ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3902
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.

[คัดลอกลิงก์]
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.


                                                                                                                                                                                               


                                เนื่องในวันนี้เป็นวันครบรอบที่ท่านจอมพล ป. ถึงแก่กรรม ในวันที่ 11 มิถุนายน ทีมงาน toptenthailand ถือโอกาสแนะนำหัวข้อเพื่อรำลึกถึงท่านจอมพลท่านนี้ซึ่งมีบทบาททางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยหลายต่อหลายอย่าง ใน “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จอมพล ป.”                                                                       

                                                ที่มา : เครดิต : คุณชายสิบหน้า, แหล่งที่มา : Toptenthailand,wiki pedia



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10. จังหวัดพิบูลสงคราม
                                                   


                            จังหวัดพิบูลสงคราม เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2484 โดยยกท้องที่การปกครองเสียมราฐขึ้นเป็นจังหวัด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามคืนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองประเทศกัมพูชาอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือ จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย ในประเทศกัมพูชา พื้นที่ของจังหวัดนี้เดิมอยู่ในมณฑลบูรพาในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450 ชื่อจังหวัดพิบูลสงครามนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ทั้งนี้ ยังปรากฏว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ไก่ขาวกางปีกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจอมพลแปลกไว้เป็นอนุสรณ์ของจังหวัดนี้ เมื่อมีการกำหนดให้มีตราประจำจังหวัดทั่วประเทศ กรมศิลปากรก็ได้นำอนุสาวรีย์ดังกล่าวมาผูกเป็นรูปตราประจำจังหวัดไว้ด้วย ส่วนชื่ออำเภอต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นในทั้ง 4 จังหวัด ที่ได้คืนมาจากฝรั่งเศสนั้น ส่วนหนึ่งตั้งชื่อตามบุคคลที่มีบทบาทอย่างสูงในการรบสงครามอินโดจีน อย่างไรก็ตาม ในการได้ดินแดนเสียมราฐคืนมาเป็นจังหวัดพิบูลสงครามนั้น นครวัด ยังคงอยู่ในเขตของฝรั่งเศส และปราสาทบันทายศรีแม้ตามเส้นแบ่งแดนจะอยู่ในเขตจังหวัดพิบูลสงคราม แต่ฝรั่งเศสได้ขอให้ขีดวงล้อมให้ดินแดนที่ตั้งของปราสาทบันทายศรี เป็นของฝรั่งเศสตามเดิม ทั้งนี้ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้เห็นชอบตามคำขอของฝรั่งเศส ปราสาททั้งสองจึงไม่อยู่ในเขตอธิปไตยของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9. ถึงแก่กรรม
                                                   


                            จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี โดยก่อนที่จะถึงแก่อสัญกรรมนั้น จอมพล ป. ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่อสัญกรรมอย่างกระทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แม้ครั้งหนึ่งทั้งคู่จะเคยเป็นศัตรูทางการเมืองกันมาก่อนก็ตาม แต่ทว่าในเวลานั้นทั้งคู่ต่างก็หมดอำนาจและต้องลี้ภัยในต่างประเทศด้วยกัน แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็มีการติดต่อกันทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับในการติดต่อกัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กระทำการรัฐประหารจอมพล ป. ไปเมื่อปี พ.ศ. 2500 ก็ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2506 จึงมีการคาดหมายว่า อีกไม่นานทั้งจอมพล ป. และนายปรีดีจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย และจะรื้อฟื้นอำนาจทางการเมืองทางสายของคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หมดบทบาทไปเลยอย่างสิ้นเชิงจากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์) ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8. นโยบายสำคัญ
                                                   


                            มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นต้น

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7. ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
                                                   


                            ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6. บ้านพักคนชรา
                                                   


                            บ้านพักคนชราบางแค หรือ บ้านบางแค ในปัจจุบัน เดิมใช้ชื่อว่า "สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ โดยเริ่มเปิดดำเนินการในสมัยของนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5.ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ
                                                   


                            โทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว" จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ปัจจุบันออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และในขณะนี้ใช้ชื่อ โมเดิร์นไนน์ทีวี)

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4. รัฐประหาร
                                                   


                            จอมพล ป. เป็นแกนนำในการก่อรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ซึ่งถือว่าเป็นการรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3. บทบาททางการเมือง
                                                   


                            ท่านเป็น นายกรัฐมนตรี ที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยมและการปลุกระดมความคลั่งชาติในบางครั้ง

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-22 08:42 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2. ผู้เปลี่ยนแปลง
                                                   


                            ท่านจอมพล ป. เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลง จาก “ประเทศสยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” และยังเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงเพลงชาติมาใช้แบบปัจจุบันอีกด้วย

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้