“ว่านมหากาฬ” พืชมหัศจรรย์ เมื่อวาน พ่อเจ็บแผลที่ถูกงูกัดบริเวณที่นิ้วเท้า(นิ้วก้อย)ด้านขวา ครั้นจะพาไปหาหมอก็ไม่ยอม(คนแก่มักจะเป็นเช่นนี้เสมอ) พ่อมักจะใช้ยาสมุนไพรไทย ในการรักษาแผลแบบต่างๆ เช่นนี้มาตั้งแต่เมื่อครั้งอดีต แม้ว่า การแพทย์แผนปัจจุบันจะเจริญและพัฒนาไปถึงไหนแล้วก็ตาม แต่พ่อก็ยังเชื่อมั่นในสรรพคุณของยาสมุนไพรไทยอยู่นั่นเอง ผู้เขียนจึงพยายามพาท่านไปหาหมอ แต่ท่านก็ไม่ยอม และก็ต่อรองว่า ถ้าหากในวันรุ่งขึ้น อาการไม่ดีขึ้นจะยินยอมให้พาไปหาหมอ ว่าแล้ว พ่อก็จัดแจงนำ “ใบว่านมหากาฬ” มาขยี้ ๆ จนช้ำแล้วก็นำไปพอกแผล ผูกด้วยผ้าไว้ตลอดทั้งคืน เช้าขึ้นมาอาการปวดบริเวณเท้าก็หายไปโดยพลัน ซึ่งสร้างความแปลกใจให้แก่ผู้เขียนมาก เพราะตั้งใจและคุยกับพ่อไว้แล้วว่า หากใช้สมุนไพรแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ต้องไปหาหมอในวันรุ่งขึ้น ซึ่งพ่อก็ตอบตกลง สัญญิงสัญญากันไว้เสร็จสรรพ แต่กาลกลับตาลปัตร เช้านี้การไปหาหมอจึงต้องเป็นโมฆะ ใบมหากาฬ
ต้นมหากาฬ
อีกราย พี่สาวกลับมาจากกรีดยาง ถูกแมงป่องต่อยบริเวณนิ้วมือจนมือบวมเบ่ง ร้องห่มร้องไห้ด้วยความเจ็บปวดกลับมาบ้านทั้งๆ ที่ยังกรีดยางยังไม่เสร็จ ดังนั้น จึงได้นำ “ใบว่านมหากาฬ” มาตำและพอกไว้ สักครู่ใหญ่ๆ ความเจ็บปวดเริ่มทุเลาและหายไปในที่สุด อาการบวมก็เริ่มลดลง แมงป่องชนิดนี้มีมากในสวนยางพารา (ภาพจาก Internet)
(ภาพจาก Internet0
ลูกอ่อนอย่างนี้แหละ เวลาต่อยเจ็บปวดถึงขั้วหัวใจทีเดียว
จากกรณีตัวอย่างของคนใกล้ตัวทั้ง 2 คน ทำให้มีความรู้สึกทึ่งในสรรพคุณของ “ว่านมหากาฬ” มากมาย จึงได้เริ่มศึกษาพืชตัวนี้มากขึ้น ช่วงนี้ใบอวบอ้วนน่ากิน
ดอกสีเหลืองสด
โดยปกติแล้ว บ้านผู้เขียนจะปลูกพืชสมุนไพรไว้หลายตัว ซึ่งก็รวมทั้ง “ว่านมหากาฬ” ตัวนี้ด้วย และทำให้รู้สึกทึ่งถึง “ภูมิปัญญา” ของคนแก่ ที่มองเห็นการณ์ไกล และปลูกพืชสมุนไพรไว้ในบ้าน จนทำให้คนในครอบครัวได้ใช้ประโยชน์อยู่เสมอ จนแทบจะกล่าวได้ว่า คนในครอบครัวของผู้เขียนจะไปหาหมอค่อนข้างน้อยมาก ว่านมหากาฬ มีชื่อเรียก แปลกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค เช่น ว่านมหากาฬ (กรุงเทพ ฯ) ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์) หนาดแห้ง (โคราช)ผักกาดนกเขา (สุราษฏร์ธานี–ใต้) คำโคก (ขอนแก่น เลย – อีสาน) ว่านมหากาฬ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynura pseudochina DC. Var. hispida Thv. เป็นไม้ล้มลุกลงมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำเลื้อยทอดยาวไปตามดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5–8 ซม. ยา 6–30 ม. ขอบใบหยักด่าง ๆ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขน เส้นใบเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก การขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหน่อ การปลูก เตรียมดินโดยขุดดินตากแดดไว้ให้ร่วนซุย ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดกลบหน้าพอสมควร หลังจากตากดินแล้วจึงขุดกลับคืน ย่อยดินเพื่อให้ร่วนซุยอีกครั้ง ใช้หน่อพร้อมติดดินและรากด้วย ฝังไว้ในหลุมที่ขุดไว้หลุมละ 1 หน่อ กลบดินเท่ากับความลึกของหน่อที่ขุดจากที่เดิม ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น การใส่ปุ๋ยอาจใส่เดือนละ สรรพคุณ : · หัว
- รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
- แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม · ใบสด
- ขับระดู
- ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน วิธีและปริมาณที่ใช้
- ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
- ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต |