ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์

[คัดลอกลิงก์]
มวลสารใดที่ว่าดี วัตถุอาถรรพ์ไหนที่ว่าเยี่ยม น้ำพุทธมนต์ / น้ำธรรมชาติ ไหนที่ศักสิทธิ์  ...ถ้าสามารถไปนำมาเป็นหนึ่งในมวลสารได้...ท่านอาจารย์สรายุทธ พยายามสืบแสะหาเพื่อนำมาเป็นหนึ่งในมวลสารเพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆให้ตรงตามตำราให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้...จึงไม่น่าแปลกใจที่การจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อ ศิษย์คศช.แต่ละครั้งจะนานนนนนนนนนนมากกว่าจะได้นำออกมาเพื่อให้บูชากัน.....
ใช่ครับอาจารย์ดั้นด้นหาเพื่อไม่สุกเอาเผากินครับพี่มร
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-8 08:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำมนต์

รูปสระเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๖ วา ยาวประมาณ ๒๖ วา ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ด้านตะวันตกส่วนท้ายของวัดแต่ตามพื้นที่เดิมของวัดทั้งหมดอยู่ตรง กลางติดไปทางตะวันตก มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเสด็จมาสรงน้ำที่วัดหงส์แห่งนี้ ก่อนออกศึกสงครามทุกครั้ง และเมื่อมีพิธีสำคัญของแผ่นดิน



สมัยก่อนประชาชนจะพากันมาอาบน้ำในสระอยู่เสมอ ๆ ยิ่งเสาร์ห้าด้วยแล้ว ผู้คนหนาแน่นมาก ต้องรอกันเป็นชั่วโมงจึงจะได้อาบ ผู้เฒ่าผู้ใหญ่เคยเล่าว่าศักดิ์สิทธิ์นัก และประสิทธิ์ประสาทความขลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ได้ตามเจตจำนงทีเดียว
หลวงพรหมาธิบดี (จัน) ผู้เชี่ยวชาญทางประพันธ์และมหาชาติ จนมีชื่อปรากฏอยู่ในมหาชาติฉบับแบบศึกษาเล่มปัจจุบันนี้ในฐานะผู้ตรวจความ ซึ่งอยู่ ณ บ้านใกล้วัดนี้ และ พระครูพิสิษฐ์ธรรมานุรักษ์ (อุย) ผู้เป็นพระสงฆ์ในวัดนี้ ซึ่งท่านทั้งสองมีอายุยืนถึง ๘๐ เศษ ทั้งสองท่านได้เล่าอานิสงฆ์ และคุณความดีของน้ำมนต์สระนี้นานาประการ และสั่งผู้พบปะให้อาบเสมอ
ในสมัยก่อนนี้บริเวณสระนี้มีศาลาพักด้านเหนือ และใต้ มีที่อาบน้ำทำเป็นที่ตักลงรางไหลลงสู่ที่ขังไหลเป็นก๊อกมายังผู้อาบ แต่ต้องระวังลื่น ตะไคร่จับหนาแน่นเพราะมีคนอาบอยู่ไม่ขาด




เรียกกันสมัยนั้นว่า บ่อโพง ด้านใต้ทางทิศตะวันตกมีศาลาเป็นเรือนไม้กั้น ฝาสามด้านทั้งเครื่องสักการะเต็ม กว้างประมาณ ๓ วา หันหน้าเข้าสู่สระ ธูปเทียนดอกไม้ไม่มีขาด เฉพาะก้านธูปเผาคนไหม้ และเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ซึ่งที่ฐานพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ มีอักษรจารึกว่า รูปสมเด็จพระสังฆราชวัดหงส์ฯ หม่อมเจ้าหญิงกระจ่าง หม่อมเจ้าหญิงชม หม่อมเจ้าหญิงสฤษดิ ได้พร้อมใจกันหล่อพระรูปเจ้าของสระ จารึกนี้ก็แสดงว่าความสำคัญของสระนี้เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระสังฆราช องค์นี้อยู่เหมือนกัน

สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เป็นองค์ที่ ๓ องค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ดี) ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนพระรูปนี้สร้างราวในรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ นี้เอง ส่วนเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องเจ้าของสระน้ำมนต์ ก็น่าจะเป็นได้เหมือนกัน เพราะสมเด็จเจ้าประคุณองค์นี้เป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯ และทรงคุณธรรมเป็นพระโพธิวงศาจารย์ แสดงถึงพระเกียรติคุณในทางศักดิ์สิทธิ์ และขลัง ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช แม้จะถูกราชภัยรุนแรงประการใด ก็ไม่ถึงล่มจม ประคองพระองค์อยู่จนสิ้นพระชนม์ ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญทางพระปริยัติ และความรู้พระพุทธศาสนาถึงขั้นปรมัตถ์ และวิปัสสนาจนสามารถชำระพระอภิธรรมปิฏก เมื่อสังคายนาในรัชกาลที่ ๑





ในระยะต่อมาประชาชน และคณะศรัทธาได้ทำการขุดลอกสระแห่งนี้กันแล้วครั้งหนึ่ง ผู้เป็นหัวหน้าจัดการ คือ พันตำรวจเอก พระยาธุรการจำกัด ได้ ขุดลอกทั่วถึงลึกพอหยั่งถูกก้อนหินที่ลงอาคมกลางสระ ก็พอดีฝนตกใหญ่ ฟ้าคะนองกัมปนาท น้ำเต็มสระผู้ขุดลอกต้องพัก และรอโอกาสใหม่ เมื่อฝนหายหยั่งไม่พบหินนั้นเสียแล้ว ไม่ทราบว่าเคลื่อนที่ไปไหน ดูเป็นการเท่ากับรับรองว่า หินอาคมนั้นเชื่อเถอะยังมีอยู่ และยังศักดิ์สิทธิ์อาบกินเถิด แต่อย่าเอาขึ้นไปเลย ต้องการอยู่อย่างนี้ จึงมีอาการปรากฏดังกล่าวมานั้น สระน้ำมนต์นี้ประวัติไม่ปรากฏแน่ เห็นจะมีมานานคู่กับวัดนี้จึงไม่มีผู้ใดจะทรงจำได้ เพราะหมดคนรุ่นนั้นไปนานแล้ว

จากการสันนิษฐาน เรื่องเล่าอีกหนึ่งที่มา เล่าสืบต่อดังนี้ว่า ตามหลักฐานของ ท่านเจ้าคุณรัตนมุนี เล่าว่ามีพระวัดหงส์ฯ รูปหนึ่งไปธุดงค์ ได้ไปพักที่ วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดอยุธยา พบกับพระเถระอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธ์องค์หนึ่ง ถามถึงสระน้ำมนต์แห่งนี้ แล้วฝากหินกายสิทธิ์ลงอาคมมาแผ่นหนึ่งให้มาใส่ในสระ เมื่อพระวัดหงส์ฯรูปนั้นกลับถึงวัด ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้เพื่อนพระเถรฟัง และเมื่อได้ฟังต่างก็ขอดูหิน พอพระหยิบออกมาจากย่ามแล้ว กลายเป็นก้อนหินขนาดมหึมา ยกคนเดียวไม่ได้ เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเณรจึงช่วยกันยกไปใส่ไว้ในสระ



อีกหลักฐานหนึ่งว่าดังนี้ สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดฯ ให้เสาะสืบหาพระสงฆ์จัดการพระศาสนา พระศรีภูมิปรีชา ได้อาราธนา พระอาจารย์ดี วัดประดู่ ซึ่งท่านรู้คุณธรรมมาก และมีพรรษาอายุเป็นผู้เฒ่ามายัง กรุงธนบุรี และสถาปนาท่านเป็น พระสังฆราช

ท่านได้ลงแผ่นหินประกอบพิธีสระน้ำมนต์นี้ และอีกหลักฐานหนึ่งว่า ในสมัย กรุงรัตโกสินทร์ นี้เองแผ่นดินที่หนึ่ง เมื่อได้อาราธนา พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย คลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่ วัดพลับ (วัดราชสิทธิ) ท่านได้ลงเวทมนต์ลงอาคมด้วยพระพุทธมนต์หลายประการเป็นสี่ทิศเพื่ออาบแก้ ทุกข์ โศก โรค ภัย และอำนวยโชคลาภยศศักดิ์อัครฐานนานาชนิดเข้าไว้


พระอาจารย์สุก องค์นี้ต่อมาได้เป็นพระสังฆราชทรงความรู้สูง และมีคุณธรรมเยี่ยมในเวลานั้น สามารถเรียกไก่ป่ามาให้เชื่องได้ด้วยอำนาจเมตตา เล่ากันว่าเมื่อท่านย้ายวัดข้ามฟากจากวัดพลับไปอยู่ฝังพระนคร ท่านเดินข้ามน้ำไปได้ ทั้งนี้เพราะมีผู้นับถือบูชาท่านต่างนำเรือมาจอดแน่นขนัดยาวแต่วัดพลับถึง ฝั่งพระนคร ท่านจึงเดินไปบนเรือนั้นแต่วัดถึงฝังพระนครได้ เป็นอัศจรรย์


เรื่องปลุกเสกเวทมนต์สระน้ำมนต์นี้นั้น เล่ากันว่า ท่านทำร่วมกับ พระอาจารย์ศรี วัดสมอราย ผู้วิเศษขลังอีกองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็น เจ้าคุณปัญญาวิสาลเถร เรื่องนี้จะยุติประการใดสุดแต่ท่านผู้อ่านจะเชื่อ แต่ความขลังความศักดิ์สิทธิ์นั้นมีจริง จะพิสูจน์ได้ก็เชิญลองดูจะอัศจรรย์ทีเดียว เขาเล่ากันว่าผู้ที่ดีได้ความเจริญรุ่งเรืองที่ออกจากวัดนี้ไปนั้น แม้ท่าน เจ้าพระยายมราช ที่รุ่งเรืองตลอดวัย และพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ที่พ้นราชภัย และยศศักดิ์ขึ้นในสมัยแผ่นดินที่ ๑ นี้ก็เพราะอาบกินน้ำมนต์สระนี้เป็นแรงส่งด้วย


เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของสระน้ำมนต์วัดหงส์ฯ หมื่นราชทัตถ์ผดุง ได้บันทึกไว้ว่า ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ เคยเล่าให้ท่านฟัง จะอาบจะกินต้องคารวะ และอธิษฐานขอความสำเร็จแล้วจึงอาบกิน แต่สระน้ำมนต์นี้อำนวยผลให้สัมฤทธิ์ ต่างกันแต่ละมุมสระ คือ มุมทางทิศตะวันออกดีทางเมตตามหานิยม มุมทางทิศใต้ ดีทางมหาลาภและค้าขาย มุมทิศทางเหนือ ดีทางบำบัดทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ มุมทางทิศตะวันตก ดีทางอยู่ยงคงกะพันชาตรี
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-17 08:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สระสิงห์โต



ตั้งอยู่ริมถนนสุนทรเทพและถนนจิระ  ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.บุรีรัมย์

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  เป็นวัดที่คณะสงฆ์สังกัดมหานิกายจำพรรษา  สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 เศษ
ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับผู้สร้าง  


สันนิษฐานว่าสถานที่สร้างวัดแต่เดิมเคยเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนามาก่อน  ในพ.ศ. 2319  เจ้าพระยาจักรีเคยนำทัพมาหยุดพักแรมใกล้ๆ กับวัดกลาง  และเมื่อครั้งพระยาจักรีรวบรวมชาวบ้านจากบ้านโคกหัวช้าง  บ้านทะมาน  มาตั้งเป็นเมืองแปะ  สันนิษฐานว่าในคราวฉลองเมืองใหม่  คงจะนิมนต์พระสงฆ์ที่วัดนี้ ไปประกอบพิธีกรรมหรือมากระทำพิธีที่วัดนี้  ภายในวัดมีสระโบราณเรียกกันว่า สระสิงโต


มีความเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยโบราณชาวบ้านตักนำไปดื่มกิน และใช้ประโยชน์ และนำน้ำไปประกอบพิธีมงคลต่างๆ ในปี พ.ศ. 2319 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จยกทัพกลับมาจากปราบขบถเมืองนางรอง ได้ทรงพักไพร่พล ณ บริเวณสระน้ำแห่งนี้ ปัจจุบันยังคงใช้น้ำจากสระแห่งนี้ประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ทหารและประชาชนคนไทยมาโดยตลอด ลักษณะพิเศษของน้ำในสระนี้ คือ สีของน้ำจะมีสีเขียวอ่อนอยู่ตลอด ไม่ว่าจะมีปริมาณน้ำมากหรือน้อยเพียงใด


และเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของขุนนางเจ้าเมืองในยุคนั้น  โดยตักน้ำในสระนี้แล้วนำไปประกอบพิธีดื่มกินในพระอุโบสถหลังเก่า  เมื่อคราวพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530  ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  จ.บุรีรัมย์ได้นำน้ำจากสระแห่งนี้เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย



บุรีรัมย์จัดพิธีพลีกรรมตักน้ำและเสกน้ำพระพุทธมนต์เพื่อถวายในหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคล 5 ธันวามหาราช

จังหวัดบุรีรัมย์จัดพิธีพลีกรรมตักน้ำ และเสกน้ำพระพุทธมนต์ จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด เพื่อนำเป็นน้ำสรงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

ณ สระสิงโต แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดกลางพระอารามหลวง จังหวัดบุรีรัมย์ นายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ เพื่อนำไปประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถวัดกลางพระอารามหลวง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำไปเป็นน้ำสรงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นำหัวหน้าส่วนราชการประกอบพิธีทางศาสนา ก่อนมีพิธีพราหมณ์ โดยพราหมณ์กล่าวคำสักการบูชา และประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากสระสิงโต โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ทำพิธีตักน้ำจากสระสิงโตใส่ขันสาคร ซึ่งพระสงฆ์สมณศักดิ์ 10 รูป เจริญชัยมงคลคถาระหว่างพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ก่อนนำห่อด้วยผ้าขาว และอัญาเชิญขึ้นไว้ ณ วิหารวัดกลางพระอารามหลวง เพื่อประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ต่อไป

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้