ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3905
ตอบกลับ: 10
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-2-22 08:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.
เนื่องในวันนี้เป็นวันครบรอบที่ท่านจอมพล ป. ถึงแก่กรรม ในวันที่ 11 มิถุนายน ทีมงาน toptenthailand ถือโอกาสแนะนำหัวข้อเพื่อรำลึกถึงท่านจอมพลท่านนี้ซึ่งมีบทบาททางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยหลายต่อหลายอย่าง ใน “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.”
ที่มา : เครดิต : คุณชายสิบหน้า, แหล่งที่มา : Toptenthailand,wiki pedia
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
10. จังหวัดพิบูลสงคราม
จังหวัดพิบูลสงคราม เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2484 โดยยกท้องที่การปกครองเสียมราฐขึ้นเป็นจังหวัด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามคืนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองประเทศกัมพูชาอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือ จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย ในประเทศกัมพูชา พื้นที่ของจังหวัดนี้เดิมอยู่ในมณฑลบูรพาในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450 ชื่อจังหวัดพิบูลสงครามนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ทั้งนี้ ยังปรากฏว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ไก่ขาวกางปีกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจอมพลแปลกไว้เป็นอนุสรณ์ของจังหวัดนี้ เมื่อมีการกำหนดให้มีตราประจำจังหวัดทั่วประเทศ กรมศิลปากรก็ได้นำอนุสาวรีย์ดังกล่าวมาผูกเป็นรูปตราประจำจังหวัดไว้ด้วย ส่วนชื่ออำเภอต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นในทั้ง 4 จังหวัด ที่ได้คืนมาจากฝรั่งเศสนั้น ส่วนหนึ่งตั้งชื่อตามบุคคลที่มีบทบาทอย่างสูงในการรบสงครามอินโดจีน อย่างไรก็ตาม ในการได้ดินแดนเสียมราฐคืนมาเป็นจังหวัดพิบูลสงครามนั้น นครวัด ยังคงอยู่ในเขตของฝรั่งเศส และปราสาทบันทายศรีแม้ตามเส้นแบ่งแดนจะอยู่ในเขตจังหวัดพิบูลสงคราม แต่ฝรั่งเศสได้ขอให้ขีดวงล้อมให้ดินแดนที่ตั้งของปราสาทบันทายศรี เป็นของฝรั่งเศสตามเดิม ทั้งนี้ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้เห็นชอบตามคำขอของฝรั่งเศส ปราสาททั้งสองจึงไม่อยู่ในเขตอธิปไตยของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
9. ถึงแก่กรรม
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี โดยก่อนที่จะถึงแก่อสัญกรรมนั้น จอมพล ป. ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่อสัญกรรมอย่างกระทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แม้ครั้งหนึ่งทั้งคู่จะเคยเป็นศัตรูทางการเมืองกันมาก่อนก็ตาม แต่ทว่าในเวลานั้นทั้งคู่ต่างก็หมดอำนาจและต้องลี้ภัยในต่างประเทศด้วยกัน แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็มีการติดต่อกันทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับในการติดต่อกัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กระทำการรัฐประหารจอมพล ป. ไปเมื่อปี พ.ศ. 2500 ก็ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2506 จึงมีการคาดหมายว่า อีกไม่นานทั้งจอมพล ป. และนายปรีดีจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย และจะรื้อฟื้นอำนาจทางการเมืองทางสายของคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หมดบทบาทไปเลยอย่างสิ้นเชิงจากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์) ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8. นโยบายสำคัญ
มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นต้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
7. ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6. บ้านพักคนชรา
บ้านพักคนชราบางแค หรือ บ้านบางแค ในปัจจุบัน เดิมใช้ชื่อว่า "สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ โดยเริ่มเปิดดำเนินการในสมัยของนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
5.ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ
โทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว" จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ปัจจุบันออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และในขณะนี้ใช้ชื่อ โมเดิร์นไนน์ทีวี)
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4. รัฐประหาร
จอมพล ป. เป็นแกนนำในการก่อรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ซึ่งถือว่าเป็นการรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. บทบาททางการเมือง
ท่านเป็น นายกรัฐมนตรี ที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยมและการปลุกระดมความคลั่งชาติในบางครั้ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-2-22 08:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2. ผู้เปลี่ยนแปลง
ท่านจอมพล ป. เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลง จาก “ประเทศสยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” และยังเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงเพลงชาติมาใช้แบบปัจจุบันอีกด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...