ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6291
ตอบกลับ: 23
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพิชัยสงคราม

[คัดลอกลิงก์]
พระโพธิ์ปางห้ามสมุทร
•••••••••••••••••••••••••
การสร้างพระพุทธรูปตามที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการสร้างด้วยโลหะดิน ผง ว่าน เกสร นอกจากนี้ยังมีการสร้างด้วยวัตถุอย่างอื่นอีก เช่น หินอ่อนและไม้ เฉพาะไม้นั้นเท่าที่นิยมสร้างกันมากก็ได้แก่ พระไม้โพธิ์ สร้างเป็น ๒ ชนิดด้วยกัน คือ

๑. พระยืนปางห้ามสมุทร
๒. พระนั่งสมาธิ

สำหรับพระปางยืนห้ามสมุทรนั้น เป็นพระที่สร้างสำหรับบรรจุดวงชาตา เรียกกันว่า "พระพิชัยสงคราม" เพราะมีตำนานกล่าวไว้ในคัมภีร์พิชัยสงครามว่า ในกาลโบราณพระมหากษัตริย์นครหนึ่ง ซึ่งเป็นพุทธศาสนูปถัมภ์ ได้ถูกข้าศึกยกกองทัพใหญ่ล้อมพระนครไว้ พระมหากษัตริย์แห่งนครที่ถูกล้อมนั้น ทรงท้อแท้พระทัยที่จะต่อสู้กับข้าศึกประกอบทั้งทวยหาญรี้พลก็อ่อนกำลังลงทั้งนั้น จวนเจียนจะเสียพระนครแก่ข้าศึกอยู่แล้ว

ครั้นนั้นยังมีพระอรหันต์เจ้าอยู่ ได้เห็นประพฤติเหตุเช่นนั้นก็บังเกิดความสังเวช จึงได้ไปเฝ้าพระมหากษัตริย์ ถวายพระพรว่า จะขอหาทางป้องกันบำบัดศัตรูให้ปลาศนาการไป พระมหากษัตริย์เจ้าก็ทรงอนุโมทนาพระอรหันต์เถระเจ้าองค์นั้น จึงปรึกษากับนักปราชญ์ราชบัณฑิต และโหราจารย์ ให้ตั้งพระราชพิธีบรรจุดวงพระชันษาของพระมหากษัตริย์ ใส่บรรจุไว้ในฐานพระที่แกะด้วยกิ่งโพธิ์หักทางทิศตะวันออก โดยแกะเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร กระทำการสวดพระปริตรรถวายพรพระ อำนาจของการสร้างพระโพธิ์บรรจุดวงพระชันษา บันดาลให้ข้าศึกเกิดความหวาดหวั่นพรั่นพรึง พากันยกทัพถอยล่าไปสิ้นจนพ้นพระราชอาณาเขต เหตุฉะนี้จึงได้ถวายพระนามพระโพธิ์ที่สร้างขึ้นนั้นว่า "พระพิชัยสงคราม" เพราะอานุภาพที่บันดาลให้ได้ชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ตลอดจนยันต์ที่จารึกดวงพระชันษา (ดวงชาตา) ใส่ลงไปลงตรงกลางก็เรียกกันว่า "ยันต์พิชัยสงคราม" เช่นกัน จนเป็นประเพณีสืบต่อมา เมื่อนายทัพผู้ใดจะออกศึกมักจะทำตระกรุดพิชัยสงครามติดตัวไปด้วย เพื่อจะได้บันดาลให้มีชัยชนะแก่ข้าศึก การที่กำหนดพุทธลักษณะเป็นปางห้ามสมุทรนี้ ขอได้โปรดทำความเข้าใจเสียด้วยว่า สมุทนี้มิถึง ที่ได้หยดน้ำคือสมุทรที่แปลว่าทะเล สมุทอันนี้มาจากสมุทัย อันเป็นบ่อทิพย์ของกองทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓ ประการ ฉะนั้นพระปางห้ามสมุทรนี้ ก็คือพระปางห้ามทุกข์นั้นเอง ในความหมายของพุทธลักษณะทางอินเดีย นิยมเรียกพระปางห้ามสมุทรนี้ว่า เป็นปางประทานอภัย สำหรับตำราสร้างพระโพธิ์ปางห้ามสมุทรนี้ กล่าวไว้หลายฉบับด้วยกัน ทั้งฉบับของหลวงที่ปรากฏในคัมภีร์พิชัยสงคราม และฉบับของราษฎร์ที่ได้เรียนรู้ ดังจะได้ประมวลมาลงไว้ ณ ที่นี้ดังต่อไปนี้

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตำราสร้างพระโพธิ์ห้ามสมุทร

๏ สิทธิกายะ พระตำราพระครูเทพผู้วิเศษ มีแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรกรุงศรีอยุธยา ได้มาจากพระมหาเถรสิทธิเมธังกร ณ วัดหัวเมืองสิงห์บุรี แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ได้ครองเมืองลพบุรี พระนารายณ์องค์นี้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ขณะเมื่อพระนารายณ์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้พระตำรานี้มาจากมหาเถรเฑียรราชวัดงู และได้มาจากพระวิชัยวัดท่างูกับได้มาจากพระอาจารย์คงโหร และได้มาจากท่านอาจารย์ผู้วิเศษสืบๆ มาหาที่จะอุปมามิได้ หากท่านผู้ใดมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเพื่อจะก่อเกื้อบุญบารมีแห่งตัวแล้ว จงจัดทำขึ้นเถิด ถ้าแม้นเป็นชีพราหมณ์บรรพชิตฆราวาสก็ดี ย่อมจะได้เป็นพระยาและอัครมหาเสนาบดี หรือในที่สุดจะได้เป็นถึงพระยามหากษัตริย์ก็มีมากต่อมากแล้ว

ดังบุคคลสองคนที่ได้ทำพิธีสร้างพระมาแล้วคือ นายเทียนและนายสามเป็นผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นเลขเข้าเดือนออกเดือนอยู่ในกรมพระสัสดี บุรุษสองคนนี้ได้ไปเรียนความรู้ คือสร้างพระบรรจุดวงชะตาไว้สำหรับบูชาจากพระมหาเถรสิทธิเมธีงกร ต่อมนายเทียนได้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติในพระนครส่วนนายสามได้กินเมืองวิเศษไชยชาญ, เมืองอ่างทอง แล้วพระตำรานี้ได้ตกมาถึงพระสังฆราชแตงโม วัดมหาธาตุกรุงเก่า แล้วได้มาถึงตาคงโหรอยู่วัดรอดช่อง

ต่อมานายสังข์ได้สร้างขึ้นบูชา ก็ได้เป็นพระยมราชภักดี ต่อมาพระเยซูได้ไปเรียนกับอาจารย์คงโหร และสร้างขึ้นบูชาก็ได้เป็นสมเด็จเจ้า กับทำให้นายมาก็ได้เป็นกรมขุนสุนทร นายปิ่นมหาดเล็กได้เป็นพระยาราชมนตรี ทำให้นางเพ็งพี่สาวแต่เดิมเป็นคนใช้ ก็ได้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวงแล นับว่าพระตำรานี้ได้ประโยชน์ให้กับบุคคลที่สร้างพระบรรจุดวงไว้บูชาเป็นปฐมเหตุ ดังที่กล่าวไว้เป็นสังเขปแล้วนั้น จึงได้ให้ตำรานี้คัดบอกไว้สำหรับโลกภายหน้า เมื่อบุคคลผู้ใดใคร่จะให้เกิดความเจริญศิริสวัสดิพิพัฒน์มงคล ประกอบด้วยความสุขสำราญยิ่งๆ ขึ้นไปทุกทีหาที่เปรียบมิได้เลย กับสามารถกำจัดภัยพิบัติภยันตรายซึ่งจะมีมากับตน หรือบุตรภรรยาวงษาคณาญาติทาษกรรมกรในครอบครัว กระทำให้ได้รับความสุขอย่างโอฬารทั้งภพนี้และภพหน้าได้ดียิ่ง อย่าได้สนเท่ห์เลยฯ

















ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พิธีการสร้างพระโพธิ์ห้ามสมุทร


๏ สิทธิการิยะ ถ้าบุคคลใดมีความปรารถนาจะได้รับความสุขศิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ด้วยลาภผลยศถาบรรดาศักดิ์ ตลอดจนทรัพย์สินบริวารให้รุ่งเรืองวัฒนาขึ้นไปตามลำดับแล้ว ท่านให้จัดการดังพระตำราที่กล่าวไว้ดังนี้


๑. ท่านให้หาไม้พระศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์) ที่มีกิ่งชี้ออกไปทางทิศตะวันออก ซึ่งนิพพานแล้ว (กิ่งตาย) ที่หักตกลงมาเอง ๑ กิ่ง (ตัดเอาพอที่จะแกะเป็นพระยืนปางห้ามสมุทรได้ ๑ องค์) ขนาดสูงวัดจากพระบาทขึ้นไปถึงพระเมาลี สูงประมาณ ๑๑ หรือ ๑๓ นิ้วหัวแม่มือของผู้สร้าง ตามแต่ผู้สร้างจะชอบขนาดใดตามสมควร ส่วนที่กลางพระเมาลีนั้นให้กลวง พอที่จะแกะไม้อีกชิ้นหนึ่งอันเป็นเปลวรัศมีเสียบไว้ให้แน่นได้


๒. เปลวรัศมีนั้นท่านให้ใช้ไม้ชุมแสง หรือไม้กาหลงเอามาแกะดูให้งาม และพอดีถูกส่วนจึงดูแลงาม ส่วนฐานรองพระบาทนั้นให้ใช้ไม้นนทรี


๓. ฐานรองพระนั้น ให้เอาไม้ขนุนแกะ วิธีแกะนั้นต้องทำภายในให้กลวง และทำให้มีลิ้นสำหรับรองไม้นนทรีที่รองพระบาท คือเมื่อเวลายกพระขึ้นตั้งบนฐานแล้ว ก็ให้ไม้นนทรีนั้นแนบลิ้นพอดี ภายในและภายนอกต้องเสมอกันกับปากฐานพอดี ส่วนลึกหรือกว้างภายในฐานนั้น ผู้สร้างต้องกะประมาณดูสิ่งของที่จะบรรจุลงไปตามสมควร ส่วนสัณฐานของฐานภายนอกต้องให้รับกับองค์พระพอสวยงามตามความชอบใจ

เมื่อได้กล่าวถึงไม้ต่างๆ ที่จะนำมาแกะเป็นองค์พระแล้ว จะได้กล่าวถึงพิธีที่จะเริ่มแก้เป็นองค์พระดังต่อไปนี้

ก่อนที่จะแกะต้องหาฤกษ์งามยามดีให้แน่นอน และเตรียมธูปเทียน บายศรี ข้าวตอกดอกไม้ เครื่องสักการบูชาไว้ให้พร้อมมูล

หากผู้ที่จะแกะนั้นเป็นพระภิกษุสงฆ์ ก็ต้องให้สำแดงอาบัติเสียก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ให้นุ่งขาวห่มขาว และสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ เสียก่อนนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาอย่างน้อย ๕ รูป เมื่อลงมือแกะพระจะได้สวดชยันโต
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องลงบรรจุในฐานพระ คือ

๏ ๑ จันทน์เทศ ๒ จันทนา ๓ จันทน์แดง ๔ จันทน์ขาว ๕ จันทน์ชะมด ๖ จันทน์นิพพาน ต่อไปนี้เป็นใบไม้ คือ ๑ ใบมะยม ๒ ใบมะเฟือง ๓ ใบมะขาม ๔ ใบส้มป่อย ๕ ใบไม้ที่ไม่รู้จักนอน (หมายถึงใบไม้ชนิดหนึ่ง เมื่อเวลาหมดแสงพระอาทิตย์แล้ว ไม่หุบห่อเข้าหากันเช่นใบไม้บางชนิด) ๖ ใบสวาสดิ์ ๗ ใบธรณีธาร ๘ ใบกระทืบยอด ๙ ใบมหาระงับ ๑๐ ใบสารพัดพิษ ต่อไปนี้ให้เอาตะใคร่ที่ขึ้นอยู่ในที่ต่างๆ เช่น ตะไคร้น้ำ หากขึ้นอยู่ในที่แห้งชื้นผิดกัน คือ ๑ ตะใคร่โบสถ์ ๒ ตะใคร่พระเจดีย์ ๓ ตะใคร่พระปรางค์ ๔ ตะใคร่พัทธเสมา ๕ ตะใคร่ประตูเมือง ๖ ตะใคร่เสาตลุงช้างเผือก (คือเสาที่เอาช้างผูกไว้เสมอ) ๗ ตะใคร่ศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์)

สิ่งของที่กล่าวมานี้ ท่านให้นำมากรางหรือตำให้ละเอียดเสียก่อนทุกสิ่ง แล้วจึงนำมารวมระคนปนเข้าด้วยกัน เรียกว่าเครื่องยาสำหรับใช้รองดวงชะตาบรรจุในฐานพระ นอกจากสิ่งเครื่องยาที่กล่าวมานี้ยังมีสิ่งที่เป็นโภคทรัพย์ สำหรับจะต้องบรรจุลงในฐานพระด้วย คือ

๏ ๑. เพชร ๒ มณีแดง (ทับทิม) ๓. เขียวไขแสงมรกต ๔ เหลืองสดบุษราคัม ๕ ม่วงดำโนเมนทร์เอก ๖ มหาเมฆนิลกาฬ ๗ มุกดาหารสีหมอกมัว ๘ แดงสลัวเพทาย ๙ สังวาลย์เพชรฑูรย์แก้ว แก้ว ๙ อย่างนี้รวมเรียกว่า "นพเก้า" ๚

นอกจากที่กล่าวมานี้แล้วก็มีเงินบริสุทธิ์อีก ๑ บาท แผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่เช่นลงตระกรุด เพื่อลงดวงพิชัยสงคราม (คือดวงลัคนาตามตำราโหราศาสตร์ที่ได้ชำระ วัน เดือน ปี เวลาตกฟากเมื่อเกิด บรรจุอยู่ในยันต์พิชัยสงคราม) ของที่จะสร้างพระนั้นลงบรรจุในฐานพระ กับต้องมีพระธาตุต่างๆ ลงบรรจุอีกด้วยดังต่อไปนี้ ธาตุพระฉิมพลี ธาตุพระโมคคัลลาน์ ธาตุพระสาริบุตร พระธาตุของพระพุทธเจ้า ธาตุพระอรหันต์อื่นๆ ตามแต่จะหาได้ เช่นธาตุพระกัจจายน์ ธาตุพระพิมพา แล้วแต่มากน้อยจะหาได้ไม่จำกัด เว้นไว้แต่ธาตุทั้ง ๔ ดังบังคับไว้นั้นต้องทำให้ได้ครบ พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าให้บรรจุไว้ที่พระเมาลี พระธาตุนอกนั้นบรรจุไว้ในฐาน กับต้องมีแพรสำหรับรองรับดวงพิชัยสงครามนั้นอีก ๙ ผืนๆ ละสี ตามสีเพชรดังที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๙ อย่าง ผืนหนึ่งกะความกว้างยาวเท่ากับแผ่นโลหะที่ลงดวงนั้น

ต่อไปนี้จะได้บรรยายปรับความเข้าใจกับท่านผู้จะทำหรือสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สำหรับบรรจุดวงชะตาราศีกำเนิดตามตำราโหราศาสตร์ เพื่อไว้บูชาประจำตัวและครอบครัว จะได้อยู่เย็นเป็นสุขสบายตามที่ได้กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้น แต่การสร้างพระโพธิ์ปางห้ามสมุทรนี้จะต้องทำให้ถูกต้องตำราจริงๆ จึงจะได้ผล ถ้าหากทำโดยบกพร่องผิดพลาดไป ก็จะมิได้รับผลสมความปรารถนา แล้วก็จะหาว่าพระตำรานี้ไม่จริง ฉะนั้นขอให้ท่านผู้ที่ประสงค์จะสร้างจงพยายามทำความเข้าใจเสียให้ถ่องแท้แน่นอนก่อน แล้วจึงค่อยจัดสร้าง จักได้ผลสมประสงค์ทุกประการ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประการที่ ๑ เมื่อจะลงมือแกะพระนั้นต้องหาฤกษ์ให้ดี โดยให้โหรเป็นผู้หา แล้วให้จัดหาเครื่องบูชา อันประกอบด้วยบายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ขนมแกงบวช กล้วยน้ำไทย มะพร้าวอ่อน ขันใส่ข้าวตอกดอกไม้ หมากพลู ธูปเทียน จุดบูชาพระรัตนตรัย และบูชาเทวดาเมื่อจะลงมือแกะ ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถาอย่างน้อย ๕ องค์ ช่างที่จะแกะนั้นให้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานศีลเสียก่อน ถ้าหากเป็นพระสงฆ์แกะ ก็ให้สำแดงอาบัติเสียก่อน เมื่อได้เวลาฤกษ์ให้เจ้าของพระลงมือแกะเสียก่อนเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย (เพียงเอาขวานหรือมีด สับลงไปที่ท่อนไม้โพธิ์ พอเป็นเคล็ดเท่านั้น) พระสงฆ์ที่นิมนต์มานั้น ก็สวดชัยมงคลคาถา ต่อจากนั้นก็ให้เป็นหน้าที่ของนายช่าง ที่จะทำการแกะต่อไปเพื่อความสวยงาม จนกระทั่งแล้วเสร็จ

องค์พระนั้นแกะด้วยไม้โพธิ์ที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก และนิพพานร่วงหล่นมาเอง แกะให้ได้ขนาดวัดนิ้วหัวแม่มือเจ้าของเรียงกันไป จะเป็น ๑๑ นิ้วหรือ ๑๓ นิ้วก็ได้ ได้ความยาวเท่าใด เอาความยาวนี้เป็นส่วนสูงของพระ วัดแต่พระบาทจนถึงพระเมาลี ส่วนพระเมาลีนั้นให้กลวงกว้างและลึกพอที่จะบรรจุพระบรมธาตุลงไปได้ เปลวรัศมีต่อจากพระเมาลีนั้น ให้แกะด้วยไม้ชุมแสง เมื่อบรรจุพระบรมธาตุลงไปแล้ว จึงค่อยอัดเปลวรัศมีให้แน่นติดกับพระเมาลี โดยใช้กาวอุดจึงจะแน่นแกะไม่ออกฐานนั้นแกะด้วยไม้ขนุน กลวงข้างในเสียเพื่อจะได้ใช้เป็นที่บรรจุดวงชะตาใช้ไม้นนทรีปิด ถ้ากลวงฐานแต่ข้างบนลงไป ก็ใช้ไม้นนทรีติดกับพระบาทพระ เมื่อบรรจุแล้วก็อุดลงไปในฐานให้แน่น ถ้าหากกลวงฐานแต่ข้างล่างขึ้นมา ข้างบนก็ตันฝั่งพระบาทพระลงติดสนิทแน่นกับฐานได้ก่อน เมื่อบรรจุใช้บรรจุทางข้างล่าง บรรจุแล้วจึงเอาไม้นนทรีทำเป็นรูปตลับปิดที่พื้นฐานข้างล่าง ชนิดนี้มั่นคงแน่นหนากว่าเจาะทางข้างบนฐานลงมา

ประการที่ ๒ เมื่อแกะพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะบรรจุให้ตระเตรียมหาสิ่งของดังต่อไปนี้ คือ

๑. พระบรมสาสีริกธาตุ ๑ องค์ ธาตุพระโมคคัลลาน์ ๑ องค์ ธาตุพระสารีบุตร ๑ องค์ ธาตุพระสีวลี ๑ องค์ ส่วนธาตุพระอรหันต์อื่นนั้นตามแต่จะหาได้

๒. ผงเครื่องยาต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่บางมติของเกจิอาจารย์ใช้เพียงผงจันทน์เท่านั้นก็มี ผงยาเหล่านี้บดเสียให้ละเอียด

๓. หัวแหวนโภคทรัพย์ คือหัวแหวน ๙ ประการ ตามที่เรียกกันว่า "นพเก้า" จัดรวมกันไว้ ๑ ชุด

๔. ผงสัตตะโลหะ เอาโลหะ ๗ อย่างมากรางเข้า อย่างละเล็กน้อยเท่านั้น เอาระคนปนกันเข้า

๕. แพร ๙ สี ตามสีของนพเคราะห์สีละผืน กว้างยาวประมาณพอที่จะห่อแผ่นดวงเมื่อห่อแล้วได้มิดชิด สำหรับแพรทั้ง ๙ สีนี้ ตามตำราของสมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์ ทรงลงพระยันต์กำกับทุกๆ สี นอกจากนั้นยังทรงใช้ผ้าตาดทองลงยันต์ ห่มหุ้มแพร ๙ สีเป็นชั้นนอกเพิ่มขึ้นอีกผืนหนึ่ง เสร็จแล้วจึงใช้ไม้ ๙ สี ควั่นเป็นด้าย สำหรับผูกห่อดวงชะตาให้แน่น (ยันต์สำหรับลงผ้าแพร ๙ สี และลงผ้าตาดทอง จะได้กล่าวต่อไปเมื่อถึงบรรลุพระ) ฉะนั้นในขั้นเตรียมการนี้ นอกจากจะเตรียมผ้าแพร ๙ สีแล้ว ควรจะเพิ่มผ้าตาดทองอีก ๑ ผืน และไหม ๙ สีควั่นเป็นด้ายสำหรับผูกด้วย ผ้าแพรทุกผืนและผ้าตาดทองให้จัดการลงยันต์เสียก่อนให้เรียบร้อย
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๖. แผ่นเงินหนัก ๑ บาท แผ่ออกให้บางสำหรับลงดวงชะตา การลงดวงชะตานั้นให้ลงเมื่อเริ่มประกอบพิธี ตอนพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ในขั้นต้นนี้ควรหาผู้รู้ ลงยันต์พิชัยสงครามเสียก่อน เว้นแต่ดวงชะตาไว้เท่านั้น ที่เรียกว่า "ดวงพิชัยสงคราม" นั้นก็คือ ดวงที่ใช้ชำระโดยละเอียดจากโหรผู้มีชื่อ จนเป็นที่รับรองว่าไม่ผิดพลาด เพราะคำนวณจนได้องศาลิปดา ทุกดาวพระเคราะห์ และจารึกดวงนั้นใส่ในยันต์พิชัยสงคราม วางอัตราคำนวณไว้ข้างล่าง เฉพาะที่ใช้บรรจุนั้นใช้แต่ดวงและยันต์พิชัยสงครามก็พอ เมื่อได้ชำระดวงโดยละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็จารึกยันต์พิชัยสงครามลงในแผ่นเงินเสียก่อน ส่วนดวงนั้นรอไว้ลงเอาเมื่อถึงพิธีตามที่กล่าวมาแล้ว อักขระที่ลงในยันต์นั้นลงด้วยสูตรรัตนมาลาทั้งสิ้น ต้องหาผู้ที่เข้าใจลงจึงจะสัมฤทธิผล

๗. แผ่นเงินแผ่ ๒ แผ่น ขนาดย่อมพอสมควร พอที่จะลงดวงพระชะตาพระพุทธเจ้าตอนประสูติ และตรัสรู้ได้แผ่นละหนึ่งดวง เสร็จให้ม้วนเป็นตระกรุดไว้ ๒ ดอก

๘. แผ่นทองที่แผ่บาง (ทองใบใหญ่) จำนวน ๔ แผ่นด้วยกัน แผ่นหนึ่งน้ำหนักประมาณ ๑ หุน จารึกพระนามพระพุทธเจ้า ๑ แผ่น จารึกพระนามพระสารีบุตร ๑ แผ่น จารึกพระนามพระโมคคัลลาน์ ๑ แผ่น จารึกพระนามพระสีวลี ๑ แผ่น แล้วเอาแผ่นทองบางๆ ตามที่ได้จารึกพระนามเหล่านี้ ห่อพระบรมธาตุและพระธาตุ ตามเฉพาะพระนามนั้นๆ

๙. จัดหาหัวน้ำหอม ๙ อย่าง ระคนกันใส่รวมในโถ ๑ โถ แป้งหอมละลายน้ำมันหอม ๑ โถ ชาติหรคุณบดให้ละเอียด ๑ โถ และให้เตรียมชันนางโรมไว้สำหรับอุดยารอยที่บรรจุ



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประการที่ ๓ เมื่อเวลาบรรจุนั้น ให้หาฤกษ์งามยามดีจริงๆ จึงจะจัดการบรรจุได้ การบรรจุนั้นให้ประกอบพิธีกรรมในพระอุโบสถ นิมนต์พระสงฆ์มาร่วมประกอบพิธี ถ้าจะให้พระสงฆ์เป็นผู้บรรจุ ก็ให้นิมนต์พระรวม ๑๑ องค์ คือ

จัดให้เป็นผู้บรรจุองค์หนึ่ง
จัดให้เป็นผู้นั่งปรกบริกรรมองค์หนึ่ง
จัดให้เป็นพระสำหรับเจริญพระพุทธมนต์ ๙ องค์

นอกจากนั้นให้เชิญโหร, บัณฑิต, พราหมณ์, มาร่วมประกอบพิธีด้วย โหรมีหน้าที่อ่านประกาศเทวดา บูชาฤกษ์ และสวดสังเวยเทพยดา พราหมณ์มีหน้าที่มาเป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ เมื่อเวลาทำการบรรจุ เบิกแว่นเวียนเทียนตอนเบิกพระเนตร และถวายน้ำสังข์พระพุทธรูปที่สร้างเสร็จแล้ว บัณฑิตมีหน้าที่จำเริญภาวนาพระคาถา

ประการที่ ๔ วันประกอบพิธีนี้ต้องจัดเครื่องสังเวย จัดเป็นสามชุดด้วยกัน ชุดที่ ๑ เป็นเครื่องสำหรับบูชาครูบาอาจารย์และเทวดา เมื่อเริ่มประกอบพิธี ชุดนี้เป็นเครื่องสังเวยชุดใหญ่ ประกอบไปด้วยบายศรีใหญ่ ๑ คู่ คือ บายศรีที่ทำเป็นชั้นๆ ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น ตามแต่ความต้องการ ตรงยอดทำเป็นพุ่มดอกไม้ ควรหาแหวนเงิน, แหวนทอง, สวมใส่ไว้ที่ยอดเป็นการทำขวัญ

เครื่องมัจฉะมังสาหาร ๖ ประการ อันประกอบด้วยศีรษะสุกร ๑ เป็ด ๑ ไก่ ๑ กุ้ง ๑ ปูทะเล ๑ ปลาช่อน ๑ ของเหล่านี้ต้มให้สุกพร้อมน้ำจิ้ม และมีพล่าหรือยำสัก ๑ ที่

เครื่องกระยาบวด อันประกอบด้วยบายศรีปากชาม ๑ มะพร้าวอ่อน ๑ กล้วยน้ำไทย ๑ ขนมต้มแดง ๑ ขนมต้มขาว ๑ จะเพิ่มขนมเล็บมือนางหรือขนนหูช้างขึ้นอีกก็ได้ ขนมแกงบวด ๑ (จะเป็นแกงบวดฟักทองหรือมันเทศก็ได้) ขนมจับอับ ๑ ถั่วขั้ว ๑ งาขั้ว ๑ ข้าวตอกขั้วระคนด้วยดอกไม้ เช่น ดอกมะลิขัน ๑ (สำหรับหว่านโปปปรยเมื่อบูชาแล้ว) นม ๑ เนย ๑ เผือกต้ม ๑ มันต้ม ๑ ขนมหวานสดต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ฯลฯ เหล่านี้ ๙ ชนิดด้วยกัน ๑

ผลไม้มีรสหวานต่างๆ รวม ๙ สิ่ง เลือกเอาแต่ที่มีมงคลนามเฉพาะลูกทบทิมนั้นจะขาดเสียมิได้

เครื่องเหล่านี้รวมเรียกว่าเครื่องสังเวย ให้บรรจุใส่ในพานที่มีเชิงจัดทำให้เป็นระเบียบเพื่อความสวยงาม มีผ้าขาวสะอาดปูลาดรองเครื่องสังเวยอีกทีหนึ่ง ให้จัดตั้งไว้ตรงเฉพาะหน้าพระพักตร์พระประธาน นอกจากนั้นให้จัดพานดอกไม้ ๙ สีรวม ๒ พานหนึ่งวางไว้กับเครื่องสังเวยบูชาครูดังกล่าวนี้ อีกพานหนึ่งให้วางไว้ในที่บูชาของโหร

ให้ตั้งเชิงเทียนไว้ในกลางกลุ่มเครื่องสังเวย ๑ คู่ มีเทียนเงิน เทียนทอง ปักไว้เชิงเทียนละเล่ม เทียนเงินเทียนทองคู่นี้ แต่ละเล่มใช้ขี้ผึ้งแท้หนัก ๔ บาท ไส้ ๑๖ เส้นควั่นยาวพอสมควร ปิดทองคำเปลวและเงินเปลวโดยตลอดทั่วทั้งเล่ม เทียนเงินเทียนทองคู่นี้ เจ้าภาพเป็นผู้จุดเมื่อจะเริ่มประกอบพิธี นอกจากนั้นให้จุดขันบูชาครู ๑ ใบ มีผ้าขาวสำหรับนุ่งและห่ม ๑ ชุด เงิน ๖ บาทใส่ในขันนั้น สำหรับเป็นเครื่องบูชาครู
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประการที่ ๕ จัดเครื่องสำหรับบูชาเทวดา เพื่อให้มาช่วยอนุกูลในพิธีกรรมคือ จัดบัตรเทวดา ๑ ชุด อันประกอบด้วยบัตรพระเกตุ ๑ บัตร เจ้ากรุงพาลี ๑ บัตร พระภูมิเจ้าที่ ๑ (เรื่องบัตรนี้จะได้กล่าวถึงวิธีการจัดทำในภายภาคหน้า) เทียนขี้ผึ้งแท้ ๑๑ เล่ม หนักเล่มละ ๒ บาท ไส้ ๙ เส้น ควั่นให้เท่ากันทุกเล่ม สำหรับจุดบูชาบัตร
ทั้ง 3 บัตร บัตรละ 1 เล่ม บูชาเทวดาอัฏฐทิศ 8 เล่ม เทียนเหล่านี้ปักบนเชิงเทียนวางไว้ให้ได้ระยะพองาม คือวาง
ตรงหน้าบัตรทั้ง 3 นั้น รวม 3 เล่มด้วยกัน อีก 8 เล่มวางเรียงเป็นอัฎฐทิศล้อมรอบบัครนั้น นอกจากนี้ให้หาขันเชิง
ทำน้ำมนต์นั้น 1 ใบ เรียกว่าขันน้ำเทพมนต์ บรรจุใบไม้มงคล 9 ประการใส่ลงในขันน้ำมนต์นั้น คือ ใบเงิน,
ใบนาค, ใบพรหมจรรย์, ใบมะตูม, ใบชัยพฤกษ์, ยอดหญ้าแพรก, ฝักส้มป่อย, ผิวมะกรูด, รวม 9 สิ่งใส่ลงในน้ำมนต์

และให้จัดหาเทียนขี้ผึ้งแท้ ควั่นเป็นเล่มเล็ก ๆ หนักเล่มละ 1 สลึง ใช้ไส้ 9 เส้น รวม 16 เล่มด้วยกัน เรียกว่าเทียนโสพส ให้ปักที่ขอบบัตรกรุงพาลี 3 เล่ม ปักที่ขอบบัตรพระภูมิเจ้าที่ 4 เล่ม ปักขอบขันน้ำมนต์ 9 เล่ม
ที่ตั้งบัตรบูชาเทวดาของโหรและขันน้ำมนต์ ให้ตั้งเยื้องมาทางด้านใดด้านหนึ่งของหน้าพระประธาน มีผ้าขาวปูรองและตั้งพานดอกไม้ 9 สีบูชาไว้หน้าบัตร ล่ามสายสิญจน์ลงมาจากพระประธาน จนถึงยอดบัตรและล่ามต่อมาจนถึงขันน้ำมนต์ต่อเลยมาพอให้โหรจับเวลาอ่านโศลกบูชาเทวดา พร้อมทั้งจัดหาธูปหอมเตรียมไว้ด้วย

ประการที่ 6 เมื่อเริ่มจะลงมือประกอบพิธีกรรม ให้เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยที่หน้าพระประธาน
( ควรจะมีกะบะนมัสการเครื่อง 5 และเทียนเงินเทียนทอง 1 คู่ จุดบูชาพระ ) และสมาทานศีลเสียก่อน เมื่อพระสงฆ์ให้ศีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าภาพไปจุดธูปเทียนที่ที่บูชาของโหร คือจุดเทียนเล่มละ 2 บาท 11 เล่ม ธูป 11 ดอก
กล่าวอธิษฐานบูชาเทพยดาทั่วสกลจักรวาล และเทพารักษ์ซึ่งสิงสถิตย์ ณ ปริมณฑลพิธีนั้น ให้มาช่วยประสิทธิประสาธน์ในพิธีกรรม ช่วยให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์สมปรารถนาของผู้สร้าง ธูปนั้นให้ปักที่บัตรกรุงพาลี 1 ดอก บัตรพระภูมิ 1 ดอก นอกนั้นให้ปักที่บัตรพระเกตุ และให้จุดเทียนที่ปักรอบบัตรพระภูมิ 4 เล่ม บัตรกรุงพาลี 3 เล่ม
และรอบขันน้ำมนต์ 9 เล่ม จุดธูปอีก 9 ดอก บูชาพระเกตุ ปักไว้ที่กระถางธูป ซึ่งจำจะต้องมีประจำอยู่ในที่นั้น ต่อจากนั้นโหรจะได้อ่านประกาศเทวดา ให้เจ้าภาพมาจุดเทียนเงินเทียนทอง และจุดธูปปักที่เครื่องสังเวยบูชาครูอาจารย์ที่ท่านเป็นผู้ประสิทธิประสาธน์ พระตำราสร้างพระนี้ ขอให้มาช่วยอำนวยศิริมงคลให้ เมื่อโหรอ่านประกาศบูชาเทวดาจบลงแล้ว พระสงฆ์ก็เริ่มเจริญพระพุทธมนต์ ส่วนการกล่าวคำบูชาครูบาอาจารย์นั้น เป็นหน้าที่ของบัณฑิตหรือผู้ที่เข้าใจจะได้อ่านประณามคาถาบูชาสืบต่อไป


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประการที่ 7 สิ่งของต่าง ๆ ที่จะใช้ในการบรรจุพระนั้น ให้จัดใส่ภาชนะตั้งไว้ที่หน้าที่บูชาพระ พร้อมทั้ง องค์พระที่จะบรรจุ โยงสายสิญจน์ล่ามไว้ตลอด สำหรับคาถาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น ก็คือเจริญพระปริตรทั้ง 12 ตำนาน และคาถามหาสมัย ฉะนั้นในการกำหนดฤกษ์บรรจุ จำเป็นต้องกะเวลาลงมือประกอบพิธีให้พอกับถึงเวลาฤกษ์ที่จะบรรจุ

ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมหาสมัยนั้น พระคณาจารย์ผู้มีหน้าที่ที่จะบรรจุหรือจะให้ผู้มีความรู้คนใดคนหนึ่งก็ได้ เริ่มจารึกดวงชะตาของผู้ที่จะจัดสร้างพระ ลงในยันต์พิชัยสงคราม ซึ่งได้ตระเตรียมลงไว้ในแผ่นเงินเรียบร้อยแล้วมาแต่ก่อนประกอบพิธีกรรม คงเว้นไว้แต่ตรงกลางตอนจะลงดวงชะตาเท่านั้น ให้ลงในเวลาประกอบพิธีกรรม เกิดวันใดให้ลงดาวเคราะห์องค์นั้นก่อน เรียงไปตามลำดับในภูมิอัฏฐจักรพยากรณ์ ส่วนลัคนานั้นยังมิต้องลง เอาไว้ไปลงตอนได้ปฐมฤกษ์จะเริ่มบรรจุ

เอาผ้าแพรสีต่างๆ ที่ได้ลงยันต์ไว้แล้วนั้น มาจัดเรียงลำดับซ้อนรวมกันทั้ง ๑๐ ผืน คือผ้าตาดทองวางไว้เป็นผืนล่างสุด ถัดมาเป็นแพรสีแดง (อาทิตย์) แพรสีขาว (จันทร์) สีชมพู (อังคาร) แพรสีเขียวใบไม้ (พุธ) แพรสีดาหรือสีกรมท่า (เสาร์) แพรสีเหลืองหมากสุก (พฤหัสบดี) แพรสีเม็ดมะปราง (ราหู) แพรสีฟ้าอ่อน (ศุกร์) แพรสีเหลือง (เกตุ) เอามาซ้อนกันรวมเป็นแผ่นผืนเดียว สำหรับจะได้รองดวงชะตาและห่อหุ้มด้วยผงกรางของสัตตะโลหะ ๗ ประการ หัวแหวนโภคทรัพย์นพเก้าทั้ง ๙ ประการ ไหม ๙ สีควั่นเป็นเส้นเดียวกัน น้ำมันหอม ๙ รสรวมกันโถ ๑ แป้งหอมละลายน้ำหอมโถ ๑ ชาติหรคุณบดละเอียดเป็นผงโถ ๑ ชันนางโรมใต้ดินสำหรับอุดยารอยที่บรรจุ และขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทมหาสมัย ก็จัดแจงจุณเจิมสิ่งของที่จะบรรจุด้วยแป้งหอมน้ำมันหอมเตรียมไว้ให้พร้อมเสร็จ รอไว้แต่แผ่นดวงชะตาเท่านั้น และให้นำสิ่งของทั้งหมดนี้มาวางไว้ตรงที่ๆ ได้ตระเตรียมไว้จะทำการบรรจุ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-12 07:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประการที่ ๘ เมื่อใกล้จะถึงเวลาฤกษ์ ให้จัดเครื่องสังเวยสำหรับบูชาฤกษ์เป็นอันดับที่ ๒ ในการจัดเครื่องสังเวยรวม ๓ ชุด เครื่องสังเวยบูชาฤกษ์นี้ก็มี มัจฉะมังสาหาร ๖ ประการ เครื่องยากระบวดอันประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วพร้อมทั้งบายศรีปากชาม ผลไม้ ๙ อย่าง เครื่องสังเวยครั้งนี้ได้จัดไปตั้งบนผ้าขาว ที่หน้ากลุ่มบัตรอันโหรกล่าวบูชาเทวดาเมื่อเริ่มพิธี โดยเคลื่อนขันน้ำมนต์ให้ตั้งถัดต่อมา เอาเครื่องสังเวยวางลงตรงหน้าบัตร มีเทียนเงิน เทียนทอง ตามขนาดที่ใช้บูชาครูดังกล่าวแล้ว ๑ คู่ ปักในเชิงเทียนตั้งบนกลุ่มเครื่องสังเวย เทียนเล็กๆ เล่มละ ๑ สลึง ๒๕ เล่ม ปักซ้ำที่ขอบบัตรพระภูมิ ๔ เล่ม ที่ขอบบัตรกรุงพาลี ๓ เล่ม บูชาเทวดาอัฏฐทิศ ๘ เล่ม บูชาพระเกตุ ๙ เล่ม รวม ๑๗ เล่ม ให้ติดรอบขันน้ำเทพมนต์ทั้ง ๑๗ เล่ม ธูป ๒๔ ดอก ให้เจ้าภาพจุดเทียนเงินเทียนทอง เทียนเล็กทั้ง ๒๔ เล่ม ธูป ๒ ดอก ปักเรียงรายบนเครื่องสังเวย แล้วโหรอ่านโองการบูชาฤกษ์ พระสงฆ์ที่มีหน้าที่ปรกเตรียมเข้านั่งบริกรรมในที่ที่ได้จัดไว้ พระองค์ที่มีหน้าที่บรรจุ ก็ตระเตรียมที่จะทำการบรรจุ เมื่อถึงเวลาฤกษ์ดี

คำว่าฤกษ์ดีในที่นี้ ต้องเป็นฤกษ์ที่ประกอบด้วยฤกษ์ล่างอันบริสุทธิ์เข้าหลักเกณฑ์ที่ดี และฤกษ์บนก็ต้องเป็นฤกษ์ที่ประกอบด้วยดวงดาวต่างๆ ในดวงฤกษ์นั้น ช่วยอุดหนุนดวงชะตาเดิมของเจ้าของพระนั้น ให้เด่นดีขึ้นขจัดอุปสรรคความร้ายทั้งมวล พอย่างเข้าเวลาถึงปฐมฤกษ์ โหรก็ให้อาณัติสัญญาโดยจะเป็นการลั่นฆ้องก็ได้ พระสงฆ์ทั้ง ๙ รูปที่เจริญพระพุทธมนต์ สวดชัยมงคลคาถาขึ้นพร้อมกัน พระนั่งปรกเริ่มกระทำกิจทางวิปัสสนาธุระ แผ่เมตตาจิตให้เจ้าภาพประสบความเจริญรุ่งเรือง บัณฑิตเข้าที่บริกรรมจำเริญคาถาอัญเชิญเทวดาให้เข้ามาสิงในองค์พระ

ส่วนพระผู้มีหน้าที่บรรจุนั้น ก็ลงเหล็กจานเขียนลัคนาของเจ้าภาพลงในแผ่นยันต์พิชัยสงครามที่ลงชะตาไว้ เสร็จแล้วเอาน้ำหอม ๙ รสกับชาติหรคุณ ลบดวงชะตานั้นให้ทั่ว แล้วเจิมด้วยแป้งหอม เสร็จจึงพับดวงชะตานั้นให้เล็กเข้า กระทำเป็นดังรูปดอกบัวบาน เปิดเอาไว้ตรงกลางจึงเอาพระธาตุพระสารีบุตร พระธาตุโมคคัลลาน์ พระธาตุพระสีวลีอันห่อแผ่นทองไว้นั้นวางลงไปในตอนกลางของแผ่นดวงชะตา ใส่หัวแหวนนพเก้าแกะผงสัตตะโลหะลงไป (ถ้าหากมีผงคุณพระ เช่น ปถมัง อิธะเจมหาราช หรือดินจากสังเวชนียสถานก็ควรใส่ลงไปด้วย) พร้อมทั้งแผ่นตระกรุดดวงพระพุทธเจ้า ๒ ดอก เอาผงเครื่องยาโรยลงผ้าแพร ๙ สี (เฉพาะผืนบนที่จะรองดวงชะตา) แล้วจึงเอาแผ่นดวงชะตาวางลงไปบนผ้านั้น เสร็จแล้วจึงหุ้มผ้าแพรนั้นเข้าไป ห่อดวงชะตาเสียให้แน่น ผูกด้วยไหมทั้ง ๙ สี เจิมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอมเสียอีกครั้ง ที่ห่อด้วยชะตานั้นแล้วจึงส่งให้เจ้าภาพตั้งสัตย์อธิษฐาน โดยให้ถือฐานพระไว้มือหนึ่ง ถือห่อดวงชะตาไว้มือหนึ่ง ถ้าหากเป็นพระที่แกะและติดกับฐานไว้แล้ว ใช้บรรจุเอาทางเบื้องล่างของฐาน ก็ให้ถือทั้งองค์พระแบะทั้งฐาน เมื่อตั้งสัตย์อธิษฐานดีแล้ว พึงกล่าวคาถาดังต่อไปนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้