ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

องค์ความรู้ควายไทย

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2.4 ส่วนลำตัว นับจากช่วงระหว่างขาหน้าถึงช่วงขาหลัง ดังนี้
1) ตะโหนก ต้องกว้าง หนาและสูงเล็กน้อยควายตัวผู้ถ้าตะโหนกบาง จะดูคล้ายตัวเมีย และส่วนใหญ่จะเป็นควายที่ตอนแล้ว
2) ลำตัว ต้องใหญ่ ยาวเสมอจากหน้าไปหลัง มีความหนาและลึก ถ้ามองจากด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกเต็มหน้า เต็มหลัง ต้องเป็นควายที่ช่วงลำตัวยาว เนื้อเต็มเสมอตั้งแต่ช่วงหน้าถึงช่วงหลัง และซี่โครงต้องจับสูง ทำให้ลำตัวกว้างและลึก ถ้าควายที่ซี่โครงจับสูง ประกอบกับสวาบแคบ จะดูอ้วนอยู่ตลอดเวลา
3) หลัง แนวสันหลังต้องขนานพื้น มีความกว้าง ยาว ตรง บางตัวสันหลังจะแตกเป็นร่อง เมื่อเทน้ำใส่สามารถขังน้ำได้ ซึ่งบางแห่งเรียกควายสันปลาบู่
4) ท้อง ดูกลมกลึง ท้องต้องยาวเสมอถึงซอกขาหน้า (ถึงอกลูกมะพร้าวหรือเสือร้องไห้) และซอกขาหลัง ไม่เป็นควายอกคอดกิ่วหรือเอวคอดกิ่ว เพศเมีย นิยมลักษณะท้องสำเภา คือ โค้งเหมือนท้องเรือสำเภา (กลางท้องจะต่ำนิดหน่อย และค่อยๆสูงขึ้นไปหาซอกขาหน้าและขาหลัง) ควายงาม จะมีขนใต้ท้องสีขาว ควายที่เรียกว่าพุงปลากด (คือพุงป่อง) จะตัวสั้น ไม่งามและให้เนื้อน้อย
5) สวาบ ควายงามสวาบต้องเล็ก ไม่กว้างและลึกมาก จะทำให้กินหญ้ากินอิ่มเร็ว เลี้ยงง่าย โตเร็ว แลดูอ้วนสมบูรณ์ตลอด ส่วนควายสวาบใหญ่ กว้างและลึก จะอ้วนช้า แม้จะกินหญ้ามากสวาบก็จะไม่เต็ม เหมือนกินอาหารไม่อิ่ม

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย metha เมื่อ 2014-3-26 02:26

2.5 ส่วนท้าย
1) สะโพก ควายงามสะโพกต้องกว้างและลึก โค้งมนสมส่วน เนื้อแน่นเต็ม ไม่แฟบ ไม่เรียวแหลม บางแห่งเรียกควายท้ายบาน (ปราชญ์ จ.อุทัยธานี)
2) ก้น ส่วนท้ายโค้งมนสมส่วน องศาลาดเอียงลงทางหางดูพอดี เรียกก้นมะนาวตัด คือโค้ง มนรับกันดีทั้งด้านบนและล่าง


3) หาง ควายงามโคนหางต้องใหญ่ ได้สัดส่วน เข้ารูปปิดก้นมิดชิด ข้อหางถี่ หางยาวเลยข้อพับเท้าหลัง ปลายหางเป็นพวงสวยงาม ปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควายที่มีโคนหางใหญ่เต็มเบ้า และหางที่ใหญ่ยาวนี้ จะเป็นควายที่โตเร็ว เลี้ยงง่าย
ควายที่เหง้าหางไม่เต็ม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ขี้อัดฟด หางหลมกล้องหรือหลมก้อง และควายที่มีหางสั้น ถึงส่วนอื่นจะดีอย่างไรก็ดูไม่งาม ที่สำคัญคือขนหางต้องไม่เป็นสีขาวด้วย
4) ขาหลัง โคนขาหลังใหญ่ ดูแข็งแรงรับกับสะโพก ตำแหน่งขาหลัง ได้สัดส่วนกับสะโพก ข้อขาหลังในเพศผู้ จะใหญ่กว่าเพศเมีย ข้อขาดูกลมกลืน ควายไม่งาม คือควายน่องแมว หรือควายกระน่องลิง เวลาเดินขาหลังบริเวณตั้งแต่ข้อเข่าลงมากระทบกัน
5) เล็บหรือกีบหลัง มีลักษณะสัณฐานเหมือนเล็บหน้า แต่โดยทั่วไปกีบหลังอาจยาว
กว่ากีบหน้าเล็กน้อย และเวลายืนกีบจะตั้ง (ขึ้นโคน) น้อยกว่ากีบหน้า
6) ตุ่มเท้าหรือนิ้วติ่งอีสานเรียกเล็บน้อย ต้องตรงและเวลาควายยืนตรงจะชี้ออกด้านอกเล็กน้อย และอาจยาวกว่าตุ่มเท้าของขาหน้าเล็กน้อยแต่จะไม่ยาวถึงพื้นเช่นกัน
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2.6) ระบบสืบพันธุ์
1) เพศเมีย
(1.1) อวัยวะเพศเมีย ต้องมีสีดำ สมบูรณ์ ใหญ่สมตัว มีสัณฐานเป็นรูป 3 เหลี่ยม (ส่วนบนเป็นฐาน ส่วนล่างคือปลายสามเหลี่ยม) และส่วนปลายไม่หักงอนขึ้น สัณฐานของอวัยวะเพศเมีย ในภาคต่างๆของประเทศ นิยมนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ ใบไม้ ต่างๆ เช่น เหมือนใบจาน (ต้นทองกวาว), ใบพลู (พลูกินหมาก) ดอกกล้วย (ปลีกล้วย) ใบโพธิ์ ดอกบัวหลวง หรือกีบม้า เป็นต้น
(1.2) เต้านมและหัวนม ฐานเต้านมไม่กว้างมาก ควายสาวหรือควายที่แห้งนมจะมองแทบไม่เห็น มีหัวนม 4 เต้า วางในตำแหน่งที่ห่างกันพองาม หัวนมไม่ใหญ่และยาวเกินไป
2) เพศผู้
(2.1) อัณฑะ ลูกอัณฑะใหญ่สมบูรณ์ และตรงเท่ากันสองข้าง ไม่บิดเบี้ยว ไม่หย่อนยาวมาก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ควายไทยตามที่กล่าวมาแล้ว ควายที่ลูกอัณฑะบิด มักจะนิสัยดื้อ ไม่เชื่อฟัง ฝึกยาก อาจชนคนเลี้ยง และไม่เหมาะในการใช้ทำเป็นพ่อพันธุ์
(2.2) ลึงค์ ใหญ่ ยาวสมส่วน และชี้ตรงไปข้างหน้า ปลายลึงค์หย่อนเล็กน้อย ประมาณ 1 นิ้ว ถ้าปลายลึงค์หย่อนยาวมาก จะดูไม่งาม

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2 องค์ความรู้การคัดเลือกควายงาน
การคัดเลือกควายเพื่อใช้งาน ปราชญ์ภูมิปัญญามีหลักการ ดังนี้
1. หน้าตา หัว หู เขา คอ ควายใช้งานดีหน้าค่อนข้างยาว หน้าบาง ไม่หน้าสั้น มีหูเล็กและตั้ง ถ้าหูตกจะแสดงถึงความขี้เกียจ ลักษณะเขา แม้ไม่เกี่ยวกับการใช้งานโดยตรงแต่เกี่ยวกับคนเลี้ยง ดังนั้น ควายงานก็ต้องมีเขางามเหมือนควายงามตามอุดมคติ ยกเว้นหาไม่ได้ก็จำเป็นที่จะใช้ควายที่มีเขาแบบอื่นๆ ขอให้ใช้งานได้ ลักษณะคอ ต้องเป็นคอปลาหมอหรือคองูสิงห์ คือคอเป็นรูปสามเหลี่ยม ไม่หนาไม่ยาวมาก เวลาใส่แอกแล้วจะ ไม่หลุดง่าย
2. อุปนิสัย อารมณ์ นับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับควายงาน โดยในอดีตควายที่จะมาฝึกใช้งานจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลและสังเกตพฤติกรรมตั้งแต่เล็ก ควายที่มีนิสัยเชื่อง ท่าทางฉลาดและเป็นมิตรกับเจ้าของ จึงจะถูกเลือกนำมาฝึกเพื่อใช้งาน
3. ขวัญ ควายใช้งานกับลักษณะขวัญ มีความสำคัญต่อเจ้าของมาก จึงต้องได้รับการตรวจสอบขวัญและตำแหน่งขวัญต่างๆ ควายที่มีขวัญดีตามตำราเท่านั้น จึงจะถูกเลือกมาฝึกใช้งาน
4. โครงสร้างลำตัว ควายงานนิยมที่ลำตัวยาว หน้าอกกว้างเต็ม ไหล่ใหญ่ หลังแบนและกว้าง ปราชญ์เห็นว่าควายทำงานดี ไม่ใช่ควายอ้วน เพราะนอกจากอุ้ยอ้ายแล้ว เวลาทำงานก็จะร้อนเร็ว ทำงานไม่ทน โดยมีภูมิปัญญาเพิ่มเติม ดังนี้
1) ควายที่ลำตัวยาว เรียกควายสองช่วงหรือควายสองท่อน จะเดินดี ทำงานเร็ว (ก้าวแต่ละก้าวจะไถได้ระยะทางมากกว่าควายตัวสั้น)
2) ควายหลาบเสือ คือลักษณะตัวบางเหมือนเสือ ซี่โครงจะจับต่ำไม่กางออก ควายประเภทนี้จะไม่อ้วนอุ้ยอ้าย ทำงานคล่องกว่าควายที่อ้วน และหลังมีลักษณะโกง (โค้ง) เล็กน้อย
ขนาดและน้ำหนัก ควายงาน นิยมควายที่ไม่สูงมาก จะแข็งแรง ทนงานหนักดีกว่าควายสูง และน้ำหนักไม่มากเกินไป (สอดคล้องกันทุกภาค) ขนาดควายงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ เพราะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไถ และคราด รวมถึงกำลังของผู้บังคับใช้งานด้วย

15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. ท่าทางการยืน การยืนอาจไม่สง่าเหมือนควายงามตามอุดมคติ แต่ควายงานจะเน้นลักษณะการเดินเป็นสำคัญ โดยจะเน้นการคัดเลือกควายที่เดินเร็ว เดินคล่องแคล่ว และช่วงก้าวเดินรอยเท้าหลัง ต้องก้าวเลยรอยเท้าหน้า นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาในการคัดเลือก ดังนี้
1) ควายงานต้องเดินยก เดินดี
2) ท่าทางแคล่วคล่อง เวลายืนหัวยก เวลาเดินขาไม่เก
3) ควายที่จะเดินดี ใช้งานดี เวลาเลี้ยงจะไม่ชอบอยู่หลังเพื่อน
4) เวลาก้าวเดินรอยเท้าหลังไม่ย่ำลงตรงรอยเท้าหน้า ทำให้ได้ระยะไม่ไกลในเวลาที่เท่ากัน
5) ขายาว ก้าวยาว เดินตรง เวลาเดินขาไม่เบียดหรือเสียดสีกัน
7. สี/ลักษณะขน/ลักษณะหนัง ลักษณะทั่วไปถ้าเลือกได้ก็จะเลือกเหมือนควายงาม โดยมีภูมิปัญญาเพิ่มเติม คือ
1) บางแห่งเชื่อว่าสีเลา ใช้งานดี ไม่พยศ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทนร้อน เพราะโดยลักษณะสีของหนังหรือขนที่จางกว่า ทำให้ดูดกลืนรังสีความร้อนได้น้อยกว่าสีดำเข้ม แต่ปราชญ์ที่จังหวัดสุรินทร์กล่าวว่าควายสีดำจะแข็งแรงกว่าควายสีอื่นๆ
2) หนังหนา พุงปลากด ใช้งานไม่ดี (ลักษณะควายตัวสั้น)
3) ควายขนสั้น ใช้งานดีกว่าขนยาว ถ้าเป็นควายขนค่าง (ลิง ค่าง บ่าง ชะนี) คือ มีขนที่ยาว เส้นขนอ่อน จะเป็นควายที่ไม่ทนแดด ร้อนง่ายไม่อดทน
4) ขนเรียบ เส้นใหญ่พอดี
5) ควายที่ผิวหนังบางและอ่อนนุ่ม ส่อลักษณะว่านอนสอนง่าย
8. จมูก ปราชญ์ชาวบ้านทุกภาคให้ข้อมูลภูมิปัญญาตรงกัน คือ ควายใช้งานดี ไม่ใช่ควายที่รูจมูกใหญ่ แต่ควายที่ทำงานดี อดทน และไม่หอบง่าย คือ รูจมูกจะต้องไม่ใหญ่เกินไป รูจมูกมีลักษณะแบน ในขณะที่รูจมูกกลมใหญ่จะไม่ทนแดด และหอบเร็ว
9. ขา ขาใหญ่ ดูกระดูกแข็งแรงทั้งขาหน้าและขาหลัง ขาไม่สั้นเกินไป ขาหน้าตรง ขาหลังงอเล็กน้อย (เรียกว่าขาขอ) ควายงานขาหลังจะไม่งาม ก้าวจะยาว เดินเร็ว ได้งานมาก ส่วนขากะน่องลิง หรือกะน่องแมว เวลาเดินขาหลังจะกระทบ เสียดสีกัน ไม่ดี และไม่มีใครนิยมใช้ควายที่ขากระตุก หรือควายขาทกมาฝึกใช้งาน
10. เล็บเท้า (กีบ) เล็บเท้าหน้ากลมโต ยืนกีบตั้งตรง เรียก เล็บย่องหรือเล็บหยั่ง (ตั้ง) ข้อเท้าดูแข็งแรง เล็บหลังไม่เก อุ้งกีบต้องใหญ่ เวลาไถนาขาจะไม่จมโคลน (แต่เวลาเดินบนพื้นดินเรียบ จะเดินช้ากว่าควายกีบเล็ก) กีบไม่มีรอยแตก ถ้าเล็บยาว แบะเหมือนตีนเป็ด หรือก้ามปู จะชอบเจ็บเท้า เดินไม่ดี ไม่เกาะดิน
11. หาง นิยมควายหางเต็มเบ้า หางยาวและขนหางยาว ซึ่งจะใช้ไล่แมลงได้ดี โดยเฉพาะการทำงานในช่วงเช้าและเย็น ควายจะถูกรบกวนด้วยเหลือบ ริ้น ตลอดเวลา โดยไม่ค่อยพบเกษตรกรใช้ควายที่ขนหางสีขาวมาฝึกหัดใช้เป็นควายงาน
12. อวัยวะเพศ ผู้/เมีย ควายงานเพศเมีย คัดเลือกตามลักษณะควายแม่พันธุ์ ส่วนควายเพศผู้ก็จะดูลักษณะต้องห้ามหรือลักษณะที่เป็นกาลกิณีที่เกี่ยวข้อง เช่น ควายลูกอัณฑะบิด หรือ มีปลายลึงค์ดำ ก็ไม่นิยมนำมาฝึกใช้งาน เนื่องจากจะเป็นควายดื้อ พยศ

16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3 องค์ความรู้เรื่องขวัญควาย
ขวัญ เป็นลักษณะของขนบนร่างกายที่ขดเป็นวง อาจเวียนซ้ายหรือเวียนขวา ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของควายไทย ปราชญ์บางท่านระบุว่าขวัญดีจะเวียนขวา(ประทักษิณ) โดยควายจะมีขวัญตามร่างกายตั้งแต่ 1-9 แห่ง อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน จึงใช้ขวัญเป็นเครื่องหมายของควายแต่ละตัวได้ ซึ่งเดิมมีการใช้ขวัญเป็นเครื่องหมายกำหนดรูปพรรณประจำตัวตัวควาย ซึ่งจากการประเมินลักษณะ
ภายนอก ได้ทำการสำรวจตำแหน่งขวัญควายแบบคร่าวๆ พบว่าตำแหน่งขวัญจะพบมากบริเวณใบหน้าตรงบริเวณหน้าผากเกือบทุกตัว และบริเวณไหล่หน้าก็จะมีเป็นส่วนใหญ่ ควายงามที่สมบูรณ์พร้อมจริงๆ ปราชญ์ภูมิปัญญาไทยทั้งหลาย เชื่อว่าจะต้องมีขวัญดีประกอบ ซึ่งขวัญที่ดีเป็นมงคล จะช่วยส่งเสริมให้ควายมีความงามสง่า ถูกตาต้องใจของผู้คน และขายได้ราคาสูงกว่าควายทั่วไป

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-26 02:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4 องค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอัปมงคลหรือลักษณะต้องห้าม
นอกจากลักษณะขวัญที่ดีแล้ว ก็จะมีการดูลักษณะที่เป็นกาลกิณี คือไม่เป็นมงคล ซึ่งจะทำให้ส่งผลเสียต่อเจ้าของ ซึ่งปราชญ์ชาวบ้านระบุว่าลักษณะกาลกิณี ได้แก่ กระดูกหลอด(กระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายสั้นไม่สมบูรณ์) ขนหางขาว นอนกรน นอนคราง เป็นต้น

ขอบคุณครับ อนาคตคงเป็นสัตว์  หายยาก แน่ๆเจย
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้