ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7) <<

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


      คราวนี้พวกเราจะพอเข้าใจแล้วหรือยังว่าทำไม??
ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตฎากะ
จึงรักษาโรคและล้างบาปทางกายและใจได้
จากการวมบารมีความศักดิ์สิทธิ์ ของสระอนัปวตตา
และแรงอธิฐานต่อเนื่องกันมาของ

พระเจ้าจักรพรรดิอโศกมหาราช-
พระเจ้าศรีชัยวรมัน-และล่าสุด
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ

และ ถ้าจะมองภาพ ดวงตราอาถรรพณ์ชัยตฎากะให้เด่นชัด
ตีความหมายออกต้องศึกษา
ไตรภูมิพระร่วง + สระอโนดาต+ ราชวงศ์ไศเลนทร์
เพราะทั้งสามสิ่งเป็นภาพเชิงซ้อนผนึกอยู่ในองค์เดียวกัน


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-31 15:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในบรรดาจารึกที่ปราสาทจรุง ได้กล่าวว่า
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทรงสร้าง

ชัยคีรี (ภูเขาแห่งชัยชนะ)
เสียดยอดฟ้าที่ส่องแสงสว่าง และ
ชัยสินธุ ( มหาสมุทรแห่งชัยชนะ)
ซึ่งด้วยความลึกอันไม่อาจคณาได้ ได้ลงไปถึงยังโลกแห่งนาค





        ดังนั้น กําแพงของเมืองพระนครหลวง จึงมีลักษณะมากยิ่งกว่าการป้องกันเมือง แต่ยังเต็มไปด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์

        ด้วย กําแพง นั้นก็คือ ทิวเขาซึ่งล้อมรอบจักรวาลของโลกมนุษย์

และ

        คู ก็คือมหาสมุทรในโลกซึ่งติดต่อกับพระยานาค ๘ ตน ซึ่งรอบรับโลกอยู่



           นี่คือที่มาของ พญานาคแปดตน ที่ปรากฎอยู่บนดวงตราอาถรรพ์ ฯ นั่นเอง



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        
เขาสิเนรุ และ ทวีปทั้ง๔




             ทวีปทั้ง 4 ในมงคลจักวาลเรา คือ จักรวาลย่อย ล้อม รอบ ภูเขาสิเนรุ และ ตำแหน่งของทวีป คือ ดาว ทั้ง 4 ดวง รวมทั้งดาวโลก ด้วย แต่ อยู่ในระนาบเดียวกัน ตัดตามขวาง

            ที่เรียกว่าทวีปเพราะเกิดขึ้นท่ามกลางอากาศ.....เมื่อง้วนดินเกิดขึ้นลอยอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรจักรวาล(เหมือนเนยข้นลอยอยู่บนผิวน้ำคล้ายน้ำมัน)เวลานั้น ง้วนดินได้จับกลุ่มเป็นโลกขึ้น ไม่ใช่โลกเราโลกเดียว แต่เกิดเป็นถึง 4 ทวีปใหญ่

.......หลายทวีป = 1 จักรวาล(Universe)......หลายจักรวาล = 1 โลกธาตุ(Galaxy)........4 ทวีปใหญ่นี้คือ

1.อุตตครุทวีป คือ จักรวาลสัคเคดากา
2.บุพพวิเทหะทวีป คือ จักรวาลเทคเคอร์นากา
3.อปรโคยานทวีป คือ จักรวาล แคทเทอร์ราดา
4.ชมพูทวีป คือ จักรวาลสิทธัตถะเมดา



มนุษย์ 4 ทวีป ตามจักวาลพุทธ



ภูเขาสิเนรุ
เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา

จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์
ส่วนที่เป็นพื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
โดยมีพื้นน้ำรองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
น้ำนี้ตั้งอยู่บนลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์

เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล ยอดเขาสิเนรุ เป็นผืนแผ่นดินแห่งแรก ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำ
ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก คือ ถึง ชั้นสุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓)

แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง คือหยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน...ด้านตะวันออกเป็น เงิน ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก...ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
ด้านเหนือเป็น ทอง...น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ตามสีของไหล่เขานั้นด้วย


       กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้ ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ประจำอยู่ทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแล เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย


       ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ
เป็นภูเขาทิพย์ เรียกว่า สัตตบรรพ์
รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสินธร
รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิก
รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ
รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร
รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินัตตถะ
รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกรรณ

นอกจากนี้ ยังมีภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย

ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม

จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ

๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์
ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์
ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

ทวีปใหญ่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ แต่ละทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แลดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป

ทวีปใหญ่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ
      ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน
๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี
มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน ดังสารัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า
คติปิ นิพฺพตฺถา มโต สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ
แปลความว่า มนุษย์อุตตกุรุนี้ เมื่อตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน
หมายความว่า เมื่อตายจากภพมนุษย์แล้วย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกแต่ถึงเวลาที่จุติจากเทวโลกแล้ว อาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือมนุษย์ในทวีปอื่นใดก็ได้ จะไม่ไปสู่อบายภูมิเพียงชั่วภพถัดไปจากที่กำลังเป็นมนุษย์อุตตรกุรุเท่านั้น

๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี

๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี

๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืนถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อยถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย
กำหนดเกณฑ์อายุขัยของผู้เกิดใน ๔ ทวีปนี้มาใน สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า
ชมฺพูทีปวาสีนํ อายุปฺปมาณํ นตฺถิ, ปุพฺพวิเทหานํ สตฺตวสฺสสตายุกา, อปรโคยานวาสีนํ ปญฺจวสฺสสตายุกา อุตฺตรกุรุวาสีนํ วสฺสสหสฺสายุกา เตสํ เตสํ ปริตฺตทีปวา สีนมฺปิ ตทนุคติกาล

ในมนุษย์ภูมินี้ มุ่งหมายเอามนุษย์ที่เกิดในชมพูทวีป เป็นมุขยนัย (โดยตรง) โดยสทิสูปจารนัย (โดยอ้อม) ได้แก่มนุษย์ในทวีป ทั้ง ๓ อีกด้วย คุณสมบัติของมนุษย์ชมพูทวีป มีแสดงไว้หลายนัย ตามวจนัตถะ ดังต่อไปนี้

๑. มโน อุสฺสนฺตํ เอเตสนฺติ = มนุสฺสา
คนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
หมายความว่า จิตใจของคนชมพูทวีปนั้น กล้าแข็งทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือฝ่ายดีนั้นสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, อัครสาวก, มหาสาวก, ปกติสาวก, สำเร็จอภิญญาลาภีหรือฌานลาภีบุคคล, ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ข้างฝ่ายไม่ดีนั้น ให้กระทำการวิบัติตัดชีวิต บิดามารดา, พระอรหันต์, กระทำโลหิตุปบาท, และสังฆเภท
๒. การณากรณํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส
คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร
หมายความว่า คนชมพูทวีป ย่อมมีความสามารถค้นหาเหตุผลของธรรมได้โดยเฉพาะ เช่นการเห็น เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์ กระทบกันเป็นต้น ตลอดจนรู้ภาวะของรูป



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หน้ากาฬ  หรือ เกียรติมุข




พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า
เกียรติมุข (อ่านว่า เกียด-มุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ  ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์  ตากลมถลน  ไม่มีคาง  ปากแสยะ  ไม่มีขากรรไกรล่าง  ไม่มีร่างกาย  ไม่มีแขนขา  เชื่อกันว่า  เป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู  เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน  ขับไล่เสนียดจัญไร  และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ  มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น  เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง  ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์และที่ฐานพระพุทธรูป , กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.


      ประวัติ เกียรติมุข หรือหน้ากาฬ เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มหน้าบันของโบราณสถาน โดยทั่วไปมักทำคู่กับลายมกร โดยทำลายมกรออกมาทั้งสองข้างของเกียรติมุข ลักษณะของเกียรติมุขจะทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ หรือใบหน้าของอสูรที่ดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลม และถลน ปากกว้างเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะ


25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


              คติความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติมุข ได้รับความนิยมอย่างมากในอินเดีย ทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติและเป็นมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณภายใน

                ที่มาของเกียรติมุข เข้าใจว่ากำเนิดในประเทศอินเดียก่อน บางท่านกล่าวว่ามีการกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย อาจจะได้มาจากประเทศธิเบต บางท่านก็ว่ากำเนิดที่ประเทศจีน มีรูปแบบซึ่งเรียกว่า เต้าเจ้ ปรากฏอยู่ ภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850 - 880 ปีก่อนพุทธกาล เป็นทำนองเดียวกับเกียรติมุขของอินเดีย หมายถึงเทพเจ้าผู้ตะกละ จากนั้นได้แพร่ไปทางบกไปยังประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ

                ในประเทศไทย สันนิษฐานว่า เกียรติมุขคงแพร่เข้ามาในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยได้พบหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทำเป็นรูปประดับลายกาบที่เชิงซุ้มเจดีย์ สำหรับที่สุโขทัย พบที่ทำเป็นลายประดับยอดซุ้มหน้าบัน วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตำนานความเชื่อ กำเนิดหน้ากาฬ



หน้ากาฬ บนซุ้มประตูปราสาทบายน


                  ตำนานอินเดียเล่าถึงกำเนิดของหน้ากาฬนี้ว่า ครั้งหนึ่งมีพญายักษ์ชื่อชลันธรบำเพ็ญตบะแก่กล้า จนได้รับพรจากพระศิวะไม่ให้ผู้ใดต่อกรด้วยได้จึงเกิดความลำพองทำร้ายข่มเหงทั้งยักษ์ เทพ และมนุษย์ ต่อมา ยักษ์ชลันธรได้ให้พระราหูไปบอกพระศิวะให้มารบกับตน หากพระศิวะแพ้จะริบตัวนางปารพตีมเหสีเป็นของตน

                  พระศิวะได้ฟังดังนั้นก็พิโรธเกิดมียักษ์หน้าสิงห์โตกระโดดออกจากหว่างพระขนงจะกินพระราหู พระราหูเห็นดังนั้นก็ตกใจขอให้พระศิวะช่วย พระศิวะทรงห้ามยักษ์ไม่ให้ทำร้ายพระราหู

                  ยักษ์กล่าวว่าถ้าอย่างนั้นขอให้กินสิ่งอื่นแทนพระราหู พระศิวะตรัสให้ยักษ์นั้นกินแขนขาของตัวเอง ด้วยความหิวโหยยักษ์ได้กัดกินแขนขาของตนหมดแล้วยังไม่อิ่ม จึงกัดกินท้องและอกจนหมดสิ้นเหลือเพียงส่วนหัว



                   พระศิวะเห็นเช่นนั้นก็เกิดความสงสาร ตรัสให้พรยักษ์นั้นให้อยู่ที่ประตูวิมานของพระองค์ตลอดไป ผู้ใดไม่เคารพจะไม่ได้รับพรจากพระองค์ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จไปปราบยักษ์ชลันธรได้สำเร็จ

                  สมัยโบราณถือว่าหน้ากาฬนี้เป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่กินทุกสิ่งแม้แต่ตัวเอง รวมทั้งเป็นผู้ที่คอยดูแลฝูงปศุสัตว์เนื่องจากพระศิวะได้รับการยกย่องเป็นปศุบดี ผู้เป็นใหญ่ในฝูงสัตว์ หน้ากาลอันเปรียบเสมือนบุตรของพระองค์คงจะมีฤทธิ์ปกป้องสัตว์เลี้ยงได้ ลายหน้ากาลนี้สามารถพบเห็นได้ทั้วไปในเทวสถานของฮินดู และนิยมสร้างกันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซีย


ที่มาข้อมูล : http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=27&wpid=0037

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


      ผมอ่านมาจากนิตยสารMBA May 2005 ซึ่งตอนนี้มีบทเรื่องของอารยธรรมทางตะวันออกด้วย บทความคัดมาจากweb www.goodmedia.co.th  เขียนโดย
สยามภูมิ สังวรชาติ

      "..กาล หรือ กาละ (Kala) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูเราๆ ท่านๆ เท่าใดนัก ในทางกายภาพ กาละ ถูกวาง Position ให้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมประดับอาคารชนิดหนึ่ง แต่ความหมายในด้านคติความเชื่อกลับลึกวึ้งเสียยิ่งกว่า นัยหนึ่ง กาละจะคอยทำหน้าที่พิทักษ์ คุ้มครองทางเข้าอาคารศักดิ์สิทธิ์ อีกนัยหนึ่ง กาละได้ชื่อว่าเป็นเทพผู้กลืนกินตนเองเป็นอาหาร และเมื่อไม่อิ่ม "เวลา" คือโภชนะอันสุดวิเศษ !

      ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ อธิบายว่า กาละ เป็นรูปแบบหนึ่งในการทำลวดลายปูนปั้นประดับเหนือทางเข้าอาคารศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ทั้งของชาวตะวันตก และตะวันออก เรียกรวมๆ ได้ว่าคติการทำ "กีรติมุข" หรือ เกียรติมุข (Kirtimukha : Glory Mask) ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการถ่ายเททางวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยกรีก-โรมันเข้ามาเรืองอำนาจ หรือจะด้วยความบังเอิญกันแน่

      หากแปลตรงตัวแล้ว กีรติมุข จะมีความหมายว่า "ใบหน้าอันทรงเกียรติ" แต่ในอีกความหมาย "มุข" นอกจากหมายถึง "ใบหน้า" แล้ว ยังหมายถึง "ทางเข้าอาคารด้านหน้า" อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ กีรติมุข จึงแปลได้อีกว่า การให้เกียรติ หรือเคารพต่อทางเข้าอาคารสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

      ผู้รู้ด้านโบราณคดีชี้ว่า คติความเชื่อเกี่ยวกับกีรติมุขในโลกตะวันออกเด่นชัดมากในอินเดียโบราณ คนไทยสมัยโบราณเรียก "หน้ากาล" ใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติ เป็นมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู่ศาสนสถาน มีลักษณะเป็นรูปอสูร หรืออมุษย์ หน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ดูดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลม เบิกถลน ปากกว้างเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่างและคาง ไม่มีลำตัว แต่มีแขนออกจากด้านข้างของศีรษะ

        ขณะเดียวกัน ที่มาของทั้งคติการทำ และรูปลักษณ์ของ กาละ ก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดเช่นกันว่า กำเนิดในประเทศอินเดียเอง หรือแพร่มาจากธิเบต และจีนกันแน่ เพราะในคติจีนเองก็มีการทำรูปซึ่งเรียกว่า หน้ากากเต้าเจ้ หรือ เต้าเที่ย อันเป็นความเชื่อตามหลัก "เฟิ่งซุ่ย" ปรากฏอยู่บนภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850-880 ปีก่อนพุทธกาล คล้าย กาละ ของอินเดีย ต่อมาด้วยอิทธิพลของศาสนาฮินดู และพุทธของอินเดียที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ดินแดนอุษาคเนย์ จึงทำให้พบเห็นคติความเชื่อนี้ได้แผ่ขยายทั่วภูมิภาคแถบนี้ด้วย

      ในประเทศไทย สันนิษฐานว่าคตินี้คงแพร่เข้ามาในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยได้พบการทำกีรติมุขเป็นลายหน้ากาลหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทำเป็นรูปประดับลายกาบที่เชิงซุ้มเจดีย์ สำหรับที่สุโขทัย พบที่ทำเป็นลายประดับยอดซุ้มหน้าบัน วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย

      เรื่องราวของ กาละ ที่ต่อมาได้ถูกนำไปทำเป็นกีรติมุขประดับอาคารนั้น ตำนานว่าเป็นบุตรองค์หนึ่งของพระศิวะ (พระอิศวร) ถือเป็นเทพผู้ตะกละ กลืนกินแม้กระทั่งกาลเวลา มีตำนานอินเดียเล่าถึงกำเนิดของ หน้ากาล ไว้ว่า มีพญายักษ์ชื่อ ชลันธร บำเพ็ญตบะแก่กล้า จนได้รับพรจากพระศิวะไม่ให้ผู้ใดต่อกรได้ จึงเกิดความลำพองทำร้ายข่มเหงทั้งยักษ์ เทพ และมนุษย์ ต่อมา ยักษ์ชลันธร กำเริบเสิบสานให้ พระราหู ไปบอก พระศิวะ ให้มารบกับตน หากพระศิวะแพ้จะริบตัว นางปารพตี มเหสีไปเป็นเมีย พระศิวะได้ฟังก็พิโรธ จนเผลอลืมตาที่สามที่อยู่ระหว่างพระขนง (คิ้ว) ขึ้น เกิดมียักษ์หน้าสิงห์โต (คือกาละ) กระโดดออกมาจะกินพระราหู พระราหูก็ตกใจขอให้พระศิวะช่วย พระศิวะทรงห้ามไม่ให้กาละทำร้ายพระราหู ยักษ์กล่าวว่าถ้าอย่างนั้นขอกินสิ่งอื่นแทน พระศิวะจึงสั่งให้ยักษ์กินตัวเอง ด้วยความหิวยักษ์ได้กัดกินตัวเองทีละส่วนๆ จนเหลือเพียงท่อนแขน กับใบหน้าที่ไม่เหลือกระทั่งคาง กรามล่าง และริมฝีปากล่าง พระศิวะเห็นเช่นนั้นก็เกิดความสงสาร ตรัสให้ยักษ์ไปให้อยู่ที่ประตูวิมานของพระองค์ตลอดไป ผู้ใดไม่เคารพจะไม่ได้รับพรจากพระองค์ หลังจากนั้นจึงเสด็จไปปราบยักษ์ชลันธรได้สำเร็จ

    บ้างก็เล่าเพี้ยนไปเล็กน้อยว่า พระศิวะลงโทษความดื้อรั้นของกาละ ด้วยการให้ไปทำหน้าที่เฝ้าประตูวิมาน โดยไม่มีสิทธิ์รับอาหารใดๆ ยามหิวจำต้องกลืนกินอวัยวะต่างๆ ทีละส่วน จนเหลือแต่หัวกับแขน ด้วยคำสาปแช่งของพระศิวะ "กาละ" จำต้องทำหน้าที่ปกปักรักษาศาสนสถาน โดยใช้ความน่ากลัวของใบหน้าอันดุร้ายของตนเองไว้ข่มขู่ ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้กร่ำกรายเขามาได้ หน้ากาลยังทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยดูแลฝูงปศุสัตว์เนื่องจากพระศิวะได้รับการยกย่องเป็นปศุบดี ผู้เป็นใหญ่ในฝูงสัตว์ หน้ากาลอันเปรียบเสมือนบุตรของพระองค์คงจะมีฤทธิ์ปกป้องสัตว์เลี้ยงได้



      แม้ปัจจุบันคติการทำรูปปูนปั้นของผู้พิทักษ์อาคารศาสนสถานตามประเพณี ดูจะอ่อนล้าลงไปมาก อาจเนื่องเพราะการปรับตัวทางศิลปสถาปัตย์ที่เรามุ่งเข้าหาตะวันตกมากขึ้น คติของช่างหรือเชิงศิลป์ที่เคยตีโจทย์โลกธรรม หรือจักรวาลวิทยาให้สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาอย่างลึกซึ้งและรู้จริงจึงคลี่คลายไป ความร่วมสมัยและเข้าใจง่ายขึ้นกลายเป็นคำตอบใหม่

      ในอีกมิติหนึ่ง การมาถึงของคติ "พระภูมิเจ้าที่" ที่รูปลักษณ์ทางกายภาพแลดูสงบ ไม่ก้าวร้าว และเป็นมิตรกว่า ดูจะเข้าถึงชาวบ้านง่ายกว่า จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์อาคารสถานต่างๆ ไปในความรู้สึกของผู้คนแทน
ถึงอย่างนั้น หน้ากาล หรือกาละ หรือเทพผู้กลืนกินเวลา และตนเองเป็นอาหาร ก็สะท้อนนานาทัศน์ของภูมิปัญญาตะวันออกที่เราเองเห็นค่า ฉุกคิด และคล้อยตาม...

      กาละ หรือกาลและเวลาสัมพันธ์กันชนิดแยกไม่ออก และใกล้ตัวเรากว่าที่คาด ถ้าปล่อยวันเวลาให้ล่วงไปๆ โดยไม่คิดจะสร้างสรรค์สิ่งดีงามใดๆ ขึ้นมาเลย ก็เท่ากับว่า เราเองก็กำลังปล่อยให้เจ้ากาละกลืนกินเวลาของเราให้หมดไปอย่างไร้ค่า  ผู้ใหญ่บางคนชอบเปรียบเปรยว่า กาลเวลากลืนกินทุกสิ่ง สมกับคำที่ว่า สายน้ำไม่เคยคอยท่า กาลเวลาไม่เคยคอยใคร หรือแม้แต่หนังสือ How to บริหารจัดการของฝ่ายตะวันตก When The Future Catch You ก็ดูจะมีฐานคิดที่ไม่ต่างกับการบริหารเวลาของอารยธรรมฝ่ายตะวันออกแต่อย่างใด หากแต่การบริหารเวลาแบบตะวันออก ความสุขกับผลิตภาพ (Happiness & Productivity) นั้นแยกกันไม่ออก และ Utilities หรืออรรถประโยชน์สูงสุดก็มิใช่คำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์ของคำว่า "ความสำเร็จ"

         อย่างไรเสีย แม้คนเราจะเกิดมาด้วยอะไรๆ ที่ต่างกันไป แต่เชื่อว่าพระเจ้าก็ประทานเวลามาให้เราเท่ากันทุกๆ คน ความต่างหนึ่งจึงมาจากการบริหารจัดการเวลาที่มีเท่ากัน แต่คุณภาพและความสุขต่างกันตามปัจเจกบุคคลนั่นเอง..."


ที่มาข้อมูล : http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=1648

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทำไมดวงตราอาถรรพ์ ฯ ถึงมีสามสี ??



ดวงตราอาถรรพ์ สีแดง หมายถึง ดวงอาทิตย์ แทนความหมายของ พ่อ

ดวงตราอาถรรพ์ สีขาว หมายถึง พระจันทร์ แทนความหมายของ แม่

ดวงตราอาถรรพ์ สีดํา หมายถึง โลก แทนความหมายถึง ลูก



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบคุณครับ
ยังมีให้บูชาอีกหรือเปล่าครับ
อยากได้ อยากได้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้