รัฐมนตรีคนแรกที่เคยเป็นนักฟุตบอลของทีมชาติไทย
มจ.สิทธิพร กฤดากร (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดประจวบคีรีขันฑ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (พฤศจิกายน 2490 - เมษายน 2491).
นักฟุตบอลคนแรกที่มีอนุสาวรีย์ของทีมชาติไทย
อัศวิน ธงอินเนตร อดีตผู้รักษาประตูดาราเอเชีย ซึ่งเสียชีวิตระหว่างการฝึกซ้อมให้ทีมชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2508 ณ สนามฟุตบอลสโมสรธนาคารกรุงเทพ บางนา จึงทำให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ครึ่งตัวไว้ ณ สนามดังกล่าว.
ผู้
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งแรกของทีมชาติไทย
คือ "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" ณ พระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยสำนักพระราชวัง อนุญาตให้สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดแสดงเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถาน "๑๐๐ ปี ทีมชาติไทย" ในปี พ.ศ. 2558.
"ฉายา" ของนักฟุตบอลทีมชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2458 แถม ประภาสะวัต "กำแพงเมืองจีน"
อิน สถิตยวณิช "คนรักษาประตูตาเดียว"
ศรีนวล มโนหรทัต "รถไฟสายใต้"
จรูญ รัตโนดม "รถไฟสายเหนือ"
ศักดิ์ คุปตะวาณิช "อ้ายฮก"
พ.ศ. 2480 - 2499
วิวัฒน์ มิลินทจินดา "ปืนใหญ่"
สำรวย ไชยยงค์ "ปรมาจารย์ฟุตบอลเมืองไทย" พ.ศ. 2500 - 2510
อัศวิน ธงอินเนตร "จอมเหินหาว"
ณรงค์ สังขสุวรรณ "กองหลังดาราเอเชีย"
ยรรยง ณ หนองคาย "เจ้าตีนระเบิด"
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร "จิ้งเหลนไฟ"
เฉลิม โยนส์ "สุภาพบุรุษอังกฤษ" พ.ศ. 2511 - 2520
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ "สิงห์สนามศุภ"
สราวุธ ประทีปากรชัย "ไอ้แมวป่า"
อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค "รถด่วนเมืองละโว้"
บุญเลิศ นิลภิรมย์ "ปีกปีศาจ"
ชัชชัย พหลแพทย์ "นักเตะจอมฟิต"
สุชิน กสิวัตร "แบ็คยุโรป"
ศุภกิจ มีลาภกิจ "สำลีเม็ดใน"
สิทธิพร ผ่องศรี "จอมเบสิก"
เกษตรชัย สุวรรณธาดา "หนูถีบจักร"
สุทธา สุดสะอาด "จอมโหม่งพสุธา"
อำนาจ เฉลิมชวลิต "นายพันกระดูกเหล็ก"
ประพนธ์ ตันตริยานนท์ "ยอร์จ เบสต์ เมืองไทย"
โกวิท เพ็งลี "เจ้ารถถัง"
ศุภฤกษ์ ชีวะบุตร "แบ็คซ้ายตีนทอง"
สมพร จรรยาวิสูตร "แมททริว เมืองไทย"
เชิดศักดิ์ ชัยบุตร "ปีกซ้ายมหาภัย"
ดาวยศ ดารา "เพชรฆาตหน้าติดหนวด"
ไชยวัฒน์ พรหมมัญ "เจ้าปลาหมึก"
เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง "สุภาพบุรุษนักเตะ"
วีระยุทธ สวัสดี "ไข่มุกดำ"
วิทยา เลาหกุล "ฮาล์ฟอังกฤษ"
ดนัย มงคลศิริ "ศูนย์หน้าจอมเหินหาว"
พ.ศ. 2521 - 2530
ประพันธ์ เปรมศรี "มนุษย์ไม้"
วรวรรณ ชิตะวณิช "มิดฟิลด์อัจฉริยะ"
สุทิน ไชยกิตติ "แบ็คหนวดหิน"
ชัยยุทธ ผิวบัวเผื่อน "รถด่วนอันตราย"
มาด๊าด ทองท้วม "เจ้าบังตีนเมา"
ชลอ หงษ์ขจร "เจ้าหนูถึบจักร"
สมพงษ์ วัฒนา "เจ้าแรดหิน"
พิชัย คงศรี "หลอหัวเรดาห์"
เฉลิมวุฒิ สง่าพล "มิดฟิลเท้าชั่งทอง"
ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน "เพชรฆาตหน้าหยก"
ศิริศักดิ์ แย้มแสง "จอมตีลังกา"
อภินันท์ ผุลละศิริ "มิลฟิลด์จากซาอุ"
สมปอง นันทประภาศิลป์ "เสือใหญ่"
วิลาศ น้อมเจริญ "เสือลาศ"
ศักดริน ทองมี "คีแกนเมืองไทย"
ประดับพันธ์ จรัญญา "อ้ายท่อ"
บรรหาร สมประสงค์ "เจ้ารถถัง"
ประทีป ปานขาว "จรวดใบ้" พ.ศ. 2531 - 2540
วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ "สิงห์โตเผือกจากปากน้ำโพ"
นที ทองสุขแก้ว "เจ้าดำอุตรดิตถ์"
อนัน พันแสง "มิดฟิลด์ร้อยล้าน"
สมศักดิ์ คำมณี "จอมโหด"
รณชัย สยมชัย "จอมล้นลาน"
นพดล วิจารณรงค์ "โซเครติส เมืองไทย"
ประเสริฐ ช้างมูล "เหน่อเสน่ห์"
กฤษดา เพี้ยนดิษฐ์ "ดำเล็ก"
สมชาย ทรัพย์เพิ่ม "มาราโดน่า กล้วยน้ำไท"
เสนาะ โล่งสว่าง "เจ้ารถถังปากน้ำโพ"
อรรถพร หิรัญสถิตย์ "ศูนย์หน้าหมอผี"
สาธิต จึงสำราญ "อ้วนซ่า"
ประสงค์ พันธ์สวัสดิ์ "เสือเตี้ย"
อุดม สุวรรณเลขา "ปีกกระดูกยุง"
วรวุฒิ ศรีมะฆะ "เจ้าโย่ง"
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง "ศูนย์หน้าจอมตีลังกา"
สุชิน พันธ์ประภาส "ไรอันกุ้ง"
สมาน ดีสันเทียะ "ปีกปลาร้า"
โกวิทย์ ฝอยทอง "ซิกล้วย"
โชคทวี พรหมรัตน์ "เจ้านกกระยางดำ"
ตะวัน ศรีปาน "สุภาพบุรุษลูกหนัง"
เศกสรรค์ ปิตุรัตน์ "โรนัลโด เมืองไทย"
ชายชาญ เขียวเสน "แบดบอย"
ขวัญชัย เฟื่องประกอบ "โรมาริโอ เมืองไทย" ที่มา สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย
|