ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5447
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพราย

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-3-5 10:26

ตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพราย





เป็นตะกรุดพิเศษดอกเดียวที่มีชื่อเสียงทั่วภาคเหนือในสมัยเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสำหรับผู้ต้องการแสวงหาวัตถุมงคลไว้ป้องกันตัว




หลวงปู่ชุ่มได้รับการถ่ายทอดวิชานี้มาจาก ท่านมหาเมธังกร จังหวัดแพร่ ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดหนังให้จนหมดสิ้น โดยท่านใช้เวลาศึกษาอยู่สองพรรษา เมื่อผู้คนได้ทราบว่าหลวงปู่ชุ่มท่านได้รับการถ่ายทอดวิชา การทำตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพรายนี้มา ต่างก็พากันมาขอจากท่าน ต่อมาจึงได้มีประสบการณ์เลื่องลือ ยืนยันถึงพุทธคุณในด้านคงกระพัน มหาอุด และยังมีด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย
หลวงปู่ชุ่มท่านได้เมตตาสร้างตะกรุดออกมาสงเคราะห์แก่ญาติโยม ลูกศิษย์ และผู้ศรัทธาทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 โดยในช่วงหลัง ราวๆ ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา พ่อหนานปัน จินา ลูกศิษย์ที่หลวงปู่ชุ่มได้ทำการครอบครูให้ เป็นศิษย์สืบทอดศาสตร์การสร้างตะกรุดหนังลูกควายตายพรายนี้แต่ผู้เดียว โดยจะเป็นผู้ทำการลงเลยยันต์ม้วนหนังความเป็นรูปตะกรุด หลังจากนั้นจึงปั้น (พอก) ครั่งอีกที
เคล็ดวิชานี้ ตามตำราระบุว่า ต้องใช้หนังลูกควายเผือกที่ตายอยู่ในท้องแม่ควายเผือกซึ่งตายทั้งกลม ที่สำคัญเขาลูกควายที่อยู่ในท้องต้องไม่ทะลุท้องแม่ควาย และวิธีพิสูจน์ว่าเป็นหนังควายเผือกแท้หรือไม่ ขณะทำการจารอักขระบนหนังควายนั้น หนังควายจะหมุน
หนังลูกควายตามลักษณะดังกล่าว สามารถนำมาทำตะกรุดได้เพียงประมาณ 200-300 ดอก

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 10:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-3-5 10:42

1.ตะกรุดหนังลูกควายตายพรายมีต้นตำรับสายวิชามาจากเมืองน่าน  ซึ่งในยุคนั้น โซนจังหวัดน่านมีผู้ก่อการร้ายชุกชุม(พื้นที่สีแดง)  ครูบาอาจารย์สมัยนั้น จึงเน้นสร้างเครื่องรางของขลัง ที่เกี่ยวกับ มหาอุด คงกระพัน โดยตะกรุดหนังฯ เป็นตะกรุดที่นิยมสร้างกันมากในเขต แพร่ น่าน โดยในยุคนั้น  ผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดถือว่าเป็นดั่งปรมาจารย์ทางวิปัสสนา และพระเวทย์(เปรียบเสมือน อ. ทองเฒ่า แห่งสำนักเขาอ้อ) อยู่ทาง จ.แพร่ เป็นสหธรรมิก ของครูบาเจ้าศรีวิชัยและวิชาที่โดดเด่น คือการทำตะกรุดหนังลูกควายตายพราย คือ  พระมหาเมธังกร  วัดน้ำคือ จ.แพร่ ครูบาชุ่มท่านได้ทราบชื่อเสียงของ พระมหาเมธังกร(หลวงปู่หมา)ในคราวที่ตามครูบาเจ้าศรีวิชัย มาบูรณะวัดพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดครูบาเจ้า ศรีวิชัย จนเมื่อปลงพระศพสรีระครูบาเจ้าศรีวิชัยแล้ว ครูบาชุ่มท่านเดินทางมาศึกษาวิชากับหลวงปู่พระมหาเมธังกรเป็นเวลา 2ปี



2.  ครูบาชุ่ม ท่านได้ เรียนวิชานี้ มาจาก พระมหาเมธังกร   โดยมีศิษย์ร่วมเรียนกัน (ทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้อง ) ที่มีการค้นคว้ามาพอได้สังเขปคือ



                  1.ครูบา สิทจิ๊ ไจยา (เป็นพ่อครู ของครูบาอินสม วัดเมืองราม จ.น่าน)
                  2.ครูบา อินต๊ะวงค์ปู๋เผือก วัดแสงดาว จ.น่าน
                  3.ครูบา กั๋ญจ๊ะณะวงค์  วัดม่วงตึ๊ด
                  4.ครูบา ขัตติยะวงค์ วัดท่าล้อ จ.น่าน
                  5.ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก ( ผู้เป็นพ่อครูบาอาจารย์ ของครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว หรือครูบาวัดดอนตัน  ท่าวังผา จ.น่าน )
                  6.ครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว หลวงพ่อวัดดอนตัน ท่านก็ทำตะกรดหนังพอกครั่งเช่นกัน แต่ท่านสืบตำรามาจาก ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก ไม่ได้สืบตำรากับพระมหาเมธังกรโดยตรง
                  7.ครูบา อาทะวงค์ วัดน้ำปั๊ว อ.สา จ.น่าน
                  8.ครูบา ธรรมจัย วัดศรีนาป่าน
                  9.ครูบา พรหมมา วัดบ้านก๋ง ท่าวังผา จ.น่าน (ครูบาวัดบ้านก๋ง ผู้เป็นอาจารย์ ของครูบา มนตรี วัดพระธาตุศรีสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่ )
                 10.ครูบา อินสม วัดเมืองฮาม (เมืองราม)
                 11. ครูบา ปัญญา วัดซ้อ
                 12.ครูบา บุญเยี่ยม วัดเชียงของ อ.นาน้อย
                 13.ครูบา วงค์  วัดเชียงของ อ. นาน้อย
                 14.ครูบา อินต๊ะยศ วัดไทรหลวง
                 15.ครูบา อินหวัน วัดอภัยคีรี ( พ่อครูอาจารย์ของ ครูบา วัดศรีบุญเรือง)
                 16.ครูบา วัดศรีบุญเรือง จ.น่าน ท่านก็สร้างตะกรุดหนังและสืบตำรามาจาก ครูบา อินหวัน


ครูบาที่เอ่ยนามมานี้ท่านได้สร้างตะกรุดหนังมาเหมือนกัน รวมทั้งที่ยังไม่ได้เอ่ยนามอีกมาก ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่เก่าตรงสมัยกับ หลวงปู่มหาเมธังกร และหลวงปู่ ชุ่ม โพธิโก อีกด้วย




3.  โปรดใช้วิจารณญาณไตร่ตรองว่า  ตะกรุดหนังฯที่ทำในยุคนั้น โดยครูบาอาจารย์ท่านอื่นตามข้อ 2 นั้น  ณ ปัจจุบัน จะมีอายุอานามเท่าไหร่ จะปรากฏ ธรรมชาติความเก่าหรือไม่



4.  ในส่วนของครูบาชุ่ม  หลังจากที่ได้ศึกษา  วิชาการทำตะกรุดหนังฯ มาแล้ว  ท่านยังไม่ได้ทำตะกรุด เพราะว่ายังไม่พบหนังลูกควายตายพรายตามตำรา   จนมาเมื่อปี 248 กว่า  และปี 2510 ,  2518 ,  2519   ท่านจึงได้สร้างตะกรุดหนังฯขึ้นมา เพราะได้หนังลูกควายตายพรายตามตำรามา  ( ได้หนังฯมา 4 ครั้ง  แต่ละครั้ง ได้หนังมาประมาณ ฟุตกว่า ๆ เพราะเป็นหนังลูกควายที่ตายขณะอยู่ในท้องนะครับ ตัวไม่โตนะครับ บางคนเข้าใจว่าเอาทั้งแม่และลูกควาย ขอย้ำ เอาเฉพาะลูกควายที่อยู่ในท้องแม่นะครับ  และในปี 2519  ได้หนังลูกควายตายพรายมีลักษณะ 8 ขา 4 เขาและเป็นควายเผือกมา )  รวมทำทั้งหมดไม่เกิน 400 ดอก

***ในส่วนนี้ได้ข้อมูลจากพ่ออุ้ยปั๋น  และบันทึกของอาจารย์หมอ สมสุข  คงอุไร  ที่ได้สอบถามจากครูบาชุ่ม  ด้วยตัวเอง***


5.  เพื่อให้ลักษณะของตะกรุด แตกต่างกับของ ครูบาอาจารย์ท่านอื่น   ครูบาชุ่ม จึงได้ สร้างตะกรุดให้เป็นเอกลักษณ์ คือ ปิดทอง และ ทาทอง





( การปิดทองทำในยุคต้น  ส่วนการทาทองทำในตระกรุดยุค 2518 ,2519 เพราะมีสีทองจากการบูรณะวิหารอยู่  ส่วนจะเอาไปแจกใคร  จะตั้งชื่อรุ่นว่าอะไร เป็นเรื่องของคนยุคหลังที่กล่าวอ้างกันเอง ไม่เกี่ยวกับท่านครูบานะครับ)  และลักษณะรูปทรงของตะกรุดจะเป็นเอกลักษณ์
   

วิธีการสร้างตะกรุดก็คือ.


                      1.เมื่อได้หนังลูกควายตามตำราแล้วต้องมีการพลีเพื่อขอศพลูกควาย  จากศพแม่ก่อน( ตำราต้นฉบับกล่าวไว้)แล้วนำหนัง มาฟอกล้างให้สะอาดแล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
                      2.นำหนังมาวัดกะจำนวนปริมาณของดอกตะกรุดว่าจะได้สักกี่ดอก แล้วตัดหนัง เมื่อตัดแล้ว ลงอักขระที่หนังแต่ละดอกว่า  “ พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด ฆะขาขาขาขา ฆะพะสะจะ กะพะวะกะหะ”
พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด( มหาอุตย์ หยุดปืน ปืนแตก )
ฆะขาขาขาขา (ข่าม เหนียว กันงูเงี้ยว เขี้ยวขอ กันเขา กันปืน กันมีด)
ฆะพะสะจะจะ ( หัวใจข่าม คงกระพัน สารพัดกัน )
กะพะวะกะ (หัวใจ ฟ้าฟี๊ก คลาดแคล้ว ปลอดภัย กันสิ่งไม่ดี)
                       3. นำทองแดงมาเป็นแกนกลางเพื่อจะได้พันหนังได้ง่ายไม่เสียรูปทรง เสร็จแล้วนำ เชือก  เส้นในสายไฟ หรืออะไรก็ได้ ที่แทนเชือกได้มาพันให้แน่นกับทองแดง
                      4.นำครั่งมาพอกไว้เพื่อทำเป็นรูปทรงเดียวกัน(แบบหนำเลี๊ยบ)แล้วนำเชือกสีแดงหรือเหลืองมาร้อยไว้






******โปรดสังเกตตามหลักฐานภาพถ่าย ว่าตะกรุดตามภาพที่นำมาลง  ลักษณะตะกรุดจะเป็นแบบเดียวกัน  และที่สำคัญ จะไม่มีลูกคั่น หรือตะกรุดอื่นคั่นแต่อย่างใด*****

ที่มาข้อมูลhttp://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=52016

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-5 10:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อสังเกต

.ในปัจจุบัน  นักค้าขายพระเครื่องที่ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง หรือมีเจตนาแอบแฝง พอพบเจอ ตะกรุดอะไรก็ตาม เพียงแต่มีลักษณะพอกครั่งเก่าๆก็ตีเป็นของครูบาชุ่ม  เพื่อเหตุผลด้านราคา   ทั้งๆที่ตะกรุดดอกนั้นอาจเป็นตะกรุดของครูบาอาจารย์ผู้มีวิทยาคมท่านอื่นในยุคเก่า ได้สร้างไว้ก็เป็นได้  และขอให้ข้อสังเกตเพิ่มว่าตะกรุดทั้งหลายที่กล่าวอ้างว่าเป็นของครูบาชุ่มนั้น  หากลองเอาของหลายๆเจ้าที่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของครูบาชุ่ม มาวางเรียงกัน จะพบว่ามีลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกันมากทีเดียว

  
      ลองนึกเทียบกับเครื่องรางของขลังที่ส่วนกลางเขายอมรับ เช่น ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม เบี้ยแก้หลวงปู่รอด หรือเครื่องรางอื่นที่เป็นที่นิยมของวงการ ทำไมเขาถึงยึดลักษณะการถัก รวมถึงรูปพรรณสัณฐานที่เหมือนกันละครับ
                     
ในกรณีตะกรุดพอกครั่งเก่าๆ ผู้เขียนเชื่อว่า น่าจะเป็นของครูบาอาจารย์ตาม ข้อ2. ที่ได้เรียนวิชาทำตะกรุดมาก่อน ,มาพร้อม,หรือภายหลังท่านครูบาชุ่ม  ดังนั้นจึงน่าจะมีพุทธคุณตามตำราที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้เพราะเป็นการสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์ของพระอริยสงฆ์

ถามว่ามีเกจิอาจารย์ท่านอื่น  หรือแม้แต่ลุงปั๋น ซึ่งเป็นหลานครูบาชุ่มได้สร้างตะกรุดในลักษณะคล้าย  ของครูบาชุ่ม ( คือมีลักษณะสัณฐาน และการลงทองปิดทอง) หรือไม่  ตอบว่ามี   แล้วถามว่าจะดูยังไง  ก็ตอบว่า ขอให้ท่านได้เห็นตะกรุดหนังฯครูบาชุ่มเพื่อเป็นดอกครู ไวๆ  แล้วพิจารณาตะกรุดที่พบเจอหรือจะเช่าด้วยปัญญา   ซึ่งก็ขอให้ความโชคดีจงมีแด่ท่าน


เพิ่งเคยได้เห็น สาธุครับ
ขอบคุณคร้าบ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2016-9-26 13:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-11 06:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หายากมากมายครับ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-17 13:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้