ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 12695
ตอบกลับ: 14
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-4 14:48

  




มีตำนานเกี่ยวกับสระศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ว่า...

มีเจ้าผู้ครองนครองค์หนึ่งมีพระราชธิดา 4 พระองค์ทรงพระนามว่า แก้ว คา ยมนา เกศ ทุกพระองค์มีพระสวามีแล้ว

แต่องค์สุดท้องคือเกศมีพระสวามีเป็นลิงเผือก ต่อมาเจ้าผู้ครองนครได้สั่งพระราชธิดา และพระราชบุตรเขยว่า

ถ้าใครสามารถขุดสระได้ลึกและกว้างที่สุด จะมอบพระขรรค์ศักดิ์สิทธิ์และให้ครองนครต่อไป

ดังนั้นทุกคนจึงเริ่มต้นขุดสระ ส่วนน้องเกศน้องคนสุดท้องต้องขุดอยู่คนเดียว

อีกทั้งตอนถึงเวลากลางคืน พี่สาวทั้ง 3 และพี่เขยยังเอาดินมาถมสระอีก

ครั้นถึงวันสุดท้ายลิงเผือกกับบริวารมาช่วยกันขุดสระพักเดียวก็ได้สระที่กว้างและลึกที่สุดกว่าทุกๆสระ

และยังปลูกต้นเกศไว้ตรงกลางสระเป็นเครื่องหมายอีกด้วย ครั้งถึงรุ่งเช้าตามกำหนด เจ้าผู้ครองนครก็สวรรคตพอดี

บรรดาเสนาอำมาตย์จึงตั้งกรรมการมาตรวจดูสระทั้งสี่ ปรากฏว่าสระของเกศกว้างใหญ่และลึกที่สุด

จึงมองพระขรรค์ให้เกศ ทำให้พี่สาวและพี่เขยไม่พอใจ จึงลักเอาพระขรรค์ศักดิ์สิทธิ์หนีไป

ลิงเผือกจึงขี่ม้าติดตามออกไปจนทันที่สระของเกศ เมื่อพี่สาวและพี่เขยเห็นจวนตัวจึงขว้างพระขรรค์ลงไปในสระของเกศ

บังเอิญถูกตัดต้นเกศขาดสะบั้นลง และพระขรรค์ก็อันตรธานหายไป น้ำในสระจึงกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


        สระศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว ริมถนนสายดอนเจดีย์-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 322) กิโลเมตรที่ 7-8

ตรงข้ามทางเข้าสวนนกท่าเสด็จ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร

พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาทอดพระเนตรสระศักดิ์สิทธิ์ที่ตำบลนี้

จึงเป็นเหตุให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านท่าเสด็จ สระศักดิ์สิทธิ์เดิมพบเพียง 4 สระ




คือ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ต่อมาพบอีก 2 สระ คือ สระอมฤต 1 และสระอมฤต 2

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชหัตถเลขาไว้ว่า

“แต่เหตุไฉนที่สระนี้ขลังนักไม่ปรากฏ คงจะมีตัวครูบาที่สำคัญเป็นอันมาก น้ำในสระก็ไม่ใช้ ปลาในสระก็ไม่กิน สระมีหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมด

มีจระเข้อาศัยอยู่ทั้งสี่สระน้ำสระคา สระยมนา ไม่สู้สะอาด มีสีแดง แต่น้ำสระเกษ สระแก้วใสสะอาด”

น้ำในสระทั้งหมดนี้ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราช พิธีสระน้ำมูรธาภิเษกตามลัทธิพราหมณ์

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนจัดตั้งสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นโบราณสถานไว้
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-4 14:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-4 14:52





“สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ” เป็นชื่อสระศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาแต่โบราญ เรามักเข้าใจว่าสระศักด์สิทธิ์มีเพียงสี่สระเท่านั้น แม่แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจองเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสที่สระศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขาไว้เพียงสี่สระเช่นกัน ต่อมามีผู้บอกว่ายังมีอีก 2 สระ ชื่อ สระอมฤต เคียงคู่กันอยู่ระหว่างสระยมนาและสระเกษ เมื่อมีการขุดตกแต่งสระศักดิ์สิทธิ์พบสระอมรฤตทั้งสองเคียงคู่กันเป็นสระที่เล็กกว่าสระทั้งสี่

เดิมท้องที่สระศักด์สิทธิ์ขึ้นกับตำบลท่าว้า อำเภอท่าพี่เลี้ยง ต่อมาทางราชการเปลี่ยนชื่อจากตำบลท่าว้าเป็น ตำบลสระแก้ว จะหมายเอาชื่อของสระแก้วมาเป็นชื่อตำบล ชื่อนี้เปลี่ยนเมื่อราว พ.ศ.2482  และเปลี่ยนชื่ออำเภอท่าพี่เลี้ยงเป็นอำเภอเมืองด้วยและหมูบ้านก็เปลี่ยนมาเป็น บ้านท่าเสด็จ อันหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสที่สระเหล่านี้ จึงเรียกว่า บ้านท่าเสร็จ หรือตลาดท่าเสร็จ


สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ” เป็นชื่อสระศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาแต่โบราญ เรามักเข้าใจว่าสระศักด์สิทธิ์มีเพียงสี่สระเท่านั้น แม่แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจองเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสที่สระศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขาไว้เพียงสี่สระเช่นกัน ต่อมามีผู้บอกว่ายังมีอีก 2 สระ ชื่อ สระอมฤต เคียงคู่กันอยู่ระหว่างสระยมนาและสระเกษ เมื่อมีการขุดตกแต่งสระศักดิ์สิทธิ์พบสระอมรฤตทั้งสองเคียงคู่กันเป็นสระที่เล็กกว่าสระทั้งสี่

เดิมท้องที่สระศักด์สิทธิ์ขึ้นกับตำบลท่าว้า อำเภอท่าพี่เลี้ยง ต่อมาทางราชการเปลี่ยนชื่อจากตำบลท่าว้าเป็น ตำบลสระแก้ว จะหมายเอาชื่อของสระแก้วมาเป็นชื่อตำบล ชื่อนี้เปลี่ยนเมื่อราว พ.ศ.2482  และเปลี่ยนชื่ออำเภอท่าพี่เลี้ยงเป็นอำเภอเมืองด้วยและหมูบ้านก็เปลี่ยนมาเป็น บ้านท่าเสด็จ อันหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสที่สระเหล่านี้ จึงเรียกว่า บ้านท่าเสร็จ หรือตลาดท่าเสร็จ


ข้อมูลจาก หนังสือประวัติศาสตร์ เมืองสุพรรณ โดย มนัส  โอภากุล
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-4 14:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา


หรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หมายถึง พระราชพิธีอันเป็น มงคลแห่งความซื่อสัตย์ที่ใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนด เรียกอย่างย่อว่า พระราชพิธีถือน้ำ เป็นการดื่มน้ำที่แทงด้วยพระแสงราชศัสตรา สาบานตนเพื่อแสดงความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง หากตั้งอยู่ในความสัตย์นั้น นับเป็นพระราชพิธีใหญ่สำคัญสำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณที่ไทยรับอิทธิพลมาจากอินเดีย มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล กฎหมายตราสามดวง เรียกชื่อพระราชพิธีว่า ถวายบังคมถือน้ำพระพัท กำหนดการในเดือน ๑๐ ถือ เป็นพระราชพิธีที่สำคัญในด้านการปกครอง มีการกำหนดโทษข้าราชการที่ไม่มารวมพิธีถือน้ำถึงตาย ยกเว้นผู้ที่เจ็บป่วย และมีข้อห้ามไม่ให้ใส่แหวนนาก แหวนทองร่วมในพิธี ห้ามกินอาหารก่อนเข้าพิธี หากผู้ใดดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแล้วยื่นต่อให้แก่กันหรือดื่มแล้วเททิ้งโดยไม่ได้เทใส่ผม มีโทษเป็นกบฏ ในการเสกทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ให้พระแสงราชศัสตราสำหรับแผ่นดินแทงน้ำประกอบการอ่านประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หรือโคลงแช่งน้ำหรือลิลิตโองการแช่งน้ำ อันเป็นวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความน่าเกรงกลัวหากจะกระทำผิดจากสัตย์สาบานและเกิดศรัทธาที่จะกระทำความดี นับเป็นจิตวิทยาทางการ ปกครอง ที่ควบคุมจิตใจและความประพฤติของข้าราชการให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ

พระราชพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก

น้ำมูรธาภิเษก (น้ำที่จะใช้รดพระเศียรพระเจ้าแผ่นดิน) ที่จะสรงจากสถานที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักรมาทำพิธี ซึ่งเมื่อทรงสรงด้วยน้ำนี้แล้ว ก็ถือว่าได้แปรสภาพองค์เข้าสู่ความเป็น กษัตริย์เป็นขั้นแรก ก่อนจะมีพิธีอื่นๆ ต่อไป
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-4 14:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เรียกกันเป็นสามัญว่า
“ หลวงพ่อสุขนามเดิมของท่าน คือ "หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์ "



ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในหอพระพุทธรูป (ข้างหอสวดมนต์ด้านตะวันออก)


        พระพุทธรูปองค์นี้จะสร้างแต่สมัยใด ไม่มีตำนานปรากฏเดิมประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ แถวหน้าพระประธาน สันนิษฐานว่า คงจะมีมาแต่เดิมในวัดนี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามองค์หนึ่ง เป็นพระทรงเครื่องแบบมหาจักรพรรดิ์ราชาธิวาส สวมมงกุฎ มีกุณฑล ทับทรวงสังวาล พาหุรัด ประดับด้วยเนาวรัตน์ ประทับนั่งขัดสมาธิ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้าย ก็รอดพ้นจากการทำลายล้างผลาญของข้าศึกได้อย่างน่าอัศจรรย์ นับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ยังอยู่ในสภาพบริบูรณ์ มาจนถึงทุกวันนี้ชาวบ้านผู้สูงอายุบางคนเล่าว่า เคยเห็นองค์พระพุทธรูป ประดับด้วยเพชร พลอย ทับทิม ตามพระอุระและพาหา บนพระอังสะทั้งสองข้างประดับด้วยอินทรธนู แต่ในปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว ไม่ทราบว่าอันตธานไปแต่เมื่อใด


        พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะแปลกประหลาด กว่าพระพุทธรูปองค์อื่นในประเทศไทย คือ พระเศียรตอนเหนือพระนลาฏเปิดออกได้กับพระเกศมาลาถอดได้ เมื่อปิดไว้ตามเดิมแล้วจะแนบสนิทเกือบเป็นชิ้นเดียวกันไม่ปรากฏรอยเลย ภายในพระเศียร เป็นบ่อกว้างลึกลงไปเกือบถึงพระศอ มีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลาเหมือนหยาดน้ำเหงื่อ เป็นน้ำใสเย็นบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน สามารถรับประทานได้ โดยปราศจากอันตรายใดๆ และไม่ขาดแห้ง ปรากฏเป็นอัศจรรย์อยู่เช่นนี้ตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แม้จะตักออกมาแล้วใช้สำลีชุบหรือเช็ดให้แห้งบถือน้ำในพระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ว่าเป็น “น้ำศักดิ์สิทธิ์” เกิดขึ้นด้วยอำนาจอภินิหารบารมี สามารถบำบัดรักษาสรรพโรคภัยไข้เจ็บและบรรเทาทุกข์ร้อนให้ความสุขความร่มเย็นได้ ต่างพากันเคารพนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และกอปรด้วยอภินิหาร ทำให้ท่านมีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและใกล้ไกลจึงพากันเดินทางมานมัสการขอพึ่งบารมีท่านทั้งขอน้ำมนต์และลาภสักการะกันมาตลอด



        



เรื่องราวของพระพุทธรูป “หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์” องค์นี้ ในด้านอภินิหารเท่าที่ชาวบ้านได้ทราบและจดจำเล่าสืบต่อๆกันมาจนทุกวันนี้ มีอยู่มากมายเหลือจะพรรณนา แม้หนังสือพิมพ์บางฉบับก็เคยนำไปลงเป็นข่าวอยู่เสมอๆ และทราบกันว่า สมัยหนึ่ง มีข้าราชการผู้ใหญ่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปจากวัดตูม ไปประดิษฐานไว้ในบริเวณเกาะเมือง ตั้งแต่อัญเชิญไปแล้ว ข้าราชการผู้นั้นก็เกิดความไม่สบายใจเกิดความเดือดร้อนภายในครอบครัวตลอดเวลา และผู้คนที่มีส่วนแบกหามเคลื่อนองค์ต่างเจ็บป่วยทั่วทุกคน ถึงกับทุกคนฝันตรงกันว่า ถ้าไม่นำไปคืนจะเดือดร้อนกันทั่วหน้าจึงต้องนำกลับคืนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดตูม ตามเดิม


นอกจากนี้ภายในวัดตูม ยังมีสระน้ำอยู่ข้างพระอุโบสถด้านตะวันตกกล่าวกันว่าน้ำในสระนี้ได้ใช้ในการทำพิธีลงเครื่องพิชัยสงคราม เช่น ชุบพระแสงตลอดมา เมื่อครั้งสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินครั้งหลังสุด พ.ศ. ๒๔๕๑ เพื่อทรงประกอบพิธีชุบพระแสงขรรค์ราชศัตรา มีราษฎรไปรอเฝ้าชมพระบารมีกันเต็มท้องน้ำ

        พิธีการชุบพระแสงของพระมหากษัตริย์ ตามที่ทราบมามีพิธีการสลับซับซ้อนมาก โดยชั้นแรกจะต้องนำผงฝุ่นที่ทำเป็นเลขยันต์ จากนั้นก็ให้พระเถระผู้ใหญ่สลับกันสวดพระพุทธมนต์สลับกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนครั้นเมื่อสวดเสร็จแล้ว จะมีการนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ภายในพระเศียรของหลวงพ่อทองสุขมาละลายผงฝุ่นที่ทำเป็นเลขยันต์ ซึ่งเมื่อละลายแล้ว จะมีลักษณะเหมือนดินสอพองละลายน้ำ จากนั้นจึงนำมาเขียนเป็นอักขระลงที่พระแสงดาบทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วจึงนำพระแสงดาบเข้าไปในเตาเผา จากนั้นจึงไปชุบลงในสระน้ำลงเครื่องพิชัยสงคราม ที่อยู่ข้างพระอุโบสถ เมื่อพระแสงเย็นแล้วจะเกิดเป็นตัวนูนขึ้นมาซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง หลังจากนั้นจึงนำมาล้างด้วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้ก็คือ น้ำที่อยู่ในพระเศียรของหลวงพ่อทองสุขอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

        อย่างไรก็ตาม วัดตูมนับว่าเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศกำหนดเป็นโบราณสถานสำหรับชาติวัดหนึ่ง ตามความในมาตรา ๖ แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ ตามประกาศลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-4 15:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เท่าที่ทราบพระพุทธรูปลักษณะแปลกเช่นนี้ในเมืองไทยมีอยู่เพียงสององค์

คือหลวงพ่อทองสุกสัมฤทธิ์ที่วัดตูมหนึ่ง และหลวงพ่ออุ่นเมือง ที่วัดน้ำฮู อำเภอปายอีกหนึ่ง

เมื่อกล่าวถึงวัดน้ำฮูก็ขอนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัดน้ำฮูมาให้ได้ทราบกันสักนิด

วัดน้ำฮู เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ที่ประชาชนที่นี่นับถือกันมากๆ
คือ หลวงพ่อพระอุ่นเมือง เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้า ๒๘ นิ้ว สูง ๓๐ นิ้ว
ตามตำนานพระองค์นี้สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้กับ
สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา


หลวงพ่ออุ่นเมือง วัดน้ำฮู อำเภอปาย

เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ คือครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
เดินธุดงค์มาที่วัดแห่งนี้ ท่านได้มานมัสการและสังเกตุว่าพระองค์นี้มีพระพักตร์ที่ดูอิ่มเอิบชุ่มชื่นยิ่งนัก
จึงสงสัยว่าข้างในเศียร์พระน่าจะมีน้ำ เปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ซึ่งเชื่อถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลั่งไหลมาขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปสักการะบูชา และดื่มเป็นศิริมงคล
พอตักน้ำในพระเศียรจนหมดก็จะมีน้ำซึมออกมาอีกอย่างน่าอัศจรรย์





ที่วัดน้ำฮูยังมีเจดีย์พระสุพรรณกัลยา ซึ่งอยู่ด้านหลังของวิหารหลวงพ่ออุ่นเมือง
ในเจดีย์บรรจุเส้นเกศาของพระพี่นางสุพรรณกัลยาไว้ภายใน ครูบาศรีวิชัยธุดงค์มาที่วัดแห่ง
เห็นว่าพระเจดีย์ทรุดโทรมมาก จึงร่วมกันบูรณะขึ้นมาใหม่




ที่มา..http://www.watkoh.com
สาธุครับ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-4 17:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-4 17:21


สระน้ำมนต์อาจารรย์ธรรมโชติ

วัดโพธิ์เก้าต้น หรือวัดไม้แดง อยู่ในบริเวณค่ายบางระจัน เป็นสถานที่ วีรชนชาวบ้านบางระจัน ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ใช้เป็นที่มั่น ในการต่อต้านข้าศึก ภายในบริเวณวัด มีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ รูปปั้นพระอาจารย์ธรรมโชติ สระน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ มีต้นไม้แดง ที่ยืนต้น มาแต่สมัยอยุธยาในบริเวณนี้



ที่ตั้ง
วัดโพธิ์เก้าต้นเป็นวัดอยู่ที่อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ตรงข้ามกับอุทยาน ค่ายบางระจัน วัดนี้เป็น วัดสำคัญวัดหนึ่ง ซึ่งภายในมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งภายในประดิษฐานรูปปฏิมากรรม พระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่เคารพสักการะของชาวสิงห์บุรีโดยทั่วไปพระอาจารย์ธรรมโชติ รังสี ท่านเป็นพระที่เป็นมิ่งขวัญและพลังใจแก่ วีระชนชาวบ้าน บางระจันที่ทำให้วีระชนเข้าต่อสู้ป้องกันข้าศึกและได้รับชัยชนะใกล้ ๆ กับวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติมีต้นไม้แดงอยู่ต้นหนึ่งซึ่งมีอายุ ยืนยาวมาก เพิ่งตายไปเมื่อไม่นานนี้ ในบางครั้ง ชาวบ้านมักเรียก วัดนี้ว่า วัดไม้แดง บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น(วัดไม้แดง) แห่งนี้เป็นบริเวณ


ที่พระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งวัดเขาขึ้น(เขาบวช) เลือกเอาเป็น ทำเลที่ตั้งค่าย เพราะเป็นที่ดอนมีลำธารไหลผ่านหน้าวัดจากทิศ ตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และอีกสายหนึ่งมาจาก ทิศเหนือไหลล่อง ลงใต้ตัดกันตรงบ้านวังกา ถ้ามองทางทิศใต้จะดูคล้ายเกาะ ข้าศึกตีได้ยาก น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ พระอาจารย์ธรรมโชติได้รวบรวม ชาวบ้าน และบรรดาศิษย์ช่วยกันสร้างค่ายขึ้นสองค่าย คือ ค่ายใหญ่ กินบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น และอุทยาน ค่ายบางระจันทั้งหมด ส่วนค่ายเล็กอยู่บริเวณวัดประโยชน์ (ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ค่ายบางระจันปัจจุบัน) ค่ายทั้งสองมีปีกกา ติดต่อถึงกันได้ ค่ายทั้งสองนี้สามารถรบกับพม่าข้าศึก ได้รับ ชัยชนะถึงเจ็ดครั้ง จนกระทั่งการรบครั้งที่แปดค่ายจึงแตก รวมเวลาตั้งค่ายอยู่ได้ถึงห้าเดือน
ปัจจุบันทางราชการได้สร้างค่ายจำลองขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ เตือนใจแก่ผู้พบเห็นว่า บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้นนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นสมรภูมิรบ และเป็นที่มั่นของบรรพชนไทยในอดีต



1ในมวลสารองงค์ปู่ ศรีสุธรรม ใช่มั๊ยครับ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-6 07:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-4-6 07:14
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2014-4-5 21:50
1ในมวลสารองงค์ปู่ ศรีสุธรรม ใช่มั๊ยครับ ...
ในครั้งโบราณนั้น เมื่อต้องการใช้น้ำพระพุทธมนต์ประกอบพระราชพิธี เช่น น้ำอภิเษก
น้ำบรมราชาภิเษกและน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
เจ้าเมืองก็จะให้ราชบุรุษไปพลีกรรม เพื่อเอาน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์

น้ำมูรธาภิเษก (น้ำที่จะใช้รดพระเศียรพระเจ้าแผ่นดิน) ที่จะสรงจากสถานที่ต่างๆ
อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักรมาทำพิธี ซึ่งเมื่อทรงสรงด้วยน้ำนี้แล้ว
ก็ถือว่าได้แปรสภาพองค์เข้าสู่ความเป็น กษัตริย์เป็นขั้นแรก

ก่อนจะมีพิธีอื่นๆ ต่อไป  

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-6 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้






วัดพระบรมธาตุฯ ชัยนาท ๑ ใน ๑๘ สถานที่ประกอบพิธีตัก "น้ำอภิเษก"วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท เดิมมีนามว่า "วัดพระธาตุ" และมีนามเรียกอีกนามหนึ่งว่า "วัดหัวเมือง" สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ อยู่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ เป็นที่สำคัP


ครั้นสมัยสุโขทัย ตรงกับสมัยพระเจ้าลิไท ได้ทรงจัดการบำรุงและสมโภชพระบรมธาตุ

พระเจดีย์บรมธาตุ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และย่อมุมขึ้นไปรองรับซุ้มจรนำทั้งสี่ต้น ลักษณะซุ้มนั้นแคบและเตี้ย หน้าบันประดับซุ้มจรนำเป็นสองชั้นซ้อนกัน เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มเจดีย์ หรือองค์ระฆัง มีกลีบบัวซ้อนรองรับปลี ยอดจากลักษณะพระพุทธรูปปูนปั้นนูนต่ำ ปางสมาธิ ซึ่งประทับนั่งอยู่กับฝาผนังด้านหนึ่ง มีเค้าของศิลปะลพบุรี หรือศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นแรก ลักษณะของซุ้มจรนำนั้นน่าจะซ่อมขึ้นใหม่ในชั้นหลัง คือในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะลักษณะซุ้มจรนำมีลักษณะใกล้เคียงกับซุ้มจรนำที่เจดีย์วัดภูเขาทอง และซุ้มจรนำที่เจดีย์ศรีสุริโยทัยที่พระนครศรีอยุธยามาก นอกจากนี้ยังมีจารึกยืนยันถึงการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏอยู่ที่วัดพระบรมธาตุนี้ด้วย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์เรื่อยมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐
ต่อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร นับตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ตามประกาศลงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๙

พระครูศรีปริยัติอุเทศ หรือหลวงพ่อช้าง เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บอกว่า วัดพระบรมธาตุวรวิหารได้กำหนดจัดให้มีงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี มีการสรงน้ำพระบรมธาตุ และการห่มผ้าพระบรมธาตุ ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดชัยนาท
นอกจากนี้ ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี ซึ่งเกิดจากการที่พระชัยนาทมุนี (นวม สุทตโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ได้เก็บรักษาและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พบในเขตจังหวัดชัยนาท และบริเวณใกล้เคียงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทย

อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุการก่อสร้างมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี บางช่วงเวลาวัดขาดเจ้าอาวาส ขาดการบูรณะ ทำให้วัดชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา เช่น พลับพลาที่ประทับ สร้างสมัย ร.๕ วิหารครอบบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ทำน้ำอภิเษก ทางวัดจึงมีโครงการสร้าง และบูรณะปรับปรุงเสนาสนะ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากคณะศรัทธาของนายอรรถภูมิ บุญเกียรติ ผู้อำนวยการสถาบันโบราณศิลป์

นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดสร้างหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชัยนาท โดยจะนำเข้าประดิษฐานในวิหารครอบบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์

สำหรับท่านที่สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี เวลาทำการเปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม คนไทย ๕ บาท คนต่างประเทศ ๑๐ บาท

ส่วนพิพิธภัณฑ์ของวัดเปิดให้คนเข้าชมฟรี รวมทั้งบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ทำน้ำอภิเษก ทางวัดก็เปิดให้ตักน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลทุกวัน สอบถามเส้นทางไปวัดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.๐๕๖-๔๒๖-๔๑๖ และ ๐๘-๑๓๖๔-๖๐๑๔

การทำน้ำอภิเษก

พระมหากษัตริย์ที่จะเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก จะต้องสรงพระมุรธาภิเษก และทรงรับน้ำอภิเษกก่อนได้รับการถวายสิริราชสมบัติตามตำราพราหมณ์

การตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมุรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่สำคัญต่างๆ ๑๘ แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วย

๑.จ.สระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท ๒.จ.พิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ ๓.จ.สุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ ๔.จ.นครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์ ๕.จ.นครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ ๖.จ.ลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย ๗.จ.นครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม ๘.จ.น่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง ๙.จ.ร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย ๑๐.จ.เพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ ๑๑.จ.ชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ ๑๒.จ.ฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร ๑๓.จ.นครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช ๑๔.จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง ๑๕.จ.จันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ ๑๖.จ.สุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อ.ไชยา ๑๗.จ.ปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีนรสโมสร และ๑๘.จ.ภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง

สมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ใช้น้ำจาก ๔ สระในเขตสุพรรณ คือ สระเกษ สระแก้ว สระคงคา และสระยมุนา และได้เพิ่มน้ำจากแม่น้ำสำคัญในประเทศ ๕ สาย คือ ๑.แม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ จ.นครนายก ๒.แม่น้ำป่าสัก ตักที่ ต.ท่าราบ จ.สระบุรี ๓.แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ ต.บางแก้ว จ.อ่างทอง ๔.แม่น้ำราชบุรี ตักที่ ต.ดาวดึงส์ จ.สมุทรสงคราม และ ๕.แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ ต.ท่าไชย จ.เพชรบุรี

0 เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0

ที่มา คมชัดลึก


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้