ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7859
ตอบกลับ: 38
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทศชาติชาดก

[คัดลอกลิงก์]
ทศชาติชาดก
ชาดก[size=15.555556297302246px] คือ ?
ขอยกคำอธิบายด้วยข้อมูลในพระไตรปิฏก ดังนี้



[size=15.555556297302246px]พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทานเรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง
[size=15.555556297302246px]คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
   กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้
[size=15.555556297302246px]ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ
[size=15.555556297302246px]อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า ในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง, ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก

[size=15.555556297302246px]พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๒

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็กๆน้อยๆรวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาวๆทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
...


ที่มา http://www.dhammathai.org/chadok/chadok10.php



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๑. เ ต มี ย์ ช า ด ก - ( พระเตมีย์ใบ้ )

[size=15.555556297302246px]ระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้ พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า
"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด" ด้วยอานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มีรูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนามโอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระราชาธิราชของมหาทวีปทั้งสี่ พระราชาทรงยินดี เป็นอย่างยิ่ง และทรงเลือกแม่นมที่มีลักษณะดีเลิศตามตำรา จำนวน 64 คน เป็นผู้ปรนนิบัติเลี้ยงดูพระเตมีย์กุมาร วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตัก ขณะที่กำลัง พิพากษาโทษผู้ร้าย 4 คน พระราชาตรัสสั่งให้เอาหวาย ที่มีหนามแหลมคมมาเฆี่ยนผู้ร้ายคนหนึ่ง แล้วส่งไปขังคุก ให้เอาฉมวกแทงศีรษะผู้ร้ายคนที่สาม และให้ใช้หลาว เสียบผู้ร้ายคนสุดท้าย
[size=15.555556297302246px]   พระเตมีย์ซึ่งอยู่บนตักพระบิดาได้ยินคำพิพากษาดังนั้น ก็มีความตกใจหวาดกลัว ทรงคิดว่า
"ถ้าเราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเราตายไป ก็จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"
   เนื่องจากพระเตมีย์เป็นผู้มีบุญ จึงรำลึกชาติได้และทรงทราบว่า ในชาติก่อนได้เคยเป็นพระราชาครองเมือง และได้ตัดสินโทษ ผู้ร้ายอย่างเดียวกันนี้ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์จึงต้องตกนรก อยู่ถึง 7,000 ปี ได้รับความทุกข์ทรมาณเป็นอันมาก พระเตมีย์ทรงมีความหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทรงรำพึงว่า
   "ทำอย่างไร หนอ เราจึงจะไม่ต้องทำบาป และไม่ต้องตกนรกอีก"
ขณะนั้นเทพธิดาที่รักษาเศวตฉัตรได้ยินคำรำพึงของพระเตมีย์ จึงปรากฏกายให้พระองค์เห็นและแนะนำพระเตมีย์ว่า
   "หากพระองค์ทรงหวั่นที่จะกระทำบาป ทรงหวั่นเกรงว่าจะตกนรก ก็จงทำเป็น หูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ย อย่าให้ชนทั้งหลาย รู้ว่าพระองค์เป็นคนฉลาด เป็นคนมีบุญ พระองค์ จะต้องมีความอดทน ไม่ว่าจะได้รับความเดือดร้อนอย่างใดก็ต้องแข็งพระทัย ต้องทรงต่อสู้ กับพระทัย ตนเองให้จงได้ อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาชักจูงใจ พระองค์ไปจากหนทางที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้"
   พระเตมีย์กุมารได้ยินเทพธิดาว่าดังนั้น ก็ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
"ต่อไปนี้ เราจะทำตนเป็นคนใบ้ หูหนวก และง่อยเปลี้ย ไม่ว่าจะมีเรื่องอันใดเกิดขึ้น เราก็จะ ไม่ละความตั้งใจเป็นอันขาด"

   นับแต่นั้นมา พระเตมีย์ก็ทำพระองค์เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อย ไม่ร้อง ไม่พูด ไม่หัวเราะ และไม่เคลื่อนไหว ร่างกายเลย พระราชาและพระมเหสีทรงมีความวิตกกังวล ในอาการของพระโอรส ตรัสสั่งให้พี่เลี้ยงและแม่นมทดลอง ด้วยอุบายต่างๆ เช่น ให้อดนม พระเตมีย์ก็ทรงอดทน ไม่ร้องไห้ ไม่แสดงความหิวโหย ครั้นพระราชาให้พี่เลี้ยง เอาขนมล่อ พระเตมีย์ก็ไม่สนพระทัย นิ่งเฉยตลอดเวลา พระราชาทรงมีความหวังว่า พระโอรสคงไม่ได้หูหนวก เป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยจริง จึงโปรดให้ทดลอง ด้วยวิธีต่างๆ เป็นลำดับ เมื่ออายุ 2 ขวบ เอาผลไม้มาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 4 ขวบ เอาของเสวยรสอร่อยมาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 5 ขวบ พระราชาให้เอาไฟมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่แสดงความ ตกใจกลัว อายุ 6 ขวบ เอาช้างมาขู่ อายุ 7 ขวบ เอางูมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่หวาดกลัว ไม่ถอยหนีเหมือนเด็กอื่นๆ พระราชาทรงทดลองด้วยวิธีการต่างๆเรื่อยมา จนพระเตมีย์ อายุได้ 16 พรรษา ก็ไม่ได้ผล พระเตมีย์ยังทรงทำเป็นหูหนวก ทำเป็นใบ้ และไม่เคลื่อนไหวเลย ตลอดเวลา 16 ปี
[size=15.555556297302246px]   ในที่สุด พระราชาก็ให้หาบรรดาพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลายมาและตรัสถามว่า
"พวกเจ้าเคยทำนายว่า ลูกเราจะเป็น ผู้มีบุญ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อลูกเรามีอาการเหมือนคน หูหนวก เป็นใบ้ และเป็น ง่อยเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรดี"
พราหมณ์และที่ปรึกษาพากันกราบทูลว่า

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"เมื่อตอนที่ประสูตินั้นพระโอรส มีลักษณะเป็นผู้มีบุญ แต่บัดนี้ เมื่อได้กลับกลายเป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย ก็กลายเป็นกาลกิณีจะ ทำให้บ้านเมืองและประชาชนเดือดร้อน ขอให้พระองค์สั่งให้นำพระโอรสไปฝังที่ป่าช้าเถิดพะย่ะค่ะ จะได้สิ้นอันตราย"

   พระราชาได้ยินดังนั้นก็ทรงเศร้าพระทัยด้วยความรักพระโอรส แต่ก็ไม่อาจแก้ไขอย่างไรได้ เพราะเป็น ห่วงบ้านเมืองและ ประชาชน จึงต้องทรงทำตามคำกราบของพราหมณ์และ ที่ปรึกษาทั้งหลาย พระนางจันทเทวีทรงทราบว่า พระราชาให้นำ พระโอรสไปฝังที่ป่าช้า ก็ทรงร้องไห้คร่ำครวญว่า
   "พ่อเตมีย์ลูกรัก ของแม่ แม่รู้ว่าลูกไม่ใช่คนง่อยเปลี้ย ไม่ใช่คนหูหนวก ไม่ใช่คนใบ้ ลูกอย่าทำอย่างนี้เลย แม่เศร้าโศกมา ตลอดเวลา 16 ปีแล้ว ถ้าลูกถูกนำไปฝัง แม่คงเศร้าโศกจนถึงตายได้นะลูกรัก"

   พระเตมีย์ได้ยินดังนั้นก็ทรงสงสารพระมารดาเป็นอันมาก ทรงสำนึกในพระคุณของพระมารดา แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรำลึกว่า พระองค์ตั้งพระทัยไว้ว่า จะไม่ทำการใดที่จะทำให้ต้องไปสู่นรกอีก จะไม่ทรงยอมละความตั้งใจที่จะทำเป็นใบ้ หูหนวก และเป็นง่อย จะไม่ยอมให้สิ่งใดมาชักจูงใจพระองค์ ไปจากหนทางที่ทรงวางไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด

   พระราชาจึงตรัสสั่งให้นายสารถีชื่อ สุนันทะ นำพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้า พาไปที่ป่าช้าผีดิบ ให้ขุดหลุมแล้วเอาพระเตมีย์โยนลงไปในหลุมเอาดินกลบเสียให้ตาย นายสุนันทะจึงทรงอุ้มพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่ป่าช้าผีดิบเมื่อไปถึงป่าช้านายสุนันทะก็เตรียม ขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์ พระเตมีย์กุมารประทับอยู่บนราชรถ ทรงรำพึงว่า
   "บัดนี้เราพ้นจากความทุกข์ ว่าจะต้องเป็นพระราชา พ้นความทุกข์ว่า จะต้องทำบาป เราได้อดทนมาตลอดเวลา 16 ปี ไม่เคยเคลื่อน ไหวร่างกายเลย เราจะลองดูว่า เรายังคงเคลื่อนไหวได้หรือไม่ มีกำลังร่างกายสมบูรณ์หรือไม่"

   รำพึงแล้ว พระเตมีย์ก็เสด็จลงจากราชรถ ทรงเคลื่อนไหว ร่างกาย ทดลองเดินไปมา ก็ทราบว่า ยังคงมีกำลังร่างกาย สมบูรณ์เหมือนคนปกติ จึงทดลองยกราชรถ ก็ปรากฏว่าทรงมีกำลังยกราชรถขึ้นกวัดแกว่ง ได้อย่างง่ายดาย จึงทรงเดินไปหา นายสุนันทะที่กำลังก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่ พระเตมีย์ตรัสถาม นายสุนันทะว่า
   "ท่านเร่งรีบขุดหลุมไปทำไม"
นายสุนันทะตอบ คำถามโดยไม่ได้เงยหน้าขึ้นดูว่า
   "เราขุดหลุมจะฝังพระโอรส ของพระราชา เพราะพระโอรสเป็นง่อย เป็นใบ้ และหูหนวก พระราชาตรัสสั่งให้ฝัง เสีย จะได้ไม่เป็นอันตรายแก่บ้านเมือง"
พระเตมีย์จึงตรัสว่า
   "เราไม่ได้เป็นใบ้ ไม่ได้หูหนวก และไม่ง่อยเปลี้ย จงเงยขึ้นดูเราเถิด ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็จะประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"

   นายสารถีเงยขึ้นดู เห็นพระเตมีย์ก็จำไม่ได้ จึงถามว่า
   "ท่านเป็นใคร ท่านมีรูปร่าง งามราวกับเทวดา ท่านเป็นเทวดาหรือ หรือว่าเป็นมนุษย์ ท่านเป็นลูกใคร ทำอย่างไร เราจึงจะรู้จักท่าน"

   พระเตมีย์ตอบว่า
   "เราคือเตมีย์กุมาร โอรสพระราชา ผู้เป็นนายของท่าน ถ้าท่านฝังเราเสียท่านก็จะได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พระราชาเปรียบเหมือนต้นไม้ ตัวเราเปรียบเหมือนกิ่งไม้ ท่านได้อาศัยร่มเงาไม้ ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็ได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม นายสารถียังไม่เชื่อว่าเป็นพระกุมารที่ตนพามา พระเตมีย์ทรง ประสงค์จะให้นายสารถีเชื่อ จึงตรัสอธิบาย ให้เห็นว่าหาก นายสารถีจะฝังพระองค์ก็ได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร ทรงอธิบายว่า "ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะไปที่ได ก็มีคนคบหามาก จะไม่อดอยาก ไปที่ใดก็มีผู้สรรเสริญบูชา โจรจะไม่ข่มเหง พระราชาไม่ดูหมิ่น จะเอาชนะศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร เมื่อมาถึงบ้านเรือนของตน หมู่ญาติและประชาชน จะพากันชื่นชมยกย่อง ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมได้รับการสักการะ เพราะเมื่อสักการะท่านแล้ว ย่อมได้รับการสักการะตอบ เมื่อเคารพบูชาท่านแล้ว ย่อมได้รับการเคารพตอบ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรืองเหมือนกองไฟรุ่งโรจน์ ดังเทวดา เป็นผู้มีมิ่งขวัญสิริมงคลประจำตนอยู่เสมอ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะทำการใดก็สำเร็จผล โคจะมีลูกมาก หว่านพืชลงในนา ก็จะงอกงาม แม้จะพลัดตกเหว ตกจากภูเขา ตกจากต้นไม้ ก็จะไม่เป็นอันตราย ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ศัตรูไม่อาจข่มเหงได้ เพราะเป็นผู้มีมิตรมาก เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่มีราก ติดต่อพัวพัน ลมแรงก็ไม่อาจทำร้ายได้ "

   นายสารถีได้ยินพระเตมีย์ตรัส ยิ่งเกิดความสงสัย จึงเดินมาดูที่ราชรถ ก็ไม่เห็นพระกุมารที่ตนพามา ครั้นเดิน กลับมาพินิจพิจารณาพระเตมีย์อีกครั้งก็จำได้ จึงทูลว่า "ข้าพเจ้าจะพาพระองค์กลับวัง ขอเชิญเสด็จกลับไป ครองพระนครเถิด"
    พระเตมีย์ตรัสตอบว่า
" เราไม่กลับไปวัง อีกแล้ว เราได้ตัดขาดจากความ ยินดีในสมบัติทั้งหลาย เราได้ตั้งความอดทนมาเป็นเวลาถึง 16 ปี อันราชสมบัติ ทั้ง พระนครและความสุข ความรื่นเริงต่างๆ เป็นของน่าเพลิดเพลิน แต่าเราไม่ปรารถนาจะหลงอยู่ในความเพลิดเพลินนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำบาปอีก เราจะไม่ก่อเวรให้เกิดขึ้นอีกแล้ว บัดนี้เราพ้นจากภาระนั้นแล้ว เพราะพระบิดาพระมารดา ปล่อยเราให้พ้นจากราชสมบัติมาแล้ว เราพ้นจากความหลงใหล ในกิเลสทั้งหลาย เราจะขอบวชอยู่ในป่านี้แต่ลำพัง เราต่อสู้ได้ชัยชนะในจิตใจของเราแล้ว"
   เมื่อตรัสดังนั้น พระเตมีย์กุมารมีความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง รำพึงกับพระองค์เองว่า
"ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี"
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:05 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นายสุนันทะสารถีได้ฟังก็เกิดความยินดี ทูลพระเตมีย์ว่า จะขอบวชอยู่กับพระเตมีย์ในป่า แต่พระองค์ เห็นว่า หากนายสารถีไม่กลับไปเมือง จะเกิดความสงสัยว่าพระองค์ หายไปไหน ทั้งนายสารถี ราชรถ เครื่องประดับทั้งปวงก็สูญหายไป ควรที่นายสารถีจะนำสิ่งของทั้งหลายกับไปพระราชวัง ทูลเรื่องราวให้พระราชาทรงทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับมา บวชเมื่อหมดภาระ นายสุนันทะจึงกลับไปกราบทูลพระราชาว่า พระเตมีย์กุมาร มิได้วิกลวิการ แต่ทรงมีรูปโฉมงดงามและ ตรัสได้ไพเราะ เหตุที่แสร้งทำเป็นคนพิการก็เพราะไม่ปรารถนาจะครองราชสมบัติ ไม่ปรารถนาจะก่อ เวรทำบาปอีกต่อไป

   เมื่อพระราชาและพระมเหสีได้ทรงทราบ ก็ทรงปลื้มปิติยินดี โปรดให้จัดกระบวนไปรับพระเตมีย์กลับจากป่า ขณะนั้น พระเตมีย์ทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในบรรณศาลาซึ่งเทวดา เนรมิตไว้ให้ เมื่อพระบิดา พระมารดาเสด็จไปถึง พระเตมีย์จึงเสด็จมาต้อนรับ ทักทายปราศรัยกันด้วยความยินดี พระราชาเห็นพระโอรสผนวชเป็นฤาษี เสวยใบไม้ลวก เป็นอาหาร และประทับอยู่ลำพังในป่า จึงตรัสถามว่าเหตุใด จึงยังมีผิวพรรณผ่องใส ร่างกายแข็งแรง พระเตมีย์ตรัส ตอบพระบิดาว่า "อาตมามีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่ต้องเศร้าโศกถึงอดีต ไม่ต้องรอคอยอนาคต อาตมาใช้ชีวิตให้เป็นไปตามที่สมควรในปัจจุบัน คนพาลนั้นย่อมซูบซีดเพราะมัวโศกเศร้าถึงอดีต เพราะมัวรอคอยอนาคต"

    พระราชาตรัสตอบว่า
"ลูกยังหนุ่มยังแน่นแข็งแรง จะมามัวอยู่ทำอะไรในป่า กลับไปบ้านเมืองเถิดกลับ ไปครองราชสมบัติ มีโอรสธิดา เมื่อชราแล้วจึงค่อยมาบวช"

   พระเตมีย์ตรัสตอบว่า "การบวชของคนหนุ่มย่อมเป็นที่สรรเสริญ ใครเล่าจะนอนใจได้ว่ายังเป็นหนุ่ม ยังอยู่ไกลจากความตาย อายุคนนั้นสั้นนัก เหมือนอายุของปลาในเวลาที่น้ำน้อย"

    พระราชาตรัสขอให้พระเตมีย์กลับไปครองราชสมบัติ ทรงกล่าวชักชวนให้นึกถึงความสุขสบายต่างๆ พระเตมีย์จึงตรัสตอบว่า "วันคืนมีแต่จะล่วงเลยไป ผู้คนมีแต่ จะแก่ เจ็บและตาย จะเอาสมบัติไปทำอะไร ทรัพย์สมบัติและ ความสุขทั้งหลายเอาชนะความตายไม่ได้ อาตมาพ้นจาก ความผูกพันทั้งหลายแล้ว ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติอีกแล้ว"

   เมื่อพระราชาได้ยินดังนั้น จึงเห็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ในการออกบวช ทรงประสงค์ที่จะละทิ้งราชสมบัติออกบวช พระมเหสี และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวง รวมทั้งบรรดา ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสี ก็พร้อมใจกันออกบวช บำเพ็ญเพียรโดยทั่วหน้ากัน เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความผูกพัน ในโลกมนุษย์ ทั้งนี้เป็นด้วยพระเตมีย์กุมาร ทรงมีความอดทนมีความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่ในการที่ไม่ก่อเวร ทำบาป ทรงมุ่งมั่นอดทน จนประสบผลสำเร็จดังที่หวัง เหมือนดังที่ทรงรำพึงว่า
   " ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี "
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๒. ช น ก ช า ด ก - ( พระมหาชนก )

ณ เมืองมิถิลาแห่งรัฐวิเทหะ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนก ทรงมีพระโอรสสององค์ คือ เจ้าอริฏฐชนก และ เจ้าโปลชนก เจ้าอริฏฐชนกทรงเป็นอุปราช ส่วนเจ้าโปลชนกทรง เป็นเสนาบดี เมื่อพระราชบิดาสวรรคต เจ้าอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา เจ้าโปลชนกทรงเป็นอุปราช ทรงเอาใจใส่ดูแลบ้านเมืองช่วยเหลือพระเชษฐาอย่างดียิ่ง มีอำมาตย์คนหนึ่งไม่พอใจพระเจ้าโปลชนก จึงหาอุบายให้ พระราชาอริฏฐชนกระแวงพระอนุชา โดยทูลพระราชาว่า เจ้าโปลชนกคิดขบถ จะปลงพระชนม์พระราชา พระราชาทรงเชื่อคำ อำมาตย์ จึงให้จับเจ้าโปลชนกไปขังไว้ เจ้าโปลชนกเสด็จหนี ไปจากที่คุมขังได้หลบไปอยู่ที่ชายแดนเมืองมิถิลา เจ้าโปลชนก ทรงคิดว่า เมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปราชนั้น มิได้เคยคิดร้ายต่อพระราชา ผู้เป็นพี่เลย แต่ก็ยังถูกระแวงจนต้องหนีมา ถ้าพระราชาทรงรู้ว่า อยู่ที่ไหนก็คงให้ทหารมาจับไปอีกจนได้ บัดนี้ผู้คนมากมาย ที่ชายแดนที่เห็นใจ และพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วย ควรที่จะรวบรวมผู้คนไปโจมตีเมืองมิถิลาเสียก่อนจึงจะดีกว่า

   เมื่อคิดดังนั้นแล้ว เจ้าโปลชนกก็พาสมัครพรรคพวกยกเป็น กองทัพไปล้อมเมืองมิถิลา บรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากัน เข้ากับเจ้าโปลชนกอีกเป็นจำนวนมาก เพราะเห็นว่าเจ้าโปลชนก เป็นผู้ซื่อสัตย์และมีความสามารถ แต่กลับถูกพระราชาระแวง และจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม ครั้นเมื่อเจ้าโปลชนกมีผู้คนไพร่พลเข้าสมทบด้วยเป็นจำนวน มากมายเช่นนี้ พระเจ้าอริฏฐชนกทรงเห็นว่า ไม่มีทางจะเอาชนะ ได้ จึงตรัสสั่งพระมเหสีซึ่งกำลังทรงครรภ์แก่ ให้ทรงหลบหนี เอาตัวรอด ส่วนพระองค์เองทรงออกทำสงคราม และสิ้นพระชนม์ ในสนามรบ เจ้าโปลชนกจึงทรงได้เป็นกษัตริย์ ครองเมืองมิถิลาสืบต่อมา ฝ่ายพระมเหสีของพระเจ้าอริฏฐชนก เสด็จหนีออกจาก เมืองมา ตั้งพระทัยจะเสด็จไปอยู่เมือง กาลจัมปากะ แต่กำลังทรงครรภ์แก่ เดินทางไม่ไหว ด้วยเดชานุภาพ แห่งพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในพระครรภ์ พระอินทร์จึงเสด็จมาช่วย ทรงแปลงกายเป็นชายชราขับเกวียนมาที่ศาลาที่ พระนางพักอยู่ และถามขึ้นว่า
   "มีใครจะไปเมืองกาลจัมปากะบ้าง" พระนางดีพระทัยรีบตอบว่า "ลุงจ๋า ฉันจะไปจ๊ะ" พระอินทร์แปลงจึงรับพระนางขึ้นเกวียน พาเดินทางไป เมืองกาลจัมปากะ ด้วยอานุภาพเทวดา แม้ระยะทาง ไกลถึง 60 โยชน์ เกวียนนั้นก็เดินทางไปถึงเมืองในชั่ววันเดียว พระมเหสีเสด็จไปนั่งพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งในเมืองนั้น

   บังเอิญมีพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่งเดินผ่าน มาเห็น พระนางเข้า ก็เกิดความเอ็นดูสงสาร จึงเข้าไปไต่ถาม พระนางก็ตอบว่าหนีมาจากเมืองมิถิลา และไม่มีญาติพี่น้องอยู่ ที่เมืองนี้เลย พราหมาณ์ทิศาปาโมกข์จึงรับพระนางไปอยู่ด้วย ที่บ้านของตน อุปการะเลี้ยงดูพระนางเหมือนเป็นน้องสาว ไม่นานนัก พระนางก็ประสูติพระโอรส ทรงตั้งพระนามว่า มหาชนกกุมาร ซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกา ของพระกุมาร มหาชนกกุมารทรงเติบโตขึ้นในเมืองกาลจัมปากะ มีเพื่อนเล่นเด็กๆ วัยเดียวกันเป็นจำนวนมาก วันหนึ่ง มหาชนกกุมารโกรธกับเพื่อนเล่น จึงลากเด็กคนนั้นไปด้วย กำลังมหาศาล เด็กก็ร้องไห้บอกกับคนอื่นๆ ว่า ลูกหญิงม่าย รังแกเอา มหาชนกกุมารได้ยินก็แปลกพระทัยจึงไปถาม พระมารดาว่า "ทำไมเพื่อนๆ พูด ว่า ลูกเป็นลูกแม่ม่าย พ่อของลูกไปไหน" พระมารดาตอบว่า "ก็ท่านพราหมณ์ทิศา ปาโมกข์นั่นแหล่ะเป็น พ่อของลูก" เมื่อมหาชนกกุมารไป บอกเพื่อนเล่นทั้งหลาย เด็กเหล่านั้นก็หัวเราะเยาะ บอกว่า "ไม่จริง ท่านอาจารย์ทิศาปาโมกข์ไม่ใช่พ่อของเจ้า" มหาชนกก็กลับมาทูลพระมารดา อ้อนวอนให้บอกความจริง พระมารดาขัดไม่ได้ จึงตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระโอรสทรงทราบ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  เมื่อพระกุมารทราบว่าพระองค์ทรงมี ความเป็นมาอย่างไร ก็ทรงตั้งพระทัยว่าจะร่ำเรียนวิชาการเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ จะได้เสด็จไปเอาราชสมบัติเมืองมิถิลาคืนมา ครั้นมหาชนกกุมารร่ำเรียนวิชาในสำนักพราหมณ์จนเติบใหญ่ พระชนม์ได้ 16 พรรษาจึงทูลพระมารดาว่า "หม่อมฉันจะเดินทาง ไปค้าขาย เมื่อมีทรัพย์สินมากพอแล้ว จะได้คิดอ่าน เอาบ้านเมืองคืนมา" พระมารดาทรงนำเอาทรัพย์สินมีค่ามาจากมิถิลา 3 สิ่ง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ววิเชียร อันมี ราคามหาศาล จึงประทานแก้วนั้นให้พระมหาชนกเพื่อนำไปซื้อสินค้า พระมหาชนกทรงจัดซื้อสินค้าบรรทุกลงเรือร่วมไปกับ พ่อค้าชาวสุวรรณภูมิ ในระหว่างทาง เกิดพายุใหญ่ โหมกระหน่ำ คลื่นซัดจนเรือจวนจะแตก บรรดาพ่อค้าและลูกเรือพากัน ตระหนกตกใจ บวงสรวง อ้อน วอนเทพยดาขอให้รอดชีวิต ฝ่ายมหาชนกกุมาร เมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้ว ก็เสวยอาหารจน อิ่มหนำ ทรงนำผ้ามาชุบน้ำมันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่นหนา ครั้นเมื่อเรือจมลง เหล่าพ่อค้ากลาสี เรือทั้งปวงก็จมน้ำ กลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำไปหมด แต่พระมหาชนกทรงมีกำลังจากอาหารที่เสวย มีผ้าชุบน้ำมัน ช่วยไล่สัตว์น้ำ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ดี จึงทรงแหวกว่าย อยู่ในทะเลได้นานถึง 7 วัน ฝ่ายนางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทร เห็นพระมหาชนก ว่ายน้ำอยู่เช่นนั้น จึงลองพระทัย พระมหาชนก "ใครหนอ ว่ายน้ำอยู่ได้ถึง 7 วัน ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง จะทนว่ายไปทำไมกัน" พระมหาชนกทรงตอบว่า "ความเพียรย่อมมีประโยชน์ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็จะว่ายไปจนกว่าจะถึง ฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง" นางมณีเมขลากล่าวว่า "มหาสมุทรนี้กว้างใหญ่นัก ท่านจะพยายามว่ายสักเท่าไรก็คงไม่ถึงฝั่ง ท่านคงจะ ตายเสียก่อนเป็นแน่" พระมหาชนกตรัสตอบว่า "คนที่ทำความเพียรนั้น แม้จะต้องตายไปในขณะกำลังทำ ความเพียรพยายามอยู่ ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำหนิติเตียนได้ เพราะได้ทำหน้าที่เต็มกำลังแล้ว " นางมณีเมขลาถามต่อว่า "การทำความพยายามโดยมองไม่เห็น ทางบรรลุเป้าหมายนั้น มีแต่ความยากลำบาก อาจถึงตายได้ จะต้องเพียรพยายามไปทำไมกัน" พระมหาชนกตรัสตอบว่า "แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เรา กำลังกระทำนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตาม ถ้าไม่เพียรพยายามแต่กลับหมดมานะเสียแต่ต้นมือ ย่อมได้รับ ผลร้ายของความเกียจคร้านอย่างแน่นอน ย่อมไม่มีวัน บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ บุคคลควรตั้งความเพียรพยายาม แม้การนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตาม เพราะเรามีความพยายาม ไม่ละความตั้งใจ เราจึงยังมีชีวิตอยู่ได้ ในทะเลนี้ เมื่อคนอื่นได้ตายกันไปหมดแล้ว เราจะพยายามสุดกำลัง เพื่อไปให้ถึงฝั่งให้จงได้" นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้น ก็เอ่ยสรรเสริญความเพียร ของมหาชนกกุมาร และช่วยอุ้มพามหาชนกกุมาร ไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา วางพระองค์ไว้ที่ศาลาในสวนแห่งหนึ่ง

   ในเมืองมิถิลา พระราชาโปลชนกไม่มีพระโอรส ทรงมีแต่ พระธิดาผู้ฉลาดเฉลียวเป็นอย่างยิ่ง พระนามว่า เจ้าหญิงสิวลี ครั้นเมื่อพระองค์ประชวรหนักใกล้จะสวรรคต บรรดาเสนา ทั้งปวงจึงทูลถามขึ้นว่า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วราชสมบัติ ควรจะตกเป็นของผู้ใด ในเมื่อไม่ทรงมีพระโอรส พระเจ้าโปลชนก ตรัสสั่งเสนาว่า "ท่านทั้งหลายจงมอบ ราชสมบัติให้แก่ผู้มีความสามารถดังต่อไปนี้ ประการแรก เป็นผู้ที่ทำให้พระราชธิดาของเราพอพระทัยได้ ประการที่สอง สามารถรู้ว่าด้านไหนเป็นด้านหัวนอนของ บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม ประการที่สาม สามารถยกธนูใหญ่ ซึ่งต้องใช้แรงคนธรรมดา ถึงพันคนจึงจะยกขึ้นได้ ประการที่สี่ สามารถชี้บอกขุมทรัพย์มหาศาลทั้ง 13 แห่งได้" แล้วจึงตรัสบอกปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่ง แก่เหล่าอำมาตย์ เช่น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่ภายในและภายนอก ขุมทรัพย์ที่ปลายไม้ ขุมทรัพย์ที่ปลายงา ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง เป็นต้น เมื่อพระราชาสิ้นพระชนม์ บรรดาเสนาบดี ทหาร พลเรือน และประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างพยายามที่จะ เป็นผู้สืบราชสมบัติ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้เจ้าหญิงสีวลีพอพระทัยได้ เพราะล้วนแต่พยายามเอาพระทัยเจ้าหญิงมากเกินไป จนเสียลักษณะของผู้ที่จะปกครองบ้านเมือง ไม่มีผู้ใดสามารถยก มหาธนูใหญ่ได้ ไม่มีผู้ใดรู้ทิศหัวนอนของบัลลังก์สี่เหลี่ยม และไม่มีผู้ใดไขปริศนาขุมทรัพย์ได้
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในที่สุดบรรดาเสนาข้าราชบริพารจึงควรตั้งพิธีเสี่ยงราชรถ เพื่อหาตัวบุคคลผู้มีบุญญาธิการสมควรครองเมือง บุษยราชรถเสี่ยงทายนั้นก็แล่นออกจากพระราชวัง ตรงไปที่สวน แล้วหยุดอยู่หน้าศาลาที่ พระมหาชนกทรงนอนอยู่ ปุโรหิตที่ตามราชรถจึงให้ประโคมดนตรีขึ้น พระมหาชนกได้ยินเสียงประโคม จึงลืมพระเนตรขึ้น เห็นราชรถ ก็ทรงดำริว่า คงเป็นราชรถเสี่ยงทาย พระราชาผู้มีบุญเป็นแน่ แต่ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดกลับบรรทมต่อไป ปุโรหิตเห็นดังนั้น ก็คิดว่า บุรุษผู้นี้เป็นผู้มีสติปัญญา ไม่ตื่นเต้นตกใจกับสิ่งใดโดยง่าย จึงเข้าไปตรวจดูพระบาทพระมหาชนก เห็นลักษณะต้องตาม คำโบราณว่าเป็นผู้มีบุญ จึงให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้ง แล้วเข้าไปทูลอัญเชิญ พระมหาชนกให้ทรงเป็นพระราชาเมืองมิถิลา พระมหาชนกตรัสถามว่า พระราชาไปไหนเสีย ปุโรหิตก็กราบทูลว่า พระราชาสวรรคต ไม่มีพระโอรสมี แต่พระธิดาคือเจ้าหญิงสิวลี แต่องค์เดียว พระมหาชนกจึงทรงรับเป็นกษัตริย์ครองมิถิลา ฝ่ายเจ้าหญิงสิวลีได้ทรงทราบว่า พระมหาชนกได้ราชสมบัติ ก็ประสงค์จะทดลองว่า พระมหาชนก สมควรเป็นกษัตริย์หรือไม่ จึงให้ราชบุรุษไปทูลเชิญเสด็จมาที่ปราสาทของพระองค์ พระมหาชนกก็เฉยเสีย มิได้ไปตามคำทูล เจ้าหญิงให้คนไปทูล ถึง 3 ครั้ง พระมหาชนกก็ไม่สนพระทัย จนถึงเวลาหนึ่งก็ เสด็จไปที่ปราสาทของเจ้าหญิงเอง โดยไม่ทรงบอกล่วงหน้า เจ้าหญิงตกพระทัยรีบเสด็จมาต้อนรับเชิญ ไปประทับบนบัลลังก์

   พระมหาชนกจึงตรัสถามอำมาตย์ว่าพระราชาที่สิ้นพระชนม์ ตรัสสั่งอะไรไว้บ้าง อำมาตย์ก็ทูลตอบ พระมหาชนกจึงตรัสสั่งว่า ข้อที่ 1 "ที่ว่าทำให้เจ้าหญิงพอพระทัย เจ้าหญิงได้ แสดงแล้วว่าพอพระทัยเราจึงได้เสด็จมาต้อนรับเรา" ข้อที่ 2 เรื่องปริศนาทิศหัวนอนบัลลังก์นั้น พระมหาชนกทรง คิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วถอดเข็มทองคำที่กลัดผ้าโพกพระเศียรออก ส่งให้เจ้าหญิงให้วางเข็มทองคำไว้ เจ้าหญิงทรงรับเข็มไปวางไว้ บนบัลลังก์สี่เหลี่ยม พระมหาชนกจึงทรงชี้บอกว่าตรงที่เข็มวาง อยู่นั้นแหละคือทิศหัวนอนของบัลลังก์ โดยสังเกต จากการที่ เจ้าหญิงทรงวางเข็มทองคำ จากพระเศียรไว้ ข้อที่ 3 นั้นก็ตรัสสั่งให้นำมหาธนูมา ทรงยกขึ้นและน้าวอย่าง ง่ายดาย ข้อที่ 4 เมื่ออำมาตย์กราบทูลถึงปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่ง พระมหาชนกทรงคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็ ตรัสบอกคำแก้ปริศนา ขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งได้หมด เมื่อสั่งให้คนไปขุดดู ก็พบขุมทรัพย์ ตามที่ตรัสบอกไว้ทุกแห่ง ผู้คนจึงพากันสรรเสริญปัญญาของ พระมหาชนกกันทั่วทุกแห่งหน พระมหาชนกโปรดให้เชิญพระมารดาและพราหมณ์ ทิศาปาโมกข์จากเมืองกาลจัมปากะ ทรงอุปถัมภ์ บำรุงให้สุขสบาย ตลอดมา จากนั้นทรงสร้างโรงทานใหญ่ 6 ทิศในเมืองมิถิลา ทรงบริจาคมหาทานเป็นประจำ เมืองมิถิลาจึงมีแต่ความผาสุก สมบูรณ์ เพราะพระราชาทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรส ทรงนามว่า ทีฆาวุกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้น พระบิดาโปรดให้ดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่มาวันหนึ่ง พระราชามหาชนกเสด็จอุทยานทอดพระเนตร เห็นมะม่วงต้นหนึ่งกิ่งหัก ใบไม้ร่วง อีกต้นมีใบแน่นหนา ร่มเย็นเขียวชอุ่ม จึงตรัสถาม อำมาตย์กราบทูลว่าต้นมะม่วง ที่มีกิ่งหักนั้น เป็นเพราะรสมีผลอร่อย ผู้คนจึงพากันสอยบ้าง เด็ดกิ่งและขว้างปาเพื่อเอาบ้าง จนมีสภาพเช่นนั้น ส่วนอีกต้น ไม่มีผล จึงไม่มีคนสนใจ ใบและกิ่งจึงสมบูรณ์เรียบร้อยดี พระราชาได้ฟังก็ทรงคิดว่า ราชสมบัติ เปรียบเหมือน ต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล เราจะทำตนเป็นผู้ ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล เราจะออกบรรพชา สละราชสมบัติเสีย มิให้เกิดกังวล

   พระราชาเสด็จกลับมาปราสาท ปลงพระเกศาพระมัสสุ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ครองอัฏฐบริขารครบถ้วน แล้วเสด็จออกจากมหาปราสาทไป ครั้นพระนางสิวลีทรงทราบ ก็รีบติดตามมา ทรงอ้อนวอนให้ พระราชาเสด็จกลับ พระองค์ก็ไม่ยินยอม พระนางสิวลีจึงทำอุบายให้อำมาตย์ เผาโรงเรือนเก่าๆ และ กองหญ้า กองใบไม้ เพื่อให้พระราชา เข้าพระทัยว่าไฟไหม้พระคลังจะได้เสด็จกลับ พระราชาตรัสว่า พระองค์เป็นผู้ไม่มีสมบัติแล้ว สมบัติที่แม้จริงของพระองค์ คือความสุขสงบจากการบรรพชานั้นยังคงอยู่กับพระองค์ ไม่มีผู้ใดทำลายได้ พระนางสิวลีทรงทำอุบายสักเท่าไร พระราชาก็มิได้สนพระทัย และตรัสให้ประชาชนอภิเษก พระทีฆาวุราชกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ เพื่อปกครองมิถิลาต่อไป พระนางสิวลีไม่ทรงละความเพียร พยายามติดตาม พระมหาชนกต่อไปอีก วันรุ่งขึ้นมีสุนัขคาบเนื้อที่เจ้าของเผลอ วิ่งหนีมาพบผู้คนเข้าก็ตกใจทิ้งชิ้นเนื้อไว้ พระมหาชนกคิดว่า ก้อนเนื้อนี้เป็นของไม่มีเจ้าของ สมควรที่จะเป็นอาหารของเราได้ จึงเสวยก้อนเนื้อนั้น พระนางสิวลีทรงเห็นดังนั้น ก็เสียพระทัย อย่างยิ่ง ที่พระสวามีเสวยเนื้อที่สุนัขทิ้งแล้ว แต่พระมหาชนกว่า นี่แหล่ะเป็นอาหารพิเศษ ต่อมาทั้งสองพระองค์ทรงพบเด็กหญิงสวมกำไลข้อมือ ข้างหนึ่งมีกำไลสองอัน อีกข้างมีอันเดียว พระราชาตรัสถามว่า "ทำไมกำไลข้างที่มีสองอันจึงมีเสียงดัง" เด็กหญิงตอบว่า "เพราะกำไลสองอันนั้น กระทบกันจึงเกิดเสียงดัง ส่วนที่มี ข้างเดียวนั้นไม่ได้กระทบกับอะไรจึงไม่มีเสียง" พระราชาจึง ตรัสแนะให้ พระนางคิดพิจารณาถ้อยคำของเด็กหญิง กำไลนั้นเปรียบเหมือนคนที่อยู่สองคน ย่อมกระทบกระทั่งกัน ถ้าอยู่คนเดียวก็จะสงบสุข แต่พระนางสิวลียังคงติดตาม พระราชาไปอีก จนมาพบนายช่างทำลูกศร นายช่างทูลตอบ คำถามพระราชาว่า "การที่ต้องหลับตาข้างหนึ่งเวลาดัด ลูกศรนั้น ก็เพราะถ้าลืมตาสอง ข้างจะไม่เห็นว่าข้างไหนคด ข้างไหนตรง เหมือนคนอยู่สองคนก็จะขัดแย้งกัน ถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ขัดแย้ง กับใคร" พระราชาตรัสเตือนพระนางสิวลีอีกครั้งหนึ่งว่า พระองค์ประสงค์จะเดินทางไปตามลำพัง เพื่อแสวงหา ความสงบไม่ประสงค์จะมีเรื่องขัดแย้งกระทบกระทั่ง หรือความไม่สงบอันเกิดจากการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น อีกต่อไป

   พระนางสิวลีได้ฟังพระวาจาดังนั้นก็น้อยพระทัยจึงตรัสว่า "ต่อไปนี้หม่อมฉันหมดวาสนาจะได้อยู่ร่วมกับ พระองค์อีกแล้ว" พระราชาจึงเสด็จไปสู่ป่าใหญ่แต่ลำพังเพื่อบำเพ็ญสมาบัติ มิได้กลับมาสู่พระนครอีก ส่วนพระนางสิวลี เสด็จกลับเข้าสู่ พระราชวัง อภิเษกพระทีฆาวุกุมารขึ้นเป็นพระราชา แล้วพระนางโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ต่างๆ เพื่อรำลึกถึง พระราชามหาชนก ผู้ทรงมีพระสติปัญญา และที่ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด คือ ทรงมีความ เพียรพยายามเป็นเลิศ มิได้เคยเสื่อมถอย จากความเพียร ทรงตั้งพระทัยที่จะกระทำการโดยเต็มกำลัง ความสามารถ เพราะทรงยึดมั่นว่า บุคคลควรตั้งความเพียรพยายามไม่ว่ากิจการนั้น จะยากสักเพียงใด ก็ตาม คนมีปัญญาแม้ได้รับทุกข์ ก็จะไม่สิ้นหวัง ไม่สิ้นความเพียรที่จะพาตนให้พ้นจากความทุกข์นั้นให้ ได้ในที่สุด
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-2-18 20:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓. สุ ว ร ร ณ ส า ม ช า ด ก - ( พระสุวรรณสาม )

ครั้งหนึ่ง มีสหายสองคนรักใคร่กันมาก ต่างก็ตั้งบ้านเรือน อยู่ใกล้เคียงกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ทั้งสองคนตั้งใจว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกชาย ก็จะให้แต่งงาน เพื่อครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะได้ ผูกพันใกล้ชิดกันไม่มีเสื่อมคลาย อยู่ต่อมาฝ่ายหนึ่งก็มีลูกชายชื่อว่า ทุกูลกุมาร อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว ชื่อว่า ปาริกากุมารี เด็กทั้งสองมีรูป ร่างหน่าตางดงาม สติปัญญาฉลาดเฉลียว และมีจิตใจมั่นอยู่ในศีล เมื่อเติบโตขึ้น พ่อแม่ของทั้งสองก็ตกลงจะทำตามที่เคย ตั้งใจไว้ คือให้ลูกของทั้งสองบ้านได้แต่งงานกัน แต่ทั้งทุกูลกุมารและปาริกากุมารี ต่างบอกกับพ่อแม่ ของตนว่า ไม่ต้องการแต่งงานกัน แม้จะรู้ดีว่า ฝ่ายหนึ่ง เป็นคนดี รูปร่างหน้าตางดงาม และเป็นเพื่อนสนิท มาตั้งแต่เด็กก็ตาม ในที่สุด พ่อแม่ของทั้งสองก็จัดการแต่งงานให้จนได้ แต่แม้ว่าทุกูลและปาริกาจะแต่งงานกันแล้ว ต่างยังคงประพฤติ ปฏิบัติเสมือนเป็นเพื่อนกันตลอดมา ไม่เคยประพฤติต่อกัน ฉันสามีภรรยา ยิ่งไปกว่านั้นทั้ง สองคนมีความปราถนาตรงกัน คือประสงค์จะออกบวช ไม่อยากดำเนินชีวิตอย่างชาวบ้าน ธรรมดาซึ่ง จะต้องพัวพันอยู่กับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อเป็นอาหารบ้าง เพื่อป้องกันตัวเองบ้าง
   เมื่อได้อ้อนวอนพ่อแม่ทั้งสองบ้านอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุด ทั้งสองก็ได้รับคำอนุญาตให้บวชได้ จึงพากัน เดินทางไปสู่ป่าใหญ่ และอธิษฐานออกบวช นุ่งห่มผ้าย้อม เปลือกไม้และไว้มวยผมอย่างดาบส บำเพ็ญ ธรรมอยู่ ณ ศาลาในป่านั้น ด้วยความเมตตาอันมั่นคง ของทั้งสองคน บรรดาสิงสาราสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต่างก็มีเมตตาจิตต่อกัน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ต่างหากินอยู่ด้วยความสุขสำราญ ต่อมาวันหนึ่ง พระอินทร์เล็งเห็นอันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ ทุกูลดาบสและปาริกาดาบสินี จึงตรัสบอกแก่ ดาบสว่า "ข้าพเจ้าเล็งเห็นว่า อันตรายจะเกิดขึ้นแก่ท่าน ขอให้ท่านจงมีบุตร เพื่อเป็น ผู้ช่วยเหลือ ปรนนิบัติในยามยากลำบากเถิด" ทุกูลดาบสจึงถามว่า "อาตมาบำเพ็ญพรตเพื่อความพ้นทุกข์ อาตมาจะมีบุตรได้อย่างไร อาตมาไม่ต้องการดำเนินชีวิต อย่างชาวโลก ที่จะทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในความทุกข์อีก" พระอินทร์ตรัสว่า "ท่านไม่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติ อย่างชาวโลก แต่ท่านจำเป็นต้องมีบุตรไว้ช่วย เหลือปรนนิบัติ ขอให้เชื่อข้าพเจ้าเถิด ท่านเพียงแต่เอามือลูบท้องนางปาริกา ดาบสินี นางก็จะตั้งครรภ์ ลูกในครรภ์นางจะได้เป็นผู้ดูแล ท่านทั้งสองต่อไป"
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้