฝึกจิตของเราถ้าเราไม่รู้จักฝึกจิตของตัวเองจะคอยคนอื่นมาฝึกให้ลำบากมาก ลำบากมากทีเดียวนะ

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-11 08:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บรรลุธรรมได้เมื่อมีสติปัญญาสมบูรณ์

อย่าเข้าใจว่าอยู่นี่ไม่ได้ทำความเพียรการทำความเพียรไม่มีขีดขั้นจะยืน จะเดิน จะนั่งจะนอน ได้หมดทั้งนั้นแม้กวาดลานวัดอยู่ก็บรรลุธรรมะได้แม้มองไปเห็นแสงพยับแดดเท่านั้นก็บรรลุธรรมะได้จะต้องให้สติมีพร้อมอยู่เสมอทำไมจึงเป็นอย่างนั้นเพราะมันมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมะอยู่ทุกเวลาอยู่ทุกสถานที่เมื่อเราตั้งใจอยู่พิจารณาอยู่

ฉะนั้นเราจึงอย่าประมาทให้ระวัง ให้รู้เดินไปบิณฑบาตอย่างนี้มีความรู้สึกตั้งหลายอย่างกว่าเราจะกลับถึงวัดเราเออ เอาซิธรรมะดีๆมันจะเกิดขึ้นเมื่อมาถึงวัดมานั่งฉันบิณฑบาตแหม มันมีธรรมะดีๆที่เกิดขึ้นมาให้เรารู้จักมันต้องเกิดอยู่อย่างนี้ถ้าเราปรารภความเพียรอยู่เสมอไม่ใช่ว่ามันเป็นอะไรนะมันมีข้อคิดมันมีปัญหามันมีธรรมะมันเป็นธัมมวิจยะสอดส่องธรรมะอยู่ตลอดเวลามันเป็นโพชฌงค์ถ้าเราศึกษาอยู่เป็นพหูสูตรศึกษาอย่างไรศึกษาอารมณ์นี้ธรรมะนี้มันเกิดที่จิตไม่ต้องไปศึกษากับใครที่ไหนศึกษาอยู่ที่เมื่อเรามีสติอยู่มันมีข้อศึกษา
โพชฺฌงฺโคสติสงฺขาโตธมฺมานํ วิจโย.....


ทำจิตให้ชอบธรรมอย่าหลงโลก

มีสติมันก็มีธัมมวิจยะมันติดต่อกันเสมอมันเป็นองค์ตรัสรู้ธรรมถ้าเรามีสติอยู่มันมีธัมมวิจยะไม่ได้อยู่เฉยๆเป็นองค์ธรรมตรัสรู้ถ้าอยู่ในระบบนี้ตรัสรู้ธรรมะอยู่ตรงนี้ภายในจิตของเรานี้การปฏิบัติไม่มีกลางวันไม่มีกลางคืนไม่มีเวลา ไม่มีเรื่องอื่นมาปนปนก็ให้รู้จักว่ามันปนมีธัมมวิจยะอยู่ในใจเสมอคือชอบธรรมเฟ้นธรรมอยู่เสมอมีสติวิจัยธรรมอยู่ตลอดเวลาเรื่องจิตมันเป็นอย่างนั้นถ้ามันตกกระแสของมันแล้วไม่ใช่วิจัยไปอย่างอื่นจะไปเที่ยวตรงโน้นจะไปทางนี้ทางนั้น สนุกจังหวัดนี้จังหวัดนั้นอันนั้นมันหลงโลกเดี๋ยวก็ตายละ



จงเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ

ฉะนั้นจงพากันตั้งใจไม่ใช่ว่านั่งหลับตาอย่างเดียวจึงเกิดปัญญาตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ มันมีอยู่เสมอตื่นอยู่เสมอศึกษาตลอดเวลาเห็นต้นไม้เห็นสัตว์ต่างๆก็ได้ศึกษาอยู่ตลอดเวลาน้อมเข้ามาเป็นโอปนยิกธรรมให้เห็นชัดในตัวของเราเป็นปัจจัตตังจะมีอารมณ์ภายนอกกระทบกระทั่งเข้ามามันก็เป็นปัจจัตตังสม่ำเสมอมันไม่ทิ้งพูดง่ายๆเหมือนเขาเผาถ่านเผาอิฐเตาถ่านเตาอิฐเคยเห็นไหมก่อไฟขึ้นหน้าเตาสักสองศอกหรือเมตรหนึ่งมันจะดูดควันไฟเข้าไปในเตาหมดดูอันนั้นก็ได้มันเห็นชัดอย่างนั้นอันนี้มันเป็นรูปเปรียบเทียบถ้าทำเตาเผาถ่านเผาอิฐให้ถูกเรื่องถูกลักษณะของมันก่อไฟอยู่หน้าเตาสักสองสามศอกเมื่อมีควันขึ้นมามันจะดูดเข้าไปในเตาหมดไม่มีเหลือเลยความร้อนก็จะเข้าไปบรรจุในเตาหมดไม่หนีไปไหนความร้อนจะเข้าไปทำลายเร็วที่สุดนี่มันเป็นอย่างนั้นความรู้สึกของผู้ประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกันจะมีความรู้สึกดูดเข้าไปให้เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งนั้นตาเห็นรูป หูฟังเสียงจมูกดมกลิ่นลิ้นลิ้มรสทั้งหลายมันจะดูดเข้าไปให้เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งนั้นจะเป็นสัมผัสที่เกิดปัญญาอย่างนั้นสม่ำเสมอตลอดเวลา

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/True_Peacefulness.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้