ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-21 22:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
O ความไม่ประมาทปัญญา
ความไม่ประมาทปัญญา ต้องเป็นความไม่ประมาทพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ คือไม่ประมาทในการคิด ไม่ประมาทในการพูด ไม่ประมาทในการดู ไม่ประมาทในการฟัง และไม่ประมาทในการทำ
O ความไม่ประมาทความคิด เป็นต้นสายของความไม่ประมาททั้งปวง
ในบรรดาความไม่ประมาททั้งหลาย ความไม่ประมาทความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นต้นสายของความไม่ประมาททั้งปวง ความคิดเป็นเรื่องของใจ และใจนั้นท่านก็แสดงไว้แจ้งชัดว่าเป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ การพูด การดู การฟัง การทำ เป็นไปตามที่ใจคิดทั้งนั้น
ความคิดให้เกิดความเห็นชอบ คือ ความคิดด้วยอาศัยเหตุผล อาศัยปัญญา ให้ตรงให้ถูกตามจริง ความจริงเป็นอย่างไร ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา คิดให้เห็นตามความจริงนั้น ไม่คิดให้เห็นผิดจากความจริง

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-21 22:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
O ความคิดเห็นชอบ...ปัญญาก็เห็นชอบ
ความคิดให้เห็นชอบในเรื่องทั่วไปทั้งหลาย ก็คิดให้เห็นผิดเป็นผิด
ไม่คิดให้เห็นผิดเป็นชอบ
คิดให้เห็นชอบเป็นชอบ ไม่คิดให้เห็นชอบเป็นผิด
คิดให้เห็นถูกเป็นถูก ไม่คิดให้เห็นถูกเป็นผิด
คิดให้เห็นคุณเป็นคุณ ไม่คิดให้เห็นคุณเป็นโทษ
คิดให้เป็นโทษเป็นโทษ ไม่คิดให้เห็นโทษเป็นคุณ
คิดให้เห็นเหตุแห่งคุณเป็นเหตุแห่งคุณ ไม่คิดให้เห็นเหตุแห่งคุณเป็นเหตุแห่งโทษ
คิดให้เป็นบาปเป็นบาป ไม่คิดให้เห็นบาปเป็นบุญ
คิดให้เห็นบุญเป็นบุญ ไม่คิดให้เห็นบุญเป็นบาป
คิดให้เห็นดีเป็นดี ไม่คิดให้เห็นดีเป็นชั่ว
คิดให้เห็นชั่วเป็นชั่ว ไม่คิดให้เห็นชั่วเป็นดี
คิดให้เห็นบัณฑิตเป็นบัณฑิต ไม่คิดให้เห็นบัณฑิตเป็นพาล
คิดให้เห็นพาลเป็นพาล ไม่คิดให้เห็นพาลเป็นบัณฑิต
คิดให้เห็นมิตรเป็นมิตร ไม่คิดให้เห็นมิตรเป็นศัตรู
คิดให้เห็นศัตรูเป็นศัตรู ไม่คิดให้เห็นศัตรูเป็นมิตร
ดังนี้เป็นต้น คือ “ปัญญาเห็นชอบ”
ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-21 22:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
O ผู้มีปัญญา ไม่ลำเอียงตามอำนาจของกิเลส
พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา”
ผู้มีปัญญา คือ ผู้มีเหตุผล รู้ถูก รู้ผิด รู้ดีรู้ชั่ว รู้ควรรู้ไม่ควร รู้อย่างถูกตรงจริง มิใช่อย่างประมาณไปตามอำนาจของอคติ คือ โลภ โกรธ หลง แม้ประกอบด้วยอคติ ความลำเอียงเพราะโลภ เพราะโกรธ เพราะหลง เพราะกลัว ย่อมไม่เป็นไปอย่างถูกแท้
O พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของปัญญา
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของปัญญาโดยแท้ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นยอดของผู้มีปัญญา ซึ่งมีสัจจะรับรองปรากฏอยู่ ทรงสามารถใช้พระปัญญาตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เสด็จสู่ความพ้นทุกข์พิเศษ คือ พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้ ไม่ทรงกลับพบทุกข์ใดอีก
เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นยอดของผู้มีพระปัญญาเช่นนี้ ศาสนาของพระพุทธองค์จึงเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยคำสอนที่เป็นปัญญายิ่ง ไม่อาจหาเปรียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน อันจะก้าวสู่อนาคตด้วยเป็นลำดับ

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-21 22:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
O พระธรรมคำสอน เป็นไปเพื่อเสริมส่งปัญญา
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มิใช่เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์ มิใช่เพื่อการสวดอ้อนวอน ขอประทานพระเมตตาจากพระพุทธองค์ หรือจากพระอริยสาวก หรือจากพรหมเทพน้อยใหญ่
พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นไปเพื่ออบรมเสริมส่งปัญญาทั้งสิ้น ปัญญาสูงสุดที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมุ่งประทานในการแสดงธรรม คือ ปัญญา เพื่อความพ้นทุข์ เป็นลำดับ ตั้งแต่พ้นทุกข์เล็กน้อย ถึงพ้นทุกข์ใหญ่ยิ่ง จนถึงพ้นทุกข์สิ้นเชิง
ความเข้าใจคำสอนคือธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงสำคัญนักได้ความเข้าใจเพียงไรก็จะสามารถปฏิบัติได้เพียงนั้น จะได้รับความสงบสุขอันเป็นผลของการปฏิบัติเพียงนั้น ความเข้าใจและปฏิบัติพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงสำคัญยิ่งนัก

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-21 22:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ความเมตตา สามารถชนะความทุกข์ทั้งปวง
พระพุทธศาสนาเกิดแต่พระปัญญาสูงสุด ของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัญญาก็เริ่มแต่พระเมตตาเป็นเหตุที่แท้จริง ทรงมุ่งมั่นอบรมพระปัญญาจนรุ่งเรืองเต็มที่ก็ด้วยทรงมีพระพุทธปรารถนาจะช่วยทุกข์ของสัตว์โลกเท่านั้น มิใช่ทรงมุ่งมั่นเพื่ออะไรอื่น เมตตาจึงสำคัญที่สุด
ทุกคนมีความแตกต่างไม่เสมอกันด้วยปัญญา และถ้าพิจารณาให้ประณีตจริงแล้วน่าจะเห็นได้ว่า เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด คือ ย่อมจะเห็นได้พอสมควรว่า ผู้มีเมตตามาก มีความเย็นมาก มีความสงบมาก ผู้นั้นจะมีปัญญาปรากฏให้เห็นในเรื่องทั้งหลายมากกว่าผู้อื่น จึงควรคิดได้ว่าเมตตาเป็นเหตุสำคัญ อย่างยิ่งที่จะนำไปสู่ความมีปัญญาได้
สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงพระเมตตาคนทั้งโลก สัตว์ทั้งโลก จึงทรงดำเนินถึงจุดหมายสูงส่งเรืองด้วยพระปัญญา สามารถชนะความทุกข์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องทรงพบความทุกข์อีกต่อไป แม้ที่เพียงเล็กน้อยเพียงใด และทรงสมพระหฤทัยช่วยสัตว์โลกน้อยใหญ่อีกประมาณมิได้ ให้ห่างไกลทุกข์มากน้อยตามการปฏิบัติ
ที่มา http://www.dhammajak.net/book-somdej3/5.html
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-21 22:00
O ความไม่ประมาทปัญญาความไม่ประมาทปัญญา ต้องเป็นความ ...

ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา


ขอบคุณครับ
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-22 15:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-11-22 08:22
ต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา

เสี่ย ตา ปัญญา นิรันกุล
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-22 15:44
เสี่ย ตา ปัญญา นิรันกุล

20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-22 16:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้ถึง 3 ระดับ ซึ่งปัญญาทุกประเภทนั้นต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีอะไรสำคัญมากน้อยไปกว่ากัน เนื่องจากการจะข้ามสะพานไปได้ ต้องเดินผ่านตั้งแต่ ต้นสะพาน ผ่านกึ่งกลางสะพาน แล้วจึงจะถึงปลายสะพาน ข้ามฟากได้ ปัญญา 3 ระดับก็เป็นฉันนั้น คือเริ่มจาก เข้าใจว่าอะไรคือ กุศลและอกุศล, เข้าใจกระบวนธรรมชาติ ตั้งแต่กฎแห่งกรรม ถึงไตรลักษณ์, และสุดท้าย จึงตระหนักถึงสภาวะของทุกข์และแนวทางการดับทุกข์ (อริยสัจ)

ปัญญา 3 ประการที่ว่านี้ ได้แก่

1. สุตมยปัญญา       คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง
หมายถึงเอาปัญญา ความรู้ ความเข้าใจจากการอ่านและการฟัง ทบทวนศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งมีพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง และแม่นยำ ในอรรถะและพยัญชนะ

2. จินตามยปัญญา    คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา
หมายถึงปัญญาที่ได้จากการคิดใคร่ครวญ พินิจพิจารณา ให้เกิดความเข้าใจอย่างตกผลึกตามขั้นตอนของเหตุผล และความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมิใช่การ จดจำเฉยๆ แต่สามารถมองสภาพปรมัตถ์ธรรมออกด้วยจินตนาการ เข้าใจถึงเป้าหมาย และรายละเอียดธรรมะได้ตรงทาง ไม่ว่าจะเป็นนัยตรงหรือเชิงประยุกต์ เพียงแต่มิได้อยู่ในฐานะเป็น "ผู้เห็นด้วยตนเอง" ก็เท่านั้น

3. ภาวนามยปัญญา   คือ  ปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา
หมายถึงปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วประจักษ์แจ้งในความมิใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ 5 เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ 'ใจ' หรือ 'วิญญาณ' ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใดๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกทรมาน บีบคั้นจิตใจอีกต่อไป


ที่มา http://www.dek-d.com/board/view/2526016/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้