ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4468
ตอบกลับ: 17
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

แบบนี้ถึงจะเรียกว่าศิษย์

[คัดลอกลิงก์]
Sarayut
อาจารย์สรายุทธ

การเป็นศิษย์ที่ดี

ศิษย์คือใคร?

๑. ความหมายของศิษย์
ศิษย์ คือ ผู้ศึกษา, ผู้เชื่อฟัง, ผู้ที่ยอมรับให้ครูอาจารย์สอน
ศิษย์ที่ดี คือ ผู้ที่ครูอาจารย์สามารถนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้
๒. ประเภทของศิษย์

ศิษย์แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ
๑ ศิษย์กตัญญู คือศิษย์ที่ดีสำนึกในพระคุณของครูแล้วตอบแทน
๒ ศิษย์อกตัญญู คือศิษย์เนรคุณ ไม่สำนึกในพระคุณของครู คิดล้างผลาญครู

๒.. ศิษย์เกิดจากอะไร?
เกิดจาก การที่ต้องการสติ – ปัญญา ความรู้จึงยินยอมมอบกายและจิตใจให้ครูอาจารย์ทำการอบรมสั่งสอน

๓ เป็นศิษย์เพื่ออะไร?
เพื่อ ยกระดับจิตวิญญาณของตนให้สูงขึ้น

๔.เป็นศิษย์โดยวิธีใด?
โดย การเป็นศิษย์ที่ดี และทำหน้าที่ของศิษย์ที่ดีได้ถูกต้องดังนี้

๑. ศิษย์ที่ดี
๑. ฟังดี – ฟังถูกต้อง
๒. คิดดี – คิดถูกต้อง
๓. เชื่อดี – เชื่อถูกต้อง
๔. ทำตามอย่างดี – ทำตามอย่างถูกต้อง
๕. ทำการสืบต่อไปอย่างดี – อย่างถูกต้อง

นักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. ไม่โยกเก้าอี้ ๒. ไม่หนีโรงเรียน ๓. ไม่เขียนข้างฝา
๔. ไม่ด่าครูสอน ๕. ไม่นอนตื่นสาย ๖. ไม่หน่ายการเรียน
๗. ไม่เพียรทำผิด ๘. ไม่คิดมุ่งร้าย ๙. ไม่อายการงาน
๑๐. ไม่ผลาญเงินตรา ๑๑. ไม่ซ่าหาเรื่อง ๑๒. ไม่เคืองโกรธกัน
๑๓. ไม่หันหาอบายมุข ๑๔. ไม่คลุกกับเกมส์
๑๕. เกษมแน่ ๆ พ่อแม่ก็ชื่นใจ ครูก็ชื่นใจ

หน้าที่ของศิษย์ที่ดี
๑. ลุกขึ้นยืนต้อนรับ เป็นการแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปยืนคอยรับใช้ เมื่อท่านมีกิจธุระ
๓. เชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตาม
๔. อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด
๕. ตั้งใจเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
หน้าที่ของศิษย์ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. ต้องมีความเคารพ
๒. คบการศึกษา
๓. กล้ารับความผิด
๔. คิดช่วยเหลือครู
๕. กตัญญูต่อสถาบัน

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. แสวงหาความรู้ ๒. เคารพครูอาจารย์
๓. รักการศึกษา ๔. มีจรรยาเรียบร้อย
๕. มักน้อยตามฐานะ ๖. เสียสละเพื่อสถาบัน
๗. มุ่งมั่นประพฤติดี ๘. หลีกหนีสิ่งชั่ว
๙. ไม่มั่วสิ่งเสพติด ๑๐. รู้จักคิดใช้ปัญญา

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. เคารพ ๒. เชื่อฟัง ๓. ตั้งใจเรียน
๔. เพียรขยัน ๕. ไม่ดื้อรั้น ๖. มารยาทดี
๗. มีระเบียบวินัย ๘. น้ำใจเอื้อเฟื้อ ๙. เชื่อมั่นตนเอง
๑๐. เกรงกลัวความชั่ว ๑๑. ทำตัวกล้าหาญ ๑๒. การงานซื่อตรง
๑๓. ตรงต่อเวลา ๑๔. วาจาน่ารัก ๑๕. รู้จักพอดี
๑๖. มีความอดทน ๑๗. เป็นคนกตัญญู ๑๘. รู้จักคิดใช้ปัญญา

หน้าที่ ของชาวประมงคือหาปลา
หน้าที่ ของพ่อค้าคือหาผลกำไรจากการทำมาหากิน
หน้าที่ ของศิลปินคือสร้างศิลปะ
หน้าที่ ของพระคือสอนมนุษย์
หน้าที่ ของชาวพุทธคือทำดี
หน้าที่ ของศิษย์ที่ดี คือ กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์

“ศรต้องมีพิษ ศิษย์ต้องมีครู
ศิษย์มีครู เหมือนงูมีพิษ
ศิษย์ไม่มีครู เหมือนงูไม่มีพิษ
ศิษย์ดีต้องมีคุณธรรม ศิษย์ไม่ได้ความ คุณธรรมไม่มี”

ผลดี ของการทำหน้าที่ศิษย์ที่ดี
๑. ทำให้เป็นคนมีปัญญาดี
๒. ทำให้ครูอาจารย์ชื่นใจสุขใจ สบายใจ เย็นใจ
๓. ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบัณฑิต
๔. เป็นที่รักของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย
๖. เป็นผู้มีความเจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมสงบสุข
๘. ประเทศชาติได้คนดี

โทษ ที่ไม่สามารถเป็นศิษย์ที่ดีได้
๑. ทำให้เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
๒. ทำให้ครูอาจารย์เดือดร้อนใจ
๓. ถูกติเตียนจากบัณฑิต
๔. เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ไม่อยากคบเป็นเพื่อนด้วย
๖. ไม่เป็นผู้เจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมวุ่นวาย
๘. ประเทศชาติได้คนไม่ดี

หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
๑. ให้การต้อนรับ
๒. เสนอตัวรับใช้
๓. เชื่อฟัง
๔. คอยปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-18 17:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ศิษย์คิดล้างครู

“ในอดีต มีครูดาบคนหนึ่งตั้งสำนักสอนเพลงดาบ โดยครูผู้นี้มีฝีมือในเพลงดาบอย่างยอดเยี่ยมยากจะมีผู้เสมอเหมือน จึงมีผู้สมัครเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาด้วยจำนวนมาก เมื่อเปิดสอนเพลงดาบเป็นเวลานานปี ก็ยิ่งมีศิษย์เพิ่มขึ้นโดยลำดับ ผู้ที่เรียนสำเร็จจนมีฝีมือพอใจแล้วก็ลาออกจากสำนักไป ผู้ที่ต้องการเรียนก็เข้ามาเป็นศิษย์อีกรุ่นแล้ว รุ่นเล่า จนเวลาล่วงเลยไปช้านาน ครูก็แก่ตัวลงเพราะอายุสูงขึ้น แต่ว่ายิ่งแก่ก็ยิ่งมีความสุข เพราะมีศิษย์มากมาย ศิษย์ที่รู้คุณทั้งหลายต่างไม่ทอดทิ้งครูตนโดยต่างมีน้ำใจช่อยกันสนองคุณครูด้วยการส่งเงินทอง เสื้อผ้า ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนสิ่งของต่าง ๆ ให้ครูได้มีใช้สอยโดยไม่ขาดแคลน ครูผู้นี้จึงเป็นอยู่อย่างสะดวกและมีความผาสุก เพราะสำบูรณ์ด้วยสมบัติโดยควรแก่อัตภาพ

ต่อมา มีชายคนหนึ่งได้มามอบตัวสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนวิชากับครูท่านนี้ด้วย เมื่อครูรับศิษย์แล้วเขาได้ตั้งใจเรียนและฝึกซ้อมด้วยความเอาใจใส่ ขยัน และยังรับใช้ใกล้ชิดช่วยปรนนิบัติครู จนครูมีความเมตตาต่อเขาอย่างมาก จึงถ่ายทอดวิชาที่มีให้แก่ศิษย์ผู้นี้โดยไม่ปิดบัง รู้อย่างไรมีฝีมืออย่างใดก็สอนและฝึกฝนให้ได้รู้ได้มีฝีมือเหมือนกับครูทุกประการจนศิษย์คนนี้มีความสามารถเก่งกาจที่คนทั้งหลายต่างยกย่องเลื่องลือว่ามีความรู้และความสามารถเทียบเท่ากับครูไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย
ศิษย์ของครูคนนี้ ครูต้องมีธุระต้องเดินทางไป ณ สถานที่แห่งหนึ่งซึ่งห่างไกลจากสำนัก จึงชวนศิษย์ผู้คิดปองร้ายไปเป็นเพื่อนร่วมเดินทางด้วย โดยไปกันเพียงสองคน เขาดีใจมากเพราะอาจมีโอกาสได้กำจัดครูในครั้งนี้ แต่ก็ระงับใจไว้ไม่แสดงอาการที่ผิดปกติให้ปรากฏ เมื่อเดินทางกันไปจนพ้นหมู่บ้านคนเข้าบริเวนป่าละเมาะระหว่างทางเป็นที่เปลี่ยว ชายผู้เป็นศิษย์ชั่วได้ถามว่า
“ข้าแต่ครู มีวิชาเพลงใดบ้างที่ครูยังไม่ได้สอนข้าพเจ้า ?”

ครูตอบตามตรงว่า“ไม่มีแล้ว ขึ้นชื่อว่าเพลงดาบที่ข้าศึกษาและฝึกฝนมา มีอยู่เท่าไรข้าได้ถ่ายทอดเทสอนเจ้าจนหมดสิ้นไม่มีเหลือ เมื่อตอบไปแล้วครูมีความสงสัยในคำถามขอศิษย์ จึงถามศิษย์บ้างว่า
“เจ้าถามเรื่องนี้ด้วยความประสงค์อันใด ?”

ศิษย์ทรยศฟังครูตอบด้วยความความดีใจรีบชักดาบที่สะพายอยู่ออกมา ถือกระชับมือมั่น ตอบครูว่า“ดีแล้ว ! ตาเฒ่า เมื่อสอนวิชาแก่ข้าหมดทุกอย่างแล้วก็ควรตายได้ อย่าอยู่ให้เป็นเครื่องขวางความเจริญของข้าเลย” พูดจบขยับตัวรำดาบเข้าหาครู

ครูดาบไม่มีอาวุธติดตัวมาด้วยเลย มีแต่ร่มกระดาษไม้ไผ่เล็ก ๆ ที่ถือกางแดดมาคันเดียว ได้โบกมือห้ามศิษย์เนรคุณและซักเพื่อทราบความต่อไปว่า
“เดี๋ยว ! เดี๋ยวก่อน ! เมื่อเจ้าจะทำร้ายข้าก็คงไม่ยากอะไรหรอก เพราะเจ้ายังหนุ่มอยู่ แต่ข้าแก่แล้ว เจ้ามีอาวุธคือดาบส่วนข้ามีเพียงรมกระดาษคันเดียวจะสู้เจ้าได้ไง ?
แต่ข้าอยากรู้ว่าข้าทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินจนเจ้าแค้นเคืองอย่างมากหรือ ? เจ้าจึงอาฆาตและต้องการฆ่าข้ารู้ตัวก่อนเถิด

ศิษย์เลวทรามผู้นั้นจึงชี้แจงว่า“เปล่า ! ตาเฒ่า... แกไม่ได้ทำอะไรล่วงเกินให้ข้าต้องแค้นเคือง” ศิษย์ชั่วตอบ “ถ้าอย่างนั้น เจ้าจะฆ่าข้าทำไม ?” ครูถามต่อไป“เวลานี้ข้ามีความรู้ทัดเทียมแกแล้ว หากแกยังมีชีวิตอยู่ข้าก็ไมมีโอกาสทำหน้าที่เป็นครูและยังมีผู้ที่เก่งเสมอกันเหลืออยู่ แต่ถ้าแกตายก็จะมีคนเก่งเฉพาะข้าเพียงคนเดียว ซึ่งไม่มีใครเทียมเท่าข้าจึงคิดมานานแล้วที่จะฆ่าแก และพึ่งได้โอกาสวันนี้เอง” พูดจบศิษย์ถ่อยผู้นั้นใช้ดาบของตนไล่ฟันครูตนเป็นพัลวัน

ครูได้ฟังรู้เรื่อง หมดความเมตตาต่อศิษย์ชั่ว คิดว่า “เป็นกรรมของสัตว์ บุญเขาหมดเพียงเท่านี้” เบี่ยงกายหลีกหลบคมดาบแล้วใช้น้ำเย็นล่อ โดยหลอกถามศิษย์ที่หวังร้ายต่อตนว่า
“ข้าสงสัย ดาบของเจ้าดูท่าจะไม่คมที่จะลิ้มเลือดในร่างข้ากระมัง ?”
“ไม่ต้องสงสัย อย่างเสียแกต้องตายแน่ในวันนี้ ดาบของข้าลับไว้คมกริบแล้ว” ศิษย์โง่หลุมพรางครูจึงพูดต่อว่า“เอาเถิด ถ้าเจ้าว่าดาบของเจ้าคมลองฟันร่มข้าดูซิว่าคันลมจะหักไหม ?”

พูดจบ ครูยกร่มที่หุบแล้วส่งยื่นล่อ ศิษย์ทรามผู้นั้นชะล่าใจยกดาบฟันฉับลงมาบนร่ม ซึ่งครูหลอกให้ฟันลงตรงท่อนปลาย พอเขาฟันลงครูก็ตวัดร่มรับให้คมดาบตัดปลายร่มขาดพอดีกับไม้ไผ่คันร่มที่ถือเอาไว้กลายเป็นปากฉลามคือเรียวแหลมแล้ว ได้ใช้ความรวดเร็วทิ่มปลายไม้ไปที่แหลมคมนั้นพุ่งสวนเข้าลำคอขอศิษย์ทรยศอย่างแรงสุดกำลัง โดยเขาไม่อาจป้องกันตัวได้ทันและไม่เคยเรียนวิธีแก้เรื่องนี้มาก่อนเลย ซ้ำเมื่อครูทิ่มปลายไม้ไปอันเป็นคันร่มนั้นเขาลำคอจนเป็นแผลลึกทะลุแล้ว ยังทิ้งคาคันร่มที่แทงให้ติดคอเขาอีก ได้รับความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างสุดแสน สิ้นกำลังไม่อาจทรงตัวยืนอยู่ได้ ล้มลงแทบเท้าครู คาบหลุดจากมือ แต่ก่อนเขาจะขาดใจตายเขายังมองดูหน้าของครู เห็นครูยิ้มกับเขา และแว่วได้ยินครูพูดกับเขาเป็นครั้งสุดท้ายว่า“วิชานี้ เรียกว่าวิชาไม้เล็กสู้ดาบ ข้าลืมไปไม่ได้สอนเจ้าเจ้าจึงยังไม่ได้เรียน ขาดอยู่เพียงวิชานี้วิชาเดียวแท้ ๆ นอกนั้นสอนเจ้าจนหมดสิ้นไม่เหลือ !”





" ศิษย์ที่ดี พึงจดจำ

ถึงสูงเยี่ยม เทียมฟ้า อย่าดูถูก
ครูซึ่งปลูก วิชา มาแต่หลัง
ศิษย์ไร้ครู อยู่ได้ ไม่จีรัง
อย่าโอหัง บังอาจ ประมาทครู
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูรัก
สักวันหนึ่ง คงประจักษ์ เป็นสักขี
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูดี
สักวันหนึ่ง คงได้ดี เพราะเชื่อครู "

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-18 17:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เอามาให้พิจารณา ครับ
ต่อไปในภาคหน้า จะคิดถึงคำสอนนี้ครับ
ยังอยู่ในใจเสมอครับ
เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัดงับ
รับทราบครับผม
ดีครับ ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้