ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2880
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มะรุม

[คัดลอกลิงก์]
มะรุม (Horseradish Tree, Drumstick Tree)

มะรุม ชื่อสามัญ Horse Radish Tree, Drumstick Tree วงศ์ Moringaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam. มะรุมในชื่ออื่นๆ : บ่าค้อนก้อม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), มะรุม (ภาคกลาง), ผักอีฮุม (ภาคอีสาน), ผักอีฮืม

ลักษณะทั่วไป มะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ
มะรุม เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร
มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 – 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.


ที่มา http://www.vegetweb.com/มะรุม-horse-radish-tree-drumstick-tree/
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-15 10:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คุณค่าทางอาหารของ มะรุม

ในประเทศไทย ฤดูหนาวจะมีมะรุมจำหน่ายทั่วไป ทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทานมะรุมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง

  • ใบ ใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามี ซี สูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย
  • ดอก ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง
  • ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
  • เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร
สรรพคุณทางยาของ มะรุม

มะรุม ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

  • ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
  • เปลือกจากลำต้น มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา
  • กระพี้ แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม
  • ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
  • ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
  • ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้
  • เมล็ด นำ เมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
  • เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
ที่มา http://www.vegetweb.com/มะรุม-horse-radish-tree-drumstick-tree/
แกงส้มฝักมะรุมอร่อยนัก...
ชอบแกงส้มมะรุม
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-16 07:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-1-15 17:03
ชอบแกงส้มมะรุม

ฝักอ่อนจิ่มน้ำพริกอร่อยเชียว
ชอบเหมือนกัน แกงส้มมะรุม แต่ทานมากเกินมันระบายท้องนะครับ....
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-16 08:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ของอร่อยทั้งนั้นครับ

metha ตอบกลับเมื่อ 2014-1-16 07:24
ฝักอ่อนจิ่มน้ำพริกอร่อยเชียว

เคยไปซื้อข้าวไข่เจียว เห็นใบอะไรซักอย่างวางในร้านเลยถามแม่ค้าว่า ใบอะไร แม่ค้าบอกว่าใบมะรุม คนจะได้มารุมล้อมเยอะๆ มีเคล็ดด้วยแฮะ แกเลยขายดีเชียวล่ะ
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-1-16 12:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-1-16 10:56
เคยไปซื้อข้าวไข่เจียว เห็นใบอะไรซักอย่างวางในร้าน ...

แจ่มจริงๆ
ใบสดหรือเปล่าครับ
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-1-16 12:10
แจ่มจริงๆ
ใบสดหรือเปล่าครับ

สดๆ มาทั้งกิ่งเลยครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้