ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3181
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

[คัดลอกลิงก์]
อดีตเด็กเรียนซ้ำชั้น อดีตเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า แต่เขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า
"Imagination is more important than knowledge"
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้


          เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญของโลก เขาคนนั้นคือ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"





          "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เป็นวลีอันอมตะที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทิ้งเอาไว้ให้แก่โลก ความรู้ทำให้เราฉลาดขึ้น แต่มันจะเป็นสิ่งที่อยู่คงเดิมอย่างนั้น หากเราไม่นำความรู้นั้นไปใส่จินตนาการเพิ่มเติม เปรียบเทียบง่ายๆ ความรู้ก็เหมือนกับปัจจุบัน ขณะที่จินตนาการเปรียบได้กับอนาคต แม้แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นผู้ทรงความรู้อย่าง ไอน์สไตน์ ยังไม่อยากให้เราจบแค่ความรู้และให้ความสำคัญกับจินตนาการมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นบนโลกของเรามานักต่อนักแล้ว


          หนึ่งตัวอย่างที่ดี คือ ก่อนปี ค.ศ. 1903 ความรู้คือมนุษย์ไม่สามารถบินได้ และคงได้หัวเราะกันจนฟันโยกแน่ๆ ถ้าในปีนั้น อยู่ดีๆ มีใครมาบอกว่า "ในวันข้างหน้า มนุษย์จะบินขึ้นไปบนฟ้าได้" แต่พี่น้องตระกูลไรต์ ใช้จินตนาการมองเห็นสิ่งที่ต่างออกไป พวกเขาทำการบินขึ้นฟ้าครั้งแรกในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1903 จนมาถึงวันนี้ทุกคนมีความรู้ใหม่ จากจินตนาการของพี่น้องตระกูลไรต์ว่า "มนุษย์สามารถบินขึ้นไปบนฟ้าได้ด้วยเครื่องบิน"
           เราใช้ความรู้ที่มีสร้างจินตนาการ แล้วใช้จินตนาการสร้างความรู้ใหม่ เพื่อที่จะได้จินตนาการต่อยิ่งสองสิ่งนี้พัฒนาควบคู่กันไปยิ่งดีมากๆ


           จากคำกล่าวข้างต้นของไอสไตน์ จะเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนกัน เพราะเห็นกันพูดอยู่ว่า "ความรู้สำคัญกว่าอื่นใด" คนเราสามารถใช้ความรู้ทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ คนที่มีความรู้ท่านเรียกว่า นักปราชญ์ แต่ทำไมไอสไตน์ถึงได้กล่าวในทางที่ตรงกันข้ามเช่นนั้น มีเหตุผลอื่นประการใดแอบแฝงหรือ หรือว่าเป็นการกล่าวขึ้นมาลอยๆ อย่างไม่มีเหตุผลเฉยๆ





          บางคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า ความรู้ที่ทำให้โลกเราเกิดความเปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา เพราะไม่ว่ายุคไหนๆ ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการที่คนในสังคมมีความรู้ต่างหาก ไม่ใช่เป็นเพราะการที่คนมีจินตนาการ ที่กล่าวเช่นนั้นก็ถูกแต่ก็ถูกไม่หมด แม้ว่าความรู้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่างๆ ในสังคมแต่ละยุคสมัยจนถึงในยุคสมัยปัจจุบัน เราจะอาศัยแต่เพียงความรู้อย่างเดียวก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ หากไม่อาศัยจินตนาการด้วยตามที่ได้กล่าวแล้วว่าจินตนาการและความรู้ต้องไปด้วยกันเสมอ ถึงแม้ว่าจินตนาการและความรู้มีความสำคัญพอๆกัน แต่โดยส่วนลึกแล้ว จินตนาการย่อมมีความสำคัญกว่า เพราะคนเราแม้ว่าตนเองจะมีความรู้ ต่อให้รู้มากขนาดไหนแต่ถ้าหากว่าไม่มีจินตนาการก็ไม่มีทางรู้เลยว่าจะเอาความรู้นั้นไปทำอะไร ไปใช้กับอะไร และเมื่อใช้ทำสิ่งนั้นแล้วผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สามารถที่จะใช้ความรู้นั้นๆ ให้เกิดผลได้เลย เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” มีความรู้มากแต่ก็เอาตัวไม่รอด แต่หากว่ามีจินตนาการรวมอยู่ด้วยก็จะทำให้คนเราล่วงรู้ว่าเป้าหมายของการนำความรู้ไปใช้นั้นเป็นอย่างไร ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน และก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษมากน้อยขนาดไหน



           แท้จริงแล้วคำกล่าวของ ไอสไตน์ ที่กล่าวไว้นั้นไม่ผิดหรอก หากว่าเราพิจารณาดูก็จะพบว่า สิ่งทั้งหลายในโลกที่เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบต่างๆ ก็เนื่องมาจากจินตนาการของคนเรานั้นเอง เพราะจินตนาการนี้เองที่ทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่เราปรารถนาได้และก็สำเร็จผลได้ในที่สุด แต่ก็ใช่ว่าความรู้นั้นไม่สำคัญเลย เพราะทั้งจินตนาการและความรู้จะต้องไปด้วยกันเสมออย่างที่กล่าวมาแล้ว ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ก็จะทำให้สิ่งที่เราทำนั้นไม่บรรลุเป้าหมายหรือไม่ประสบความสำเร็จได้


           จินตนาการจะเป็นเสมือนเป้าหมายปลายทางที่เราตั้งเอาไว้ ในขณะที่ความรู้นั้น
จะเป็นเสมือนกับวิธีการที่ทำให้เราเดินไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น



การที่โลกเราเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่เป็นอยู่นี้ก็เพราะว่าคนเรามีจินตนาการนั่นเอง หากว่ามีความรู้เพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก แต่เป็นเพราะว่าอาศัยจินตนาการร่วมอยู่ด้วย จึงเป็นผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมายมหาศาล ลองคิดดูหากว่าคนเรายังพากันจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆอย่างไม่มีวันหยุดแล้วละก้อ มันก็จะเป็นผลนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่โลกเราอย่างมากแน่นอน


           และท้ายนี้การอ่านนั้นได้จินตนาการ และไร้ขีดจำกัดอย่างแท้จริง แต่ละคนอ่านช้าเร็วไม่เท่ากันคนที่ต้องการความเร็วสามารถอ่านผ่านๆ หรือกระโดดไปกระโดดมาตามเนื้อหาที่ต้องการรู้ ทำให้จับใจความได้ในเวลาอันสั้น  ถ้าให้เลือกระหว่างการฟังบรรยายแบบ CD กับการอ่านหนังสือ คนที่ต้องการความเร็วใจร้อนอย่างวัยรุ่นจะเลือกอ่านหนังสือ เพราะเร็วกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่าไม่ต้องมาอดทนรอบรรยายจาก CD ถึง 1 ชั่วโมง เพราะข้อมูลข่าวสารมันมีมากมายจนล้นต้องเลือกอันที่ตรงกับความต้องการจริงๆ การฟังเสียพลังงานมากกว่าการอ่าน การอ่านจึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจ กว่าในการเสพข้อมูล เช่น คนที่อ่านหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์จินตนาการจะกว้างไกล  แต่พอไปดูเวอร์ชั่นหนังกลับไม่สนุก เพราะจินตนาการไม่โดนใจเท่ากับจินตนาการเอง เพราะการอ่านทำให้เกิดจินตนาการไร้ขีดจำกัด และจินตนาการไร้ขีดจำกัดสำคัญกว่าความรู้นั่นเอง

เครดิต : sites.google.com/site/bubu73z  : dek-d.com  : blog.eduzones.com
เยี่ยมๆๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้