ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3092
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มหาตมา คานธี นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ

[คัดลอกลิงก์]
มหาตมา คานธี นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย

          วันนี้ หรือ 2 ตุลาคม เมื่อ พ.ศ. 2412 (ค.ศ.1869) เป็นวันเกิดของเด็กน้อยตัวเล็ก ๆ ชาวอินเดียคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีใคร คาดคิดว่าเขาจะกลับกลายเป็น "รัฐบุรุษเอก" ของโลกท่านหนึ่ง โดยมี "ศาสนา" เป็นเครื่องมือบริหารบ้านเมือง จนได้รับการขนานนามและยกย่องให้เป็นมหาบุรุษ "บิดาแห่งประชาชาติ" ของอินเดียนามว่า "มหาตมา คานธี" ซึ่งตลอดชีวิตของท่าน ได้อุทิศตนเพื่อต่อสู้ เพื่อปลดปล่อยประชาชนชาวอินเดีย ให้พ้นจากการกดขี่ข่มเหงตามวิถีทางแห่งอหิงสา และหลักสัตยาเคราะห์

          วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปรู้จัก วันเกิดของมหาตมา คานธี ประวัติของ มหาตมา คานธี …ผู้ที่ยิ่งเล็ก...ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่ยิ่งจน...ที่ยิ่งรวย กันค่ะ...

          มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักท่านในนามของ "นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ท่านเป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 หรือครบรอบ วันเกิดของมหาตมา คานธี  ณ เมืองโปรพันทระ ในแคว้นคุชราต ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของ กบา คานธี บิดาของ คานธี

          โดยในวัยเด็ก คานธี ถูกส่งตัวไปเรียนหนังสือ แต่เขาไม่สามารถจำหรือเรียนรู้อะไรได้เลย จนเขาคิดว่าตนเองนั้นคงโง่ และความจำแย่มาก ทำให้การเรียนหนังสือสำหรับเขา ไม่มีอะไรที่น่าสนใจเลย นอกจากนี้ คานธี เป็นเด็กขี้อายมาก จึงไม่ค่อยจะมีเพื่อน และไม่ไว้ใจใครแม้กระทั่งครู แต่สุดท้าย คานธี ก็พยายามที่จะเรียนรู้ สุดท้ายสามารถเรียนดี จนทำให้เขาได้รับรางวัลเรียนดี และได้รับทุนเรียนดีด้วย

          ใน ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธี มีอายุ 13 ปี (ยังเรียนในโรงเรียนชั้นมัธยม) ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อ กัสตูรบา ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็ว ๆ คานธี มีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธี และ กัสตูรบา มีบุตร-ธิดารวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่งได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารก ทำให้เหลือ 4 คน

          ต่อมาใน ค.ศ. 1888 ทางครองครัวได้ส่ง คานธี ไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธี ได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุรา และจะไม่ยุ่งเกี่ยวเกาะแกะกับสตรี เพื่อให้มารดาได้อุ่นใจ และเมื่อไปถึงอังกฤษ คานธี ได้พบกับปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิต นั่นคือ วัฒนธรรม มารยาท สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในอังกฤษนั้นไม่เหมือนอินเดีย คานธี ต้องระวังตนในเรื่องมารยาท ซึ่งจะมาทำตามคนอินเดียเหมือนเดิมไม่ได้ คานธี ต้องปรับตัวบุคลิกต่าง ๆ ให้เข้ากับคนอังกฤษให้ได้

          นอกจากนี้ อาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ในอังกฤษสมัยนั้นรสชาติจะจืดมาก คานธี จะกินเนื้อสัตว์ก็ไม่ได้ เพราะให้สัญญากับมารดาไว้แล้ว และ คานธี ก็ได้มีโอกาสรู้จักกับอาหารมังสวิรัติ คานธี จึงได้มีวิธีรับประทานมังสวิรัติอย่างเป็นสุขในอังกฤษ และในที่สุด คานธี ก็สำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเมื่อได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว คานธี ก็เดินทางกลับสู่อินเดียใน ค.ศ.1892 เพื่อประกอบอาชีพ

ที่มา http://hilight.kapook.com/view/42091


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 19:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


          การประกอบอาชีพในช่วงแรกของ คานธี นั้น ประสบความยากลำบากพอสมควร แต่ต่อมา คานธี ได้ไปเป็นทนายความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้น ใน ค.ศ.1893 คานธี ได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยเมื่อเดินทางไปถึง คานธี ได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปยังเมืองที่ลูกความต้องการ

          แต่ทว่า ผู้โดยสารชั้น First Class ที่เป็นคนผิวขาว ไม่พอใจที่คนผิวคล้ำอย่างคานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขา จึงไปประท้วงบอกเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงเดินมาสั่งให้ คานธี ย้ายตู้โดยสารไปโดยสารตู้ของ Third Class (ชั้นไม่สะดวก ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้ง ๆ ที่ คานธี เสียเงินซื้อตั๋ว First Class มาอย่างถูกต้อง คานธี จึงปฏิเสธ ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด คานธี ก็ถูกเจ้าหน้าที่รุมทำร้าย และ คานธี ก็ถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าที่ต่างอ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น เหตุการณ์นี้ทำให้ คานธี เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้ และเมื่อ คานธี รู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่จบง่าย ๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียใน ค.ศ. 1896 เพื่อพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่แอฟริกาใต้

          ใน ค.ศ. 1901 คานธี เดินทางกลับอินเดียเพื่อกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้กลับมาช่วยเหลือ คานธี จึงเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้อีกครั้ง โดยใช้วิธี "สัตยาเคราะห์" ซึ่งคือ "การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง" และวิธีนี้ได้ผลดีมาก ทำให้ คานธี รู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด และได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม  

          ใน ค.ศ. 1915 คานธี เดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ โดยตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตก และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต ซึ่งการเดินทางกลับมาครั้งนี้ มีชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับ จากนั้น คานธี ได้เดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และที่ รพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า "มหาตมา" (มหา + อาตมา = ผู้มีจิตใจสูง) อันแปลว่า "ผู้มีจิตใจสูงส่ง" ให้แก่ คานธี เป็นคนแรก จากนั้น คานธี ก็เริ่มออกเดินทางไปทั่วประเทศอินเดีย เพื่อไปรู้เห็นความเป็นจริงในอินเดีย

          ใน ค.ศ. 1916 คานธี เริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อย จนเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ และสั่นคลอนประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย โดย คานธี ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน เพื่อสั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษ แล้วประชาชนเป็นล้าน ๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวคานธี

        และเมื่อ คานธี ถูกจับกุม ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น จนเกือบกลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลัง คานธี ได้รับอิสระในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดบานปลายนี้ คานธี รู้สึกเสียใจมาก จึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วัน แต่ในวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์ของอินเดีย ประชาชนนับพันคนจึงไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ ขณะเดียวกัน นายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษ ในอมฤตสระ รู้สึกเคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษ จึงออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชนในชัลลียันวาลา ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บกว่า 3,000 คน เหตุการครั้งนี้นับว่าเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศมากที่สุดครั้งหนึ่ง



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 19:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


          การต่อสู้เพื่อคนอินเดียดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ใน ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธี ถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปีแต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนด เพราะเหตุผลทางสุขภาพ ใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธี ก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน และใน ค.ศ. 1930 คานธี ก็หวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอีกครั้ง เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง

          โดยวันที่ 12 มีนาคม คานธี ได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคน ซึ่ง คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธี บอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้ ทางการอังกฤษจึงจับกุม คานธี และประชาชนนับแสนคน ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทำให้เกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง  ต่อมา ค.ศ. 1931 รัฐบาลอังกฤษได้ปล่อยตัว คานธี จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คานธี เข้าร่วมมีการเดินขบวนรณรงค์ จนถูกจับอีก แต่ครั้งนี้ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาของ คานธี ได้เสียชีวิตลง และใน ค.ศ. 1944 คานธี ก็ถูกปล่อยตัว

          ใน ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง แต่ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรก ๆ ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ว่า ระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป

         แต่ใน ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธี รู้สึกเสียใจมาก จึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียที่เคารพนับถือ และรัก คานธี เห็นเช่นนี้จึงเลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้ ต่อมามีการเจรจาตกลง โดยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู เป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรส แล้วพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม ให้เป็นประเทศปากีสถาน ปกครองโดยสันนิบาตมุสลิม

          ในที่สุด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ท้องที่ ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ทั้งสองประเทศจึงจัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่ คานธี ไม่ได้เข้าร่วมการเฉลิมฉลองดังกล่าว เขากลับเดินทางไปยังกัสกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธี ไปขอร้องให้หยุดสู้กัน แต่ไม่เป็นผล เขาจึงประกาศอดอาหารอีก ซึ่งครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที
          ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้ง ๆ ที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู แต่องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธี จึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง

         และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ช่วงตอนเย็น คานธี อยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร และขณะที่ คานธี กำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่ คานธี 3 นัด จนล้มลงสิ้นลมหายใจในวัย 78 ปี

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 19:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผลงานที่ผ่านมาตลอดชีวิตของ มหาตมา คานธี โดยสังเขป…

          2446 ก่อตั้งสมาคมอินเดียแห่งนครทรานสวาล เริ่มออกวารสาร Indian Opinion

          2447 ศึกษาคัมภีร์ภควัทคีตาและหนังสือ Unto This Last ทำให้เกิดการก่อตั้งนิคม Phoenix

          2449 เกิดการกบฎ Zulu คานธีได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และตั้งปณิธานประพฤติพรหมจรรย์ รวมถึงบัญญัติคำว่า "สัตยาเคราะห์"

          2448 เริ่มปฎิบัติบัติการสัตยาเคราะห์ต่อต้าน "กฎหมายทมิฬ"

          2452 แต่งหนังสือเรื่อง "ฮินฺดู สฺวราชฺย" (อินเดียปกครองตนเอง)

          2456 ปฎิบัติการสัตยาเคราะห์จนถูกจับและได้รับการปล่อยตัว อดอาหาร 7 วัน และหลังจากนั้นก็รับประทานอาหารวันละมื้อ เป็นระยะเวลา 4 เดือน

          2457 อดอาหาร 14 วัน ผลจากการปฎิบัติสัตยาเคราะห์เป็นผลสำเร็จมีการออมชอมกัน ระหว่างอังกฤษกับอินเดีย

          2458 ได้รับเหรียญเกียรติคุณ “ไกสเร ฮินฺดู” จากรัฐบาลอังกฤษ

          2463 เขียนธรรมนูญให้พรรคคองเกสแห่งชาติ เริ่มขบวนการไม่ร่วมมือกับรัฐบาล

          2464 ก่อตั้งสถาบันการศึกษานิยมแห่งชาติทั่วประเทศอินเดีย ให้ไม่ร่วมมือกับรัฐบาลในการต้อนรับ มงกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ซึ่งจะเสด็จประพาสอินเดีย โดยการร่วมกันอดอาหารประท้วง เป็นเวลา 5 วัน

          2470 เดินทางทั่วประเทศอินเดียเพื่อส่งเสริมการปั่นด้ายด้วยมือ

          2472 พรรคคองเกสแห่งชาติ มีการประชุมที่เมืองลาศอร์ มีญัตติให้อินเดียต่อสู้เพื่อเอกราช

          2473 ประกาศการต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 มกราคม โดยคานธีนำขบวนเดินทาง ไปที่เมืองฑัณที แต่ถูกจับกุมตัว และถูกปล่อยตัวในปีต่อมา

          2476 เริ่มออกวารสาร "หริชน" ถูกจับกุมและตัดสินจำคุก 1 ปี จึงประกาศอดอาหารตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ต่อมามีการตกลงกันได้กับฝ่ายรัฐบาล จึงยกเลิกการอดอาหารและถูกปล่อยตัว พร้อมทั้งย้ายไปอยู่ที่วรธา เดินทางไปยังภาคต่าง ๆ ของอินเดียเพื่อยกระดับฐานะของชนชั้นวรรณะต่ำต้อย (หริชน)

          2484 ประกาศยกเลิกการเป็นผู้นำพรรคคองเกสแห่งชาติ และจัดตั้งองค์การพิทักษ์วัว เมื่อวันที่ 30 กันยายน

          2485 ยอมกลับมาเป็นผู้นำพรรคคองเกสอีกครั้ง พร้อมทั้งประกาศให้อังกฤษถอนตัวจากอินเดีย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม

          2489 อังกฤษส่งคณะรัฐมนตรีมาเจรจาเรื่องให้เอกราชแก่อินเดียสันนิบาตมุสลิม เริ่มปฎิบัติการ "Direct Action" เพื่อแบ่งแยกอินเดียออกมาเป็นปากีสถาน ชาวฮินดูกับมุสลิมเริ่มประหัตประหารกัน คานธีออกมาเดินทางด้วยเท้าเปล่า (บาทยาตรา) ไปเมืองโนอาขาลี เพื่อยับยั้งมิให้ฮินดู-มุสลิมประหัตประหารกัน

          2490 อินเดียฉลองเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม แต่ว่าคานธีอดอาหารต่ออีก 73 ชั่วโมง เพื่อเรียกร้องมิให้ฮินดู-มุสลิม ฆ่าฟันกันในนครกัลกัตตา

          2491 ประกาศอดอาหารเพื่อวิงวอนให้ฮินดูกับมุสลิม หยุดการปะทะกันในนครเดลฮี อดอาหารได้ 5 วัน ชุมชนทั้งสองก็หยุดประหัตประหารกัน
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-23 19:58 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


          การต่อสู้เพื่อคนอินเดียดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ใน ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธี ถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปีแต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนด เพราะเหตุผลทางสุขภาพ ใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธี ก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน และใน ค.ศ. 1930 คานธี ก็หวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอีกครั้ง เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง

          โดยวันที่ 12 มีนาคม คานธี ได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคน ซึ่ง คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธี บอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้ ทางการอังกฤษจึงจับกุม คานธี และประชาชนนับแสนคน ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทำให้เกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง  ต่อมา ค.ศ. 1931 รัฐบาลอังกฤษได้ปล่อยตัว คานธี จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คานธี เข้าร่วมมีการเดินขบวนรณรงค์ จนถูกจับอีก แต่ครั้งนี้ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาของ คานธี ได้เสียชีวิตลง และใน ค.ศ. 1944 คานธี ก็ถูกปล่อยตัว

          ใน ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง แต่ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรก ๆ ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ว่า ระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป

         แต่ใน ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธี รู้สึกเสียใจมาก จึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียที่เคารพนับถือ และรัก คานธี เห็นเช่นนี้จึงเลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้ ต่อมามีการเจรจาตกลง โดยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู เป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรส แล้วพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม ให้เป็นประเทศปากีสถาน ปกครองโดยสันนิบาตมุสลิม

          ในที่สุด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ท้องที่ ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ทั้งสองประเทศจึงจัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่ คานธี ไม่ได้เข้าร่วมการเฉลิมฉลองดังกล่าว เขากลับเดินทางไปยังกัสกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธี ไปขอร้องให้หยุดสู้กัน แต่ไม่เป็นผล เขาจึงประกาศอดอาหารอีก ซึ่งครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที
          ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้ง ๆ ที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู แต่องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธี จึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง

         และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ช่วงตอนเย็น คานธี อยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร และขณะที่ คานธี กำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่ คานธี 3 นัด จนล้มลงสิ้นลมหายใจในวัย 78 ปี

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้