ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ตัณหา ๓
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2351
ตอบกลับ: 5
ตัณหา ๓
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-12-16 07:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ขอให้รู้จักความอยาก โดยความหมาย มีสองชนิด ในภาษาไทย
อย่างนี้ ในภาษาบาลี ถ้าจะเรียกว่า กิเลสตัณหา หรือ ความโลภ
แล้ว ต้องเป็น เรื่องที่มาจากอวิชชา ถ้ามาจากวิชชา ก็เรียกเป็น
อย่างอื่น เรียกว่าเป็น ความปรารถนา หรือ ความต้องการ หรือ
ความขยัน ขันแข็ง ในหน้าที่การงาน ไปเสียทางโน้น ไม่ได้เป็น
เหตุ ให้เกิดความทุกข์ แต่ว่ากลับเป็น สิ่งที่จะทำลายความทุกข์
ความต้องการที่มันมีถูกต้อง แทนที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
กลายเป็นเรื่องจะดับความทุกข์ ความอยาก ในภาษาไทย
ภาษากำกวม เพราะว่า เราไม่มี ความหมาย รัดกุม เหมือน
ภาษาบาลี ให้รู้กันไว้อย่างนี้
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-16 07:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-16 07:24
กามตัณหา
นี้อย่างที่หนึ่ง อยากในกาม กามตัณหา ก็ด้วยความโง่ ความหลง
ความยึดมั่น ถือมั่น ด้วยอวิชชา จึงอยากในกาม มันก็เร่าร้อน
ตั้งแต่เริ่มอยาก แล้วก็เริ่มประพฤติ ปฏิบัติ กระทำลงไป แต่ข้อนี้
สำหรับ ฆราวาสทั่วไป เขาก็มิได้หมายความว่า จะไม่ต้องเกี่ยว
ข้องกับกาม เพราะคำว่า กาม มีความหมาย หลายอย่าง, กาม
เรื่องเกี่ยวกับเพศ เพศหญิง เพศชาย นี้ก็กาม นี้ส่วนที่มันเนื่อง
กัน ไม่ถึงขนาดนั้น ก็ยังเรียกว่า กาม เช่น ชอบอาหารเอร็ดอร่อย
ชอบเสียงไพเราะ แม้ยังไม่เกี่ยวกับเพศ ก็ยังเรียกว่า กาม
เหมือนกัน เพราะมันเนื่องกัน โดยส่วนลึก
ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วย คือ ไปอยากด้วยความโง่ ความหลงอะไร
มันก็เกิดสิ่งเร่าร้อน หรือเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าต้องไปเกี่ยวข้อง
ด้วย สติสัมปชัญญะ ก็มีความเป็นกามน้อยลง แม้เรื่องเพศ ที่จะ
ประกอบกิจกรรมทางเพศ ด้วยความรู้สึก ที่เป็นหน้าที่ของฆราวาส
แล้วก็ทำไปด้วย สติสัมปชัญญะ อย่างนี้ ความที่เรียกว่า เป็นกาม
มันก็น้อยลง มันก็มีความเป็น กามตัณหา น้อยลง ถ้าสมมติว่า
บริสุทธิ์ใจจริงๆ ในการที่จะทำเพียง หน้าที่ เพื่อการสืบพันธุ์ ล้วนๆ
ถ้ามันเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติได้ มันก็ไม่ถึงกับจัดว่า เป็นกาม มันกลาย
เป็นหน้าที่ ไปก็ได้ แต่ตามปกติ ไม่มีใครทำได้ เพราะว่าธรรมชาติ
มันลึกกว่า มันลึกซึ้งกว่า มันใส่กาม ไว้กับการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่ค่อยมีใคร ชอบทำกันนัก แต่โดยเหตุ มันเอากาม มาจ้าง เอา
ความรู้สึก ทางกามนี้ มาจ้างให้ สัตว์ทั้งหลาย ทำหน้าที่สืบพันธุ์
มันยุ่งยาก ลำบาก เท่าไร มันก็ยอมทน
นี้ถ้าเราไปโง่ ไปหลงกินเหยื่อ ของธรรมชาติ อันนี้เข้า มันก็เกิด
ความทุกข์ จากสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา เมื่อคนยังมี อวิชชา อยู่
มันก็ต้องโง่ ก็ต้องตกเป็นเหยื่อ ของสิ่งนี้ เป็นทาสของอวิชชา
เป็นทาสของตัณหา แล้วคนยอมลำบาก ให้สิ่งที่เรียกว่า ตัณหา
โดยเฉพาะกามตัณหานี้ เคี้ยวกิน ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า เคี้ยวกิน
คือ คนมันเป็นทาส ของกามตัณหา ยอมทนลำบาก นานาประการ
เพื่อจะให้ได้มา นี้คือสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา หมายถึง เรื่องเพศ
โดยตรง
สิ่งที่เป็นอุปกรณ์ทางเพศ ความไพเราะ สนุกสนาน เอร็ดอร่อย
แม้ไม่เกี่ยวกับเพศ โดยตรง มันก็เป็นกาม นี้ไปเกี่ยวกับเพศ
โดยตรง แล้วยิ่งเป็นกาม อย่างยิ่ง นี้อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า
กามตัณหา
.
ธ-ตรา-๑ ๔๐.ก/๒๘๔-๒๘๙
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-16 07:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-16 07:23
ภวตัณหา
อย่างที่สอง ก็คือว่า อยากเป็น ความเป็นอย่างไรที่น่าเป็น
เรียกว่า ภ.สำเภา ว.แหวน ภวตัณหา คือภพ แปลว่า เป็น
ภวตัณหา แปลว่า อยากเป็น นี่ก็อยาก ด้วยอวิชชา
อีกเหมือนกัน
อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ที่มันยั่วกิเลส ยั่วความอยาก บางทีมันก็ปนเป
กับกามตัณหา เช่น อยากเป็นหญิง อยากเป็นชาย อยากเป็นนั่น
เป็นนี่ ที่มันไปเกี่ยวกับทางเพศ ก็มี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยาก
มีหน้ามีตา อยากเป็นผู้มีชื่อเสียง อยากเป็นผู้มีอำนาจวาสนา
ถ้าทำไปด้วยความโง่ ของอวิชชา มันก็รุนแรง แล้วเป็นภวตัณหา
แล้วก็เกิดทุกข์ แต่ถ้าเรามี ความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี มีวิชชา เช่นว่า
เป็นนักศึกษา อย่างที่นั่งอยู่นี้ ก็อยากจะเป็น นักศึกษาที่ดี ที่ถูกต้อง
ตรงตามความหมาย อย่างนี้ก็ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่ภวตัณหา เพราะ
มันไม่ได้ทำไป ด้วยอวิชชา ทำไปด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญา
อยากเป็นนักเรียนที่ดี อยากเป็นนักศึกษาที่ดี แม้ที่สุด แต่ว่าอยาก
จะเป็น พ่อบ้าน แม่เรือน ที่ดี ถ้ามันไม่ได้ทำไป ด้วยความโง่ ด้วย
อวิชชา ด้วยความไม่รู้เท่า ในสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ไม่ถูกจัดเป็นตัณหา
แต่เป็นความปรารถนา ความต้องการ ที่ควรจะปรารถนา ฉะนั้น
ขอให้มัน แน่ลงไปทีว่า มันอยากด้วยวิชชา หรือ อยากด้วยอวิชชา
แล้วก็อย่าลืม อย่างเดียวกันอีก เชื่อว่า คนบางพวก อาจารย์บาง
หมู่ เขาสอนกันลงไปตรงๆเลย ขึ้นชื่อว่า ความอยากแล้ว เป็น
กิเลสตัณหา ไปหมด นี้ผมไม่ถืออย่างนั้น ไม่เข้าใจอย่างนั้น
หลังจากที่ได้ศึกษา มาถึงป่านนี้แล้ว ไม่ทำให้เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเผื่ออยากเป็นอะไร ให้มันดีขึ้นไป ให้มันถูกต้อง ให้มันสำเร็จ
ประโยชน์ ด้วยการรู้สึกตัวนี้ ไม่เรียกว่า ตัณหา
ยกตัวอย่าง เช่นว่า อยากเป็นเทวดานี้ มันก็อยากด้วยอวิชชา
ถ้าไปพิจารณาดูให้ดี แล้วเทวดานี้ มันไม่น่าเป็นดอก แล้วมัน
ก็ไม่อยาก เองแหละ ก็มันมีอะไรที่น่าเป็น ที่ควรจะเป็น มีความ
รู้สึกผิดชอบชั่วดี พิจารณาดูแล้ว มันควรจะเป็น หรือควรจะรับ
หน้าที่ อันนั้น มันก็เป็นได้ โดยไม่ต้องเป็นตัณหา อย่างจะเป็น
อาจารย์อย่างนี้ เป็นตัณหาก็ได้ ไม่เป็นตัณหาก็ได้ มันแล้วแต่
ความอยากนั้น มีมูลมาจากอะไร จากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ถูกต้องสมบูรณ์นี้ มันก็ไม่ต้องเป็นตัณหา
หรือถ้ายิ่งไปกว่านั้น
อยากจะเป็น ผู้ครองบ้าน ครองเมือง ก็ต้องรู้โดย หลักเกณฑ์
อันเดียวกัน ถ้าทำไปด้วยความโลภ ด้วยความโง่ ด้วยความหลง
ด้วยความยึดมั่น มันแล้ว มันก็เป็น ตัณหาทั้งนั้น แล้วก็เป็น
ความทุกข์ แต่ถ้าเป็นความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี มีเหตุผล มีความ
ลืมหูลืมตา มีสติสัมปชัญญะอยู่ รู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องช่วยเหลือ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่างนี้ ไม่เป็นตัณหา ไม่เป็นกิเลสตัณหา
แต่แล้ว มันก็หายากนะ หาโอกาสยากนะ หรือว่า เขาสมมติว่า
พระพุทธเจ้า ท่านตั้งความปรารถนา ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า นี้
ด้วยเหตุผลอย่างนั้นๆ ตามที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ อย่างนี้จะเรียก
ว่า เป็นตัณหาไม่ได้ มันเป็นความปรารถนา แม้จะทำรุนแรง
เป็นการอธิษฐานจิต ตั้งสัจจาทิฎฐาน อะไรนี้ ก็ไม่เป็นตัณหา
ได้ เพราะทำได้ ด้วยความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี ของวิชา ของสติ
สัมปชัญญะ การที่อยากเป็นอะไร ด้วยความลุ่มหลง ในผลของ
การที่จะได้เป็นแล้ว มันก็เป็นตัณหา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-16 07:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-12-16 07:24
วิภวตัณหา
นี้มาถึง อันที่สาม ก็เป็น วิภวตัณหา อยากไม่เป็น อยากไม่เป็น
อย่างนั้น อยากไม่เป็นอย่างนี้ กระทั่ง อยากไม่เป็น เสียเลย ไม่
เป็นอยู่เลย เช่น อยากตาย เป็นต้น พวกอยากเป็นนั่น เป็นนี่ มัน
อาศัย สัสสตทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นอยู่ อย่างเที่ยงแท้
ถาวร พอมาถึงตอนนี้ มันเกิด อุจเฉททิฎฐิ เชื่อว่าต้องขาดสูญ
หรือไม่ได้เป็นอยู่ อย่างถาวร อุจเฉททิฎฐิ นี้ มันชักจูงตัณหา
ให้เกิด ภวตัณหา ไม่อยากเป็น ไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่
ก็ด้วยความโง่ ไม่ใช่ไม่อยากเป็น ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง มันไม่
อยากเป็น ด้วยความโง่ ความเอือมระอา ความอะไรที่เป็นความ
โง่ จนกระทั่ง อยากตาย แล้วก็ฆ่าตัวตาย เป็นต้น นี้ผู้ที่จะ
ปราศจากตัณหาแล้ว ก็จะไม่มี ความอยากอย่างนี้ ความอยาก
ไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ นี้ก็เร่าร้อน เหมือนกันแหละ
คุณลองสังเกตดู เมื่อรู้สึกว่า เราไม่ได้อะไร อย่างอก อย่างใจ
มันก็เดือดร้อน แล้วก็เป็นทุกข์ ฉะนั้นอย่าได้มี ตัณหาสามอย่าง
นี้ แล้วก็ไม่มีทุกข์ ชนิดที่ระบุไปว่า ตัณหาสามอย่างนี้ เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์
ทีนี้ ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป พระพุทธเจ้าท่านตรัส ระบุตัณหาไว้ว่า
โปโนพฺภวิกา นนฺทิราค สหคตา ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี นี่ นันทิราคะ
สะหะคะตา นี้คือ กามตัณหาโดยตรง แล้วก็ปัญหานอกนั้น โดย
อ้อมก็ได้ ตัตตร ตัตตราภินันทิ นันทินี นี้มันหลงใหล เคลิบเคลิ้ม
อยู่ในสิ่งนั้นๆ แล้วก็มีคำว่า โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อให้เกิดภพ
ใหม่ เกิดชาติใหม่นี่ พอเราอยาก มีตัณหาขึ้นมาแล้ว เราจะ
รู้สึกว่า เราอยาก เราผู้อยาก ฉันอยาก กูอยาก อะไรก็เดือด
พล่านอยู่นี้ นี่เรียกว่า เกิดตัวกูตัวใหม่ขึ้นมา หลังจากเกิดความ
อยากอย่างนี้ก็เรียก่า โปโนพฺภวิกา ได้ เมื่อเราอยู่เฉยๆ เรา
ไม่รู้สึกว่า มีตัวเรา หรือ เราตัองการอะไร แต่พอมีการกระทำ
ให้เกิดความอยากแล้ว หลังจากความอยากแล้ว ต้องเกิดความ
ยึดถือ เป็นอุปาทานแล้ว ตัวกูนี้ จะเอาให้ได้ คือตัวกูมันอยาก
มันจึงเห็นได้ชัดว่า ตัณหานี้ มันเป็นเหตุ ให้เกิดตัวกู คือ ชาติ
แห่งตัวกู อันใหม่ขึ้นมา เกิดอย่างนี้บ่อยๆ บ่อยๆ ก็คือ ใหม่
เรื่อยไปทุกที อันนี้จะเห็นชัดในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท
นี้ผมพูดโดยอริยสัจจ์เล็ก ว่า
เหตุให้เกิดทุกข์นั้น คือ ตัณหา
สามประการ สรุปโดยย่อว่า ความอยากที่มาจากอวิชชา ไม่รู้
ตามที่เป็นจริง มันก็อยาก ไปในรูปของกาม เรื่องเพศบ้าง ถ้า
อยาก ไปในเรื่องของภพ คือ เป็นนั่นเป็นนี่ แม้ไม่เกี่ยวกับ
กามบ้าง แล้วเป็นวิภพ คือ ไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-12-16 07:29
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความอยาก
อันความอยาก จะระงับ ดับลงได้
นั้นมิใช่ เพราะเรา ตามสนอง
สิ่งที่อยาก ให้ทัน ดั่งมันปอง
แต่เพราะต้อง ฆ่ามัน ให้บรรลัย
ให้ปัญญา บงการ แทนร่านอยาก
ความร้อนไม่ มีมาก อย่าสงสัย
ทั้งอาจผลิต กิจการ งานใดๆ
ให้ล่วงไป ด้วยดี มีสุขเย็น ฯ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54549
6
#
โพสต์ 2013-12-16 08:35
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...