ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4314
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ภูพระบาทบัวบก

[คัดลอกลิงก์]
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท



            อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง"  อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร  กาฬสินธิ์  สกลนคร และอุดรธานี  ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น  มะค่า  เต็ง  รัง  ขิงชันแดง  ประดู่ เป็นต้น  เป็นแหล่งพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และติดต่อเรื่อยมาถึงสมัยล้านช้าง และอยุธยา
           ภูพระบาท  เป็นเขาแห่งหนึ่งที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น   ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา
เหล่านั้นแปรสภาพเปลี่ยนรูปร่างไป กลายเป็นรูปร่างประหลด ๆ ให้ผูกเป็นนิยายให้คล้องจองกันได้ และในเวลานั้นยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น แม้จะล่วงเข้ามาในยุคล้านปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายังไม่มีมนุษย์ที่ภูพระบาท  ซึ่งตอนนั้นชื่อก็คงยังไม่มีเพราะไม่มีมนุษย์มาตั้งให้  เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กระจายอยู่ทั่วไป เชื่อกันว่าดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งที่มีมนุษย์ยุคแรก ๆ ที่เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาอยู่อาศัย  ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  เนื่องจากพบภาพเขียนสีบนผนังหินมากมายหลายแห่ง  เป็นภาพเขียนสีแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไป เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
            เข้าใจกันว่ามนุษย์ยุคประวัติศาตร์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ภูพระบาทนี้คงมีความเชื่อว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งอาจจะเป็นด้วยรูปลักษณะที่พิกล ๆ ประหลาดของเสาหิน หรือเพิงหินบนเขา ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าไปตั้ง ไปซ้อนกันโดยธรรมชาติได้อย่างไร มนุษย์นั้นจึงอาจจะเชื่อว่านี่คือ  "หลักของโลกและประตูสู่บาดาล"  ก็เป็นได้
            มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คงต้องใช้ภูพระบาทที่มีลานหินกว้าง มีเพิงหินเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามายังเอเซียอาคเนย์ พร้อมกับรูปแบบศิลปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบ "ทวาราวดี"  เชื่อว่าทำให้ชุมชนแห่งนี้รับเอามาผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมเกิดเป็น พุทธแบบทวาราวดี  ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาหินรอบเพิงหินหลายแห่ง และรูปลักษณะพระพุทธรูปบางองค์เป็นแบบทวาราวดี และเมื่อวัฒนธรรมของขอมแพร่เข้ามา ก็ส่งอิทธิพลความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ มาสู่ชุมชนภูพระบาท ดังจะเห็นได้จากการดัดแปลงพระพุทธรูปให้กลายเป็นเทวรูปที่ถ้ำพระ  มีการแกะสลักผ้านุ่งของเทวรูปให้เป็นแบบของขอม และนักโบราณคดีเชื่อว่าศิลปที่พบที่ภูพระบาทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในยุคของอยุธยาตอนปลาย ต่อจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีก จึงถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาตร์ แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นมรดกโลกเหมือนอย่างในบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
            การเดินทางไปภูพระบาท  ก็ต้องไปผ่านจังหวัดอุดรธานีเสียก่อน  ซึ่งเจริญขึ้นแทบจะจำถนนหนทาง  ร้านอาหารเก่าๆ  แทบไม่ได้  รถรามากมายวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด  โรงแรมที่พักไม่ใช่โรงแรมเดิมที่เคยพักคือเจริญโฮเตล  โรงแรมไหนไม่บอกเดี๋ยวเขาเล่นงานเอา  โรงแรมใหญ่โต  บริการพอใช้  การจราจรวุ่นวายและหนวกหูด้วยเสียงเพลงจากผับทั้งหลายที่แทบจะล้อมโรงแรมนี้ดังตึงๆ กว่าจะสงบได้ก็เลยค่อนคืนไปแล้ว  หากเป็นสมัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ก็คงต้องสัก 20 ปี  เสียงตึงๆ อย่างนี้ไม่เดือดร้อนเพราะนั่งก๊งกันค่อนคืนเหมือนกัน  กว่าจะขึ้นมาห้องนอนก็แทบจะคลานขึ้นมา  หัวเอียง 45 องศาก็กรนแล้ว  แต่ตอนนี้ก็ใกล้ร้อยเข้าไปทุกทีเจอเสียงเพลงตึงๆ  นอนไม่หลับและย่านนี้จะหาที่จอดรถได้ยากด้วย  เพราะคนจะมาเที่ยวกันแยะ
http://jariya122.blogspot.com/2011/02/blog-post.html

ตำนานโศกนาฏกรรมรักที่ “ภูพระบาท”

ภูพระบาท : ตำนานรัก“นางอุษา-ท้าวบารส”
เริ่มกันที่ “ภูพระบาท” ที่ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ที่มีสภาพภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ ผ่านกาลเวลามานับแสนนับล้านปี เกิดเป็นกลุ่มก้อนหิน แท่งหิน รูปทรงประหลาด บนลานหินอันกว้างใหญ่ ซึ่งคนสมัยก่อนได้นำมาผูกแต่งเป็นเรื่องราว “ตำนานรักนางอุษา-ท้าวบารส” ที่ท้าวบารสกับนางอุสาแม้จะรักกันอย่างสุดซึ้ง
หิน “หีบศพท้าวบารส”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-5-12 21:18

แต่ด้วยอุปสรรคต่างๆ ทำให้นางอุสาผู้ผิดหวังในความรัก ทั้งจากการที่ท้าวบารสสังหารพระยากงพานบิดาของตน และการที่ท้าวบารสมีมเหสีอยู่ก่อนหน้านั้นถึง 10 นาง สุดท้ายแล้วนางอุสาตรอมใจกลับไปสิ้นชีวิตบนหอ(หิน)สูงที่ตัวเองอาศัยอยู่ ทำให้ท้าวบารสเมื่อรู้ข่าวก็ตรอมใจตายตามไปด้วย

หินรูปหีบศพนางอุสา

จากโศกนาฏกรรมรักนี้ ทำให้สถานที่และก้อนหินแปลกๆ บริเวณภูพระบาท มีชื่อเรียกขานเกี่ยวพันกับตำนานรักนางอุสา อาทิ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส หีบศพนางอุษา หีบศพท้าวบารส บ่อน้ำนางอุษา กี่นางอุษา และวัดพ่อตา วัดลูกเขย เป็นต้น ซึ่งสถานที่ต่างเหล่าๆนี้ถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับหอนางอุสาที่เป็นไฮไลท์ของภูพระบาท
      
       นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังมี พระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทหลังเต่า พระพุทธบาทบัวบาน รวมถึงถ้ำและเพิงหินต่างๆให้ได้ชมกันอีกด้วย ซึ่งด้วยความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ผสมกับความเป็นดินแดนสำคัญทางประวัติศาสตร์ และตำนานโศกนาฏกรรมรักอันสุดคลาสสิคของสถานที่ ทำให้ภูพระบาทได้รับการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลก ซึ่งต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าภูพระบาทจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในปีไหน





ที่มา: manager.co.th

...............................................................................

ที่มา http://board.postjung.com/767919.html


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้