ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 14396
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ไม้ตะพด

[คัดลอกลิงก์]

หากว่าปืนและบ่วงบาศเป็นสัญลักษณ์ของหนุ่มคาวบอยอเมริกันแล้ว สัญลักษณ์ของชายไทยใน อดีตก็ไม่แคล้วเจ้าไม้ที่ถูกเรียกขานกันว่า “ตะพด” ซึ่งคนไทยเรารู้จักและใช้งานมันมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว แต่ช่วงที่ นิยมเล่นจริงๆ นั้นอยู่ในสมัยของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นยุคที่ไม้ประจำตัวลูกผู้ชาย ไทยอย่างไม้ตะพด ได้กลายเป็นการเล่น เพื่อ ‘แฟชั่น’ กันอย่างแพร่หลาย
               สำหรับรูปร่างหน้าตาของไม้ตะพดนั้น หลายคนเข้าใจและสับสนระหว่าง ‘ไม้เท้า’ กับ ‘ไม้ตะพด’ ด้วยความที่หน้าตาและความยาวคล้ายคลึงกัน แต่ในความ เป็นจริงแล้วจุดประสงค์ของไม้เท้านั้นทางการแพทย์ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งเพื่อช่วยในการเดินของผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจน เดินไม่สะดวก ซึ่งปกติจะมีขาเดียวสำหรับช่วยการทรงตัว ถ้าเป็น 3 - 4 ขามีไว้สำหรับคนที่การทรงตัวยังมีปัญหา เป็นต้น
               ส่วน‘ไม้ตะพด’ นั้นน่าจะอยู่ในกลุ่ม ของ ‘ไม้ถือ’ มากกว่า เพราะประโยชน์ใช้สอยของไม้ตะพดนั้นจะเป็นไปใน รูปแบบของการถือติดมือเมื่อลงจากเรือน ของชายไทยสมัยโบราณ ส่วนข้อต่างระหว่างตะพดกับไม้เท้าที่เห็นชัดเจนก็คือ ความยาว ซึ่งไม้เท้าจะยาวกว่าไม้ตะพด เพราะจุดประสงค์ของไม้เท้านั้นมีไว้เพื่อ พยุงตัวรับน้ำหนักนั่นเอง
               ใครที่เคยไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี ก็จะคุ้นตากับไม้ตะพดที่เป็นของฝากอันขึ้นชื่อของสถานที่แห่งนี้ โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อติดมือกลับมาให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงทางบ้านเสมอ และเชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะต้องไปตีระฆังให้มีเสียงดังกังวาน เพื่อให้ได้ยินไปถึงสวรรค์ชั้นเบื้องบน ซึ่งก็จะใช้ไม้ตะพดนี้ตีระฆัง หรือหากเป็นผู้สูงอายุก็ได้ใช้ตะพดช่วยประคองกายขึ้น-ลงบันไดได้ด้วย
               ที่มาของคำว่า ‘ตะพด’ นั้น ผู้นิยมตะพดหลายท่านอนุมานว่าน่าจะมาจากพันธุ์ของไม้ไผ่พันธุ์หนึ่งที่มีข้อสั้นแน่น เนื้อแข็ง และเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมา ทำเป็นไม้ตะพด ส่วนไม้อื่นๆนั้นที่นิยมนำมากลึงเป็นไม้ตะพดก็ได้แก่ ไม้รวก ไม้มะเกลือ ไม้ไผ่บางพันธุ์ (ตรงนี้มีภูมิปัญญาเก่าแก่ของไทยกล่าวไว้ว่า หากผู้ทำไม้ตะพดไปเห็นไม้ไผ่ใดมีลักษณะเหมาะแก่การนำมากลึงแล้ว จะเลี้ยงไผ่นั้นด้วยการรดน้ำซาวข้าว ไม้ก็จะออกมาสวยงามเป็นมัน) อาทิ ไม้ไผ่เปร็ง อันเป็นไม้ไผ่มีเนื้อแน่นตัน
               แต่สำหรับไม้ตะพดของพระพุทธบาทสระบุรีนั้นจะมีเอกลักษณ์ในการทำคือ ทำจากแขนงไม้รวก ซึ่งชาวบ้านคัดเลือก ขนาดที่เท่าๆกัน มาตัดแต่งรากไม้ให้มีรูปทรงต่างๆ เป็นส่วนหัวของไม้ตะพด จากนั้นนำไม้รวกที่ตัดคัดแต่งแล้วนี้ไปตากแดดจนแห้ง แล้วนำเส้นลวดเลือกขนาดพอเหมาะพันรอบนำไปลนไฟ ส่วนที่มีลวดร้อนพันอยู่จะเกิดรอยไหม้ ส่วนที่ว่างเว้นอยู่จะมีสีเหลืองนวล เกิดเป็นลวดลายต่างๆ ล้วนสวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
               วิธีการทำตัวไม้ตะพดโดยทั่วไปนั้นเริ่มจากเลือกไม้ที่เหมาะแก่ใจ เนื้อแน่น แก่จัด เพราะจะให้น้ำหนักดี ถ่วงมือ ไม่เบาจนเกินไป สมัยโบราณจะใช้กรรมวิธี ทำมือทุกกระบวนการตั้งแต่ลนไฟอ่อนๆ จนลำไม้ตรงตามต้องการ แล้วใช้กาบมะพร้าวชุบทรายละเอียดเคล้ากับขี้เถ้าและน้ำ ขัดถูไม้ตะพดจนสะอาดหมดจด และผิวเกลี้ยงเรียบ แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้งเป็นอันเสร็จการขัดผิวไม้
               ส่วนเด่นของตะพดนั้นนอกจากจะเป็นรูปทรงของตัวไม้ที่เกลากลึงได้สัดส่วนงดงามแล้ว ที่ช่างไม้ตะพดนิยมตกแต่งให้เกิดความหลากหลายตามแต่ความชอบและจินตนาการของแต่ละคนนั้นก็คือ ‘หัวตะพด’ โดยมีหลายหลากมาก
       แบบ ทั้งแบบที่คลาสสิกที่นิยมตลอด กาลจนกลายมาเป็นแฟชั่นของนักสะสม เช่น หัวเงิน หัวทองเหลือง หรือที่แปลกๆ ก็อย่างหัวงาช้าง หัวกระดูกสัตว์ หัวแก้ว เป็นต้น
               ทรงของหัวก็มีแตกต่างกันไป เช่นหัวตุ้มใหญ่ ตุ้มเล็ก หัวไม้เท้า หัวขอสับที่มีลักษณะคล้ายขอช้าง หัวลูกจันทน์ หัวรูปสัตว์ เช่นช้าง สิงโต เป็นต้น หรือหัวที่บรรดาทหารหรือตำรวจในยุคก่อนชอบถือเช่นหัวที่ทำมาจากกระสุนปืน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ‘หัวเหรียญ’ ที่นิยมทำเหรียญเงิน ตะกั่ว หรือทองเหลือง ขึ้นมาแล้วประดับไว้ที่หัวไม้ตะพด โดยมากแล้วเหรียญที่นิยมมากในหมู่ ‘นักเลงหัวไม้’ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญ
       รัชกาลที่ 5
               สำหรับคำว่า ‘นักเลงหัวไม้’ ในที่นี้นั้น มิใช่คำที่หมายความถึงผู้ที่ดำรง ตนเป็นคนเกกมะเหรกเกเร หากแต่คำว่า‘นักเลง’ ในสมัยก่อนนั้น มีความหมายไปในเชิงของ‘คนจริง’หรือผู้ที่เอาจริงเอาจัง เช่น นักเลงพระ, นักเลงต้นไม้, นักเลงปืน เป็นต้น อาจจะเข้าทำนองคำว่า ‘เซียน’ ในยุคนี้ที่เอามาใช้แปลว่าผู้เชี่ยว ชาญในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นคำว่า ‘นักเลงหัวไม้’ น่าจะพออนุมานได้ว่า เป็นคำที่หมายถึงลูกผู้ชายที่นิยมไม้จำพวกตะพด คมแฝก หรือติ้วก็เป็นได้ เนื่องจากการใช้ อาวุธตระกูลกระบองเหล่านี้ ผู้ตีจะใช้ด้านหัวไม้ตีก่อนเสมอ
               ไม้ตะพดแบบลูกทุ่งจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร สำหรับประโยชน์ใช้สอยหลักก็คือเป็นอาวุธ นอกนั้นก็เอา ไว้กระทุ่มรกพงหญ้าเพื่อไล่งูหรือสัตว์มีพิษ ธรรมเนียมของชายไทยในสมัยก่อน นั้นเมื่อลงจากเรือน ต้องถือไม้ตะพดติด มือไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปเยือนต่างถิ่น เพราะเจ้าถิ่นจะถือว่า การมามือเปล่านั้นเป็นการลองดี อาจจะเจ็บตัวง่ายๆ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถึงตรงนี้มีเกร็ดเล็กน้อยที่กล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นลูกผู้ชายแท้ๆ ของนักเลงไม้ตะพดสมัยก่อนที่ว่า หากมีเรื่อง มีราวกันนั้น ถ้าไม่เจ็บแค้นหรือมีความ พยาบาทกันมาก่อนจะไม่ตีกันถึงตาย จุดที่ตีส่วนใหญ่จะเป็นตามข้อ แขน ขา ลำตัว หรือหลังเท้า แต่จะไม่ตีหัวให้หัวแตก เพราะไม่อยากให้ฝ่ายตรงข้ามมีบาดแผลที่หัว เพราะเมื่ออายุครบบวชต้องโกนผม แล้วหัวจะเป็นรอย ไม่สวย ถือเป็นน้ำใจ และมารยาทของนักเลงใน ยุคนั้นที่แตกต่างจากยุคนี้โดยสิ้นเชิงสำหรับผู้ที่ชำนาญไม้ตะพดที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสมัยนั้นว่ากันว่าท่านควง ไม้ตะพดไปปราบโจรพวกเสือดังๆ ในสมัยนั้นด้วย ไม้ตะพดจึงเป็นอาวุธที่ต้องอาศัยใจของผู้ใช้ด้วย
               ส่วนไม้ตะพดแบบผู้ดีหรือไม้ตะพดแฟชั่นที่บรรดาเจ้าขุนมูลนายหรือบุคคลระดับสูงในสมัยก่อนนิยมกันนั้นจะมีความยาวอยู่ที่ 92 ซม.คือจะสั้นกว่าไม้ตะพดแบบชาวบ้านอยู่สักหน่อย ประโยชน์ใช้สอยส่วนใหญ่ ไม่เชิงเป็นอาวุธเสียทีเดียวนอกจากจะเอาไว้ป้องกันตัว หากแต่เป็นการถือสวยๆ ถือไว้เป็นเสมือนเครื่องแต่งกายอย่างหนึ่ง ส่วนหัวตะพดก็จะเลี่ยมด้วยวัสดุมีค่า บอกถึงฐานะและบรรดาศักดิ์ของผู้ถือ นับตั้งแต่ทอง เงิน นาค งา งาฝังมุก หยก กระดูกสัตว์ ทองเหลือง แก้ว เป็นต้น
               หากท่านใดเป็นนักอ่านจะพบ ‘ไม้เท้า - ไม้ตะพด’ ในวรรณกรรมทรงคุณค่าอย่าง ‘สี่แผ่นดิน’ ที่ ‘พลอย’ ได้กล่าวถึง ‘ของเล่น’ ของ ‘คุณเปรม’ ซึ่งเป็นไม้อย่างดี ประดับหัวด้วยวัสดุอันมีค่าที่คุณเปรมทะนุถนอมนักหนา และต้องมีกรรมวิธีการเก็บที่ต้องจ้างช่างมาทำสังกะสีให้เป็นกล่อง ก่อนจะเทน้ำมันรักษาไม้ลงไปจนท่วม และแช่ไม้กล่องน้ำมันนั้น นานๆ ถึงจะเอามาเชยชมสักทีหนึ่ง
               ซึ่งวรรณกรรมเรื่องนี้ของ‘อาจารย์หม่อม’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในตอนนี้ แม้จะไม่ยาวนักที่กล่าวถึง ไม้เท้า - ไม้ตะพด แต่ก็แสดงภาพการเล่นไม้เหล่านี้ของคนชั้นสูงในยุคนั้นได้อย่างชัดเจนทีเดียว แต่เป็น ที่น่าเสียดายว่า‘ตะพด’ ได้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหล่นจากขบวนรถไฟแห่งยุคสมัย ทำให้ในปัจจุบันนี้เราๆ ท่านๆ หาไม้ตะพดดูได้ยากเต็มที หากถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนกลุ่มเล็กๆ ที่ยังเห็นถึงคุณค่าของวิชาโบราณแขนงนี้ และพยายามจะถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เห็นคุณค่าและสืบสานเอกลักษณ์ความเป็นลูกผู้ชายไทยเอาไว้
               ทีนี้ลองมาดูด้านการสืบสานในเชิงการสะสมที่ทำให้บรรดาร้านขายของเก่า หรือแม้กระทั่งของใหม่ ได้พยายามหาสินค้าเพื่อมาจำหน่ายตอบสนองความต้องการของลูกค้านักสะสมเหล่านี้ ผู้ประกอบการกิจการขายส่งอย่าง ‘มาชิตา ภัทรพิรุณ’ แห่งร้าน PM Product เปิดเผยว่า เป็นกิจการของตระกูลที่ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อคือ ‘คุณพิศาล’ ที่ยึดอาชีพทำไม้ตะพดมาตั้งแต่หนุ่มๆ ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ โดยแทบทุกขั้นตอนจะเป็นการทำด้วยมือ เว้นแต่ขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเท่านั้น ซึ่งเป็นโอกาสที่นักสะสมหน้าใหม่ๆ สามารถซื้อหาในราคาย่อมเยาไปสะสมกันได้ สำหรับกรรมวิธีการทำนั้น จะทำทีละ 10 - 20 อัน ใช้เวลาประมาณ 7 วันถึงจะเสร็จ ส่วนหัวตะพดที่ถือว่าเป็นหัวที่ทำเมื่อไหร่ก็ขายได้ตลอดก็คือทรงเรียบๆ อย่างหัวทองเหลืองกลม เป็นต้น
               อ่านถึงตรงนี้ บางคนอาจจะนึกอยากสะสมเจ้าไม้ตะพดนี้ขึ้นมาบ้าง แต่จนใจไม่รู้จะไปซื้อหาที่ไหน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ดูจะหาของเก่าแบบนี้ยาก ก็มีสองแหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือที่ตลาดจตุจักร ซึ่งมีทั้งตะพดใหม่และตะพดโบราณ โดยสนนราคาของตะพดใหม่นั้นอยู่ที่เรือนร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน ที่นักสะสมหน้าใหม่พอจะซื้อหาได้ ส่วนตะพดเก่านั้นต้องอาศัยคนดูเป็นสักหน่อย ขอแนะให้สักนิดว่าถ้าเป็นตะพดเก่า หากไม้เดิมเป็นสีเข้ม เมื่อเวลาผ่านไปเนื้อไม้จะสีซีดลงกว่าเดิม
               ส่วนอีกแห่งคือที่ห้างสรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ ตรงท่าน้ำสี่พระยา อันเป็นศูนย์รวมของวัตถุโบราณนานาชนิด รวมทั้งตะพดโบราณด้วย ซึ่งในที่นี้ราคาค่อนข้างสูง ตั้งแต่เรือนพันจนถึงเรือนหมื่นเลยทีเดียว ‘พี่สา’ แห่งร้าน Ubons Master Piece บนห้างสรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่มาถามหาไม้ตะพดส่วนใหญ่จะเป็น ชายวัยกลางคนค่อนไปทางอาวุโส คือไม่ต่ำกว่า 40 ปี โดยมากจะเป็นการสะสมมากกว่าจะเอาไปใช้จริง ส่วนตะพดเก่าที่นำมาขายนี้เป็นการเดินทางเสาะหาของเจ้าของร้านที่คลุกคลีในแวดวงของเก่ากว่า 30 ปี ส่วนใหญ่ เป็นตะพดไทย ตะพดพม่า และตะพดล้านนาเชียงใหม่
               “ส่วนใหญ่ไม่เจาะจงหรอกค่ะว่าจะเอาแบบไหน แต่จะมาเดินดูเรื่อยๆ คือถูกตาโดนใจก็ซื้อเลย เป็นความสุขทางใจของนักสะสมน่ะค่ะ” พี่สากล่าวทิ้งท้าย
      
       ไม้ตะพด ศิลปะป้องกันตัว
               อาจารย์ชีวิน อัจฉริยฉาย แห่งโรงเรียนศิลปะศาสตร์ การป้องกันตัว ไทยหัตถยุทธ หรือไทฟูโด อคาเดมี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปป้องกันตัวหลายแขนง ซึ่งเปิดสอนศิลปะการป้องกันตัวด้วยไม้ตะพดอยู่ที่หาดใหญ่ จ.สงขลา ระบุว่า ในความเป็นจริงแล้วไม้ตะพดก็คือดาบ ดีๆ นี่เอง
               “ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่สังคมเรามีความเจริญขึ้นในด้านสังคม มีการเปลี่ยนจากมณฑลเป็นจังหวัด ก็ได้มีกฎข้อบังคับห้ามพกดาบที่ก่อนหน้านี้เป็นอาวุธคู่มือชายไทยทุกคน โดยอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ที่มีความจำเป็นต้องถือเท่านั้น ดังนั้นผู้มีวิชาดาบที่ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็จำต้องเลิกถือดาบไปไหนมาไหน จึงหันมาถือตะพดกันแทน โดยเมื่อถือเข้าพระนครก็บอกว่าเป็น ไม้เท้า แต่เมื่อมีเรื่องมีราวทะเลาะวิวาทแล้ว ตะพดก็กลาย เป็นอาวุธถนัดมือไม่แพ้ดาบเหมือนกัน” อ.ชีวินกล่าว
               อาจารย์แห่งไทฟูโดยังกล่าวต่อไปอีกว่า ตะพดเองก็มีรูปแบบท่าโจมตีเหมือนเพลงดาบหรือเพลงมวยเช่นกันอาทิ ‘ท่าห้ามทัพ’ อันเป็นท่าพื้นฐานเพื่อใช้ในการหยุด คนที่กำลังวิ่งมาทำร้ายด้วยการตวาดและชี้ปลายไม้ตะพด ไปยังหน้าของคู่ต่อสู้ หรือ ‘ท่าม้าดีด กะโหลก’ ที่เป็นอีกท่าหนึ่งในการหยุดคู่ต่อสู้ได้ชะงักนักด้วยการตวัดไม้ขึ้นมากระแทกที่หว่างขาของคู่ต่อสู้ที่กำลังวิ่งปรี่เข้ามาหมายจะทำร้าย ส่วน ‘ท่าเชยคาง’ นั้น เป็นท่าจู่โจมแบบพร้อมตี คือคว่ำไม้เอาส่วนหัวที่มีน้ำหนักกว่าและแข็งกว่าลงจดพื้น และตวัดย้อนส่วนหัวเข้าที่ปลายคางของคู่ต่อสู้ ซึ่งท่านี้จะจบด้วย ‘ท่าปล่อยตก’ คือเมื่อตวัดเชยคางให้หัวไม้เท้า ลอยอยู่เหนือคู่ต่อสู้แล้ว
               ท่าต่อไปที่เกี่ยวเนื่องติดพันก็คือท่าปล่อยตก ด้วยการ ออกแรงกดหัวไม้ให้ทิ้งตัวลงมาตามแรงโน้มถ่วง เมื่อแรง ตกบวกกับแรงกดของข้อมือและน้ำหนักถ่วงของหัวตะพด ท่านี้จึงอาจจะเรียกเลือดจากหัวคู่ต่อสู้เลยก็เป็นได้ และสำหรับหลักง่ายๆ ของลูกศิษย์วิชาตะพด ซึ่งโดยมากจะเป็นวัยรุ่นต้นๆ อย่างเด็กชั้นม.1 ไปจนถึงม.6 ที่อ.ชีวินแนะนำบ่อยๆ และถือเป็นหัวใจหลักในการศึกษาวิชาตะพดนี้ก็คือ ‘ข้อแข็ง - แรงกล้า - ตาไว - ใจนักเลง’

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม้ตะพดหลวงปู่ศุข

เป็นไม้ตะพดที่หลวงปู่ศุขพระเกจิอาจารย์ ใช้รักษาชาวบ้านร่วมกับการใช้คาถาตามตำราของหลวงปู่ศุข
ไม้ตะพดหลวงปู่ศุข สีทอง ของหลวงปู่ศุข พระครูวิมลคุณากร
ไม้ตะพดหลวงปู่ศุข สีน้ำตาล ของเสด็จเตี่ย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ณ วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
ไม้ตะพดหลวงปู่ศุข ถูกเก็บไว้อย่างดีอยู่ในตู้ล็อคกุญแจ ได้มีโอกาสเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆ เพราะได้รับความกรุณาจากหลวงพี่ที่ดูแลอยู่




ที่มา http://pantip.com/topic/31488264
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม้ตะพด
บทความเรื่อง ไม้ตะพด ที่น่าสนใจครับ

โดย อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เรียบเรียงจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง ของมูลนิธิสารนุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เรื่องไม้ตะพด ของ อาจารย์จุลทัศน์ พยัคฆรานนท์

ปัจจุบันเมื่อเอ่ยถึง “ไม้ตะพด” คนรุ่นใหม่อาจจะคิดว่าก็คือ สิ่งเดียวกับ “ไม้เท้า” ที่คนแก่ถือไว้ยันตัวเวลาเดิน ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว แม้ไม้ทั้งสองจะมีรูปร่างคล้ายๆ กัน แต่ประดิษฐ์ขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์การใช้สอยที่ต่างกันมาก ดังที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับไม้ตะพดมาเสนอให้ทราบ ดังต่อไปนี้


ในสมัยโบราณ “ไม้ตะพด” จัดเป็นเครื่องป้องกันตัวชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ชายโดยทั่วไป ด้วยสมัยก่อนถือว่าดาบเป็นอาวุธร้ายแรง ชาวบ้านจะถือดาบออกไปนอกบ้าน หรือจะพกดาบเปลือยฝักไปในที่สาธารณะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ได้ เนื่องจากมีพระราชกำหนดห้ามไว้ ยกเว้นบรรดาพวกทหาร ตำรวจ และกรมการเมืองที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่คนเหล่านี้ หากถอดดาบออกจากฝักโดยบันดาลโทสะ เมาสุรา หรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็จะต้องได้รับโทษเช่นกัน และด้วยข้อห้ามมิให้พกดาบในที่สาธารณะดังกล่าวนี่เอง ที่ทำให้ผู้ชายสมัยก่อนเ ลี่ยงมาใช้ “ไม้ตะพด” เป็นอาวุธแทนดาบ และมักมีไม้ตะพดถือไว้ประจำมือทุกคน โดยนิยมถือเมื่อจะลงจากเรือนไปยังที่ต่างๆ เช่น ไปช่วยงานบวช งานแต่งงาน เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะไม้ตะพดสามารถใช้เป็นสิ่งป้องกันอันตราย มิให้กล้ำกรายมาถึงตัวได้โดยง่าย อย่างเช่นเมื่อต้องเดินทางไปต่างถิ่นยามค่ำคืน ก็ใช้ระพุ่มไม้ให้เกิดเสียงดังเพื่อให้สัตว์ตกใจหนีไปก่อน นอกจากนี้ ผู้ชายชาวบ้านสมัยก่อน ยังนิยมถือไม้ตะพดเพื่อแสดงศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายด้วย กล่าวคือ หากผู้ใดไม่ถือไม้ตะพดติดมือไปยังต่างถิ่น ผู้คนในถิ่นนั้นๆ จะถือว่าผู้ชายที่มามือเปล่าที่มาเหยียบถึงถิ่นตนจะมาลองดี

คำว่า “ไม้ตะพด” มีผู้รู้และเชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ ได้บอกว่ามิใช่เป็นคำไทย แต่เป็นคำมาจากภาษามอญ โดยคำว่า “ไม้ตะพด” มาจากคำว่าว่า “เละอะพด”

ไม้ตะพดที่นิยมใช้กันเมื่อก่อน ส่วนมากจะทำมาจากไม้ไผ่ ที่เรียกว่าไม้ไผ่เปร็ง โดยเลือกไม้ที่แก่จัด มีข้อดี เนื้อแน่นตัน เพราะต้องการให้มีน้ำหนัก เมื่อตัดไม้ไผ่มาแล้วจะต้องนำมาตากให้แห้งสนิท จึงค่อยนำมาตัดแต่งลำให้ตรง ด้วยการลนไฟอ่อนๆ จนลำไม้ตรงตามต้องการ แล้วใช้กาบมะพร้าวชุบทรายละเอียด เคล้ากับขี้เถ้าและน้ำ ขัดถูไม้ตะพดจนสะอาดหมดจดและผิวเกลี้ยงเรียบ แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้งเป็นอันเสร็จการขัดผิวไม้ หรือบางคนก็อาจจะมีการตกแต่งผิวไม้ให้สวยงาม ด้วยการทำให้เป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น ใช้วิธีเทตะกั่ว นาบด้วยโลหะเผาไฟ หรือวิธียอมสี เป็นต้น

ในสมัยก่อนผู้ที่นิยมไม้ตะพด สามารถเลือกซื้อเลือกหาไม้ตะพดที่ทำสำเร็จรูปแล้ว ได้ตามงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานไหว้พระพุทธบาทสระบุรี หรืองานไหว้พระประจำปีของบางวัด อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลังคนส่วนใหญ่ตั้งข้อรังเกียจว่า พวกผู้ชายที่ถือไม้ตะพดเป็นพวกนักเลงหัวไม้ เกกมะเหรกเกเร ผู้ชายในเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่จึงเปลี่ยนไปนิยมถือ “ไม้ถือ” แทน ซึ่งก็คือ ไม้เท้าที่สั่งจากต่างประเทศ หรือทำขึ้นเองโดยใช้ไม้ที่มีเนื้อไม้เป็นลายต่างๆ ในตัว ด้วยเหตุนี้ ไม้ถือจึงได้รับความนิยมให้เป็นเครื่องประดับส่งเสริมบุคลิกภาพ ฐานะ และหน้าตาของผู้ถือตามคุณค่า และราคาของไม้ถือนั้นๆ ส่วนไม้ตะพดก็กลายมาเป็นเพียงไม้ถือติดมือ เพื่อป้องกันสุนัขหรือคนร้ายมิให้มาทำอันตรายได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคนไทยส่วนมาก มีประเพณีนิยมที่จะใช้สอยแต่สิ่งที่เป็นสิริมงคล โดยมักกำหนดเป็นตัวเลขบ้าง จำนวนบ้าง สัดส่วนบ้าง ซึ่งข้อกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวนี้ เรียกกันว่า “โฉลก”(ตามพจนานุกรม คำนี้ หมายถึง โชค โอกาส หรือลักษณะที่มีทั้งส่วนดีและไม่ดี มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาดหรือนับจำนวนของคน สัตว์ สิ่งของว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล) ซึ่งในเรื่อง “ไม้ตะพด” นี้ โบราณเขาก็มีการบัญญัติโฉลกเอาไว้ให้เลือกไม้ตะพดที่เป็นสิริมงคลได้หลายวิธี เช่น

โฉลกที่ 1 มีว่า กูตีมึง และมึงตีกู โฉลกนี้ใช้สำหรับนับข้อบนไม้ตะพด โดยให้ขึ้นต้นที่หัวไม้ตะพดข้อแรกว่า “กูตีมึง” ข้อที่สองว่า “มึงตีกู” แล้วว่าสลับกันไปจนหมดข้อสุดท้ายที่ปลายไม้ หากตกที่ “กูตีมึง” จัดว่าเป็นไม้ตะพดดี แต่ถ้าตกที่ “มึงตีกู” แบบนี้ถือว่าไม่ดี

โฉลกที่ 2 มีคำว่า คุก ตะราง ขุนนาง เจ้าพระยา โฉลกนี้ใช้นับขนาดความยาวของไม้ตะพด โดยกำมือให้รอบส่วนหัวไม้แล้วจึงว่า “คุก” คำแรก แล้วเอามืออีกข้างกำต่อลงมาพูดคำว่า “ตะราง” จากนั้นเปลี่ยนมือแรกมากำต่อลงไป เป็นลำดับที่สามแล้วว่า “ขุนนาง” แล้วเปลี่ยนมือที่กำอันดับสองมากำต่อไปเป็นอันดับ 4 แล้วว่า “เจ้าพระยา” เอามือกำสลับกันไปเรื่อย พร้อมทั้งท่องทั้งสี่คำสลับกันไป จนสุดปลายไม้ หากสุดปลายไม้ตกคำว่า คุกและตะราง ถือว่าเป็นไม้ตะพดไม่ดี หากตกคำว่า ขุนนาง เสมอตัว แต่ถ้าตกคำว่า เจ้าพระยา ถือว่าดีเลิศ ถึงแม้จะมีเรื่องโฉลกมาเกี่ยวข้อง แต่โดยทั่วไปแล้ว ความยาวของไม้ตะพดที่ชาวบ้านใช้ส่วนมาก จะกำหนดให้ยาวประมาณ 8 กำ กับเศษอีก 4 นิ้ว หรือประมาณ 1 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่พอเหมาะพอดีกับกำลังมือ

ปัจจุบันสภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย แม้การดำรงชีวิตจะยังต้องเผชิญกับภยันตรายต่างๆ รอบตัวเมื่อออกนอกบ้านอยู่เช่นเดิม แต่ลักษณะของไม้ตะพดก็ไม่เอื้อให้นำติดตัวไปใช้ได้ดังสมัยก่อน อีกทั้งคนรุ่นใหม่อาจจะเห็นว่าไม้ตะพด มีลักษณะเดียวกับไม้เท้าที่คนแก่ใช้ ไม้ตะพดจึงค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมในที่สุด จะเหลือก็คงเพียงเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตหนุ่มไทยในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น




ที่มา http://www.jompra.com/webboard/viewthread.php?tid=1295


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2550 15:05 น.


ไม้ตะพดกับ ศิลปะป้องกันตัว

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยฉาย แห่งโรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
หรือไทฟูโด อคาเดมี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปป้องกันตัวหลายแขนง
ซึ่งเปิดสอนศิลปะการป้องกันตัวด้วยไม้ตะพดอยู่ที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระบุว่า
ในความเป็นจริงแล้วไม้ตะพดก็คือดาบ ดีๆ นี่เอง

“ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่สังคมเรามีความเจริญขึ้นในด้านสังคม
มีการเปลี่ยนจากมณฑลเป็นจังหวัด
ก็ได้มีกฎข้อบังคับห้ามพกดาบที่ก่อนหน้านี้เป็นอาวุธคู่มือชายไทยทุกคน
โดยอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ที่มีความจำเป็นต้องถือเท่านั้น
ดังนั้นผู้มีวิชาดาบที่ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็จำต้องเลิกถือดาบไปไหนมาไหน
จึงหันมาถือไม้ตะพดกันแทน โดยเมื่อถือเข้าพระนครก็บอกว่าเป็น ไม้เท้า
แต่เมื่อมีเรื่องมีราวทะเลาะวิวาทแล้ว ไม้ตะพดก็กลาย
เป็นอาวุธถนัดมือไม่แพ้ดาบเหมือนกัน” อ.ชีวินกล่าว



อาจารย์แห่งไทฟูโดยังกล่าวต่อไปอีกว่า
ไม้ตะพดเองก็มีรูปแบบท่าโจมตีเหมือนเพลงดาบหรือเพลงมวยเช่นกันอาทิ
‘ท่าห้ามทัพ’ อันเป็นท่าพื้นฐานเพื่อใช้ในการหยุดคนที่กำลังวิ่งมาทำร้าย
ด้วยการตวาดและชี้ปลายไม้ตะพด ไปยังด้านหน้าของคู่ต่อสู้

‘ท่าม้าดีดกะโหลก’ ที่เป็นอีกท่าหนึ่งในการหยุดคู่ต่อสู้ได้ชะงักนัก
ด้วยการตวัดไม้ขึ้นมากระแทกที่หว่างขาของคู่ต่อสู้ที่กำลังวิ่งปรี่เข้ามาหมายจะทำร้าย


ส่วน ‘ท่าเชยคาง’ นั้น เป็นท่าจู่โจมแบบพร้อมตี
คือคว่ำไม้เอาส่วนหัวที่มีน้ำหนักมากกว่าและแข็งกว่าลงจดพื้น
และตวัดย้อนส่วนหัวไม้เข้าที่ปลายคางของคู่ต่อสู้

ซึ่งท่านี้จะจบด้วย ‘ท่าปล่อยตก’
คือเมื่อตวัดเชยคางให้หัวไม้ตะพด ลอยอยู่เหนือคู่ต่อสู้แล้ว  
ออกแรงกดหัวไม้ให้ทิ้งตัวลงมาตามแรงโน้มถ่วง
เมื่อแรงตกบวกกับแรงกดของข้อมือและน้ำหนักถ่วงของหัวไม้ตะพด
ท่านี้จึงอาจจะเรียกเลือดจากหัวคู่ต่อสู้เลยก็เป็นได้

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม้ตะพด สัญลักษณ์ที่เป็นมากกว่าไม้เท้า

หากว่าปืนและบ่วงบาศเป็นสัญลักษณ์ของหนุ่มคาวบอยอเมริกันแล้ว
สัญลักษณ์ของชายไทยใน อดีตก็ไม่แคล้วเจ้าไม้ที่ถูกเรียกขานกันว่า “ตะพด”
ซึ่งคนไทยเรารู้จักและใช้งานมันมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว
แต่ช่วงที่นิยมเล่นจริงๆ นั้นอยู่ในสมัยของรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นยุคที่ไม้ประจำตัวลูกผู้ชายไทย
อย่างไม้ตะพด ได้กลายเป็นการเล่น เพื่อ ‘แฟชั่น’ กันอย่างแพร่หลาย

สำหรับรูปร่างหน้าตาของไม้ตะพดนั้น หลายคนเข้าใจและสับสนระหว่าง
‘ไม้เท้า’ กับ ‘ไม้ตะพด’ ด้วยความที่หน้าตาและความยาวคล้ายคลึงกัน
แต่ในความเป็นจริงแล้วจุดประสงค์ของไม้เท้านั้นทางการแพทย์
ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งเพื่อช่วยในการเดินของผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจน เดินไม่สะดวก
ซึ่งปกติจะมีขาเดียวสำหรับช่วยการทรงตัว ถ้าเป็น 3 - 4 ขา
มีไว้สำหรับคนที่การทรงตัวยังมีปัญหา เป็นต้น

ส่วน‘ไม้ตะพด’ นั้นน่าจะอยู่ในกลุ่ม ของ ‘ไม้ถือ’ มากกว่า
เพราะประโยชน์ใช้สอยของไม้ตะพดนั้นจะเป็นไปในรูปแบบของ
การถือติดมือเมื่อลงจากเรือน ของชายไทยสมัยโบราณ
ส่วนข้อต่างระหว่างตะพดกับไม้เท้าที่เห็นชัดเจนก็คือ ความยาว
ซึ่งไม้เท้าจะยาวกว่าไม้ตะพด เพราะจุดประสงค์ของไม้เท้านั้นมีไว้เพื่อ
พยุงตัวรับน้ำหนักนั่นเอง

ใครที่เคยไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี
ก็จะคุ้นตากับไม้ตะพดที่เป็นของฝากอันขึ้นชื่อของสถานที่แห่งนี้
โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อติดมือกลับมาให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงทางบ้านเสมอ
และเชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะต้องไปตีระฆังให้มีเสียงดังกังวาน
เพื่อให้ได้ยินไปถึงสวรรค์ชั้นเบื้องบน ซึ่งก็จะใช้ไม้ตะพดนี้ตีระฆัง
หรือหากเป็นผู้สูงอายุก็ได้ใช้ตะพดช่วยประคองกายขึ้น-ลงบันไดได้ด้วย

ที่มาของคำว่า ‘ตะพด’ นั้น ผู้นิยมตะพดหลายท่านอนุมานว่า
น่าจะมาจากพันธุ์ของไม้ไผ่พันธุ์หนึ่งที่มีข้อสั้นแน่น เนื้อแข็ง
และเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำเป็นไม้ตะพด
ส่วนไม้อื่นๆนั้นที่นิยมนำมากลึงเป็นไม้ตะพดก็ได้แก่
ไม้รวก ไม้มะเกลือ ไม้ไผ่บางพันธุ์
(ตรงนี้มีภูมิปัญญาเก่าแก่ของไทยกล่าวไว้ว่า
หากผู้ทำไม้ตะพดไปเห็นไม้ไผ่ใดมีลักษณะเหมาะแก่การนำมากลึงแล้ว
จะเลี้ยงไผ่นั้นด้วยการรดน้ำซาวข้าว ไม้ก็จะออกมาสวยงามเป็นมัน)
อาทิ ไม้ไผ่เปร็ง อันเป็นไม้ไผ่มีเนื้อแน่นตัน

แต่สำหรับไม้ตะพดของพระพุทธบาทสระบุรีนั้นจะมีเอกลักษณ์ในการทำคือ
ทำจากแขนงไม้รวก ซึ่งชาวบ้านคัดเลือกขนาดที่เท่าๆกัน
มาตัดแต่งรากไม้ให้มีรูปทรงต่างๆ เป็นส่วนหัวของไม้ตะพด
จากนั้นนำไม้รวกที่ตัดคัดแต่งแล้วนี้ไปตากแดดจนแห้ง
แล้วนำเส้นลวดเลือกขนาดพอเหมาะพันรอบนำไปลนไฟ
ส่วนที่มีลวดร้อนพันอยู่จะเกิดรอยไหม้ ส่วนที่ว่างเว้นอยู่จะมีสีเหลืองนวล
เกิดเป็นลวดลายต่างๆ ล้วนสวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

วิธีการทำตัวไม้ตะพดโดยทั่วไปนั้นเริ่มจากเลือกไม้ที่เหมาะแก่ใจ
เนื้อแน่น แก่จัด เพราะจะให้น้ำหนักดี ถ่วงมือ ไม่เบาจนเกินไป
สมัยโบราณจะใช้กรรมวิธี ทำมือทุกกระบวนการตั้งแต่ลนไฟอ่อนๆ
จนลำไม้ตรงตามต้องการ แล้วใช้กาบมะพร้าวชุบทรายละเอียดเคล้ากับขี้เถ้าและน้ำ
ขัดถูไม้ตะพดจนสะอาดหมดจด และผิวเกลี้ยงเรียบ
แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้งเป็นอันเสร็จการขัดผิวไม้

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ส่วนเด่นของตะพดนั้นนอกจากจะเป็นรูปทรงของตัวไม้ที่เกลากลึงได้สัดส่วนงดงามแล้ว
ที่ช่างไม้ตะพดนิยมตกแต่งให้เกิดความหลากหลาย
ตามแต่ความชอบและจินตนาการของแต่ละคนนั้นก็คือ
‘หัวตะพด’ โดยมีหลายหลากมากแบบ
ทั้งแบบที่คลาสสิกที่นิยมตลอดกาลจนกลายมาเป็นแฟชั่นของนักสะสม
เช่น หัวเงิน หัวทองเหลือง หรือที่แปลกๆ
ก็อย่างหัวงาช้าง หัวกระดูกสัตว์ หัวแก้ว เป็นต้น  
ทรงของหัวก็มีแตกต่างกันไป
เช่นหัวตุ้มใหญ่ ตุ้มเล็ก หัวไม้เท้า หัวขอสับที่มีลักษณะคล้ายขอช้าง
หัวลูกจันทน์ หัวรูปสัตว์ เช่นช้าง สิงโต เป็นต้น
หรือหัวที่บรรดาทหารหรือตำรวจในยุคก่อนชอบถือ
เช่นหัวที่ทำมาจากกระสุนปืน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี ‘หัวเหรียญ’ ที่นิยมทำเหรียญเงิน ตะกั่ว
หรือทองเหลืองขึ้นมาแล้วประดับไว้ที่หัวไม้ตะพด
โดยมากแล้วเหรียญที่นิยมมากในหมู่ ‘นักเลงหัวไม้’
เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญรัชกาลที่ 5

สำหรับคำว่า ‘นักเลงหัวไม้’ ในที่นี้นั้น
มิใช่คำที่หมายความถึงผู้ที่ดำรงตนเป็นคนเกกมะเหรกเกเร
หากแต่คำว่า‘นักเลง’ ในสมัยก่อนนั้น
มีความหมายไปในเชิงของ‘คนจริง’ หรือผู้ที่เอาจริงเอาจัง
เช่น นักเลงพระ, นักเลงต้นไม้, นักเลงปืน เป็นต้น
อาจจะเข้าทำนองคำว่า ‘เซียน’ ในยุคนี้
ที่เอามาใช้แปลว่าผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
ดังนั้นคำว่า ‘นักเลงหัวไม้’ น่าจะพออนุมานได้ว่า
เป็นคำที่หมายถึงลูกผู้ชายที่นิยมไม้จำพวกตะพด คมแฝก หรือติ้วก็เป็นได้
เนื่องจากการใช้ อาวุธตระกูลกระบองเหล่านี้ ผู้ตีจะใช้ด้านหัวไม้ตีก่อนเสมอ
ไม้ตะพดแบบลูกทุ่งจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร
สำหรับประโยชน์ใช้สอยหลักก็คือเป็นอาวุธ นอกนั้น
ก็เอาไว้กระทุ่มรกพงหญ้าเพื่อไล่งูหรือสัตว์มีพิษ
ธรรมเนียมของชายไทยในสมัยก่อนนั้นเมื่อลงจากเรือน
ต้องถือไม้ตะพดติดมือไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปเยือนต่างถิ่น
เพราะเจ้าถิ่นจะถือว่า การมามือเปล่านั้นเป็นการลองดี อาจจะเจ็บตัวง่ายๆ

ถึงตรงนี้มีเกร็ดเล็กน้อยที่กล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นลูกผู้ชายแท้ๆ
ของนักเลงไม้ตะพดสมัยก่อนที่ว่า หากมีเรื่อง มีราวกันนั้น
ถ้าไม่เจ็บแค้นหรือมีความพยาบาทกันมาก่อนจะไม่ตีกันถึงตาย
จุดที่ตีส่วนใหญ่จะเป็นตามข้อ แขน ขา ลำตัว หรือหลังเท้า
แต่จะไม่ตีหัวให้หัวแตก เพราะไม่อยากให้ฝ่ายตรงข้ามมีบาดแผลที่หัว
เพราะเมื่ออายุครบบวชต้องโกนผม แล้วหัวจะเป็นรอย ไม่สวย ถือเป็นน้ำใจ
และมารยาทของนักเลงในยุคนั้นที่แตกต่างจากยุคนี้โดยสิ้นเชิง
สำหรับผู้ที่ชำนาญไม้ตะพดที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสมัยนั้นว่ากันว่า
ท่านควงไม้ตะพดไปปราบโจรพวกเสือดังๆ ในสมัยนั้นด้วย
ไม้ตะพดจึงเป็นอาวุธที่ต้องอาศัยใจของผู้ใช้ด้วย

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หากท่านใดเป็นนักอ่านจะพบ ‘ไม้เท้า - ไม้ตะพด’ ในวรรณกรรมทรงคุณค่าอย่าง
‘สี่แผ่นดิน’ ที่ ‘พลอย’ ได้กล่าวถึง ‘ของเล่น’ ของ ‘คุณเปรม’
ซึ่งเป็นไม้อย่างดี ประดับหัวด้วยวัสดุอันมีค่าที่คุณเปรมทะนุถนอมนักหนา
และต้องมีกรรมวิธีการเก็บที่ต้องจ้างช่างมาทำสังกะสีให้เป็นกล่อง
ก่อนจะเทน้ำมันรักษาไม้ลงไปจนท่วม
และแช่ไม้กล่องน้ำมันนั้น นานๆ ถึงจะเอามาเชยชมสักทีหนึ่ง
ซึ่งวรรณกรรมเรื่องนี้ของ‘อาจารย์หม่อม’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชในตอนนี้
แม้จะไม่ยาวนักที่กล่าวถึง ไม้เท้า - ไม้ตะพด
แต่ก็แสดงภาพการเล่นไม้เหล่านี้ของคนชั้นสูงในยุคนั้นได้อย่างชัดเจนทีเดียว
แต่เป็น ที่น่าเสียดายว่า‘ตะพด’ ได้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหล่นจากขบวนรถไฟแห่งยุคสมัย
ทำให้ในปัจจุบันนี้เราๆ ท่านๆ หาไม้ตะพดดูได้ยากเต็มที
หากถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนกลุ่มเล็กๆ ที่ยังเห็นถึงคุณค่าของวิชาโบราณแขนงนี้
และพยายามจะถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เห็นคุณค่า
และสืบสานเอกลักษณ์ความเป็นลูกผู้ชายไทยเอาไว้



ทีนี้ลองมาดูด้านการสืบสานในเชิงการสะสมที่ทำให้บรรดาร้านขายของเก่า
หรือแม้กระทั่งของใหม่
ได้พยายามหาสินค้าเพื่อมาจำหน่ายตอบสนองความต้องการของลูกค้านักสะสมเหล่านี้
ผู้ประกอบการกิจการขายส่งอย่าง ‘มาชิตา ภัทรพิรุณ’ แห่งร้าน PM Product เปิดเผยว่า
เป็นกิจการของตระกูลที่ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อคือ ‘คุณพิศาล’
ที่ยึดอาชีพทำไม้ตะพดมาตั้งแต่หนุ่มๆ ปัจจุบันก็ยังทำอยู่
โดยแทบทุกขั้นตอนจะเป็นการทำด้วยมือ
เว้นแต่ขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเท่านั้น
ซึ่งเป็นโอกาสที่นักสะสมหน้าใหม่ๆ สามารถซื้อหาในราคาย่อมเยาไปสะสมกันได้
สำหรับกรรมวิธีการทำนั้น จะทำทีละ 10 - 20 อัน ใช้เวลาประมาณ 7 วันถึงจะเสร็จ
ส่วนหัวตะพดที่ถือว่าเป็นหัวที่ทำเมื่อไหร่ก็ขายได้ตลอดก็คือทรงเรียบๆ
อย่างหัวทองเหลืองกลม เป็นต้น

อ่านถึงตรงนี้ บางคนอาจจะนึกอยากสะสมเจ้าไม้ตะพดนี้ขึ้นมาบ้าง
แต่จนใจไม่รู้จะไปซื้อหาที่ไหน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
ที่ดูจะหาของเก่าแบบนี้ยาก ก็มีสองแหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือที่ตลาดจตุจักร
ซึ่งมีทั้งตะพดใหม่และตะพดโบราณ
โดยสนนราคาของตะพดใหม่นั้นอยู่ที่เรือนร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน
ที่นักสะสมหน้าใหม่พอจะซื้อหาได้
ส่วนตะพดเก่านั้นต้องอาศัยคนดูเป็นสักหน่อย
ขอแนะให้สักนิดว่าถ้าเป็นตะพดเก่า หากไม้เดิมเป็นสีเข้ม
เมื่อเวลาผ่านไปเนื้อไม้จะสีซีดลงกว่าเดิม

ส่วนอีกแห่งคือที่ห้างสรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ ตรงท่าน้ำสี่พระยา
อันเป็นศูนย์รวมของวัตถุโบราณนานาชนิด รวมทั้งตะพดโบราณด้วย
ซึ่งในที่นี้ราคาค่อนข้างสูง ตั้งแต่เรือนพันจนถึงเรือนหมื่นเลยทีเดียว
‘พี่สา’ แห่งร้าน Ubons Master Piece บนห้างสรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ให้ข้อมูลว่า
ผู้ที่มาถามหาไม้ตะพดส่วนใหญ่จะเป็น ชายวัยกลางคนค่อนไปทางอาวุโส
คือไม่ต่ำกว่า 40 ปี โดยมากจะเป็นการสะสมมากกว่าจะเอาไปใช้จริง
ส่วนตะพดเก่าที่นำมาขายนี้เป็นการเดินทางเสาะหาของเจ้าของร้าน
ที่คลุกคลีในแวดวงของเก่ากว่า 30 ปี
ส่วนใหญ่ เป็นตะพดไทย ตะพดพม่า และตะพดล้านนาเชียงใหม่
“ส่วนใหญ่ไม่เจาะจงหรอกค่ะว่าจะเอาแบบไหน
แต่จะมาเดินดูเรื่อยๆ คือถูกตาโดนใจก็ซื้อเลย
เป็นความสุขทางใจของนักสะสมน่ะค่ะ” พี่สากล่าวทิ้งท้าย

(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 78 พ.ค.50 โดย ปาณี ชีวาภาคย์)





ส่วนไม้ตะพดแบบผู้ดีหรือไม้ตะพดแฟชั่น
ที่บรรดาเจ้าขุนมูลนายหรือบุคคลระดับสูงในสมัยก่อนนิยมกันนั้น
จะมีความยาวอยู่ที่ 92 ซม.คือจะสั้นกว่าไม้ตะพดแบบชาวบ้านอยู่สักหน่อย
ประโยชน์ใช้สอยส่วนใหญ่ ไม่เชิงเป็นอาวุธเสียทีเดียวนอกจากจะเอาไว้ป้องกันตัว
หากแต่เป็นการถือสวยๆ ถือไว้เป็นเสมือนเครื่องแต่งกายอย่างหนึ่ง
ส่วนหัวตะพดก็จะเลี่ยมด้วยวัสดุมีค่า บอกถึงฐานะและบรรดาศักดิ์ของผู้ถือ
นับตั้งแต่ทอง เงิน นาค งา งาฝังมุก หยก กระดูกสัตว์ ทองเหลือง แก้ว เป็นต้น

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-1 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม้ครู กับไม้ตะพด ผมคิดว่าเป็นชนิดเดียวกันครับ

ความจริงแล้วไม้ตะพด เป็นของสูงเป็นของมงคล

ดั่งคฑาพระพรหม  ตามตำราข่อยโบราณได้ระบุ

เอาไว้ ถ้าจะไปงานมงคลให้ถือไม้ตะพดไปด้วย

เพื่อเป็นมงคลแก่งานหรือถ้าขึ้นบ้านใหม่ท่านว่า

ให้ถือไม้ตะพดข้างหนึ่งพระบูชาข้างหนึ่งขึ้นบ้าน

จะเป็นมงคลแก่บ้านยิ่งนักแล จนมีนิยาม

"ไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร"

เมื่อกาลก่อนระดับขุนนาง เจ้าพระยา จะมีใช้กันทุกท่าน

ต่อมาเกิดได้รับความนิยม จึงได้มีกันแพร่หลาย

ต่อมาไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นไม้ครูไม้มงคล

ถึงได้กลายเป็น อาวุธ แถมไม้ตะพดบางอันยังมี

มีดเสือซ่อนเล็บ อีก ไปกันใหญ่

**ขุนพันธ์ฯ ท่านเป็นผู้รู้จริง เวลามีงานมงคล

ท่านจะถือไม้ตะพด เพื่อเป็นมงคลแก่งาน**


ข้อความที่อาจารย์สรายุทธ เคยลงไว้ในกระทู้บ้านหลังเก่า



ขออัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระพุทธเจ้าหลวงทรงธารพระกร(ไม้เท้า) แบบฝรั่งที่ทรงสง่างามยิ่งนักมาฝากเพื่อนๆ ใน TKT ก่อน
จากนิตยสารแพรวนิตยสารแพรว ฉบับ ตค.๕๓

กว่า ๑๐๐ ปีผ่านไปพระองค์ท่านยังคงเป็นพระปิยะมหาราชในดวงใจของชาวไทยไม่เสื่อมคลาย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้