ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม วัดอุดมรัตนาราม ~

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านเป็นผู้พูดน้อย มีคำเทศนาน้อย และเป็นผู้มีนิสัยมักน้อยสันโดษ ไม่ใช้สิ่งของฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะในเรื่องผ้านุ่งผ้าห่ม ท่านจะอธิษฐานใช้เฉพาะผ้าที่จำเป็นเท่านั้น โดยท่านจะใช้สบง จีวร สังฆาฏิ ผ้าอาบน้ำ อย่างละผืน ส่วนอังสะ มี 2 ผืน เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าท่านใช้ผ้าอย่างฟุ่มเฟือยจนกลายเป็นอติเรกจีวรอย่างมากมาย ในส่วนของปัจจัย (คือเงิน) และลาภสักการะอื่น ท่านจะไม่รับไว้เป็นการส่วนตัว แต่จะให้คณะกรรมการของวัดเก็บไว้เป็นกองกลางของวัด ดังนั้นเมื่อท่านมรณภาพจึงไม่มีปัจจัยเป็นของส่วนตัวแม้แต่สักบาทเดียว

ในการทำความเพียรของท่าน ถ้าเป็นวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ท่านจะพาญาติโยมทำความเพียรตลอดคืน เรียกว่าให้สมาทานเนสัชชิกังคธุดงค์ คือไม่นอนตลอดคืน หากเป็นวันธรรมดาตอนหัวค่ำหลังจากทำวัตรเย็น ท่านจะพักผ่อนจำวัดเสียก่อน ครั้นพอถึงเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง ท่านจะลุกขึ้นมาทำความเพียร โดยการเดินจงกรม คืนไหนที่ฝนไม่ตกท่านจะเดินอยู่ข้างอุโบสถ ถ้าคืนไหนฝนตกท่านจะเดินที่ศาลา พอถึง ตี 2 จะเปลี่ยนมานั่งสมาธิ, ตี 3 จะพักผ่อนอีก, ตี 4 ลุกขึ้นมานั่งสมาธิจนสว่าง แล้วล้างหน้าแปรงฟัน เตรียมตัวออกบิณฑบาต

บางครั้งโรคปวดเท้าของท่านกำเริบขึ้นมาก็ออกบิณฑบาตไม่ได้ เดินจงกรมก็ไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยการนั่งและนอนเท่านั้น หากจะเดินไปไหนมาไหนต้องอาศัยลูกศิษย์ช่วยพยุง การได้รับทุกขเวทนาจากอาพาธที่เป็นๆ หายๆ นี้ ทำให้ท่านได้อาศัยทุกขเวทนานี้มาพิจารณาเห็นความจริงของสังขารร่างกาย ว่าเป็นกองทุกข์ ไม่น่ายินดีลุ่มหลง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อจิตใจของท่านมาก

ยามเช้าเวลาไปบิณฑบาต ท่านมักไปไม่ไกล แล้วมากลับมารออยู่ที่วัด ส่วนพระเณรต้องเดินไปไกลประมาณ 2-3 กม. เมื่อกลับมาถึงวัดแล้ว พระเณรทุกรูปพร้อมกันทำวัตรเช้า ส่วนหลวงปู่ท่านจะทำเองต่างหาก เมื่อพระเณรทำวัตรเสร็จ กราบพระและกราบท่านแล้ว ญาติโยมจะนำอาหารมาประเคน แจกอาหารแล้วให้พร เมื่อฉันภัตตาหาร ล้างบาตร เช็ดบาตร เก็บสื่อสาดอาสนะปัดกวาดศาลาเสร็จแล้ว พระเณรพากันไปศึกษาพระปริยัติธรรม ส่วนหลวงปู่จะรับแขกอยู่ที่ศาลา จะมีญาติโยมมากราบนมัสการไม่ขาด

ตอนบ่ายหากไม่มีญาติโยมมากราบ ท่านมักจะพาออกไปที่ลำน้ำยาม ถ้าเป็นหน้าฝนก็จะพาเก็บหน่อไม้ไผ่ป่า เก็บหมากผีพ้วน หมากกล้วยเห็น หมากค้อ หรือพายเรือขึ้นไปหาเก็บเห็ดที่ภูกระแต บ้านแพงน้อย เมื่อกลับมาก็นำสิ่งของเหล่านั้นไปส่งให้แม่ชีที่โรงครัว เพื่อจัดทำเป็นอาหารถวายพระเณรในวันรุ่งขึ้น
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เวลาค่ำจะตีระฆังให้พระเณรมารวมกันทำวัตรเย็น เสร็จแล้วเอาหนังสือวินัยมุข เล่ม 1 เล่ม 2 หรือหนังสือต้นบัญญัติมาอ่านให้พระเณรฟัง อบรมข้อวัตรปฏิบัติ จบแล้วแจกเทียนไของค์ละ 2-3 เล่ม เพื่อให้ไปจุดอ่านหนังสือ เพราะเวลานั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนทุกวันนี้

และเนื่องจากท่านเป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อมีญาติโยมนำลูกหลานมาฝากให้บวช ท่านจะรับไว้และฝึกอบรมให้รู้จักการรักษาวินัย รู้จักการทำข้อวัตรกิจวัตรก่อน ไม่ได้บวชง่ายๆ ต้องอยู่สักเดือนหรือ 2 เดือน เพื่อท่องขานนาคให้ได้เสียก่อนจึงจะได้บวช การท่องขานนาคก็จะต้องให้ถูกต้องตามอักขระฐานกรณ์อีกด้วย ซึ่งเป็นการทดสอบดูว่าผู้ที่มาบวชมีศรัทธาแน่วแน่แค่ไหน ถ้าศรัทธาไม่แน่วแน่มั่นคงก็จะลาสึกตั้งแต่ยังเป็นนาค

ถ้าบวชเป็นเณร หลวงปู่ท่านจะรับภาระจัดหาเครื่องบริขารให้ ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ นอกจากผู้ที่จะมาบวชเป็นพระและมีญาติพี่น้องต้องการเป็นเจ้าภาพ จึงให้ทางญาติพี่น้องของผู้จะบวชเป็นผู้จัดการหาเครื่องบริขาร พระเณรที่มาบวชอยู่กับท่าน ท่านจะเอาใจใส่ดูแลแนะนำการปฏิบัติที่ถูกที่ควรไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้ความอบอุ่นเสมอภาคกันหมด ตลอดจนอนุเคราะห์สงเคราะห์ทั้งอามิสและธรรมะอย่างเสมอต้องเสมอปลาย ทำให้พระเณรรักและเคารพในเมตตาธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง

13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน-พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต)


๏ การอาพาธและการมรณภาพ

พ.ศ. 2523 ท่านเริ่มอาพาธ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออาการทุเลาจึงได้กลับวัด แต่ก็ยังไม่หายขาด คณะศิษย์จึงนิมนต์ท่านไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ อาการก็พอทรงตัวอยู่ได้บ้าง โดยคณะแพทย์ให้ยามาฉัน และแนะนำให้มารักษาตัวที่วัดอุดมรัตนาราม เพื่อจะได้พักผ่อนมากๆ

ครั้นต่อมาอาการทรุดลง จึงนำท่านไปรับการรักษาที่โรงพาบาลสกลนคร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.  2523 อาการยิ่งทรุดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะตั้งแต่กลางเดือนลงไปปลายเดือน อาการทรุดหนักจากไม่รู้สึกตัว จนแพทย์ลงความเห็นว่าคงอยู่ได้ไม่นาน และได้เอกซเรย์ปอดของท่านดู พบว่ามีแต่รู เหมือนถูกอะไรแทง

แต่ครั้นถึงวันที่ 27 พฤษภาคม ท่านกลับรู้สึกตัวขึ้นมาเหมือนไม่ได้เป็นอะไรมาก และเมื่อทราบว่าวันวิสาขบูชาตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคม  ท่านจึงบอกกับพระเณรตลอดจนคณะศรัทธาญาติโยมที่เฝ้าว่า อยากจะกลับวัดอุดมรัตนาราม เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลในวันวิสาขบูชาดังที่เคยกระทำมาทุกครั้ง เนื่องจากตามปกติแล้วเมื่อถึงวันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา และออกพรรษา ท่านจะนำพาพระเณร แม่ชี และศรัทธาญาติโยม ที่มาจำศีลที่วัดทำความเพียร โดยใช้อิริยบถ 3 คือ ยืน เดิน และนั่ง ตลอดทั้งคืน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

และอีกประการหนึ่งที่ทำให้หลวงปู่ท่านอยากกลับคือ ขณะที่ท่านยังอาพาธ มีโยมบ้านวา ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย นำวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่เป็นของโบราณมาฝากไว้กับท่าน เพื่อให้ท่านแผ่เมตตา เพ่งพลังจิตเพื่อให้วัตถุนั้นขลังยิ่งขึ้น เมื่อโยมนั้นทราบว่าท่านอาพาธหนักทำท่าจะไม่รอด จึงมาทวงคืน ท่านจึงอยากจะกลับวัดไปหาวัตถุมงคลนั้นคืนให้เจ้าของตามที่ต้องการ
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านกลับถึงวัดอุดมรัตนาราม ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 วันนั้นเป็นวันโกน ซึ่งตรงกับวันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ท่านพระอาจารย์สูนย์ จนฺทวณฺโณ ได้รับภาระปลงเกศาให้ท่าน จากนั้นท่านก็หาวัตถุมงคลของโยมบ้านวาจนพบและก็ได้ส่งคืนเจ้าของเขาไป

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เนื่องในวันวิสาขบูชา ท่านได้ให้โอวาทแก่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา และญาติโยมที่มาเยี่ยมอาการอาพาธของท่าน มีใจความว่า “สพฺพปาบสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธาน สาสนํ” การไม่ทำความชั่วทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึ่ง การยังจิตของตนให้ผ่องใสหนึ่ง นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ท่านอธิบายว่า เมื่อเราท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติตามนี้แล้ว ย่อมยังพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง คนเรานับถือศาสนาทุกวันนี้ ถือกันแต่เพียงในสำมะโนครัว ว่าถือศาสนาพุทธเท่านั้น ไม่ได้ปฏิบัติกันจริงจัง บ้านเมืองจึงมีความเดือนร้อน ถ้าทุกคนละเว้นความชั่วแล้วทำความดี ความสุขความเจริญย่อมจะมีอย่างแน่นอน  ธรรม 3 ประการ คือ การไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี ทำใจให้ผ่องใส อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “หัวใจพระพุทธศาสนา”

รุ่งเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 7 หลังจากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ท่านจะกลับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสกลนครอีก เพราะขออนุญาตแพทย์มาที่วัดเพียง 2 วันเท่านั้น ก่อนที่ท่านจะขึ้นรถเดินทางไปโรงพยาบาล ท่านได้พูดกับพระเณรและญาติโยมว่า “จะไปให้เขาฉีดยาให้ จักหน่อยก็จะได้กลับมาแล้ว”

ทุกคนต่างก็เข้าใจว่าท่านคงไม่เป็นอะไรมาก ไม่นานแพทย์คงจะให้กลับวัด เมื่อถึงโรงพยาบาลสกลนคร หลวงปู่ได้เข้าพักที่ห้องเบอร์ 8 ตึกสงฆ์อาพาธพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร หลังจากท่านฉันยาหลังฉันเพลเสร็จ อาการท่านกลับกำเริบ อาเจียน และอาการทรุดหนักลง จนถึงแก่มรณภาพลงในที่สุดเมื่อเวลา 16.30 น. ของวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ด้วยอาการสงบ ท่ามกลางคณะแพทย์และคณะศิษย์หลายคน สิริรวมอายุได้ 71 ปี พรรษา 50 เหลือไว้เพียงแต่คุโณปการยิ่งที่มีต่อพระศาสนา และคำสอนของหลวงปู่ที่บอกให้ลูกศิษย์ลูกหาทุกคนจงทำความดี ทางคณะศิษย์ได้นำศพของท่านกลับวัดในวันนั้น สมกับคำพูดของท่านที่สั่งไว้ก่อนออกเดินทางว่า “จักหน่อย” ซึ่งแปลว่า “เดี๋ยวเดียว หรือไม่นาน”
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขณะที่ท่านยังพักรักษาองค์อยู่ที่ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสกลนครนั้น วันหนึ่งแพทย์สั่งให้เลือดท่าน แต่เนื่องจากไม่มีบุรุษพยาบาลจึงให้พยาบาลหญิงมา แต่ท่านได้บอกว่า ท่านรักษาศีลมานานหลายปี โยมผู้หญิงไม่เคยแตะต้อง อยากจะขอให้โยมผู้ชายมาจัดการให้ พยาบาลหญิงจึงไม่พอใจ หาว่าผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ครั้นตกลงว่าเมื่อหาโยมผู้ชายไม่ได้ จึงยินยอมให้โยมผู้หญิงเป็นผู้ทำ

เมื่อเขาเอาเข็มแทงเข้าเส้นเลือดจากขวดที่ห้อยออยู่ในที่ที่มั่นคงถาวรแล้ว ปรากฏว่าหลังจากพยาบาลออกไปได้สักพัก ขวดเลือดที่ห้อยอยู่บนเสาที่แข็งแรง ก็เกิดตกลงแตกกระจาย ทำให้พื้นห้องแดงฉานไปด้วยเลือด

หลวงปู่จึงได้พูดขึ้นว่า “นี่แหละ บอกแล้วว่าไม่ต้องการให้ผู้หญิงทำ มันจึงเป็นอย่างนี้”

ลูกศิษย์ที่เฝ้าท่านจึงได้ไปเรียกพยาบาลหญิงคนนั้นมาดู เธอก็แปลกใจ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยเป็นอย่างนั้น แต่เธอก็ว่ามันเป็นเหตุบังเอิญมากกว่า


หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี


พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร วัดศรีสำราญ จ.สกลนคร


หลวงปู่คำพันธ์ จนฺทูปโม วัดศรีวิชัย จ.นครพนม


หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ จ.หนองคาย

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ งานพระราชทานเพลิงศพและการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์

นับแต่หลวงปู่อุ่นท่านมรณภาพลง ก็ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญ วัดอุดมรัตนาราม และจัดงานราชทานเพลิงศพในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2525 ซึ่งในวันงานได้มีพระเถรานุเถระมาร่วมงานจำนวนมาก อาทิเช่น

1. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย
2. พระธรรมบัณฑิต (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
3. พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม
4. พระราชเมธากร (ปาน ธมฺมสาโร) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
5. พระราชสารโกศล (หลวงปู่สุวัฒน์ ญาณวโร) วัดสารภาณนิมิต จ.นครพนม
6. พระวิบูลธรรมภาณ (ประมูล รวิวํโส) วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
7. พระครูพิพิธธรรมสุนธร (หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร) วัดศรีสำราญ จ.สกลนคร
8. พระครูสุนทรนวกิจ วัดอรุณรังษี จ.หนองคาย
9. พระครูอดุลธรรมภาณ (หลวงปู่คำพันธ์ จนฺทูปโม) วัดศรีวิชัย จ.นครพนม
10. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
11. หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ จ.หนองคาย
12. หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) จ.สกลนคร
13. หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
14. หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร
15. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดป่าจำปาศิลาวาส จ.สกลนคร
16. หลวงปู่ผ่าน ปญฺญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม จ.สกลนคร


หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก จ.สกลนคร


หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร


หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดป่าจำปาศิลาวาส จ.สกลนคร


หลวงปู่ผ่าน ปญฺญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม จ.สกลนคร

19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภายหลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในปี พ.ศ. 2528 แม่ชีบุญฮี พรมเทพ ณ วัดอุดมรัตนาราม พบว่าอัฐิที่เก็บรักษาไว้บูชาด้วยความเคารพ ได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ 2 องค์ มีสัณฐานดังช้างสารหัก มีสีขาวดุจงาช้าง

และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 มีผู้ได้รับผงอังคารของท่านไว้บูชาคนหนึ่ง ได้พบว่าผงอังคารของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุ 2 องค์ องค์หนึ่งกลมมัน มีสีเทาดำ เหมือนสีของผงอังคาร อีกองค์หนึ่งสีขาวขุ่น ซึ่งในครั้งแรกที่พบไม่แน่ใจว่าจะใช่ผงอังคารแปรเป็นพระธาตุหรือไม่ แต่เมื่อนำไปถวายให้ หลวงปู่คำตัน ฐิตธมฺโม แห่งวัดป่าดานศรีสำราญ ต.ศรีสำราญ อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ พิจารณาแล้ว ท่านรับรองว่าเป็นพระธาตุของหลวงปู่จริง

ต่อมา คณะศิษยานุศิษย์ได้ประชุมปรึกษากัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พระศรีธรรมวงศาจารย์ (ปาน) เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์เพื่อบรรจุอัฐิและเก็บรักษาเครื่องบริขารของท่าน ตลอดจนประดิษฐานรูปเหมือน เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไว้สักการบูชา ระลึกถึงพระคุณและพระธรรมคำสอนของท่าน

ดังนั้น จึงได้จัดงานวางศิลาฤกษ์เจดีย์เมื่อวันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2533 และดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยมีสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วสารทิศได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างเจดีย์นี้ ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำโดยคุณสุเมธ โสฬส ได้นำคณะผ้าป่ามาทอดถวาย และนิตยสารโลกทิพย์ ได้นำข่าวไปบอกบุญในหนังสือ ทำให้มีพุทธศาสนิกชนได้ทราบข่าวอย่างกว้างขวาง และร่วมทำบุญมาไม่ขายสาย เป็นต้น ทำให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 3,000,000 บาท และทำการฉลองเจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2539

สำหรับรูปหล่อเหมือนขององค์หลวงปู่ท่านที่ประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์นั้น มีขนาดเท่าองค์จริง ปั้นโดยโรงหล่อแหลมสิงห์ ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งมีฝีมือปั้นได้เหมือนจริงมาก แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจอย่างหนึ่ง คือ เมื่อไปติดต่อกับคุณแหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์ เจ้าของโรงหล่อ จึงพบว่าหลวงปู่เคยมาจ้างให้โรงหล่อแห่งนี้เป็นผู้ปั้นรูปเหมือน ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เมื่อสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยยังมีภาพถ่ายของท่านที่ทางโรงหล่อถ่ายไว้สำหรับเป็นแบบปั้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีลูกศิษย์คนใดทราบหรือจำได้


หลวงปู่คำตัน ฐิตธมฺโม วัดป่าดานศรีสำราญ จ.บึงกาฬ
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-12-6 19:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม)


๏ พระธรรมเทศนา

เนื่องจากหลวงปู่อุ่นท่านมีนิสัยพูดน้อย พระธรรมเทศนาก็มีน้อย ประกอบกันในยุคนั้นยังเป็นพื้นที่ที่ห่างไกล ประชาชนค่อนข้างยากจน จึงไม่มีใครมีเทปบันทึกเสียง ทำให้ไม่มีการบันทึกพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ท่านไว้ เว้นแต่โอวาทที่ท่านให้กับพระเณรและคณะศรัทธาญาติโยมในวันวิสาขบูชา ก่อนมรณภาพ 1 วัน ดังที่บันทึกไว้แล้ว แต่จากการสอบถามจากผู้ที่เคยรับการอบรมจากท่านก็พอจะมีบ้าง ดังต่อไปนี้

หลวงปู่ผ่าน ปญฺญาปทีโป แห่งวัดป่าประทีปปุญญาราม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่อุ่น เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ท่านสอนให้พิจารณาร่างกาย แยกออกมาเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้หยุดจากความนึกคิดต่างๆ หมายถึง เอาสติควบคุมอย่างเข้มข้นนั่นเอง

คุณครองชัย แง่มสุราช ซึ่งเป็นหลานของหลวงปู่อุ่น เล่าว่า เมื่อครั้งที่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่นั้น ท่านมักพาพระเณรไปนั่นสมาธิอยู่ที่ป่าช้าฮ่องเตย โดยให้นั่งห่างๆ กัน ท่านแนะนำให้กำหนดจิตให้สงบนิ่งในร่างกายอันนี้ ตั้งสติ แล้วพยายามให้สติควบคุมอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ให้หมดไป ให้เหลือแต่ความนิ่งความสงบ

คุณแม่ชีจันไต ตุ่ยไชย ซึ่งเป็นหลานสาวของหลวงปู่อุ่น เล่าว่า เมื่อตอนที่หลวงปู่มาสร้างวัดอุดมรัตนารามทีแรก คุณแม่มีอายุ 25 ปี ได้มาช่วยถากถางและอยู่ฝึกหัดจำศีลปฏิบัติธรรม ได้รับการอบรมจากท่านว่า ถ้าหากนั่งสมาธิจิตไม่สงบ ก็ให้ค้นคว้าพิจารณาร่างกาย
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้