ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2374
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ในทางโลก สุดท้ายก็ไม่พ้น "สัปเหร่อ"

[คัดลอกลิงก์]

                              


หนังสือ "ประเพณีเนื่องในการตาย" โดย พระยา

อนุมานราชธน มีข้อสันนิษฐานถึงคำ"สัปเหร่อ" ว่า น่าจะมาจากคำว่า สัปบุรุษ
แปลว่าคนดี ซึ่งคำนี้ภาษาเขมรออกเสียงว่า สัปเหร่อ

สำหรับความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2546 สัปเหร่อ(สับ-ปะ-เหร่อ) แปลว่าผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่งนำศพลงฝังหรือเผา

และจากงานวิจัยของ ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร เรื่อง"สัปเหร่อกับการจัดการศพของชุมชน"ที่เสนอต่อคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
สัปเหร่อคือผู้ที่ทำหน้าที่แปรสภาพสังขารร่างกายของคนที่ตายไปแล้วให้สูญสลายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง โดยการฝังซากศพไปในดิน หรือเผาให้มอดไหม้ด้วยไฟ โดยอาจมีวิธีเฉพาะ

คำว่าสัปเหร่ออาจอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเนื่องจากการตายนั้นเป็นสิ่งปกติของคนเรา หน้าที่หลักของสัปเหร่อเริ่มจากเตรียมเมรุเผาศพโดยจะกวาดเถ้ากระดูกของศพที่เผาก่อนหน้าเพื่อไม่ให้ปะปนกับศพที่กำลังจะเผา และขอซื้อที่จากเทวดาเจ้าที่ชื่อ"ตากะลี ยายกะลา" ก่อนการเผา สัปเหร่อจะเปิดโลงและตัดด้ายที่มัดมือมัดเท้าของศพจากนั้นล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว เมื่อญาติๆ ผู้ตายช่วยกันเคลื่อนศพไปสู่เมรุแล้ว สัปเหร่อก็จะดำเนินการเผาตามขั้นตอนกินเวลาประมาณ 1-2ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ สามารถเก็บกระดูกให้ญาติพี่น้องที่รอรับอยู่

ในการปฏิบัติหน้าที่สัปเหร่อต้องมีจรรยาที่สำคัญ คือการไม่เลือกปฏิบัติต้องเผาศพให้เจ้าภาพทุกรายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และจะต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็น "มืออาชีพ" คือทำด้วยความรับผิดชอบและเรียบร้อยทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การทำความสะอาดเตาเผาในการเตรียมเมรุจนถึงการเก็บกระดูก

บทบาทหน้าที่ของสัปเหร่อในสมัยก่อนที่ยังมีการเผาศพแบบเชิงตะกอนคนที่สามารถเผาศพได้จะมีอยู่หลายคน ในการเผาแต่ละครั้งจะมีชาวบ้านไปช่วยกันประมาณ 10 คนแต่เมื่อมีการเปลี่ยนเตาเผาจากเชิงตะกอนมาเป็นเตาเผาแบบปิด คือเมรุ การจำกัดตัวบุคคลผู้รับหน้าที่เผาศพก็เกิดขึ้นเนื่องจากเมรุเป็นสมบัติที่มีราคาแพงของวัด คนที่จะมาดูแลเมรุจึงไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่เจ้าอาวาสและชาวบ้านยอมรับการมีเมรุจึงนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สถานะของสัปเหร่อชัดเจนขึ้น

ราชการกำหนดหน้าที่สัปเหร่อเป็นงานประเภทที่ 5 คือพนักงานบริการ และพนักงานขายในร้านค้าและตลาด ในหมวด 51 คือเป็นพนักงานให้บริการในเรื่องส่วนบุคคลและบริการด้านการป้องกันภัยกำหนดเป็น "สัปเหร่อและเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ"ทำหน้าที่จัดการเผาศพและฝังศพ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการฉีดสารเคมีในร่างศพรวมถึงการทำพิธีต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศพ




ที่มา http://www.shockfmclub.com/story_detail.php?historyshock_id=385

[url=http://www.shockfmclub.com/story_detail.php?historyshock_id=385][/url]
ทุกอย่างล้วนแต่ อนิจจัง
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-3-17 23:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้