ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย
ภาย หลังที่หลวงปู่หลิวได้ปราบโจรเป็นที่เรียบร้อย และชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขแล้วหลวงปู่หลิวก็ได้กลับมาทำไร่ ทำนาตามปกติ ตอนนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเองท่านทำหลายอย่าง เผาถ่านท่านก็เคยทำ เก็บเห็นเผาะขายก็เคย รับจ้างทำไร่ก็เคย ตอนที่ท่านทำไร่นี่แหละท่านไปเจอแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อ ”นางหยด” เกิดชอบพอกันขึ้นมาก็เลยอยู่กินด้วยกัน และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งคือ นายกาย นามถาวร ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านธรรมดาๆ ที่มีความรักเอื้ออาทรต่อกันสู่โลกธรรม
เมื่อหลวงปู่หลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยด ระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสแห่งความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ความโลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ราคะต่าง ๆ หลวงปู่หลิวเริ่มจับตามองความเป็นไปต่างๆ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังคมทีละน้อย ๆ และความรู้สึกนั้นได้เพิ่มพูนมากขึ้น
จนกระทั่งหลวงปู่หลิวมีอายุได้ 27 ปีได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีด ในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันตามสภาวะแห่งกิเลสตัณหาราคะของชีวิตฆราวาส ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของตนคือรักความสงบชอบความสันโดษเรียบง่าย จิตใจของหลวงปู่เริ่มเองเอียงไปทางธรรมะธัมโมอยากจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดาเพื่ออกบวชแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ท่านทั้งสองก็เห็นดีเห็นงามด้วยความปลาบปลื้มเป็นล้นด้น ที่ลูกชายจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
หลวงปู่หลิวได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี(ประมาณเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. 2475ปีวอก) โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อวัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” อ่านว่า ปัน-นะ-โก เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่หลิว ปณฺณโก ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไปทั้งยังความสะดวกสบายกว่าที่อื่น ๆ เพราะมีญาติพี่น้องให้ความอุปัฏฐากอย่างใกล้ชิด ในพรรษาแรกนั้นหลวงปู่หลิวได้มีโอกาสใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่งซึ่งใหญ่มากจนสำเร็จ
ต่อมาอีก4 เดือนท่านได้ช่วยปรับพื้นศาลาเสร็จอีก และยังได้สร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) อีก 50 ชุด เพื่อถวายให้กับวัดหนองอ้อ จึงนับได้ว่าหลวงปู่หลิวไม่เคยหยุดนิ่งท่านมีพรสวรรค์ทางเชิงช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ และญาติโยมชาวบ้าน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภายหลังจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของหลวงปู่หลิวทั้งสิ้นหลวงปู่หลิวท่านเป็นพระที่ไม่หยุดนิ่ง ท่านได้ไปจำพรรษา และบูรณะปฏิสังขรณ์ ยังวัดต่าง ๆดังนี้ คือ
วัดโศก จังหวัดสุพรรณบุรี
วัดท่าเสา, วัดสนามแย้, วัดไทรทองพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี
วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
วัดหนองอ้อ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
สำนักสงฆ์ประชาสามัคคี ตำบลบ้านฆ้องน้อย อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี
หลวงปู่หลิวได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่15 ธันวาคม พ.ศ.2540 จนท่านละสังขารด้วยโรคชราเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2543 เวลา20.35 น. รวมอายุ 95 ปี 74 พรรษา
หลวงปู่หลิวปณฺณโก นับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็นผู้มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากท่านพร้อมจะสร้าง พร้อมจะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใด ก็เปรียบเหมือนดวงประทีปของที่นั้นจนท่านได้ชื่อว่า“พุทธบุตร” ทุกคนยกย่อง
ในช่วงที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมีบูรณะปฏิสังขรณ์สร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด เช่น โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด
หลวงปู่หลิวเคยตั้งปฏิธานด้วยสัจจะ 2ประการ คือ
1. เลิกอบายมุข ทุกชนิด
2. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการเปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวปณฺณโก เป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตทั่วจักรวาลดลบันดาลให้ท่านมี “วาจาสิทธิ์” กับ “ญาณทิพย์” มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศก ของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะยากดีมีจนท่านก็ช่วยเหลือจนหมดสิ้นปฐมวัย
เรียนอาคมเพิ่มบารมี
หลังจากเสร็จภารกิจในการก่อสร้างเสนาสนะที่เป็นของวัดแล้ว หลวงปู่หลิวได้หาโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมกับอาจารย์หม่งชาวกระเหรี่ยงอีกครั้งหนึ่ง “คราวนี้อาตมาเรียนทางเมตตา มหานิยม กับคงกระพันชาตรีวิชาฆ่าคนไม่เอาแล้ว เพราะเป็นนักบวช ไม่รู้จะเอาไปฆ่าใครประเดี๋ยวจะอาบัติและขาดจากความเป็นภิกษุเสีย
เมื่อเรียนวิชาอาคมจากอาจารย์จอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยงแล้ว ท่านได้เดินทางไปเรียนวิชาลงอาคมอักขระยันต์กับหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรีจากนั้นท่านได้ไปเรียนอาคมต่อที่สำนักของหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันจังหวัดนครศรีธรรมราช และหลวงพ่ออุ้ม จังหวัดนครสวรรค์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2481-2482 หลวงปู่หลิวท่านได้อยู่เรียนพระปริยัติธรรม คือเรียนนักธรรมตรีอยู่ในสำนักวัดหนองอ้อแต่ท่านเรียนนักธรรมได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นท่านก็ต้องหยุดเรียน เพราะได้ใช้เวลาเหล่านี้ไปสร้างศาลาการเปรียญให้กับวัดโศก ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณกลางปี พ.ศ. 2482 หลวงปู่หลิว ท่านได้ย้ายไปจำพรรษา ณวัดร้างในหมู่บ้านท่าเสา ท่านได้ใช้เวลาระหว่างจำพรรษาอยู่นั้นสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น 3หลัง และพระอุโบสถอีกหนึ่งหลัง เมื่อทำการสร้างเสร็จ วัดบ้านท่าเสาก็มีพระภิกษุมาจำพรรษาพอสมควรแล้วไม่มีอะไรเป็นห่วงอีกท่านจึงเดินทางกลับไปจำพรรษายังวัดหนองอ้อตามเดิม
ต่อมาในปีพ.ศ.2484 ญาติโยมศาสนิกชน ชาวหมู่บ้านสนามแย้ ได้นิมนต์ให้หลวงปู่หลิวไปจำพรรษาอยู่ณ วัดสนามแย้ จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่กำลังทรุดโทรมลงมาก ขาดผู้ที่จะทำนุบำรุงให้อยู่ในสภาพที่เจริญรุ่งเรืองเมื่อหลวงปู่หลิวอยู่วัดสนามแย้แล้วท่านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะภาย ในวัดหลายอย่างเช่น กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ และโบสถ์ จนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดที่ใหญ่โตอีกแห่งในท้องถิ่น
หลวงปู่หลิวเป็นพระนักพัฒนาตัวอย่าง ผลงานและการสร้างวัดของท่านเป็นที่ประจักษ์ของชาวบ้านเป็นอย่างดีจนเป็นที่รู้จักชื่อของคนทั่วไป ท่านได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจให้ท้องถิ่นที่ท่านจำพรรษาได้มีความทัดเทียม กันกับท้องถิ่นอื่น ๆ แม้จะต้องเจอกับอุปสรรค หรือความยากลำบากของสิ่งแวดล้อมต่างๆ นานาอุดมการณ์แห่งการสร้างสรรค์พัฒนาของหลวงปู่หลิว สืบสานดำเนินการต่อเนื่องในวัดสนามแย้เป็นเวลายาวนานถึง 36ปี ท่านเห็นว่าการทำงานของท่านเป็นการสมควรแก่เวลาแล้ว ควรกระจายความเจริญไปสู่ถิ่นอื่นบ้านท่านจึงอำลาญาติโยมเพื่อจาริกไปในถิ่นอื่นต่อไป
ในที่สุดหลวงปู่หลิวท่านก็ได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ที่ตำบลจระเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งการเดินทางไปสร้างวัดใหม่ในครั้งนี้ มีคณะลูกศิษย์ ญาติโยมติดตามไปส่งเป็นจำนวนมากชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสมทบทุน ในการสร้างเสนาสนะให้กับวัดแห่งใหม่ของหลวงปู่ด้วยความศรัทธา
ความเพียร พยายามที่ใช้เวลาในการสร้างยาวนานถึง 5 ปี วัดแห่งใหม่จึงได้แลดูเห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาสิ่งก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของหลวงปู่หลิว ที่ท่านนำญาติโยมสาธุชนสร้างขึ้นมาในนาม“วัดไทรทองพัฒนา”
ในราวปีพ.ศ. 2523ขณะที่หลวงปู่หลิว ปณฺณโก จำพรรษาอยู่ ณ วัดไทรทองพัฒนา ตำบลจระเข้เผือกอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ท่านได้เก็บสะสมเงินจากการบริจาคของญาติโยมจำนวนหนึ่งมาซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ในเขตตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แล้วมาทำการสร้างวัดขึ้นใหม่อีกแห่งให้ชื่อว่า “วัดไร่แตงทอง” เมื่อเสนาสนะอันจำเป็นแก่การจำพรรษาเรียบร้อยแล้วท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดไร่แตงทองแห่งนี้ และด้วยความเคารพศรัทธาของศิษยานุศิษย์ในตัวหลวงปู่หลิวปณฺณโก ทำให้สามารถสร้างและพัฒนาวัดไร่แตงทองให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ถึงแม้ ว่าวัดไร่แตงทองจะเป็นวัดที่กำลังเร่งพัฒนาหลวงปู่หลิวก็ไม่ละทิ้งที่จะช่วยเหลือวัดอื่น ๆ อย่างเต็มกำลังเรื่อยมา อาทิการสร้างพระอุโบสถให้กับวัดหนองอ้อซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ซึ่งได้ทำการวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสำนักสงฆ์ประชาสามัคคีอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ตลอดจนสถานีอนามัยบ้านไร่แตงทอง (หลวงปู่หลิว ปณฺณโกอุปถัมภ์) เฉลิมพระเกียรติที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานเปิดเมื่อวันที่29 มกราคม พ.ศ. 2542
|