ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2784
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ถาม – ตอบปัญหาธรรม (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

[คัดลอกลิงก์]




พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

คัดลอกบางส่วนจาก: ปุจฉาวิสัชนาในต่างประเทศ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: หัดภาวนาครั้งแรก รู้สึกฟุ้งซ่านมาก หาความสงบไม่ได้ ทุกขเวทนาก็มาก หาความสบายมิได้


ท่านอาจารย์: ไม่ว่าใครทั้งหมดเรื่องภาวนาไม่ใช่ของง่าย ๆ คนที่เป็นเอง เรียกว่า วาสนาสูง สูงส่งที่สุด โดยมากที่อยากจะมาภาวนาก็เพราะเห็นทุกข์ทั้งหลายนี้แหละ ต้องฝ่าฝืนอุปสรรคบากบั่น เพื่อจะให้พ้นทุกข์ คือหัดทำความสงบ ถ้าไม่ เห็นทุกข์อย่างนี้แล้ว ไม่มีใครอยากภาวนาให้พ้นจากทุกข์เลย ภาระ มีกันทุกคน แม้แต่พระอย่างเรา ๆ เห็นกันอยู่นี่แหละก็มีภาระ พระพุทธเจ้า ยิ่งมีภาระยิ่งกว่านี้อีก ไม่มีใครสักคนที่ไม่มีภาระ ปัญหาประจำชีวิตฆราวาส เป็นอย่างหนึ่ง ของพระเป็นอีกอย่างหนึ่ง มีเท่าๆ กันนั่นแหละ แต่พระพุทธเจ้า หรือผู้รู้ทั้งหลายทำแล้วสละทิ้ง ได้ไม่ข้องอารมณ์นั้น ๆ




ผู้ถาม: การพิจารณาส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าไม่ชัดควรกลับมา กำหนดลมหายใจ ดี หรือว่าควรพิจารณาไตรลักษณ์ดี

ท่านอาจารย์: ให้วกกลับมาพิจารณาลมหายใจ ให้สงบเสียก่อน จึงจะพิจารณาพระไตรลักษณ์




ผู้ถาม: ก่อนที่จะทำความสงบได้จะต้อง พิจารณากายเสียก่อนเสมอ จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้า หากจะเข้าความสงบเลย โดยปล่อยวางเฉย ๆ ไม่พิจารณาอะไร

ท่านอาจารย์: ได้แต่ต้องอาศัยความชำนาญก่อน ให้พิจารณากายให้ชำนาญเสียก่อน มันจึงจะ มีหลัก ถ้าปล่อยวางเฉย ๆ อีกหน่อยมันจะไม่มีหลักยึดเสื่อมได้ง่าย




ผู้ถาม: บางครั้งเวลาพิจารณากายอยู่เกิดไฟเผา จนไม่มีอะไรเหลือ รู้สึกว่าชัดเจนเหลือเกิน

ท่านอาจารย์: นั่นเป็นปฏิภาคนิมิต อย่าไปถือเอาเป็นจริงเป็นจังเลย ขอให้ถือเพียงเป็นเครื่องวัดของ จิตเท่านั้นก็พอ คือแน่วแน่เป็นสมาธิ แล้วจึงเกิดแต่มิใช่เกิดทั่วไป เป็นได้แต่ละบุคคล เท่านั้น บางคนจิตจะสงบเท่าไร ๆ ก็ไม่เกิด

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: บางครั้งเดินภาวนาอยู่เห็นน้องสาวกำลังเดินจงกรม ไฟลุกไหม้ เผาเสื้อผ้าของผู้นั้นหมด แต่เขาหาได้มีความร้อนรนเพราะถูก ไฟเผาไหม้ นี่เป็นเพราะเหตุอะไร หมายความว่าอย่างไร

ท่านอาจารย์: คนพิสดาร เห็นโน่นเห็นนี่แล้วก็เพลินไปตาม ไม่มีอะไร เป็น นิมิตภาวนาเฉยๆ ไฟเผาร่างกายถ้าจะอธิบายก็กิเลสเผากาย แต่มันไม่ร้อน แสดงถึงไม่กระทบใจนั่นเอง




ผู้ถาม: มีอุปทานมาก ในการเห็นโน่น เห็นนี่ บางครั้งออกจากภาวนาแล้วจิต ใจยังไปครุ่นคิดแต่นิมิต ที่เห็นอยู่ ไม่ยอมปล่อยทิ้งง่ายๆ

ท่านอาจารย์: ไม่เข้ามาดูใจตน คือไม่เข้าไปดูผู้ที่ไปเห็น ถ้าจับอันนี้ได้แล้วมันก็ วาง จิตตอนนี้มันกำลังสบาย เห็นโน่นเห็นนี่ยิ่งชอบใจเลย ลืมน้อมเข้าหาตัวเอง




ผู้ถาม: บางครั้งอยากจะจับจิตเข้าไปในขวด

ท่านอาจารย์: ส่งออกนอกแล้วไม่ได้ การหาใจต้องหาภายในซิ ผู้รู้กับสิ่งที่ไปรู้ ไปเห็นมันเป็นคนละอย่างกัน ให้จับเอาตัวผู้รู้ผู้เห็นนั่นแหละจึง จะถูก สิ่งที่รู้ที่เห็น นั้นจะหายหมด




ผู้ถาม: ขณะนี้เข้าใจดี ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้นจะรีบไปภาคอีสาน

ท่านอาจารย์: ถ้าหากไปไม่ทันแล้วจะว่าอย่างไร การภาวนาต้องพึ่งตน เอง การที่หวังจะพึ่งคนอื่นมันจะไหวหรือ หัดพึ่งตนเองให้ได้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ แหละ จึงเรียกว่าภาวนามีหลัก ถ้ายังพึ่งตนเองไม่ได้ก็ยังไม่มีหลัก ให้จับอย่างนี้ หลัก คือ ตัวใจของเรา เรามาจับหลักอันนี้ให้ได้ แล้วได้ชื่อว่าพึ่ง ตนเอง นี้ อะไรกันพอมันเสื่อมก็วิ่งแจ้นไปภาคอีสาน

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: แต่ก่อนไม่เข้าใจ เมื่อท่านอาจารย์อธิบายอย่างนี้แล้ว จะพยายามทำ

ท่านอาจารย์: ที่มาอบรมเพื่อต้องการอย่างนี้แหละ คนที่อบรมเป็นแล้ว แต่ยังจับ หลักไม่ได้ ก็ได้ชื่อว่ายังไม่มั่งคงพอ




ผู้ถาม: ภาวนาคืออะไร

ท่านอาจารย์: ภาวนาคืออบรมใจให้สงบ คือให้อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่าให้เที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ




ผู้ถาม: จะต้องต่อสู้กับอุปสรรคขนาดไหน ถึงจะได้ผลในการภาวนา

ท่านอาจารย์: อุปสรรคอะไรก็ตามเถิด ถ้าหากเราสละลงไปได้เรียกว่า เราสามารถเอาชนะอุปสรรคนั้น ๆ ได้




ผู้ถาม: ภาวนามีที่สิ้นสุดหรือเปล่า

ท่านอาจารย์: ขึ้นอยู่กับอุบาย ถ้าหากใจไม่สงบสักที มันก็ไม่มีสิ้นไม่สุด




ผู้ถาม: ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมา ก็มีที่สิ้นที่สุด ความตายก็มีที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็มีที่สุด การภาวนาก็เหมือนกัน อยากทราบว่าชั้นใด ชั้นหนึ่งที่เป็นที่สุดหรือไม่

ท่านอาจารย์: มันก็เหมือนกันแหละ ความวุ่นวายเกิดขึ้นได้ ความสงบมันก็สงบลงได้ เหมือนกัน เกิด-ดับ เหมือนกัน ที่สุดก็คือ ความ สงบ ชั้นไหนภูมิไหนก็ภาวนาอยู่เหมือนกัน ต่อเมื่อนิพพานเสียเมื่อไร นั่นแหละ สิ้นการภาวนา




ผู้ถาม: จะต้องยอมเสียสละอะไรบ้าง จึงจะภาวนาได้

ท่านอาจารย์: สละในปัจจุบัน อะไร ๆ ทิ้งหมด ในปัจจุบันนั้นแหละ ในขณะนั้นแหละ สละแล้วมันก็ไม่หายไปไหน คือสละภายในใจเฉย ๆ อย่างเราสละบ้านหรือ สละตัวของเราเอง ไม่เอาเป็นอารมณ์ เพียงแต่สละภายใน กายมันก็ยังเท่าเก่า บ้านมันก็ยังเท่าเก่า สละลงปัจจุบันเฉย ๆ




ผู้ถาม: เวลาภาวนาจะต้องกำหนดลมหายใจอย่างเดียว หรือ อย่างอื่นก็ได้ครับ

ท่านอาจารย์: อย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน กำหนดพุทโธ ๆ หรือลมหายใจก็ได้ ขอให้ จิตรวมลงได้ก็ใช้ได้ทั้งนั้น

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: เวลากำหนดอานาปานสติ ถ้าหากว่าภาวนาดีขึ้น หรือเลวลง จะทราบได้อย่างไรครับ

ท่านอาจารย์: เราภาวนาอะไรก็ตาม รู้ได้ตรงที่ว่าถ้าหากมันดีขึ้น ใจก็สงบลง ใจก็อยู่ ถ้าไม่ดี การภาวนาก็ยิ่งฟุ้งซ่านไปใหญ่




ผู้ถาม: จะกำหนดความตายก่อนจะได้หรือไม่

ท่านอาจารย์: กำหนดเอาความตายเลยได้ คือให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อตายแล้ว ก็ไม่มีอะไรเหลือสักอย่าง เหลือแต่ใจอย่างเดียวสิ่งทั้งหมดของภายนอกก็ทิ้ง ตัวของเราก็ทิ้งให้พิจารณา อย่างนี้ มิใช่พิจารณาตายเฉย ๆ ใช้ไม่ได้ พิจารณาให้เห็นสาระของกายคือจิต แล้วกำหนดจิตให้สงบลงได้ จึงจะเป็นประโยชน์




ผู้ถาม: การเพ่งความตาย หรือ กำหนดความตายจะเริ่มต้นอย่างไรดีครับ

ท่านอาจารย์: ก็ไม่มีพิธีอะไร กำหนดเอาความตายเลยทีเดียว คือว่ากำหนดลมหายใจไปในตัว คือ การสูดหายใจ เข้า-ออก ถ้ามันสูดไม่เข้า ก็ตาย ถ้ามันไม่ออก ก็ตาย อนาปานสติกับมรณานุสติ อันเดียวกัน ตายแล้วสลายเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ถมแผ่นดินนี้ ถ้าใจมันสงบมันก็ชัดเจนเองดอก ถ้าไม่สงบแล้วพิจารณาเท่าไร ๆ ก็ไม่ชัด




ผู้ถาม: ก่อนที่จะบวชจะต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่

ท่านอาจารย์: การบวชต้องพร้อม คือได้รับอนุญาตจากบิดา มารดาเสียก่อน นี่เป็นประการแรก และยังอีกหลายประการด้วยกัน จึงจะบวชได้




ผู้ถาม: การภาวนาจะเป็นผลให้ชำระล้างบาป ได้หรือไม่ กล่าวคือผู้ที่กระทำภาวนานั้น หากได้กระทำบาปมาก่อนแล้ว การภาวนาจะเป็นผล ให้บาปนั้นหายไปหรือไม่

ท่านอาจารย์: บาปที่ทำด้วยเจตนาอันแรงกล้า ไม่สามารถลบล้างได้ บาปที่ทำด้วยไม่มีเจตนาพอจะลบล้างได้บ้างบางกรณี การทำภาวนาลงในปัจจุบันไม่คิดถึงอดีต อนาคต จะลบล้างบาปเล็ก ๆ น้อย ๆ ลงบ้าง แต่มิได้หมายความว่าบาปนั้นไม่ให้ผล เป็นแต่ทำใจให้สงบได้ในขณะที่ลงปัจจุบันเท่านั้น

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: เคยภาวนากำหนดอารมณ์ เช่น กำหนดกระดูก แล้วท่านอาจารย์ให้จับผู้รู้ เมื่อกำหนดกระดูก กระดูกที่เพ่งอยู่ก็หายไปว่างเฉย ๆ บางทีก็มีแยบคาย ใครไปรู้จักความว่าง ใครไปรู้จักความสงบ ใครเป็นผู้รู้ ถ้าคิดอย่างนี้ ใจมันฟุ้งไปที่อื่น ถ้าใจมันอยู่กับกระดูกยัง ไม่ปล่อยวางกระดูก ใจมันก็นิ่งอยู่ในกระดูก แต่เวลาพิจารณาใครเป็นผู้รู้ ใจมักจะส่ายไปหาอารมณ์ อื่น ๆ ดังนั้นจะแก้ไขอย่างไร

ท่านอาจารย์: ให้ใจมันอยู่ที่กระดูกเสียก่อน จะนานเท่าไรก็ช่างมัน นับเป็นปี ๆ อย่างน้อย ๕ ปี จึงจะชำนาญ ต่อนั้นไปถ้ามันไม่ไปไม่มาจริง ๆ คืออยู่เฉย ๆ จึงพิจารณา คือพิจารณาอันนั้นแหละ พิจารณาผู้รู้สึกว่าเฉย ๆ อยู่ที่ไหน แล้วจับตัวผู้รู้นั้นให้ได้ อย่าไปพิจารณามันเร็วนัก ไม่ชำนาญแล้วจะเสียไป การภาวนาต้องทำกันจริง ๆ เป็นปี ๆ พอภาวนาเป็นอะไรนิด ๆ หน่อยๆ อยากให้เกิด ความนั้นนี้ เดี๋ยวก็เสื่อมเสีย เก่าก็ไม่ได้ใหม่ก็ไม่ดี




ผู้ถาม: ใจมันเดือดร้อน เพราะอยากจะให้ใจมันเข้าเต็มที่ และอดที่จะกดใจให้เข้าถึงจุดนั้นไม่ได้

ท่านอาจารย์: นั่นแหละความอยากเป็นเหตุ พอกดใจจะให้เข้าถึง มีแต่ความเดือดร้อนไม่สงบ การทำความเพียรต้องมีแคบคาย คอยพิจารณาความสงบนั้นทำใจให้เย็น ๆ จึงจะถูก




ผู้ถาม: ยากเหลือเกินในการภาวนา

ท่านอาจารย์: จะว่ายากก็ยาก ถ้าจับใจคือผู้เป็นกลางได้แล้ว จะขยันหมั่น เพียรพยายามมองดูผู้นั้นอยู่เสมอ คำว่ายากแลง่ายจะหายไป มีแต่ความพอใจ อยากเห็นตัวใจ คือ ผู้รู้อยู่เสมอตลอดกลางวัน กลางคืน




ผู้ถาม: ไม่ได้ภาวนามากมายอะไร หลังจากนั่งประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที ก็รู้สึกว่าใจสงบ หลังจากนั้นรู้สึกง่วงนอน ดังนั้นจะแก้ไขอย่างไร

ท่านอาจารย์: คือตอนนั้นมันปล่อยวางเฉย ๆ พอมันสงบ ไม่มีเครื่องยึด เครื่องอยู่ ไม่มีเครื่องพิจารณา ความสงบก็เลยมาเป็นความง่วง ฉะนั้นเมื่อสงบแล้ว จึงน้อมเข้ามาพิจารณาตัวของเรานี่ พิจารณาความไม่เที่ยง ความทุกข์ในร่างกาย เป็นอนัตตา ให้พิจารณาอยู่ในองค์ไตรลักษณ์ เป็นเครื่องอยู่ ถ้าเราเฉย ๆ ไม่มีเครื่องอยู่ มันก็เลยง่วงนอน




ผู้ถาม: ผู้เป็นฆราวาส มีภาระ มีครอบครัว มีลูกก็หลายคน ไม่มีโอกาสได้ออกบวช อยากจะทราบว่าผู้เป็นฆราวาสนี้ จะภาวนาได้ขนาดไหน

ท่านอาจารย์: ตามที่ท่านว่าไว้ ฆราวาสก็ถึงอรหันต์ได้ แต่อยู่ได้ไม่เกิน ๗ วันต้องออกบวช หรือมิฉะนั้นก็นิพพาน แต่ว่าถึงอย่างไรก็ช่างเถิด ไม่ต้องคำนึงถึงได้ชั้นได้ภูมิอะไรดอก เราต้องการความสุข เราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ก็ต้องการความสุข ถึงมันยุ่งเราก็ต้องการความสุข จึงต้องหัดภาวนาเพื่อให้เกิดความสงบ ในชั่วครู่หนึ่งที่เราภาวนาอยู่นั้น ได้รับความสุขก็ดีแล้ว อย่าไปใฝ่ถึงมรรคผลนิพพานเลย

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-16 21:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ถาม: ได้แต่เพียงนึกอยู่ว่าอยากจะบวช กลัวว่าเมื่อออกบวชแล้ว ก็จะติดอยู่เพียงเท่านี้ จึงอยากจะถามว่า จะมีเวลาไหนหรือไม่ที่พอ จะรู้สึกตัวว่าถึงเวลาที่จะออกบวชได้


ท่านอาจารย์: เรื่องนั้นมันเป็นไปเอง คือว่าเราได้รับความสุขสงบ จากการอบรมภาวนานี้แล้วนั้นมันจะบวชได้แค่ไหน ขนาดใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ยากที่ใครจะตัดสินได้ บางทีขณะทำภาวนาได้รับความสุขสงบ นึกอยากออกบวช เมื่อบวชแล้วกลับวกคืนมาอีก ยุ่งกว่าเก่าก็มีมากมาย ฉะนั้นอย่าเลยให้อยู่ไปเสียก่อน ทำไปก่อนอย่างนี้ละ

  ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้