ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2922
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สัจจะ

[คัดลอกลิงก์]
อธิบายหัวข้อธรรมประการ

คำว่า สัจจะ แปลว่า ความสัตย์ซื่อต่อกัน แปลอย่างนี้เรียกว่าแปลตามศัพท์ ถ้าขยายลักษณะของสัจจะ

ให้มีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติกันได้จริง ๆ แล้วก็คือ สัจจะนี้มีลักษณะ ๓ อย่างคือ

๑. สัจจะ มีลักษณะเป็นความจริง

๒. สัจจะ มีลักษณะเป็นความตรง

๓. สัจจะ มีลักษณะเป็นความแท้



๑. สัจจะมีลักษณะเป็นความจริง หมายถึง ไม่ใช่เล่น ไม่หลอก ไม่ลวง เป็นของจริง ๆ

๒. สัจจะมีลักษณะเป็นความตรง หมายถึงว่า เป็นความตรง คือมีความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซื่อตรง ไม่คดโกง หรือบิดพริ้ว เบียงบ่ายจากความถูกความเที่ยงธรรม

๓. สัจจะมีลักษณะเป็นความแท้ หมายถึง ความไม่เหลาะแหละเหลวไหลในกิจกรรมอันเป็นหน้าที่



สัจจะซึ่งมีลักษณะดังกล่าวนี้ ผู้ครองเรือนพึงตั้งลงหรือกำหนดใน ๕ สถานที่ คือ

๑. ตรงต่อหน้าที่ คือ ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่

๒. ตรงต่อการงาน คือ ตั้งใจทำงานให้ดี

๓. ตรงต่อวาจา คือ รักษาคำมั่นสัญญา

๔. ตรงต่อบุคคล คือ ประพฤติดีต่อคนอื่น

๕. ตรงต่อความดี คือ ยึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติ



อีกประการหนึ่ง สัจจะคือ ความจริงใจ หรือแท้ ซึ่งก็หมายความว่า ความเป็นคน มีจิตใจแน่วแน่ มุ่งมั่นในสิ่งที่ตนปรารถนา แล้วก็ทำจนเห็นผล เช่นนักเรียน เรียนวิชาใดก็เรียนจบ ได้ความรู้จริงในวิชานั้น ผู้รักษาศีลประเภทใด ก็ตั้งใจรักษาศีลประเภทนั้นให้ได้จริง ๆ หรือผู้เป็นนักบวชก็เป็นนักบวชที่ดีจริง เป็นต้น

คุณธรรม คือ สัจจะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งทางโลก ทางธรรม จึงกล่าวได้ว่า ใครก็ตามที่ขาดสัจจะในใจเสียอย่างเดียว เอาดีไม่ได้เลย จะเล่าเรียนก็ไม่จริงจัง จะรักใคร ๆ ก็รักไม่จริงจัง จะแต่งงานกับใครก็ไม่จริงจัง จะเป็นพลเมืองของประเทศใดก็ไม่จริงจัง จะปฏิบัติธรรมก็ไม่จริงจัง เป็นต้น คนประเภทนี้จะเอาดีได้อย่างไร

ในทางตรงกันข้าม คือ คนที่มีสัจจะ คุณธรรม คือสัจจะนั่นเอง จะเป็นหลักประกันประจำตัวให้คนอื่นเชื่อถือไว้วางใจ จะทำการสิ่งใดก็เจริญ เพราะได้รับการสนับสนุนจากคนทั้งหลาย

ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จิตใจที่มีสัจจะ อันอบรมดีแล้ว คือ มีความจริงใจจนติดเป็นนิสัยมั่นคง ความจริงใจนั้นจะเป็นเหตุ ทำให้จิตใจมีพลัง ฟันฝ่าอุปสรรคเหมือนกระสุนที่ถูกยิงไปด้วยพลังอย่างสูง ย่อมแหวกว่ายเจาะไชเอาชนะสิ่งที่ขวางหน้าไปจนได้ และเพราะค่าที่สัจจะเป็นกำลังส่งจิตใจให้บรรลุเป้าหมายได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ด้วยสัจจะนี้ ดังนั้น สัจจะท่านจึงจัดไว้เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบประการที่พระโพธิ จะขาดเสียมิได้ เรียกว่า “สัจจะบารมี”

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-23 20:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
" การจะเรียนวิชาอะไรก็ตามควรมีสัจจะ แต่คนเราเดี๋ยวนี้ทำของไม่ค่อยขึ้น เนื่องจากขาดสัจจะตัวเดียว เนื้อหนังจึงเปลี่อยหมดไม่เหมือนคนสมัยก่อนมีสัจจะจึงถือของขึ้น "

หลวงปู่ทิม อิสริโก

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-23 20:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
.อย่าให้เป็นคนชั่ว


ในพระไตรปิฎก ฉบับอภิธรรมได้แจกแจงถึงสาเหตุที่ทำให้คนเป็นชั่วไว้ ๕ ประการ


๑. ชั่วเพราะสันดานเดิม
สันดานเดิมในที่นี้ บาลีจริง ๆ มุ่งเอากรรมชั่วที่สั่งสมไว้ในอดีตชาติ หมายความว่า อดีตชาติเคยสั่งสมกรรมชั่วในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเอาไว้จนเป็นนิสัยสันดาน ครั้นตายไปแล้วกลับมาเกิดใหม่ กรรมชั่วที่สั่งสมเอาไว้ก็ยังคงติดตามมา และกลายเป็นคุณสมบัติประจำตัวอีก เรียกว่ามีเชื้อชั่วติดตัวมา เช่น กรณีของพระเทวทัต แม้จะเกิดในราชสกุล แต่เพราะสันดานชั่วที่สั่งสมมามีกำลังมากกว่า ย่อมผลักดันให้กลายเป็นคนชั่วในที่สุด

ความจริงในข้อนี้ หากพิจารณาในปัจจุบันก็อาจพอเห็นร่องรอยได้บ้าง เช่น เด็ก(รวมถึงผู้ใหญ่) บางคนเกิดในครอบครัวดี พ่อแม่เป็นคนดีมีฐานะ เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม แต่กลับมีความประพฤติตรงกันข้าม นั่นเป็นเพราะสันดานชั่วฝังอยู่ในกมลสันดาน

๒. ชั่วเพราะสิ่งแวดล้อมพาไป
สิ่งแวดล้อมนี้ได้แก่สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ข้างตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนฝูง สังคม รวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนกำหนด หรือบังคับให้ต้องเลือกกระทำความชั่วลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาจจะโดยเต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ได้

๓. ชั่วเพราะคบคนชั่ว
บาลีพระพุทธพจน์ทรงย้ำเรื่องของการคบไว้ว่า “คบคนเช่นไรเป็นเช่นนั้น” (ยํ เว เสวติ ตาทิโส) ในมงคลสูตรข้อแรกจึงสอนให้เรา “ไม่คบคนพาล” และ “เลือกคบแต่บัณฑิต” นั่นเป็นเพราะว่า ธรรมชาติของคนเรา เมื่อคบค้าสมาคมกับใครเป็นมิตรสหายแล้ว ก็ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการหลอมอัธยาศัยให้เข้ากันได้โดยง่าย การคบค้าสมาคมกับคนชั่วจึงเท่ากับเปิดช่องให้ผู้นั้นกลายเป็นคนชั่วตามไปด้วย คล้าย ๆ กับสำนวนอุปมาอุปมัยโบราณที่ว่า “กฤษณาห่อปลาเน่าก็พลอยเน่าเหม็นไปด้วย”

๔. ชั่วเพราะปฏิเสธสิ่งดีงาม
“ชั่วเพราะปฏิเสธสิ่งดีงาม” ผู้เขียนแปลมาจากศัพท์บาลีว่า “ไม่ฟังธรรมของสัตบุรุษ” เหตุผลที่แปลเช่นนี้เพราะไม่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำว่า “ฟังธรรม” คับแคบไปจนเหลือเพียงการฟังเทศน์ฟังธรรม และคนที่จะเทศน์จะแสดงก็เหลือเพียงพระสงฆ์เท่านั้น

ความหมายของการ “ไม่ฟังธรรมของสัตบุรุษ” จริง ๆ แล้วมีความหมายถึงว่า ไม่ยอมรับฟังคำชี้แนะ ข้อเสนอแนะ คำตักเตือน คำสั่งสอนอันดีงามจากผู้ที่มีความรักความปรารถนาดีต่อตนเอง เป็นการปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับคำสอน เช่น เด็กไม่ฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ นักเรียนไม่ฟังคำตักเตือนของครู เพื่อนปฏิเสธคำตักเตือนของเพื่อน เจ้านายไม่ฟังคำทักท้วงจากลูกน้อง ลูกน้องไม่ฟังคำตักเตือนจากเจ้านาย เป็นต้น ผู้ที่ตกอยู่ในสถานะเช่นนี้ ย่อมมีโอกาสพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่เป็นความชั่ว ความเสียหายได้โดยง่าย

๕. ชั่วเพราะคิดผิด
ข้อนี้ เพ่งถึงความคิดความอ่านที่บุคคลนั้น ๆ ตั้งเอาไว้ในใจ อาจอยู่ในรูปของค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ ความเข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำ รวมไปถึงการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ หรือสนับสนุนการกระทำของตนให้เกิดความชอบธรรม เช่น ตนเองทำความผิด พอถูกจับได้ไล่ทันก็สร้างเรื่องว่าถูกกลั่นแกล้ง ถูกใส่ร้าย เป็นต้น นอกจากนั้นยังขยายขอบเขตไปถึงความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เชื่อว่าบาป-บุญ คุณ-โทษ นรก-สวรรค์ไม่มี ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วกลับได้ดี เป็นต้น

ผู้ที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติเช่นนี้ ย่อมเปิดช่องให้ทำความชั่วได้โดยง่าย และถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะพฤติกรรมทั้งหมดของคนเรา ล้วนแล้วแต่ออกมาจากความรู้สึกนึกคิดทั้งสิ้น

ในพระบาลี จึงมีพระพุทธพจน์เตือนใจเราไว้ว่า “จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด กระทำอันตรายได้มากกว่าศัตรูผู้มุ่งร้ายต่อเรา” ทั้งนี้เพราะศัตรู ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ทำอันตรายเราเพียงชั่วครั้งชั่วคราว และเราเองก็สามารถหาทางป้องกันได้ ขณะที่จิตที่ตั้งไว้ผิดนั้นทำอันตรายตลอดชีวิต แม้นตายไปแล้ว ก็ยังสามารถตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบเท่าที่เรายังไม่ละวางความเห็นผิดนั้น

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-23 20:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในพระบาลี จึงมีพระพุทธพจน์เตือนใจเราไว้ว่า...



“จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด กระทำอันตรายได้มากกว่าศัตรูผู้มุ่งร้ายต่อเรา”

ทั้งนี้เพราะศัตรู ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ทำอันตรายเราเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

และเราเองก็สามารถหาทางป้องกันได้ ขณะที่จิตที่ตั้งไว้ผิดนั้นทำ

อันตรายตลอดชีวิต แม้นตายไปแล้ว ก็ยังสามารถตามเราไปทุกภพ

ทุกชาติตราบเท่าที่เรายังไม่ละวางความเห็นผิดนั้น

kit007 ตอบกลับเมื่อ 2013-12-23 20:33
ในพระบาลี จึงมีพระพุทธพจน์เตือนใจเราไว้ว่า...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2013-12-24 01:12

สำหรับผม ถ้าไม่แน่นใจว่าทำได้ไม่รับปาก .... ดีกว่ารับปากแล้วทำไม่ได้ ...


รักษา สัจจะวาจา ไม่ได้ ก็คงจะกลายเป็นเพียงแค่ลมมปาก
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้