ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2111
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลงสังขารเป็นทุกข์

[คัดลอกลิงก์]
หลงสังขารเป็นทุกข์



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโตอะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง ธัมมังสังฆัง นะมัสสามิ


...วันนี้เป็นวันธรรมะสวนะเป็นกาลเป็นเวลาที่พุทธบริษัททั้งหลายได้พากันมาอบรมจิตใจก่อนอื่นเมื่อเราตั้งใจที่จะกระทำการงานทุกสิ่งทุกอย่างครูบาอาจารย์ของเราท่านก็สอนให้เราพากันตั้งใจเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวเนื่องมาจากจิตใจของเราพระพุทธศาสนาที่ท่านสอนก็เกี่ยวถึงเรื่องจิตใจเรานั้นก็ระลึกรู้ได้อยู่ทุกๆคนว่าในสกลกายของเราทั้งหมดนี้เฉพาะส่วนตัวของแต่ละบุคคลนั้นมีอะไรเป็นใหญ่เราจะสังเกตได้ว่าร่างกายของเรานั้นถ้าปราศจากวิญญาณแล้วมันก็หมดประโยชน์...ไม่มีค่าอะไรนอนหมดลมหายใจ...ไม่ลืมตาเคลื่อนไหวไปมาก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้อันนี้แสดงว่าจิตใจนั้นเป็นของสำคัญบุคคลที่จะมีความรู้สึกนึกคิด...มีความรู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็เนื่องมาจากจิตใจบุคคลจะกระทำความดีกระทำความชั่วได้ทั้งหมดนั้นก็เป็นเรื่องของจิตใจ


ฉะนั้นจะเห็นได้ง่ายๆว่าการสร้างคุณงามความดีการประพฤติปฏิบัติธรรมก็ต้องเกี่ยวเนื่องแก่จิตใจดังนั้นจึงต้องพากันอบรมจิตใจอย่างวันนี้เราได้สมาทานข้อวัตรเป็นต้นธรรมดาทุกๆวันนั้นเราก็จะได้พากันกระทำอะไรๆต่างๆได้ตามอำเภอใจของตัวเองเราจะได้กินข้าวเย็นเราจะได้ทาแป้งแต่งตัวเราจะได้นอนบนเตียงที่มีฟูกมีฟองน้ำรองนอนอันอ่อนนุ่มสบายตามความปรารถนาของเราบางคนก็อาจจะเข้าใจว่าที่ท่านให้รักษาศีลนั้น...ทำไม?...กินข้าวเฉยๆก็จะต้องบาปด้วยทาแป้งแต่งตัวธรรมดาก็จะบาปด้วยหรือ?นอนที่นอนสูงที่นอนใหญ่ก็จะบาปด้วยหรือ?ความเป็นจริงนั้นการสมาทานศีลงดเว้นสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้มันเป็นเครื่องอุปกรณ์สำหรับช่วยทำจิตใจให้สงบคือ


หนึ่ง เรามาทำเพียรถ้าเรามาปฏิบัติภาวนาแล้วเรามัวแต่ไปยุ่งอยู่กับเรื่องอาหารการกินวันละ๒-๓ ครั้ง มันก็วุ่นวายใจไม่สงบระงับเป็นปธิโพธกังวลมากท่านจึงตัดออกเสียข้อหนึ่งคือไม่ให้กินข้าวเย็นให้กินครั้งเดียวเท่านั้น...ก็หยุดภาระมันก็น้อยลง.ถ้าภาระน้อยลงจิตใจของเรามันก็น้อยลง...ไม่คิดกว้างขวางจิตของเราถ้ามาฝึกหัดเพื่อให้เกิดความเคยชินก็จะดีอยู่นะ....อย่างวันพระวันนี้ทุกๆวันนั้นญาติโยมที่อยู่บ้านพอถึงเวลาเย็นก็ต้องกินข้าวเย็นเมื่อถึงเวลาก็คงจะต้องอยากกินข้าวแต่ถ้ามารักษาศีลในวันนี้แล้วกำหนดว่าวันนี้จะไม่กินอะไร..หยุดหยุดอยาก หยุดหิวถึงใครจะเอามากินอยู่ตรงหน้าก็ไม่อยากไม่หิวนี่...ถ้าอยู่บ้านเป็นไม่ได้เลยอันนี้ถ้ามาพิจารณาดูก็จะเห็นว่าที่มันเป็นอย่างนี้เพราะมันเกี่ยวกับอะไร?เราจะพากันสังเกตเห็นได้วันนี้ให้เราพากันตั้งใจตั้งใจว่าเราจะละมันออกว่าจะวางมันเสียแล้วไม่ไปยึดมั่นหมายในสิ่งเหล่านี้ความอยากก็ไม่มีเพราะตั้งใจไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเช้านี้ตอนเย็นมาก็คงจะไม่มารบกวนอีกหรอกไม่มีความหิวกระหายตามมารบกวนอีก

ทีนี้ถ้าหากว่าเรากลับไปบ้านเราก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะบังคับตัวเองก็กินกันตั้งแต่เช้าไปเรื่อยๆแล้วแต่ความต้องการกินกันตลอดกาลตลอดเวลาเพราะไม่ได้ตั้งข้อวัตรอะไรพอแม่บ้านตำแจ่ว(น้ำพริกอิสาน)ป๊อก ๆ ๆ ๆ เสียงลูกเรียกว่า"มาเถอะพ่อ...มากินข้าว"ก็รีบไป...ไม่หิวก็กินอันนี้ก็เลยทำให้เป็นปลิโพธกังวลหลายๆอย่างแต่เรามาทำกิจอันนี้ให้น้อยลงถ้ากิจทางนอกมันน้อยลงใจของเราก็ไม่พัวพันผูกกังวลมาก...มันก็สบายอันนี้เป็นข้อวัตรข้อหนึ่งที่ท่านบัญญัติไว้ไม่ให้กินข้าวมื้อเย็นเพื่อให้มันเบาจิตใจไม่มีความกังวลเวลานั่งสมาธิภาวนาให้มันมีความสงบระงับ


สอง ท่านไม่ให้แต่งเนื้อแต่งตัวทาแป้งประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ด้วยของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาต่างๆอันนี้เป็นเพราะอะไร?ธรรมดาจิตของเราถ้าไปสัมผัสถูกกลิ่นหอมอะไรเข้าก็คิดปรุงแต่งไปหลายๆอย่างหลายประการเป็นกามคุณรูป เสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะแล้วทำให้จิตใจวิตกกังวลไปต่างๆนานาเหมือนกับเราได้กลิ่นของสบู่หอม...น้ำหอมเหล่านี้เป็นต้นก็ปรุงแต่งขึ้นมาเพราะความหอมนั้นมากระทบเกิดวิตกวิจารณ์ไปหลายๆอย่างปรุงแต่งไปเรื่อยๆหาความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงดังนั้นท่านจึงบัญญัติไม่ให้ทาแป้งไม่ให้แต่งตัวผิดปกติให้นุ่งห่มธรรมดาๆอันนี้ทำให้ไม่มีปลิโพธกังวลมีแต่ความสบายๆ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-6 09:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาม ท่านไม่ให้นั่งนอนที่นอนสูงที่นอนใหญ่นอนฟูกนอกเบาะอันอ่อนนุ่มเป็นเพราะอะไร?...มันยิ่งจะไม่ภาวนาดีหรือนอนที่นอนอ่อนๆนุ่มๆ...ห้ามทำไม?คนเราถ้าได้นอนเบาะนอนฟูกอ่อนๆนั้นใจจะวิตกกังวลปรุงแต่งไปมากมายหลายๆอย่างเพราะร่างกายของเรามันกระทบวัตถุอันอ่อนนุ่มก็จะเกิดความดำริขึ้นในใจซึ่งเป็นราคะโทสะ โมหะ มันก็ปรุงแต่งไปเป็นเหตุให้ใจของเราวุ่นวายในกามสุขนั่น...จะทำสมาธิก็ไม่สงบได้ง่ายไม่เป็นของง่าย


อันนี้เป็นวัตร๓ ข้อ ที่บัญญัติไว้ก็ไม่ใช่เพื่ออะไรหรอกเพื่อทำไม่ให้จิตใจของเราไปกังวลอยู่กับสิ่งต่างๆเหล่านี้เมื่อเราประกอบกิจปฏิบัติภาวนาถ้านำเอามารวมกับอันเก่า(ศีล ๕) ก็รวมเป็นศีลแปดให้พากันเข้าอยู่รักษาอุโบสถศีลเพราะวันนี้เป็นวันประพฤติปฏิบัติ
ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงทรงวางข้อวัตรไว้ให้พวกเราทั้งหลายว่าเมื่อถึงวันพระหรือวันอุโบสถศีลก็ให้พากันมาอบรมบ่มนิสัยหนุ่มๆสาวๆก็มาได้ถึงมาแล้วอยู่จำศีลไม่ได้ก็ให้ฟังธรรมะแล้วก็กลับบ้านวันนี้ถ้าเราได้ฟังธรรมะแล้วใจของเราก็สบายเมื่อมีราคะโทสะ โมหะเกิดขึ้นมาเราก็รู้เท่าทันได้จึงต้องมาฝึกหัดจิตของเราให้มีความชำนาญอันนี้เป็นผลประโยชน์ที่เกิดจากการมาประพฤติปฏิบัติในวันธรรมสวนะนี้แต่ว่าก็ให้ญาติโยมทั้งหลายพากันประพฤติปฏิบัติจริงๆอย่าสักแต่ว่ามาเปล่าๆมาเล่นที่วัดเฉยๆเท่านั้นให้พากันพิจารณาเอาไปประพฤติปฏิบัติด้วย


อย่างที่เราสมาทานศีลข้อที่๑ เป็นเพราะอะไร?ท่านจึงบอกไม่ให้เบียดเบียนกัน...ดีไหม?


ข้อที่ ๒ คนเราไม่ให้ข้ามสิทธิ์กัน.ไม่ให้ขโมยของกันและกัน


ข้อที่ ๓ ไม่ให้นอกใจกัน


ข้อที่ ๔ ไม่ให้โกหกเหลวไหล


ข้อที่ ๕ ไม่ให้กระทำความย้อมจิตของเราให้มัวเมา


แต่ละข้อๆนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกันทั้งหมดถ้าหากว่าบุคคลทั้งหลายไม่พากันอบรมจิตใจใจของเราก็ไม่ตื่นไม่รู้ใจของเราก็ไม่เห็นไม่รู้จักอุปการะคุณของครูบาอาจารย์ของพ่อแม่อย่างเราเป็นลูกอย่างนี้โดยมากเราไม่ค่อยเอาใจใส่ไม่ค่อยนึกถึงพระคุณของพ่อพระคุณของแม่เป็นเพราะอะไร?เพราะไม่รู้จักความเป็นจริงเรื่องของพ่อแม่นี้ท่านตรัสไว้ว่า"มาตาปิตุ อุปัฏ-ฐานังปฏิบัติบิดามารดาของตนให้เป็นสุข"การปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุขนั้นทำอย่างไร?เป็นเพราะอะไรจึงต้องปฏิบัติให้ท่านมีความสุข?เราก็ควรรู้จักว่าพ่อแม่ที่ท่านเลี้ยงเรามานั้นท่านมีบุญคุณต่อเรามากเท่าไร?อันนี้ให้เรานำมาพิจารณาดูตั้งแต่แรกที่เราเกิดขึ้นมาเราจะต้องปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดาอยู่หลายเดือนมารดาก็ต้องอุ้มท้องไปๆมาๆอยู่ตลอดเวลาชีวิตของแม่นั้นตั้งแต่รู้ว่าลูกได้อุบัติบังเกิดขึ้นในครรภ์ก็ไม่รู้ว่าชีวิตของตัวเองจะดำรงอยู่หรือจะต้องตายต้องทุกข์ยากลำบากต้องประคับประคองทะนุถนอมและก็ไม่ใช่ว่าจะต้องประคับประคองแต่เฉพาะอยู่ในครรภ์เท่านั้นเมื่อออกมาแล้วตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ก็ยังตามประคับประคองปกป้องรักษาอยู่ฉะนั้นบุคคลที่ไม่รู้จักบุญคุณไม่รู้จักกตัญญูกตเวทีซึ่งคิดแล้วก็เหมือนสัตว์เดรัจฉานพระ-พุทธเจ้าท่านตรัสว่าเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายเราจะสังเกตดูได้ว่าสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นมานั้นมันไม่รู้จักพ่อไม่รู้จักแม่และมนุษย์เราทั้งหลายท่านก็ไม่ให้เป็นไปอย่างนั้น


คำว่า "มนุษย์"นั้นสูงมากสูงกว่าสัตว์ทั้งหลายหรือจะเรียกว่าเป็นชาติที่สูงที่สุดก็ว่าได้จะไปต่อไปอีกไม่มีมีแต่จะต้องหวนกลับมาบังเกิดเป็นมนุษย์นี้อีก(โลกมนุษย์เป็นแหล่งสถานที่สำหรับสร้างบารมีให้บรรลุถึงมรรคผลพ้นวัฏฏสงสารสู่แดนแห่งนิพพานได้)พระพุทธเจ้าท่านก็มาสร้างบารมีในชาติมนุษย์นี้พระ-สาวกทุกๆองค์ก็ต้องมาสร้างบารมีที่นี่หรือจะเป็นพระอรหันต์เจ้าทุกๆองค์ที่ท่านทั้งหลายสิ้นอาสวะกิเลสแล้วก็จะต้องมาบังเกิดเป็นมนุษย์เสียก่อนจะไปจุติเป็นอินทร์พรหม ยม ยักษ์เป็นสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย...ไปไม่เป็น(ไปได้ไม่สิ้นสุดสร้างบารมีเพื่อถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้)


ฉะนั้นมนุษย์เราทั้งหลายจึงควรมาฝึกพระบรมศาสดาท่านจึงฝึก...ฝึกบุคคลที่ควรจะฝึกได้เราก็เป็นบุคคลที่ควรฝึกตัวเองเหมือนกันพระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นว่าพวกเราทั้งหลายเป็นบุคคลที่ควรฝึกเราก็มาพิจารณาดูอีกว่า...ทำไมจึงควรฝึกตัวเอง?โอ!...มันก็ควรนั่นแหละถ้าตัวไม่ได้ฝึกตัวของตัวเองใครจะมาฝึกให้เราเท้าของเรามันพาเดินเข้าป่าถ้าเราไม่ดูหนามให้ตัวเองใครจะมาดูแลให้เราอันตรายทั้งหลายจะเกิดมีแก่เราถ้าเราไม่ระวังรักษาใครจะมาระวังรักษาให้เราฉะนั้นจึงควรฝึกตัวเอง...ควรฝึกระวังรักษาตนเองควรให้เข้าใจในธรรมะทั้งหลายเมื่อเข้าใจในธรรมะทั้งหลายแล้วเราทั้งหลายก็พากันอยู่เย็นเป็นสุขมีความสงบระงับอยู่ตามธรรมชาติของเราไม่มีการอิจฉาหรือพยาบาทกัน

ธรรมะทั้งหลายคืออะไร?ที่เรียกว่าฟังธรรมหรือธรรมะคืออะไร?"ธรรม" คือธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่างสิ่งที่มันเป็นรูปหรือไม่มีรูปอยู่ในสกลโลกอันนี้ตลอดจนถึงต้นไม้ภูเขา เถาวัลย์สัตว์เดรัจฉานหรือมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้รวมกันเป็นธรรมหมดทุกสิ่งทุกอย่างท่านจึงให้พิจารณาธรรมเป็นเพราะอะไร...จึงให้พิจารณาธรรม?เพราะถ้าคนไม่รู้จักธรรมะแล้วจะเป็นทุกข์ถ้ารู้จักธรรมรู้จักพิจารณาธรรมว่าธรรมทั้งหลายเหล่านี้...ธรรมชาติเหล่านี้มันจะมีกฎความจริงของมันอยู่กฎธรรมชาติที่มนุษย์เราทั้งหลายหรือสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายจะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้แก้กฎของธรรมชาติอันนี้ไม่ได้กฎของดินน้ำของไฟ ของลมของดินฟ้าอากาศของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้กฎของมันคืออะไร?กฎของมันคือ...เบื้องต้นของการบังเกิดขึ้นมาอันนี้คือกฎของธรรมชาติหรือกฎของธรรมะทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการบังเกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้นเรียกว่ากฎของมันตามเหตุตามปัจจัยเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันก็จะค่อยๆแปรเปลี่ยนไปไหลไป...ไหลไปจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไหลไปๆ...ไหลไปเรื่อยๆ...เมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีความแปรเปลี่ยนไปตามกาลเปลี่ยนไปๆอายุก็ไหลไปๆไหลจากเด็กไปหาหนุ่ม...ไหลจากหนุ่มไปหาความแก่เฒ่าชราและความตายอันนี้แหละความแปรเปลี่ยนของมันมีอยู่ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติไม่มีความยั่งยืนถาวรถ้าหากว่าเรายังไม่เห็น...ก็หวนกลับมาดูสิ่งที่อยู่ใกล้ๆตัวเราก็ได้มองออกไปดูต้นไม้...มองดูแผ่นดินนั่น...ดูซิ!...มันเปลี่ยนแปรไหม?หรือมันยังเหมือนเดิม...คงสภาพเดิมอยู่เห็นไหม...ว่ามันก็แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา


ทีนี้ก็มองย้อนกลับมาดูตัวของเราเองว่ามันจะทรงสภาพเหมือนเดิม...เหมือนแต่ก่อนเก่าไปไม่ได้ตลอดแม้แต่สกลร่างกายของเราอันนี้มันก็ยังแปรเปลี่ยนไปสภาพธรรมชาติของมันขน, ผม, เล็บ, ฟัน,หนัง มันจะไม่คงอยู่เหมือนเดิมอันนี้คือกฎของมันที่จะต้องแปรเปลี่ยนไปตลอดมาถึงฟัน,หู, ตา แข้งขาอวัยวะของเราทั้งหลายมันก็แปรไปๆความแปรเปลี่ยนไปนี้เรียกว่ากฎของธรรมชาติหรือกฎของธรรมดา...กฎของธรรมะหรือกฎของธรรมใครๆก็จะมาห้ามมันไม่ได้...ห้ามมันไม่ฟังจะไปอยู่ที่ไหนๆก็ตามถึงจะหนีไปอยู่ในมหาสมุทรก็ช่างเถอะ...มันก็จะต้องแปรเปลี่ยนไปหรือจะหนีไปซ่อนอยู่ในกลีบเมฆก็ตามมันจะต้องแปรเปลี่ยนไปอย่างนี้จะมีแต่ความแปรไปเปลี่ยนไปๆไม่หยุดยั้งมีแต่มันจะไหลไปๆตามกาลตามเวลาอันนี้เรียกว่ากฎของธรรมะ


เราไม่รู้จักว่าธรรมะคืออะไร?ธรรมะคือสัตว์...คือมนุษย์นี่คือสัตว์เดรัจฉานคือต้นไม้คือแผ่นดินนี้ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เราเรียกว่า"ธรรมะ" และกฎของธรรมะก็คือกฎของธรรมชาติอันนี้มันก็แปรไปตามเรื่องของมัน...แปรไปๆๆ...


ตัวอย่างที่มันปรากฏชัดให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ก็ดูที่ตัวของเราเองนี่แหละแต่ก่อนเราไม่ได้มีสภาพอย่างนี้แต่เดี๋ยวนี้...มันแปรเปลี่ยนมาเป็นอย่างนี้นั่นแหละธรรมะมันมีการบังเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นแล้วมันก็มีการแปรไปๆ...แปรไปในท่ามกลางและแปรไปในที่สุดผลที่สุดของมันนั้นก็ไม่มีอะไรมีแต่ความเสื่อมสลายแตกดับทำลายไปท่านจึงบอกว่าอันนั้นมันไม่ใช่ของของเรา...ไม่ใช่เรา...ไม่ใช่เขา...ไม่ใช่สัตว์...ไม่ใช่บุคคล...ไม่ใช่ตัวตนให้พิจารณาเอาไว้อันนี้เราจะไปยึดเอาไม่ได้เราบอกมันไม่ได้ห้ามมันไม่ฟังอันนี้คือกฎของธรรมดาคือกฎของธรรมะคือ อนิจจังทุกขังอนัตตา ถ้ามันแปรไปแล้วจะเอาอะไรมาห้ามมันก็ไม่ได้จะเอาทรัพย์สมบัติมาห้ามมันก็ไม่ได้เพราะมันเป็นสังขาร...ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปรไปอย่างนี้ทีนี้ถ้าคนไม่รู้จักกฎของธรรมะเมื่อมาเห็นแล้วก็เกิดความเสียใจมาเห็นความเปลี่ยนแปรไปอย่างนี้แล้ว...ก็ร้องไห้เสียใจอันนี้คือคนไม่ได้เรียนธรรมะไม่รู้จักธรรมะไม่รู้จักธรรมะว่าธรรมะนั้นอยู่ที่ไหน?ว่าการปฏิบัติธรรมะคือการปฏิบัติอย่างไร?...ไม่รู้จัก...ไม่รู้จักธรรมะก็ไม่รู้จักการปฏิบัติ

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-6 09:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การปฏิบัติธรรมะก็คือการมาทำความรู้จักกฎของธรรมชาติกฎของธรรมชาติตามความเป็นจริงนี้แหละ...ว่ามันเป็นอย่างนี้เหมือนกับกล้วย,มะพร้าว, หมากผลไม้ทุกอย่างมันเกิดขึ้นมาแล้วมันก็แก่ไปๆเป็นของธรรมดาแล้วผลที่สุดมันก็ร่วงหล่นลงมาเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไปฉะนั้นจึงว่าต้นไม้ภูเขา เถาวัลย์มันก็แปรเปลี่ยนไปอยู่อย่างนั้นต้นไม้นั้นถึงฤดูกาลเวียนมาใบของมันก็ร่วงหล่นไปแล้วมันก็แตกผลิกิ่งใบขึ้นมาใหม่มนุษย์...สัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกันที่เป็นรูปธรรมอันนี้ฉะนั้นจึงเป็นของไม่แน่นอนจริงๆไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาเรียกว่า "ธรรม"แล้วเราปฏิบัติธรรมะปฏิบัติอย่างไร?คือมาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของมันว่าอาการที่มันเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไปนี้เราห้ามมันไม่ได้...บอกมันก็ไม่เชื่อฟังจะเอาอำนาจอะไรมาปราบมันก็ไม่ได้จะหายาอะไรมากินให้มันหายจากการแปรเปลี่ยน...ไม่ให้ตายไม่ได้...นี่...เป็นกฎธรรมชาติที่ตายตัวนี่...คือความจริงเรามาพิจารณาหาความจริงอันนี้เรียกว่า "สัจจธรรม"ถ้าเราเห็นสัจจธรรมแล้วเราก็หมดทุกข์เพราะเห็นแล้วว่ามันจะต้องแปรไปอย่างนี้สิ่งเหล่านี้มันจะต้องเป็นไปอย่างนี้เราก็มาเห็นตามความเป็นจริงว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้นอันนี้เรียกว่า...ธรรมะ...เรียกว่าการปฏิบัติธรรมะเห็นตามความเป็นจริงอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาการยืน การเดินการนั่ง การนอนเห็นอยู่-รู้อยู่...เป็นอยู่มองเห็นรูปภายนอกนั้นว่ามันกำลังแปรไปจากเด็กไปเป็นหนุ่ม-สาวจากหนุ่ม-สาวแปรไปสู่ความแก่ชราผลที่สุด...ก็แปรไปสู่ความตาย...เป็นธรรมดานี่แสดงว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเป็นของไม่แน่นอน


ทีนี้พูดถึงนามธรรมคือจิตใจจิตใจของเรานี้มันก็แปรไปไม่คงอยู่เหมือนเก่าจิตใจที่มันยังอยู่เหมือนเก่ามีไหม?ลูกก็ดี...หลานก็ดี...วัตถุก็ดีวัตถุสิ่งของบางสิ่งบางอย่างเราเคยรักเคยชอบเคยมีความพอใจแต่พอใช้ไปๆก็กลับไม่รักไม่ชอบไม่พอใจอีกนี่...มันก็เป็นของเราอยู่อย่างนี้อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกันเกิดมีขึ้นแล้วก็แปรไป...เปลี่ยนไป...ไหลไปตามธรรมดาสิ่งที่มันแปรไปเปลี่ยนไปไม่อยู่เหมือนเดิมคือสังขารที่มันแปรเปลี่ยนท่านเรียกว่าความจริงฉะนั้นคนที่ไม่เห็นความจริงก็คือคนที่เห็นสังขารมันแปรเปลี่ยน...แต่ว่าไม่อยากจะให้มันเป็นไปอย่างนั้นไปกั้น...ไปห้าม...ไปยึดมั่นหมายมั่นว่าสังขารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มั่นคงถาวรเป็นสาระแก่นสารเป็นของของตัวเองแล้วก็กลับมาเป็นทุกข์"ถ้าคนหลงสังขารแล้วจะเป็นทุกข์มาก"ฆ่ากัน ยิงกันทุบตีกัน แข่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันก็เพราะไม่รู้จักธรรมะไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่ามันเป็นธรรมะเลยเกิดฆ่ากันตีกันแย่งชิงกันขึ้นถึงกับมีอันต้องล้มหายตายจาก...เกิดการจองเวรกันก็ต้องมีอันเป็นไปทุกสิ่งทุกอย่างดังนี้ก็เพราะคนไม่รู้จักธรรมะไม่รู้จักธรรมชาติของธรรมะบ้านเมืองก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นมาถึงตัวเราเองก็ต้องเดือดร้อน


ฉะนั้นพระบรมศาสดาท่านจึงให้ประพฤติปฎิบัติธรรมหรือปฏิบัติธรรมะคือทำจิตใจของเราให้เข้าไปเห็นตามความเป็นจริงว่าสังขารทั้งหลาย...เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้นมันก็จะแปรเปลี่ยนไปตามเรื่องของมันมีแล้วก็หาไม่...เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ว่าจะเป็นของทางนอกหรือของภายในก็ตามของภายนอกคือแก้วแหวนเงินทองเมื่อได้มาแล้วก็เสียไป...เสียไปแล้วก็ได้มาเป็นธรรมดานั่น...คือสิ่งที่มันแปรไปเปลี่ยนไปไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอนของภายในคือสกลร่างกายของเราที่มันมีการเปลี่ยนสภาพไปทุกๆวันอย่างวันนี้ก็เหมือนกันวันนี้ก็ได้อันใหม่แล้วนี่...ฮือ!...นั่น...ได้ผมเส้นใหม่ได้ฟันซี่ใหม่ได้ตาอันใหม่ได้หนังแผ่นใหม่แล้ววันนี้ได้อันใหม่...อันเมื่อวานนี้มันตายไปแล้วนะมาถึงวันนี้เราก็ได้อันใหม่ทั้งหมดนี้หมดวันนี้ก็ได้ของอันนี้ไปถึงพรุ่งนี้หมดพรุ่งนี้ก็ทิ้งอันเก่าได้อันใหม่อีกบางครั้งจนหลงกัน...จนลืมกันจนมองกันไม่ออก...ไม่รู้จักกัน...เป็นเพราะอะไร?ก็เพราะเปลี่ยนไปเป็นคนใหม่เปลี่ยนตาใหม่เปลี่ยนหูใหม่เปลี่ยนหนังใหม่เปลี่ยนรูปร่างใหม่เปลี่ยนฟันใหม่เปลี่ยนไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมาพบกันเลยไม่รู้จักกันไม่รู้ก็เลยถามเขาว่า...ตัวนั้นเป็นใคร...ตัวนั้นอยู่ที่ไหน?อีกคนก็ตอบว่าอ้าว!...ตัวจำเราไม่ได้หรือ...ตัวหลงเราแล้วหรือ?จะไม่ให้หลงได้อย่างไรล่ะ...ตัวนั้นเป็นคนใหม่ไม่เหมือนคนเก่านี่นาถ้าเป็นคนเก่าใครจะหลงก็เพราะมันเปลี่ยนไปเป็นคนใหม่ถึงได้หลง...จะว่าอย่างไรนี่แหละคือลักษณะที่มันเปลี่ยนไปที่มันเปลี่ยนไปนี้ใครจะมาบอกมันก็ไม่ฟังพ้นกฎหมาย...กฎหมายบัญญัติตามไม่ทันมันไม่เชื่อฟังใครฟัน, ขน, ผม, เนื้อหนังของเราก็เหมือนกันถึงมีอยู่กับใครก็จะต้องมีความแก่ความเจ็บ ความตายได้ไม่เฉพาะเจาะจงอยู่แต่มนุษย์เราเท่านั้นแม้แต่เสือตัวดุร้าย...มันก็ทำร้ายไม่ได้ช้างตัวร้ายกาจ...มันก็ทำร้ายไม่ได้กับเรื่องกฎของธรรมชาติมันจะจับเอาไปถอดถอนออกหมดทุกสิ่งทุกอย่างอันนี้เรียกว่าความจริงของธรรมชาติ...มันไม่กลัวใคร


ฉะนั้นจึงให้พวกเราทั้งหลายมาพิจารณาธรรมะ...ให้เห็นอย่างนี้ไม่ว่าใครๆก็จะเหมือนกันทุกๆคนเป็น "สามัญลักษณะ"มีลักษณะเสมอกันในสังขารทั้งปวงใครก็เหมือนกันทีนี้เมื่อเรามาเห็นแล้วว่าไม่ว่าร่างกายภายนอกหรือภายใน...มันก็ต้องมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมดเมื่อมันเหมือนกันทั้งหมดเสียแล้วดังนี้พระ-พุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าพวกเราทั้งหลายนี้เป็นญาติกัน...ญาติเกิดญาติแก่ญาติเจ็บ ญาติตายเมื่อเป็นญาติกันดังนี้แล้วควรที่จะทำอย่างไร?ก็ควรที่จะมีเมตตาต่อกันควรมีความกรุณาต่อกันควรมีความซื่อสัตย์ต่อกันไม่แก่งแย่งซึ่งกันและกันให้มันเป็นธรรมะเพียงเท่านี้พวกเราก็รู้จักกฎของธรรมชาติไม่ว่าเราจะมีมากหรือน้อยก็ตามก็ให้มีด้วยความจริง...ด้วยความดีอย่าให้ต้องมีโทษได้มาแล้วก็สบายใจถ้าเราเห็นธรรมะอย่างนี้แล้วใจของเราก็เป็นสุขสบายไม่จำเป็นที่จะต้องไปโลภเอาของใครไปแย่งเอาของใครมาไม่มีความคิดอย่างนี้อยู่ในใจเพราะเข้าใจแล้วว่า...สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของใครสักคนเมื่อเรามีความสุขบุคคลอื่นก็ต้องการความสุขถ้าเราต้องการความสุข...แต่ว่าเราไปแย่งเอาความสุขของคนอื่นมาคนอื่นก็เป็นทุกข์เมื่อเขาเป็นทุกข์...เราก็เป็นทุกข์เมื่อเราเป็นสุข...เขาก็เป็นสุขด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าของเราท่านจึงให้มีเมตตาถ้าเราจะเมตตาสัตว์ท่านให้เมตตาตนเสียก่อนให้ดูตัวเองเสียก่อนถ้าเราจะเบียดเบียนเขาก็ให้เรามาคิดูเสียก่อนว่าเราดีไหม...เราชอบไหม...เราไม่ชอบไหมให้เราพิจารณาดูสิ่งไหนมันเป็นทุกข์สิ่งไหนอันไหนมันเดือดร้อนเราก็ไม่ชอบ...คนอื่นก็ไม่ชอบ...สัตว์อื่นก็ต้องไม่ชอบเรื่องความไม่ชอบธรรมทั้งหลายนั้น...ด้วยมันจะนำความทุกข์มาให้เราให้พากันเลิกละถอนให้ต่างคนต่างมาประพฤติปฏิบัติธรรม...มันก็สบาย...สงบ...ระงับใครก็เตือนตัวใครตัวเราเหมือนกับท่อนไม้ที่เรานำมาเหลาให้เกลี้ยงเกลา...นำมาดัดแปลงแล้วเหมือนไม้ลูกหน้าของเรานี่แหละ(ไม้ลูกหน้าเป็นอาวุธใช้สำหรับยิงสัตว์มีลักษณะคล้ายคลึงกับลูกศรธนูต่างแต่ลูกหน้านี้เขาจะนำเอายางไม้ที่มีพิษมาทาหัวลูกศรด้วย)ต่างคนต่างก็ซื่อตรงต่างคนต่างก็ไม่คดโกงต่างคนต่างก็มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกับไม้ลูกหน้าที่เขานำมาดัดแปลงเหลาให้เกลี้ยงเกลาแล้วแม้ว่าเราจะนำเอามามัดรวมกันเข้าไว้ด้วยกันก็เรียบร้อย...ไม่เกะกะดีทำไมมันไม่เกะกะเพราะต่างคนต่างก็รักษาของใครของเราไม้ท่อนนี้ซี่นี้มันก็รักษาตัวของมันมันจะไม่คดไม่งอทุกๆอันมันจะตรงมันก็เลยไม่เกะกะซึ่งกันและกัน...นี่...เหมือนกันกับไม้เรามาเห็นธรรมะมาปฏิบัติธรรมะมีความเห็นอย่างเดียวกันนี้การอยู่ร่วมกันก็สบาย


ดังนั้นท่านจึงให้พิจารณาธรรมะและธรรมะก็คือธรรมชาติฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติธรรมะนั้นญาติโยมบางคนอาจจะเข้าใจว่าไม่ได้เรียนมามากไม่รู้สิ่งอันนี้ไม่ได้สวดมนต์บทนั้นบทนี้อันนั้นไม่เป็นของจำเป็นอันนั้นไม่ใช่ธรรมะ...มันเป็นคำพูดธรรมะเป็นชื่อของธรรมะ...ไม่ใช่ตัวธรรมะตัวธรรมะแท้ๆก็คือตัวเราที่มีอยู่นี้เรานั่งอยู่ที่นี่เรานั่งกินหมากอยู่ขณะนี้ที่เรากำลังนั่งทับอยู่...อาศัยไปมาอยู่ขณะนี้นี่...อยู่ที่ตรงนี้...เห็นไหม?ก็สถานที่ที่เรานั่งทับอยู่ที่นี่ที่เรากำลังอาศัยอยู่ไปมาในขณะนี้ต้นไม้ภูเขาเถาวัลย์ที่อยู่ที่อาศัยนั่น...มันมีแต่ตัวธรรมะหมดทั้งนั้นแหละคนเราไม่รู้เป็นอะไร...ถ้าทุกข์มาก็ทุกข์กับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้แหละเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันท่านจึงให้พิจารณาถ้าหากว่าเห็นธรรมะทั้งหลายเหล่านี้แล้วมันก็ไม่ยากเพราะธรรมะทั้งหลายนั้นมีอยู่ที่นี่แล้วไม่ต้องเรียนมันมีอยู่แล้วที่นี่แล้วไม่ต้องเรียน...มันมีอยู่แล้วความสุขเกิดขึ้นมาในใจของเรานั่นก็เป็น"สุขาธัมมา"ความทุกข์เกิดขึ้นมาในใจของเราก็เป็น"ทุกขาธัมมา"ความสุข...ความทุกข์...ความพอใจความไม่พอใจนี้มันเป็นตัวของธรรมะทั้งหมดฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างอันไหนที่เราคิดว่าถูกธรรมะ...คิดว่าเราหรือว่าของเรานั้นก็เป็นตัวสมมติว่าเป็นธรรมะ...อย่าได้ไว้ใจท่านจึงให้พิจารณาให้ระวังถ้าไม่ระวังธรรมะไม่รู้จักธรรมะ...แล้วมันก็จะเป็นทุกข์เพราะที่ถูกแล้วกฎของธรรมะ...มันเป็นธรรมดาของมันอย่างเราเกิดขึ้นมาแล้วไม่อยากจะแก่...แก่แล้วไม่อยากจะเจ็บ...เจ็บแล้วก็ไม่อยากตายไม่อยากพลัดพรากจากลูกหลานอันนี้คือคนไม่รู้จักธรรมะเข้าไปแก้ไขไม่ได้...ก็ไม่เข้าไปแก้ก็เลยทำให้เป็นทุกข์


อันความเป็นจริงนั้นพระศาสดาท่านพิจารณาธรรมะหรือปฏิบัติธรรมะก็คือการมาปฏิบัติอย่างนี้เองคือให้รู้เรื่องของมัน"อะนิจจา วะตะสังขาราอุปาทะวะยะ ธัมมิโนอุปัชชิตะวานิรุฌันติ เตสังวูปะสะโมสุโข" ไม่มีอะไรในสิ่งเหล่านี้...มันเป็นของไม่มั่นคงไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้เมื่อใจเห็นอย่างนี้ตามความเป็นจริงแล้วมันก็เข้าไปเห็นธรรม...เข้าไปรู้ธรรมไม่ได้สนใจยึดมั่นหมาย...เห็นเป็นธรรมดาเมื่อสกลกายของเรามันเจ็บ...มันป่วย...มันเฒ่าชราแล้วเราก็มองเห็นว่ามันเป็นของธรรมดา..หนอมันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นนี่คือหลักธรรมะเบื้องต้นมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดามีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาในท่ามกลางแล้วผลที่สุดก็ดับไปสิ้นไปในเบื้องปลายไม่มีอะไรคงอยู่ในสกลโลกใบนี้อันนี้คือธรรมะที่พระศาสดาทรงค้นพบวิธีแก้ไขเอาไว้คือการมาพิจารณาธรรมะเมื่อเรารู้ว่าอันนี้เป็นเราอันนี้เป็นของของเราเมื่อเกิดมีความโลภโมโทสันต์จนลืมเนื้อลืมตัวก็จะทำให้เป็นทุกข์เพราะไม่รู้จักธรรมะถ้ารู้จักธรรมะแล้ว...ก็จะต้องรู้จักประมาณพอมีพอเป็นไปได้ตามอัตภาพพอมีทุนสำรองมีความซื่อสัตย์สุจริตเมื่อมองเห็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็เหมือนกันกับเราเห็นพ่อแม่เขา...ก็เหมือนกับพ่อแม่ของเราเห็นลูกเห็นหลานเขา...ก็เหมือนกับลูกหลานของเราเห็นของของเขาก็เหมือนกับของของเรามันเหมือนกันไปหมดอย่างนี้ก็จะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันต่างคนต่างก็หากินกันตามน้ำพักน้ำแรงของใครของเราอันนี้มันก็เป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมาเองเท่านั้นแหละ


เอ้อ!...นั่นแหละถ้ามันเป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมา...แล้วมันก็จะสบายเท่านั้น...เพราะเข้าใจธรรมะที่ตัวมันมีอยู่เป็นอยู่นี่ก็ให้พิจารณารู้ว่า...มันก็เป็นอย่างนั้นแหละจะทำอย่างไร...เพราะมันก็ต้องเป็นอย่างนั้นเราเข้าใจอยู่...รู้อยู่ว่ามันเป็นอย่างนั้นเหมือนกับที่เราปลูกถั่วปลูกแตงปลูกฟักทองปลูกฟักเขียวอย่างนั้นแหละปลูกแล้วมันก็เกิดขึ้นมาเกิดขึ้นมาแล้วก็แก่แก่แล้วมันก็เน่าเสียไปเมื่อเรารู้จักอย่างนี้เราก็รู้มาจัดการกับมันเสียก่อนซิ...ตั้งแต่มันยังไม่ทันเน่าเสียจะนำเอามาต้มมาแกง.นำมารับประทานหรือจะเอาไปขายเอาไปแลกเปลี่ยนกับอะไรให้มันเกิดประโยชน์ก็รีบจัดการกับมันเสียซิ...จะมามัวนั่งเสียดายต่อเมื่อมันเน่าเสียไปแล้วมันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ...อันนี้ก็เหมือนกันเราจะปล่อยให้สังขารของเรานั้นแก่เฒ่าเจ็บป่วยและตายไปเสียก่อนถึงจะร้องไห้เสียใจเสียดายตามในภายหลังมันทำไมจะเกิดประโยชน์ก็เหมือนกันกับฟักเขียวฟักทอง...เราจะได้ประโยชน์อะไรกับมันเมื่อปลูกแล้วก็ปล่อยให้มันเน่าทิ้งไปเสียเฉยๆแล้วถึงจะมานั่งรำพึงรำพันคิดเสียดายตามภายหลังปลูกขึ้นมาแล้วก็ปล่อยให้มันเน่าทิ้งไปเสียเฉยๆถึงจะมานั่งคิดว่า...เสียดายหนอๆ...จะเสียดายเอาอะไร?...


คนเรานี้ก็เหมือนกันเมื่อยังหนุ่มสาวยังมีกำลังวังชาอยู่พอที่จะประพฤติปฏิบัติได้พอที่จะพิจารณาได้พอละได้ในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามก็พากันละ...พากันถอนออกซิ...หรือจะมัวแต่นั่งนองพิไรรำพันว่าโอ!...เจ็บหนอ...ไข้หนอ...เสียดายหนอ...แต่เฒ่าเร็วหนอ...กลัวจะตายหนอฯลฯ ...อย่างนี้มันจะเกิดประโยชน์อะไรทั้งๆที่จะพูดจะบ่นจะว่าอย่างไรมันก็จะต้องเน่าเหมือนกับฟักทองอยู่เช่นนั้นแหละฉะนั้นถ้าคนฉลาดคนมีปัญญาก็ให้พิจารณาธรรมะถ้าพิจารณาธรรมะแล้วก็ต้องรู้จักกาลรู้จักเวลาเราก็มาสั่งสอนจิตใจของเราให้มีความสุขความสำราญอยู่ในปัจจุบันนี้นี่...ก็คือการประพฤติธรรมการปฏิบัติธรรมหรือการฟังธรรมให้เข้าใจเมื่อเข้าใจการฟังธรรมแล้ว...ก็รู้จักธรรมเมื่อรู้จักธรรมเป็นต้น...ก็รู้จักกฎของธรรมะเมื่อรู้จักกฎของธรรมะ...ก็จะไม่เข้าไปจับยึดมั่นหมายในสิ่งต่างๆเข้าใจและรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เมื่อถึงกาลถึงเวลามันก็จะต้องมีอันเป็นไป

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-6 09:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-4-6 09:20

อันนี้ก็เปรียบเหมือนใบไม้ของเรานี้แหละถึงฤดูใบไม้ผลิเวียนมาถึงมันก็ผลิแตกใบออกมาปีต่อไปเมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงใบของมันก็จะร่วงหล่นลงไปร่วงหล่นลงไปแล้วก็ผลิแตกใบออกมาอีกเราก็ควรจะรู้จักธรรมชาติของมันว่าเอ้อ!...ฤดูนี้เป็นฤดูใบไม้ร่วงหรอกฤดูนี้เป็นฤดูใบไม้ผลิหรอกเราก็พูดตามหลักของมันอย่างนั้นมันก็ร่วงจริงๆผลิขึ้นมาใหม่จริงๆคนมันก็เหมือนใบไม้นี่แหละเราจะไปร้องไห้เสียใจกับมันนั่นหรือ...จะไปหัวเราะดีใจกับมันนั่นหรือถ้ารู้จักอย่างนั้นรู้จักถึงหลักความจริงก็เหมือนกับเรารู้จักฤดูใบไม้ร่วง...ร่วงแล้วมันก็ต้องผลิใบใหม่ออกมาอีกสังขารร่างกายของเราก็เหมือนกันเมื่อประชุมปรุงแต่งรวมกันขึ้นมาถึงเวลามันก็จะหายไปอย่างเรามีเพื่อนมิตรสหายมีลูกมีหลานมาอยู่ร่วมกันมีความเป็นอยู่ร่วมกันวันหนึ่งเป็นต้นสักวันหนึ่งก็จะต้องมีความพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดาของมันให้เราเข้าใจไว้อย่างนี้คือ...นี่...มันเป็นธรรมะนี่คือ...กฎของธรรมะธรรมะนั้นอยู่ในตัวในกายในใจอยู่ในสังขารของเราทั้งหมดให้ปฏิบัติธรรมะ...เพื่อรู้ธรระเมื่อรู้ธรรมะแล้ว...เรามันก็จะสบายมันจะสบายอะไร?สบายเพราะเราไม่ไปยึดมั่นหมายมั่นนั่นแหละรู้เรื่องของมันว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นไปตามเรื่องของมันให้เรามาพิจารณาไม่ต้องไปมองดูที่อื่นไกลให้เรานั้นพากันเข้ามาวัดประพฤติปฏิบัติให้มีศีลธรรม"วันคืนล่วงไปๆเราทำอะไรอยู่...เราพิจารณาอะไรอยู่"ให้เราพยายามกระทำใจของเราไม่ให้มีความขุ่นมัวเมื่อใจเราจะมีความขุ่นมัวก็ให้ระลึกถึงคุณพระคุณเจ้าใจมันขุ่นขึ้นมา...ใจไม่ดีขึ้นมานั่นแหละ... เรากำลังจะตกนรกฮึ่มๆ...วันนี้เราจะจัดการกับมันเสียดีไหมหนอ?มีความคิดเคียดแค้นขุ่นเคืองอยู่ในใจอย่างนั้นอันนี้แหละ...ระวังให้ดีมันจะพาเราให้ไปตกนรกถ้าเรามีความทุกข์อยู่ตลอดวันตลอดคืนนั่นแหละตกนรกจริงๆทีนี้...ฉะนั้นจึงว่าคนเรานั้นจิตใจเป็นของสำคัญ

ฉะนั้นเมื่อถึงวันธรรมสวนะเวียนมาถึงในวันขึ้น-แรม๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำก็ให้พากันมาอบรมบ่มนิสัยจะได้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติของตัวเรารู้จักการรักษาตัวเองรักษากาย รักษาวาจารักษาใจ การประพฤติปฏิบัติธรรมะก็อยู่ที่เราเพราะฉะนั้นจึงพากันพิจารณาน้อมเอาเข้ามาไว้ในจิตใจของเราอย่าฟังเฉยๆ...ฟังแล้วให้นำเอาไปประพฤติปฏิบัติที่บ้านของเราด้วย.ให้เราพิจารณาดูเมื่อเวลาใจของเรามีความโมโหโกรธแค้นก็ให้หมั่นเพียรปรับปรุงรักษาตัวเอง...สั่งสอนตัวเองถามไปฟังไปแล้วให้นำเอากลับไปประพฤติปฏิบัติจำเอาไว้ในลักษณะอย่างนี้ให้เรามีความรู้สึกรับผิดชอบอยู่ในจิตใจของเราอยู่เสมอนั่นแหละถ้าหากว่าใจของเรามีความสว่างไสวมีความบริสุทธิ์ขาวสะอาดไม่มีความโลภความโกรธ ความหลงมันไม่เศร้า...ไม่มัวหมอง...มันไม่ทุกข์ทนเท่านั้นแหละใจเป็นบุญแล้วใจพ้นจากนรกแล้วใจพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้วนั่น...ให้เรามาดูจิตใจของเราถ้าเวลามันโมโหขึ้นมาก็ให้พิจารณาดูเวลาใจดีขึ้นมาก็พิจารณาดูเหมือนกันปล่อยมัน...วางมัน...วางอารมณ์เหล่านี้ลงเสียอย่าไปเชื่อมันจนเกินไปอย่าไปส่งเสริมมันในทางไม่ดีไม่งามให้สั่งสอนตัวเองฉะนั้นผู้รักษาจิตของตัวเองจึงป้องกันความผิดทั้งหลายได้หยุดจิตที่มันกำลังจะไป...

"จิต" นี้เหมือนกันกับ"ควาย" ทีนี้เรามารักษาจิตของเรา"ผู้รู้"รักษาจิตคือ"เจ้าของควาย"อาหารของควายนั้นคืออะไร?อาหารของควายนั้นคือข้าวหรือหญ้าถ้าเราตามรักษาจิตของเราก็คือ"คนเลี้ยงควายจะต้องทำอย่างไร?"คนเลี้ยงควายก็จะต้องเห็นควายของตัวเองว่าควายมันกำลังอยู่ในลักษณะท่าทีอย่างไร...เราก็รู้จักหมดมันจะเข้าป่าเข้าดงลงน้ำลงห้วยเราก็รู้จักหรือมันจะไปเข้ารั้วเข้าสวนเขา...เราก็รู้จักเพราะเรามองดูควายของเราอยู่ถ้ามันจะเข้าไปใกล้รั้วใกล้สวนของเขาเราก็ตะเพิดไล่มัน...อย่าไปส่งเสริมมันเราตามรักษาจิตก็เหมือนกันสิ่งที่จะทำให้เราเกิดมีความสุขความทุกข์มีความอิจฉาพยาบาทนั้นคือข้าวคือหญ้าอารมณ์ของจิต...จิตมันจะมีอิจฉา...จิตมันจะมีพยาบาท...จิตโลภอันนั้น...โกรธอันนี้เราก็รู้จักเพราะจิตเปรียบเหมือนกับควายผู้มีปัญญาผู้รู้ทั้งหลายก็เหมือนกันกับเจ้าของควายถ้าจิตของเราจะคิดดีคิดชั่วเราก็รู้จักเรื่องของมันเราก็รักษาสั่งสอน...ทรมานมันได้เหมือนกันกับคนเลี้ยงควายตามรักษาควายมันจะไปกินข้าวเข้าไปในรั้วในสวนของเขาเราก็ไล่มันได้เพราะเราคอยดูควายของเราอยู่การรักษาตัวเองก็เหมือนกันก็ต้องรักษาอย่างนั้นอันนี้คือการตามรักษาจิตของตัวเอง"ผู้ใดตามรักษาจิตของตน...ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร"ก็ต้องพ้นซิ...ก็เหมือนกันกับคนตามรักษาควายนั่นแหละควายมันจะเข้าไปกินหญ้ากินข้าวในนาเขาเราก็ไล่มันจะเข้ารั้วเข้าสวนเขาเราก็ไล่มันจะไปในทางไม่ดีไม่งามเราก็ไล่มันก็พ้นจากความเสียหายพ้นจากความผิดเท่านั้นนั่น...ตามรักษาจิตเจ้าของก็เหมือนกันกับคนตามรักษาควายมันจะเกลียดผู้นั้น...โกรธผู้นี้มันจะหลงอันนั้น...หลงอันนี้เราก็ตามรักษาจิตของเราอยู่อย่างนั้นในเรื่องความชั่วเราไม่ส่งเสริมมัน...กำราบสอนมันอยู่เรื่อยๆมันก็สอนได้เท่านั้นแหละถ้าตามรักษาตัวเองแต่นี่กลับไม่รู้จักรักษาตัวเองนั่งอยู่เฉยๆมันก็มีธรรมะคนเรานั้นจิตมันจะไม่อยู่เฉยๆหรอกไม่รู้จักปฏิบัติอะไรกฎนั้นเป็นอย่างไรธรรมนั้นอยู่ที่ไหน?...ไม่รู้จักถ้าเรารู้จักอย่างนี้นั่งอยู่มันก็คิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆคิดรัก...คิดชัง...คิดน้อยใจ...คิดดีใจเสียใจ...คิดวิตกกังวลคิดไปหลายๆอย่างถ้าเราตามรักษาเราก็ต้องรู้จักถ้ารู้จักแล้วเราก็ทรมานมันซิ...อันไหนมันไม่ดีไม่งามเราก็ตะคอกมันซิ...ไล่มันออกไปอย่าให้มันอยู่กับเราซิ...อย่าให้มันโผล่ขึ้นมาได้อย่างนี้มันก็เป็นการปฏิบัติเท่านั้นเกิดมาแล้วก็ดับไป...เกิดแล้วดับไปนั่น...คือการตามรักษาจิตของตนนี่...คือธรรมะคือการปฏิบัติธรรม



อันนี้ก็เหมือนกันนั่นแหละอย่าได้พากันมาเฉยๆกลับไปถึงบ้านแล้วถึงเราจะมีงานที่ต้องทำจะรดสวน เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่หุงหาอาหารหรือทำอะไรต่างๆก็ให้ตามดูจิตของเราอย่าได้ทิ้งไปถ้าตามรักษาจิตของตัวเองเราก็จะรู้ตัวเราก็คอยห้ามตักเตือนตัวเองเหมือนกันกับเราตามรักษาควายนั่นแหละมันจะเข้าไปกินข้าวกล้าในนาเขาหรือกินพืชผักในรั้วสวนของเขาเราก็ตะเพิดไล่มันออกหรือมันจะหนีไปไม่กลับบ้านเราก็ไล่มันกลับมาเราตามรักษาจิตของเราก็เป็นอย่างนั้นมันจะออกไปข้างนอกมันจะไปอิจฉาพยาบาทผู้อื่นเราก็ต้องต้อนมันกลับเข้ามาจะไปส่งเสริมมันทำไม...อันนี้ก็ให้รู้จักอะไรๆต่างๆถ้าจิตของเรามีความโกรธขึ้นมาก็ตั้งท่าจะสู้ช่วยมันด้วยซ้ำไปถลกผ้าขึ้นแสดงท่าที่ช่วยส่งเสริมมันอีกอย่างนั้นมันจะรักษาตัวเองได้อย่างไรในเมื่อเราเองก็เห็นพร้อมร่วมส่งเสริมไปกับมันอย่างนั้นนั่น...มันเป็นสิ่งไม่ดีก็ไปช่วยมันอย่างนั้นมันก็เลยละไม่ได้เพราะคนไม่เคยรักษาตัวเองเห็นท่าว่ามันจะไม่ดี...แล้วก็หยุดคิดว่า เอ๊ะ!..เราจะเอามันไปด้วยได้ไหม..."ให้หนี" บอกตัวเองว่าอย่างนั้นก็ได้เมื่อถูกอารมณ์มากระทบก็หันท่าสู่ใส่เขาปากก็ถามเขาว่า"เคยตายไหม?" เอาแล้วซิ...ไปส่งเสริมมันอย่างนั้นทำไมเอ้า...เราก็ดูอย่างนี้แหละตัวธรรมการปฏิบัติธรรมจะไปเรียนเอาในพระไตรปิฎกที่ไหนเราอย่าไปส่งเสริมมันในทางที่ผิดซิ...

...เมื่อกายของเราหมดลมหายใจแล้ววิญญาณมันก็ต้องหนีออกมาฉะนั้นเรื่องนี้เรายังหลงอยู่สร้างความทุกข์สร้างความอยากสร้างบาปสร้างกรรมอยู่เดี๋ยวนี้...เพราะอะไร?เพราะเรื่องของกาย

....ให้ญาติโยมสรงน้ำตามประเพณีนิยมที่เราได้เคยพากันทำมา

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... s_is_Suffering.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้