ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3871
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เณรน้อยเจ้าปัญญา

[คัดลอกลิงก์]
เณรน้อยเจ้าปัญญา
เณรน้อยเจ้าปัญญา[size=0.8em]จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
เณรน้อยเจ้าปัญญา
ชื่อไทยเณรน้อยเจ้าปัญญา
ชื่อญี่ปุ่น一休さん
ชื่ออังกฤษIkkyū-san
ประเภทโชเน็น
แนวคอเมดี้, ประวัติศาสตร์
ผู้กำกับฮิเดโอะ ฟุรุซาวะ
คิมิโอะ ยาบูกิ
เท็ตซึโอะ อิมาซาวะ
ผลิตโดยโตเอแอนิเมชัน
ฉายทาง ทีวีอาซาฮี
ช่อง 3
ฉายครั้งแรก15 ตุลาคม 2518 - 28 มิถุนายน 2525
จำนวนตอน296 ตอน
เณรน้อยเจ้าปัญญา (ญี่ปุ่น: 一休さん Ikkyusan ?) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องราวเกี่ยวกับ อิคคิว เณรในนิกายเซนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ตัวละครอิคคิวมาจากพระนิกายเซนชื่อ อิคคิว โซจุน ที่มีชีวิตในช่วง ค.ศ. 1394–1481
เนื้อหา [ซ่อน]


เนื้อเรื่อง[แก้]
แต่ละตอนจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่มาจากเพื่อนเณรในวัดอังโคะคุจิ (ญี่ปุ่น: 安国寺 Ankokuji ?) คือ ชูเน็นซัง จินเน็นซัง เท็ซไซซัง และเทะสึไบซัง หรือที่โชกุนอาชิคางะ โยชิมิสึ กับคิเคียวยะซัง เจ้าของร้านขายของชำในละแวกวัด ร่วมกับลูกสาว ทั้งจากวิธีที่ตั้งใจกลั่นแกล้งเล่นๆ(อำ) คำถามทดลองเชาว์ปัญญา เหตุสุดวิสัย หรืออื่นๆ แต่อิคคิวก็ใช้วิธีการนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา และแก้ไขสถานการณ์ไปได้ทุกครั้ง โดยก่อนจะนั่งสมาธิ อิคคิวซังจะมีคำพูดประจำว่า ใช้’หมอง นั่ง’มาธิ และโชกุนก็ยังสั่งการให้ซามูไรชินเอมอน ซึ่งเป็นผู้ตรวจการ เฝ้าติดตามอิคคิวซังไปทุกที่ ราวกับเป็นองครักษ์ส่วนตัว โดยอิคคิวซัง เพื่อนเณร และซาโยจัง เด็กหญิงที่อาศัยอยู่บริเวณวัด จะเรียกว่า ชินเอมอนซัง
ที่มาที่ไปของเนื้อเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญา อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โดยย้อนกลับไปในช่วงยุคเฮอัง ใน ค.ศ. 794 จักรพรรดิญี่ปุ่น ได้จัดให้มีโชกุน เป็นตำแหน่งของนายทหารใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นอำมาตย์ใหญ่ช่วยในการปกครองประเทศ แต่ต่อมา ในยุคคะมะกุระ จักรพรรดิกลับดูเหมือนเป็นเพียงหุ่นเชิดของโชกุน ใน ค.ศ. 1333 จึงมีการฟื้นฟูระบบจักรพรรดิ ทำให้จักรพรรดิกลับมามีอำนาจอีกครั้ง แต่ใน ค.ศ. 1336 ก็เข้าสู่ยุคมุโระมะจิ นายทหารเข้าปราบปรามชนชั้นปกครอง แล้วก่อตั้งรัฐบาลโชกุน ขึ้นปกครองประเทศในรูปแบบเผด็จการทหารตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่ง ค.ศ. 1868 เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ตำแหน่งโชกุนถูกยกเลิก จักรพรรดิมีอำนาจในฐานะประมุขอีกครั้ง
การ์ตูนเรื่องนี้ กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงต้นของยุคมุโระมะจิ หลังจากตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นแล้ว โชกุนโยชิมิทสึ ต้องการความมั่นคงในอำนาจ จึงออกคำสั่งให้โอรสของพระจักรพรรดิองค์ก่อนไปเข้าพิธีบวชตลอดชีวิต (แต่พระอิกคิวตัวจริง บวชเพราะเป็นพระราชโอรสของพระมเหสีนอกสมรสของจักรพรรดิ และถูกพระมเหสีจากราชสำนักกลั่นแกล้ง) เชงกิโกมารุ พระราชโอรสจึงต้องไปบวชเณรขณะที่ยังเล็ก โดยได้รับสมญาว่า อิกคิว แต่ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ จึงไม่มีความเคียดแค้นโชกุน (ซึ่งได้ชิงอำนาจจักรพรรดิอันชอบธรรมไปจากอิคคิว) นอกจากนี้โชกุนโยชิมิทสึและอิกคิวยังเป็นมิตรที่ดีต่อกันในเวลาต่อมาด้วย
ตัวละคร[แก้]วัดอังโกะคุ[แก้]
  • อิคคิว (ญี่ปุ่น: 一休 Ikkyuu ?) หรือ อิคคิวซัง เณรแห่งวัดอังโคะคุจิ มีอายุพรรษาน้อยที่สุดและถูกขนานนามว่าเป็น เณรน้อยเจ้าปัญญา (ญี่ปุ่น: 聡明な小坊主 soumeina kobouzu ?) ชื่อในวัยเด็กคือ เซ็งงิคุมารุ (ญี่ปุ่น: 千菊丸 ?) เป็นผู้รักความถูกต้อง และด้วยความฉลาดทำให้มีคนอยากจะมาประลองปัญญาโดยถามปัญหากับอิคคิวซังบ่อยครั้ง
  • ซาโยจัง (ญี่ปุ่น: さよちゃん Sayochan ?) เพื่อนสนิทของอิคคิวซัง เป็นเด็กที่อาศัยอยู่หลังวัดกับปู่เพียงสองคนเพราะเสียพ่อและแม่ไปตั้งแต่หล่อนยังเด็กๆ มีหวีซึ่งเป็นของแม่ของเธอไว้ดูต่างหน้า และชอบมาเล่นภายในวัดกับอิคคิวซังบ่อยครั้ง มีนิสัยขี้งอนในบางครั้ง มีสัตว์เลี้ยงเป็นลูกแมว ชื่อ ทามะ
  • เจ้าอาวาสไกคัง (ญี่ปุ่น: 外観和尚 Gaikan Oshou ?) เจ้าอาวาสวัดอังโคะคุจิ เป็นคนที่เข้มงวดกับเหล่าเณร และเป็นคนที่ดูอบอุ่นและอ่อนโยน โชกุนชอบเรียกไปปราบพร้อมกับอิคคิวซังบ่อยครั้ง
  • ชูเน็น (ญี่ปุ่น: 秀念 Shuunen ?) เป็นเณรที่แก่ที่สุดในวัดอังโคะคุจิ และเป็นศิษย์ผู้พี่ของเณรทั้งหลาย แอบชอบ ยาโยย คิเคียวยะ อยู่
  • เท็ซไซ (ญี่ปุ่น: 哲斉 Tessai ?) เป็นเณรแห่งวัดอังโคะคุจิ เดิมที่เป็นทหารของฝ่ายตรงข้ามที่ปรปักษ์กับโชกุนโยชิมิทสึ
  • จินเน็น (ญี่ปุ่น: 珍念 Chinnen ?) เป็นเณรแห่งวัดอังโคะคุจิ รูปร่างอ้วนเพราะกินเยอะ
  • เทะสึไบ (ญี่ปุ่น: 哲梅 Tetsubai ?) เณรแห่งวัดอังโคะคุจิ มีรูปร่างหน้าตาเป็นที่สะดุดตาและมีนิสัยเงียบขรึม
  • โมะคุเน็น (ญี่ปุ่น: 黙念 Mokunen ?) เณรแห่งวัดอังโคะคุจิ มีส่วนสูงพอๆกันกับอิคคิวซัง
  • โกซาคุ (ญี่ปุ่น: 吾作 Gosaku ?) ปู่ของซาโย อาศัยอยู่ในบ้านหลังวัดอังโคะคุจิ มีฐานะยากจน และเป็นยอดฝีมือในการปลูกหัวไชเท้า
ปราสาทคินคาคุจิ[แก้]ร้านคิเคียวยะ[แก้]
  • ริเฮ คิเคียวยะ (ญี่ปุ่น: 桔梗屋利兵エ Kikyouya Rihei ?)
  • ยาโยอิ คิเคียวยะ หรือยาโยย (ญี่ปุ่น: 桔梗屋弥生 Kikyoya Yayoi ?)
ตัวละครอื่นๆ[แก้]
  • เจ้าหญิงสุเอะ แห่งตระกูลทะกะอุจิ (ญี่ปุ่น: 末姫 Suehime ?) เจ้าหญิงที่ชินเอมอนแอบชอบ
  • เจ้าหญิงซูยุ เจ้าหญิงจอมแก่นที่ชอบมาเล่นที่วัด
  • พระจักรพรรดิโกะโกะมัทสุ ท่านพ่อของอิคคิวซัง จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ทางเหนือ
  • ทสึโบะเนะ อิโยะโนะ (ญี่ปุ่น: 伊予の局 Iyono tsubone ?) หรือเจ้าหญิงเทรุโกะ ท่านแม่ของอิคคิวซัง เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์จากทางใต้
มาเป็นพระสนมของจักรพรรดิทางเหนือ ถูกขับไล่ออกจากวัง เพราะมีผู้ใส่ร้ายป้ายสี
  • หลวงพ่อเซนจิ เพื่อนของหลวงพ่อ
  • ทามะ แมวของซาโยจัง
เพลง[แก้]
  • เพลงเริ่ม - ทนจินกันจินอิคคิวซัง (ญี่ปุ่น: とんちんかんちん一休さん Tonchinkanchin Ikkyusan ?)
  • เพลงจบ - ฮะฮะอุเอะซะมะ (ญี่ปุ่น: ははうえさま Hahauesama ท่านแม่ ?)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้] บทความเกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่นนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การ์ตูนญี่ปุ่น

หมวดหมู่:



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-22 05:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติอิคคิวซัง
ประวัติอิคคิวซัง

อิ๊กคิวซังมีชื่อในวัยเด็กว่า "เซนงิกามารุ" เกิด 1 ม.ค. ค.ศ.1349 หรือ พ.ศ.1892 เมืองซะกะโน ใกล้เมืองเกียวโต

พ่อเป็นจักรพรรดิฝ่ายเหนือ แม่เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ฝ่ายใต้ซึ่งถูกขับจากวังตั้งแต่อิ๊กคิวซังยังไม่คลอด

เพราะถูกฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายป้ายสี ต่อมาทรงให้อิ๊กคิวซังบวชที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง

ได้ฉายาว่า "ชูเคน"

ท่านตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุ

ในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสมของพระภิกษุนิกายหนึ่ง

ที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน

พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ"หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูน

อายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังได้ออกจากวัดอังโกะกุจิฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ"ที่วัดไซกอนจิ

ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนักและต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียเป็นส่วนใหญ่

ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพอิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด"อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน

สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย

ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า

"ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ

แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ"

ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด"เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ"

อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง

หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ"คะโซ"แห่งวัดโคอัน

ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

และหนักหน่วงอิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว

อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น

ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ

แต่อิ๊กคิวซังก็อดทนในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ

เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น

และที่นี่เองที่"พระโชจุน"ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน"หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน"

อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรม เมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา

เพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ"เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิต

ล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา"คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ

เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม

และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอดแต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า

"ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ"ท่านจึงออกธุดงค์

กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง

และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน

อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมมสกปรก

จีวรหลุดลุ่ยพร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีลเพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย

ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนาแต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ

นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะสามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ


อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรงและทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติเช่นดื่มสุรา เล่นการพนัน

ฉันเนื้อสัตว์(????)ไม่โกนผมและหนวดเคราเดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น

การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอาย

กับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติเคยแบ่งส้มจากบาตรให้

เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม

เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ

ท่านได้พบกับ"โมริ" ศิลปินขอทานตาบอดซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยาทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว

โมริก็หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิว

อีกหนเพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม

เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น

เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่งแต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิ

ที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปีท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในท่านั่งสมาธิ

ในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี

เครดิตจาก www.pantown.com
ชอบดูการ์ตูน อิ๊กคิวซัง
สุดยอด เด็ดจริงๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้