ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
จุดกำเนิด ข้าวหอมมะลิ อันเลื่องชื่อ
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2014
ตอบกลับ: 0
จุดกำเนิด ข้าวหอมมะลิ อันเลื่องชื่อ
[คัดลอกลิงก์]
lnw
lnw
ออฟไลน์
เครดิต
1686
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-3-7 10:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
จุดกำเนิด ข้าวหอมมะลิ อันเลื่องชื่อ
ข้าวหอมมะลิ นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิและส่งออกมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้วโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นข้าวหอมมะลิ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ ๑๕ เท่านั้น
ในปี พ.ศ ๒๔๙๓–๒๔๙๔ *นายสุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงานข้าว ฯ ของกรมการข้าวฯ ในสมัยขณะนั้น โดยประจำอยู่ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับมอบหมายให้ออกไปเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคตะวันออก ในอำเภอบางคล้า ด้วยการคัดเก็บเอารวงข้าวจำนวน ๑๙๙ รวง ซึ่งเป็นข้าวที่มีความหอมและเรียกกันว่า " ข้าวหอมมะลิ " ทั้งหมดถูกเก็บและได้ระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ตามลำดับ
จากนั้น จึงส่งไปปลูกเพื่อคัดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี และต่อมาในปี ๒๕๐๐ พันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ผ่านการคัดเป็นพันธุ์บริสุทิ์แล้วถูกนำไปปลูกทดลองและทดสอบในพื้นที่ปลูกข้าวภาคต่างๆ พบว่า ในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิ ที่เป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า) เป็นรวงที่ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ดินทรายโดยเฉพาะในภาคอีสาน จะเป็นเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์และความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บเหมือนเดิม
ในปีพ.ศ.๒๕๐๒ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นี้ ได้รับรองให้เป็นข้าวหอมพันธุ์ที่มีชื่อขาวดอกมะลิ ๑๐๕ * เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
โดยเริ่มแรกให้ชื่อว่า ขาวดอกมะลิ ๔-๒–๑๐๕ [ ในยุคสมัยนั้น ]
ในเชิงสัญญลักษณ์ ก็มีความหมาย คือ ว่า ......
หมายเลข ๔ หมายถึงอำเภอที่เก็บมา อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ
หมายเลข ๒ หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอำเภอนั้น คือ หอมมะลิ และ หมายเลข ๑๐๕ ก็คือ ....
ตำแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิที่เก็บในที่นั้น ซึ่งเป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า) คือ หอมมะลิ ซึ่งมีที่มาจากความขาวของเมล็ดข้าว และความหอมที่คนไทยมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ไทยในขณะนั้น
โดยคนไทยจะใช้ดอกมะลิที่มีสีขาวสำหรับบูชาพระ เป็นสิ่งมงคลและความประทับใจคล้าย ๆ กัน
จากความหมายในเชิงสัญญลักษณ์ดังกล่าวนี้ จึงมีผู้นำมาใช้เป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมของไทย เหตุผลที่ข้าวพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปขยายผล เพราะเป็นข้าวที่มีความโดดเด่น ในรูปลักษณ์และรสชาติ ซึ่งเป็นผลดีทั้งในด้านความหอมและความนุ่มของรสชาติจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดเรื่อยมา
จากคำบอกเล่าถึงแหล่งข่าวได้มา ว่ากันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ได้ทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นเวลานานหลายปี แต่เมื่อถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม และจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดในภาคอีสาน
ต่อมา ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่ มีการประชาสัมพันธุ์และโน้มน้าว พี่น้องชาวอีสาน จนกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ขยายผลได้ในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดเรื่อยมา จึงเป็นที่รู้จักและเนที่นิยมเพาะปลูกกันไปทั่วในพื้นที่ภาคอีสาน [ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ]
ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจทางธรณีวิทยา ในการปลูกเชิงการเกษตรเป็นเวลานาน ทำให้รู้ว่า ว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมากเพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะมีดินจะมีความเค็มเป็นพิเศษ สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ เป็นอย่างยิ่ง กว่าภาคใดๆ ของประเทศ
นอกจากนี้ ธรรมชาติในภาคอีสาน ยังเป็นพื้นที่ฝนแล้งที่สุดในประเทศ และขณะเดียวกัน ภาคอีสานก็ยังเป็นพื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมมากที่สุดในฤดูฝน อีกเช่นกันฯ
“ เพราะฉะนั้น แล้ว คำถาม ..และคำตอบ เรื่อง ความแห้งแล้ง และ ความอุดมสมบูรณจึงเป็นคำตอบดียวกัน .. ”
อ้างอิง :
http://www.oknation.net/blog/konthai.../08/07/entry-1
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...